ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - สุดสัปดาห์ที่แล้วสัญญาณเลือกตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกาศเริ่มแล้ว โดยเริ่มที่สนามเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ 76 แห่ง
ขณะที่ รัฐบาล ได้อนุมัติงบประมาณจัดการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ไว้แล้ว ตามที่ครม.มีมติรับทราบให้จัดการเลือกตั้ง 76 จังหวัด ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รายงานขั้นตอนพร้อมประเมินค่าใช้จ่ายไว้ 3,236 ล้านบาท
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ กกต. ย้ำถึงงบฯที่ได้รับจัดสรรเพื่อใช้ในการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยยอมรับว่ายังมีปัญหาอยู่บ้างว่าจะเพียงพอไปถึงควบคุมเลือกตั้ง อปท. รูปแบบอื่นหรือไม่ เพราะที่ใช้กับ"เลือกตั้ง อบจ." ขณะนี้เหลืออยู่ไม่มาก
อย่างไรก็ดี หากไม่พอ กกต.ก็พร้อมจะขอรับการจัดสรรงบฯ จากรัฐบาลต่อไป เนื่องจากต้องมีการเพิ่มในส่วนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ต้องมีในทุกหน่วยเลือกตั้ง 97,000 หน่วย และต้องมีการอบรมคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) หน่วยละ10 คน รวมประมาณ 1 ล้านคน
โดยใน 1 ล้านคน จะมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม. ) 276,960 คน ลงในพื้นที่หน่วยละ 3 คน พร้อมเป็น ผู้ช่วยคัดกรองโควิด สนามเลือกตั้ง อบจ.และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อีก 9 หมื่นกว่านาย
ล่าสุด ข่าวจาก กกต. ได้ประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 76 จังหวัดโดยอบจ.ที่ได้รับจัดสรรจำนวนเงินค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ นครราชสีมา แบ่งเป็น เงินการเลือกตั้งนายกอบจ. 19,000,000 บาท และ การเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) 440,000 บาท
รองลงมา อุดรธานี แบ่งเป็น การเลือกตั้งนายกอบจ. 15,120,000 บาท การเลือกตั้ง ส.อบจ. 380,000 บาท ตามมาด้วย ขอนแก่น การเลือกตั้งนายกอบจ. 13,500,000 บาท เลือกตั้ง ส.อบจ. 480,000 บาท และ กำแพงเพชร การเลือกตั้งนายกอบจ.13,500,000 บาท การเลือกตั้ง ส.อบจ. 500,000 บาท
ส่วน อบจ.ที่มีจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ สมุทรสงคราม แบ่งเป็น เลือกตั้งนายกอบจ. 1,200,000 บาท การเลือกตั้ง ส.อบจ. 200,000 บาท
ขณะที่ อบจ. อื่นๆ ประกอบด้วย กระบี่ เลือกตั้งนายก อบจ. 2,520,000 บาท ส.อบจ. 242,000 บาท กาญจนบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 6,000,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท กาฬสินธุ์ เลือกตั้งนายก อบจ. 4,840,000 บาท ส.อบจ. 242,000 บาท
จันทบุรี เลือกตั้งนายก อบจ.3,000,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท ฉะเชิงเทรา เลือกตั้งนายก อบจ. 4,400,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท ชลบุรีเลือกตั้งนายก อบจ. 7,000,000 บาท ส.อบจ. 200,000-300,000 บาท ชัยนาท เลือกตั้งนายก อบจ. 3,400,000 บาท ส.อบจ. 510,000 บาท ชัยภูมิ เลือกตั้งนายก อบจ.10,520,000 บาท ส.อบจ. 600,000 บาท ชุมพร เลือกตั้งนายก อบจ. 4,400,000 บาท ส.อบจ. 440,000 บาท เชียงราย เลือกตั้งนายก อบจ. 6,000,000 บาท ส.อบจ. 340,000 บาท
เชียงใหม่ เลือกตั้งนายก อบจ. 6,300,000 บาท ส.อบจ. 150,000 บาท ตรัง เลือกตั้งนายก อบจ. 6,440,000 บาท ส.อบจ. 218,000 บาท ตราด เลือกตั้งนายก อบจ. 1,700,000 บาท ส.อบจ. 230,000 บาท ตาก เลือกตั้งนายก อบจ. 3,370,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท นครนายก เลือกตั้งนายก อบจ. 4,240,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท นครปฐม เลือกตั้งนายก อบจ. 6,200,000 บาท ส.อบจ. 210,000 บาท
นครพนม เลือกตั้งนายก อบจ. 7,400,000 บาท ส.อบจ. 370,000 บาท นครศรีธรรมราช เลือกตั้งนายก อบจ. 6,399,000 บาท ส.อบจ. 266,624 บาท นครสวรรค์ เลือกตั้งนายก อบจ. 7,640,000 บาท ส.อบจ. 220,000 บาท นนทบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 7,000,000 บาท ส.อบจ. 200,000 บาท นราธิวาส เลือกตั้งนายก อบจ. 4,000,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท น่าน เลือกตั้งนายก อบจ. 4,000,000 บาท ส.อบจ. 330,000 บาท
บึงกาฬ เลือกตั้งนายก อบจ. 2,200,000 บาท ส.อบจ. 280,000 บาท บุรีรัมย์ เลือกตั้งนายก อบจ. 10,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท ปทุมธานี เลือกตั้งนายก อบจ. 6,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท ประจวบคีรีขันธ์ เลือกตั้งนายก อบจ. 2,700,000 บาท ส.อบจ. 270,000 บาท ปราจีนบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 4,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท
