ผู้จัดการรายวัน360-เริ่มยกแรก 2 ยักษ์วงการรถไฟฟ้า ยื่นซองแข่งชิงสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่า 1.42 แสนล้านบาท BEM มาเดี่ยว ส่วน BTS ผนึกซิโน-ไทย แต่ไร้เงาอิตาเลียนไทยฯ ทั้งสองฝ่ายยันทำข้อเสนอที่ดีที่สุดให้พิจารณา ด้าน รฟม. ยังลุ้นศาลปกครองสูงสุด หลังยื่นอุทธรณ์เปลี่ยนกติกาตัดสิน คาดใช้เวลา 2 สัปดาห์ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ ก่อนเปิดซองด้านเทคนิคและด้านการเงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้กำหนดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.42 แสนล้านบาท ในวันที่ 9 พ.ย.2563 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ปรากฎว่า มีเอกชนยื่นเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุนฯ จำนวน 2 ราย คือ 1.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM 2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสจี และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รวมกลุ่มในนามกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เข้ายื่นซอง
ทั้งนี้ BEM ได้เข้ายื่นเอกสารประมูลในในเวลา 11.19 น. โดยมีรถตู้ 2 คัน และรถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 6 คัน บรรทุกเอกสารกว่า 250 กล่อง โดยการยื่นเอกสารประมูล ไม่ได้รวมกลุ่มกับรายใด ซึ่งผู้บริหาร BEM ระบุ ว่า บริษัทมีความสามารถและมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงการจัดทำข้อเสนอในเงื่อนไขเดิมหรือเงื่อนไขที่ รฟม. ประกาศ RFP เพิ่มเติม ซึ่งทาง BEM ตอบสั้นๆ ว่า บริษัทได้ทำข้อเสนอที่ดีที่สุดในการยื่นประมูลครั้งนี้ ส่วนกติกาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาแบบใดนั้น ขณะนี้เรื่องอยู่ที่ศาล ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของบริษัท
ต่อมาเวลา 14.39 น. นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และนาย ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางเข้ายื่นเอกสารประมูลเช่นกัน
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ได้ร่วมกัน 3 บริษัท คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสจี และบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นประมูลในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยสัดส่วนถือหุ้นได้ ส่วนบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นพันธมิตรเดิมนั้น เนื่องจากยังมีกระบวนการภายในของบริษัท ทำให้ยังไม่ได้ร่วมยื่นประมูลครั้งนี้ แต่ทั้งนี้ บริษัท ราช กรุ๊ป มีความสนใจจะร่วมกับกลุ่มเหมือนเดิม ส่วนจะเข้าร่วมภายหลังได้หรือไม่นั้นต้องรอหลังจากสรุปผลการประมูลก่อน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยื่นศาลปกครองสูงสุด อุทธรณ์ กรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองให้ รฟม. ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การประเมินที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น นายสุรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่งใดๆ ซึ่งบริษัทได้ทำข้อเสนอในการประมูลครั้งนี้อย่างเต็มที่และดีที่สุดตาม TOR กำหนด โดยยื่นครบทั้งหมด 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม รวม 400 ลัง ส่วนเกณฑ์และวิธีการพิจารณายังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล ยังไม่สามารถพูดอะไรได้ในขณะนี้
ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้ม มีเอกชนซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 10 บริษัท มี 6 บริษัท ที่ไม่ได้เข้ายื่นเอกสาร ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซิโนไฮโดรคอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และบริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รฟม. ระบุว่าศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการใช้หลักเกณฑ์การร่วมลงทุน ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนรวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือก แต่ไม่ได้มีคำสั่งให้ระงับการคัดเลือก ซึ่งทำให้ รฟม. สามารถดำเนินขั้นตอนในการประมูลได้ตามกำหนดเดิม
โดยหลังจากยื่นซองวันที่ 9 พ.ย.2563 คาดว่า ประมาณ 14 วัน จึงจะมีการเปิดซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 จะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ และจึงพิจารณากำหนดวันที่เปิดซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการเงินต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้กำหนดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.42 แสนล้านบาท ในวันที่ 9 พ.ย.2563 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ปรากฎว่า มีเอกชนยื่นเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุนฯ จำนวน 2 ราย คือ 1.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM 2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสจี และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รวมกลุ่มในนามกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เข้ายื่นซอง
ทั้งนี้ BEM ได้เข้ายื่นเอกสารประมูลในในเวลา 11.19 น. โดยมีรถตู้ 2 คัน และรถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 6 คัน บรรทุกเอกสารกว่า 250 กล่อง โดยการยื่นเอกสารประมูล ไม่ได้รวมกลุ่มกับรายใด ซึ่งผู้บริหาร BEM ระบุ ว่า บริษัทมีความสามารถและมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงการจัดทำข้อเสนอในเงื่อนไขเดิมหรือเงื่อนไขที่ รฟม. ประกาศ RFP เพิ่มเติม ซึ่งทาง BEM ตอบสั้นๆ ว่า บริษัทได้ทำข้อเสนอที่ดีที่สุดในการยื่นประมูลครั้งนี้ ส่วนกติกาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาแบบใดนั้น ขณะนี้เรื่องอยู่ที่ศาล ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของบริษัท
ต่อมาเวลา 14.39 น. นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และนาย ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางเข้ายื่นเอกสารประมูลเช่นกัน
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ได้ร่วมกัน 3 บริษัท คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสจี และบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นประมูลในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยสัดส่วนถือหุ้นได้ ส่วนบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นพันธมิตรเดิมนั้น เนื่องจากยังมีกระบวนการภายในของบริษัท ทำให้ยังไม่ได้ร่วมยื่นประมูลครั้งนี้ แต่ทั้งนี้ บริษัท ราช กรุ๊ป มีความสนใจจะร่วมกับกลุ่มเหมือนเดิม ส่วนจะเข้าร่วมภายหลังได้หรือไม่นั้นต้องรอหลังจากสรุปผลการประมูลก่อน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยื่นศาลปกครองสูงสุด อุทธรณ์ กรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองให้ รฟม. ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การประเมินที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น นายสุรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่งใดๆ ซึ่งบริษัทได้ทำข้อเสนอในการประมูลครั้งนี้อย่างเต็มที่และดีที่สุดตาม TOR กำหนด โดยยื่นครบทั้งหมด 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม รวม 400 ลัง ส่วนเกณฑ์และวิธีการพิจารณายังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล ยังไม่สามารถพูดอะไรได้ในขณะนี้
ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้ม มีเอกชนซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 10 บริษัท มี 6 บริษัท ที่ไม่ได้เข้ายื่นเอกสาร ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซิโนไฮโดรคอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และบริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รฟม. ระบุว่าศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการใช้หลักเกณฑ์การร่วมลงทุน ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนรวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือก แต่ไม่ได้มีคำสั่งให้ระงับการคัดเลือก ซึ่งทำให้ รฟม. สามารถดำเนินขั้นตอนในการประมูลได้ตามกำหนดเดิม
โดยหลังจากยื่นซองวันที่ 9 พ.ย.2563 คาดว่า ประมาณ 14 วัน จึงจะมีการเปิดซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 จะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ และจึงพิจารณากำหนดวันที่เปิดซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการเงินต่อไป