ผู้จัดการรายวัน 360-ปตท.มั่นใจปี 64 รายได้โตขึ้นกว่าปีนี้ จากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบ 40-50เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตั้งเป้า 10 ปีข้างหน้า กลุ่ม ปตท. มีกำลังการไฟฟ้าจากฟอสซิลและพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นรวม1.6 หมื่นเมกะวัตต์ แย้มปี 64 ทุ่มงบลงทุนสูงขึ้นกว่าปกติ เพื่อตั้งโรงแยกก๊าซฯ หน่วย 7 วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท เล็งซื้อกิจการโรงงานผลิตยาในต่างประเทศ และมองโอกาสลงทุนโรงงานรถยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มรายได้ปี 2564 มีทิศทางที่ดีขึ้นจากปี 2563 เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในกรอบ 40-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากปีนี้ที่เฉลี่ย 41-42 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และปริมาณขายที่น่าจะเพิ่มขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัว หลังนายโจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้แนวโน้มสงครามการค้าสหรัฐ-จีนผ่อนคลายลง และสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น หากมีค้นพบวัคซีนต้านโควิด-19 ออกมา
ทั้งนี้ นายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ มีนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนมากกว่าพลังงานจากฟอสซิล ทำให้การผลิตน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ออกมาน้อยลง เป็นผลดีต่อทิศทางราคาที่จะปรับเข้าสู่สมดุล
ส่วนการจัดทำงบประมาณและแผนงานของ ปตท. ได้เตรียมนำแผนงานและงบลงทุน 5 ปี (ปี 2564-68) เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการปตท.ในเดือนธ.ค.นี้
นายอรรถพลกล่าวว่า กลุ่ม ปตท. ได้วางเป้าหมายมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิสเพิ่มเป็นระดับ 8,000 เมกะวัตต์ (MW) เช่นเดียวกับพลังงานทดแทนในปี 2573 จากปัจจุบันที่มีไฟฟ้าจากฟอสซิลอยู่กว่า 5,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนโครงการ Gas to Power ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาด 600 เมกะวัตต์ในเมียนมา
สำหรับแผนการหากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้เพิ่มเป็น 8,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2573 จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตกว่า 500 เมกะวัตต์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาร่วมทุนหรือเข้าซื้อกิจการ (M&A) อยู่ 2-3 ดีลในต่างประเทศ คาดว่าจะมีความชัดเจนในไตรมาส 1/2564 โดยการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. จะใช้ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) เป็นแกนนำ
นางอรวดี โพธิสาโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มปตท.ตั้งงบลงทุนปีละราว 2-3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเฉพาะ ปตท. ราว 8 หมื่นล้านบาท โดยปีหน้า ปตท. คาดว่าจะใช้เงินลงทุนสูงกว่าปกติ เนื่องจากมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 7 แห่งใหม่ และการลงทุนธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจยา
โดยโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 7 จะทดแทนโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 1 ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ 30กว่าปี คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1 หมื่นกว่าล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างหาผู้รับเหมา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 และแล้วเสร็จในปี 2566 โดยโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 7 นี้ จะมีกำลังการผลิตเท่ากับโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 1 หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปัจจุบันผลิตอยู่ 350 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
ส่วนธุรกิจยาถือเป็นธุรกิจ Life Science ซึ่งเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่บริษัทให้ความสนใจ โดยเตรียมจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อเข้าไปลงทุนซื้อกิจการโรงงานผลิตยาในต่างประเทศ โซนเอเชีย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะและบัญชีธุรกิจ (Due diligence) คาดว่าปีหน้าจะได้ข้อสรุป
นอกจากนี้ ปตท. ยังมองโอกาสต่อยอดในการตั้งโรงงานรถยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในอนาคตด้วย แต่การจะลงทุนยังต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มรายได้ปี 2564 มีทิศทางที่ดีขึ้นจากปี 2563 เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในกรอบ 40-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากปีนี้ที่เฉลี่ย 41-42 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และปริมาณขายที่น่าจะเพิ่มขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัว หลังนายโจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้แนวโน้มสงครามการค้าสหรัฐ-จีนผ่อนคลายลง และสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น หากมีค้นพบวัคซีนต้านโควิด-19 ออกมา
ทั้งนี้ นายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ มีนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนมากกว่าพลังงานจากฟอสซิล ทำให้การผลิตน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ออกมาน้อยลง เป็นผลดีต่อทิศทางราคาที่จะปรับเข้าสู่สมดุล
ส่วนการจัดทำงบประมาณและแผนงานของ ปตท. ได้เตรียมนำแผนงานและงบลงทุน 5 ปี (ปี 2564-68) เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการปตท.ในเดือนธ.ค.นี้
นายอรรถพลกล่าวว่า กลุ่ม ปตท. ได้วางเป้าหมายมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิสเพิ่มเป็นระดับ 8,000 เมกะวัตต์ (MW) เช่นเดียวกับพลังงานทดแทนในปี 2573 จากปัจจุบันที่มีไฟฟ้าจากฟอสซิลอยู่กว่า 5,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนโครงการ Gas to Power ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาด 600 เมกะวัตต์ในเมียนมา
สำหรับแผนการหากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้เพิ่มเป็น 8,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2573 จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตกว่า 500 เมกะวัตต์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาร่วมทุนหรือเข้าซื้อกิจการ (M&A) อยู่ 2-3 ดีลในต่างประเทศ คาดว่าจะมีความชัดเจนในไตรมาส 1/2564 โดยการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. จะใช้ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) เป็นแกนนำ
นางอรวดี โพธิสาโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มปตท.ตั้งงบลงทุนปีละราว 2-3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเฉพาะ ปตท. ราว 8 หมื่นล้านบาท โดยปีหน้า ปตท. คาดว่าจะใช้เงินลงทุนสูงกว่าปกติ เนื่องจากมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 7 แห่งใหม่ และการลงทุนธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจยา
โดยโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 7 จะทดแทนโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 1 ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ 30กว่าปี คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1 หมื่นกว่าล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างหาผู้รับเหมา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 และแล้วเสร็จในปี 2566 โดยโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 7 นี้ จะมีกำลังการผลิตเท่ากับโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 1 หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปัจจุบันผลิตอยู่ 350 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
ส่วนธุรกิจยาถือเป็นธุรกิจ Life Science ซึ่งเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่บริษัทให้ความสนใจ โดยเตรียมจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อเข้าไปลงทุนซื้อกิจการโรงงานผลิตยาในต่างประเทศ โซนเอเชีย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะและบัญชีธุรกิจ (Due diligence) คาดว่าปีหน้าจะได้ข้อสรุป
นอกจากนี้ ปตท. ยังมองโอกาสต่อยอดในการตั้งโรงงานรถยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในอนาคตด้วย แต่การจะลงทุนยังต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