กกพ.ประเดิมจัดโฟกัสกรุ๊ป เร่งเก็บข้อมูลเดินหน้าปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานใหม่ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการขั้นตอนต่างๆหวังประกาศใช้ปี 65 เล็งทบทวนค่าบริการรายเดือนในบิลค่าไฟประชาชนอีกรอบให้สะท้อนข้อเท็จจริง พร้อมดูมิติเทคโนโลยีไฟฟ้าใหม่
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีนี้ กกพ.เตรียมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มย่อยเพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบการในการพิจารณปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานใหม่ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดทำได้เสร็จ และผ่านกระบวนการต่างๆ ก่อนประกาศใช้ในปี 65 "ค่าไฟนั้นมี 2 ส่วนคือ ไฟฐานมีอัตราคงที่ซึ่งจะมุ่งดูเรื่องการลงทุนการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง และจำหน่ายของ 3 การไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft)ซึ่งFtจะปรับตามต้นทุนเชื้อเพลิงทุกๆ 4 เดือน แต่ไฟฐานจะปรับทุก 3-5 ปี ซึ่งขณะนี้ค่าไฟฐานใช้มาตั้งแต่ปี 58 จึงถึงเวลาที่ต้องปรับ เพราะมีหลายอย่างเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และต้องคำนึงถึงนโยบายการเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าทั้งระบบด้วย"
นอกจากนี้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้ากกพ. ยังมีแนวคิดที่ปรับปรุงค่าบริการรายเดือน ที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายคือ กฟภ.และ กฟน.เรียกเก็บกับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (บ้านอยู่อาศัย) เฉลี่ยเดือนละ 38.22 บาท ซึ่งทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ประกอบไปด้วยประเภทบ้านที่อยู่อาศัยมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ค่าบริการอยู่ที่ 8.19 บาท มีผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่10 ล้านครัวเรือน หากเป็นประเภทบ้านที่อยู่อาศัยเกิน 5 แอมป์ หรือใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน อัตราค่าบริการ 38.22 บาทต่อเดือน มีผู้ใช้ไฟฟ้า 6 ล้านครัวเรือน ซึ่งคงจะต้องนำกลับมาทบทวนอีกครั้ง ว่ามีต้นทุนใดที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่จะสามารถนำมาลดค่าบริการได้หรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการพิจารณาแล้วแต่ไม่สามารถเปลี่ยนได้เพราะ 2 การไฟฟ้ายืนยันว่า ต้นทุนไม่ได้ลดลง
ทั้งนี้การเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าทั้งระบบซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานที่จะต้องรอความชัดเจนถึงแนวทางการดำเนินงาน จากระดับนโยบายอีกครั้งซึ่งคาดว่าจะชัดเจนในปี 64 ที่จะนำมาประกอบการพิจารณาค่าไฟฟ้าฐานใหม่ โดยเฉพาะในแง่การยกเว้นนโยบาย Enhacing Single Buyerที่กำหนดให้กฟผ. เป็นผู้รับซื้อเพียงรายเดียว จะมีรูปแบบการซื้อขายอื่นๆ อย่างไร รวมถึงการพิจารณาผลกระทบถึงการใช้ไฟฟ้าในอนาคตของการมาในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) พลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ฯลฯ
"การปรับครั้งนี้มีมิติที่เปลี่ยนไปจากเดิมเยอะมากที่เราต้องคำนึงโดยนโยบายการเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายไฟและLNGและยังต้องมองเทคโนโลยที่จะมีผลต่อการใช้ไฟในอนาคต ดังนั้นจะทยอยรับฟังความคิดเห็นกลุ่มเล็กแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนจะนำไปสู่การประกาศใช้ซึ่งขณะนี้ค่าไฟฐานจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ยังตอบไม่ได้"นายคมกฤช กล่าว
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีนี้ กกพ.เตรียมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มย่อยเพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบการในการพิจารณปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานใหม่ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดทำได้เสร็จ และผ่านกระบวนการต่างๆ ก่อนประกาศใช้ในปี 65 "ค่าไฟนั้นมี 2 ส่วนคือ ไฟฐานมีอัตราคงที่ซึ่งจะมุ่งดูเรื่องการลงทุนการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง และจำหน่ายของ 3 การไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft)ซึ่งFtจะปรับตามต้นทุนเชื้อเพลิงทุกๆ 4 เดือน แต่ไฟฐานจะปรับทุก 3-5 ปี ซึ่งขณะนี้ค่าไฟฐานใช้มาตั้งแต่ปี 58 จึงถึงเวลาที่ต้องปรับ เพราะมีหลายอย่างเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และต้องคำนึงถึงนโยบายการเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าทั้งระบบด้วย"
นอกจากนี้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้ากกพ. ยังมีแนวคิดที่ปรับปรุงค่าบริการรายเดือน ที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายคือ กฟภ.และ กฟน.เรียกเก็บกับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (บ้านอยู่อาศัย) เฉลี่ยเดือนละ 38.22 บาท ซึ่งทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ประกอบไปด้วยประเภทบ้านที่อยู่อาศัยมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ค่าบริการอยู่ที่ 8.19 บาท มีผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่10 ล้านครัวเรือน หากเป็นประเภทบ้านที่อยู่อาศัยเกิน 5 แอมป์ หรือใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน อัตราค่าบริการ 38.22 บาทต่อเดือน มีผู้ใช้ไฟฟ้า 6 ล้านครัวเรือน ซึ่งคงจะต้องนำกลับมาทบทวนอีกครั้ง ว่ามีต้นทุนใดที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่จะสามารถนำมาลดค่าบริการได้หรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการพิจารณาแล้วแต่ไม่สามารถเปลี่ยนได้เพราะ 2 การไฟฟ้ายืนยันว่า ต้นทุนไม่ได้ลดลง
ทั้งนี้การเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าทั้งระบบซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานที่จะต้องรอความชัดเจนถึงแนวทางการดำเนินงาน จากระดับนโยบายอีกครั้งซึ่งคาดว่าจะชัดเจนในปี 64 ที่จะนำมาประกอบการพิจารณาค่าไฟฟ้าฐานใหม่ โดยเฉพาะในแง่การยกเว้นนโยบาย Enhacing Single Buyerที่กำหนดให้กฟผ. เป็นผู้รับซื้อเพียงรายเดียว จะมีรูปแบบการซื้อขายอื่นๆ อย่างไร รวมถึงการพิจารณาผลกระทบถึงการใช้ไฟฟ้าในอนาคตของการมาในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) พลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ฯลฯ
"การปรับครั้งนี้มีมิติที่เปลี่ยนไปจากเดิมเยอะมากที่เราต้องคำนึงโดยนโยบายการเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายไฟและLNGและยังต้องมองเทคโนโลยที่จะมีผลต่อการใช้ไฟในอนาคต ดังนั้นจะทยอยรับฟังความคิดเห็นกลุ่มเล็กแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนจะนำไปสู่การประกาศใช้ซึ่งขณะนี้ค่าไฟฐานจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ยังตอบไม่ได้"นายคมกฤช กล่าว