ปัตตานี เลือกตั้งนายก อบจ. 4,244,000 บาท ส.อบจ. 263,000 บาท พระนครศรีอยุธยา เลือกตั้งนายก อบจ. 4,300,000 บาท ส.อบจ. 220,000 บาท พะเยา เลือกตั้งนายก อบจ. 4,000,000 บาท ส.อบจ.134,000 บาท พังงา เลือกตั้งนายก อบจ. 2,400,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท
พัทลุง เลือกตั้งนายก อบจ. 3,200,000 บาท ส.อบจ. 270,000 บาท พิจิตร เลือกตั้งนายก อบจ. 5,810,000 บาท ส.อบจ. 200,000 บาท พิษณุโลก เลือกตั้งนายก อบจ. 4,800,000 บาท ส.อบจ. 460,000 บาท เพชรบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 3,000,000 บาท ส.อบจ. 200,000 บาท เพชรบูรณ์ เลือกตั้งนายก อบจ. 8,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท แพร่ เลือกตั้งนายก อบจ. 3,600,000 บาท ส.อบจ. 330,000 บาท
ภูเก็ต เลือกตั้งนายก อบจ. 1,700,000 บาท ส.อบจ. 230,000 บาท มหาสารคาม เลือกตั้งนายก อบจ. 6,100,000 บาท ส.อบจ. 380,000 บาท มุกดาหาร เลือกตั้งนายก อบจ. 3,400,000 บาท ส.อบจ. 230,000 บาท แม่ฮ่องสอน เลือกตั้งนายก อบจ. 3,000,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท
ยโสธร เลือกตั้งนายก อบจ. 6,000,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท ยะลา เลือกตั้งนายก อบจ. 2,660,000 บาท ส.อบจ. 210,000 บาท ร้อยเอ็ด เลือกตั้งนายก อบจ. 4,400,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท ระนอง เลือกตั้งนายก อบจ. 2,000,000 บาท ส.อบจ. 200,000 บาท
ระยอง เลือกตั้งนายก อบจ. 8,000,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท ราชบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 6,000,000 บาท ส.อบจ. 200,000 บาท ลพบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 4,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท ลำปาง เลือกตั้งนายก อบจ. 4,200,000 บาท ส.อบจ. 160,000 บาท
ลำพูน เลือกตั้งนายก อบจ. 4,400,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท เลย เลือกตั้งนายก อบจ. 6,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท ศรีสะเกษ เลือกตั้งนายก อบจ. 10,000,000 บาท ส.อบจ. 440,000 บาท สกลนคร เลือกตั้งนายก อบจ. 6,400,000 บาท ส.อบจ. 180,000 บาท
สงขลา เลือกตั้งนายก อบจ. 8,000,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท สตูล เลือกตั้งนายก อบจ. 4,917,000 บาท ส.อบจ. 209,000 บาท สมุทรปราการ เลือกตั้งนายก อบจ. 7,200,000 บาท ส.อบจ. 360,000 บาท สมุทรสาคร เลือกตั้งนายก อบจ. 3,400,000 บาท ส.อบจ. 340,000 บาท
สระแก้ว เลือกตั้งนายก อบจ. 3,300,000 บาท ส.อบจ. 280,000 บาท สระบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 2,100,000 บาท ส.อบจ. 440,000 บาท สิงห์บุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 2,100,000 บาท ส.อบจ. 210,000 บาท สุโขทัย เลือกตั้งนายก อบจ. 4,400,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท
สุพรรณบุรี เลือกตั้งนายก อบจ. 6,000,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท สุราษฏร์ธานี เลือกตั้งนายก อบจ. 9,100,000 บาท ส.อบจ. 244,000 บาท สุรินทร์ เลือกตั้งนายก อบจ. 7,400,000 บาท ส.อบจ. 220,000 บาท หนองคายเลือกตั้งนายก อบจ. 4,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท หนองบัวลำภู เลือกตั้งนายก อบจ. 4,400,000 บาท ส.อบจ. 340,000 บาท
อ่างทอง เลือกตั้งนายก อบจ. 4,000,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท อำนาจเจริญ เลือกตั้งนายก อบจ. 3,000,000 บาท ส.อบจ. 300,000 บาท อุดรดิตถ์ เลือกตั้งนายก อบจ. 2,700,000 บาท ส.อบจ. 270,000 บาท อุทัยธานี เลือกตั้งนายก อบจ. 2,400,000 บาท ส.อบจ. 240,000 บาท และ อุบลราชธานี เลือกตั้งนายก อบจ. 10,000,000 บาท ส.อบจ. 400,000 บาท
ทีนี้กลับไปย้อนดู งบฯ ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมาย ที่ว่าท้องถิ่นต้องเป็นฝ่ายจัดสรรงบประมาณที่ใช้ในการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่ง อปท.ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการเลือกตั้ง ทราบมาว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) มีหนังสือถึง อปท. สำรวจข้อมูลงบประมาณ ตามคำสั่งการของกระทรวงมหาดไทย ถึง 5 ครั้ง
ฉบับล่าสุด คือหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0818.2/ว 2873 เรื่อง การสำรวจข้อมูลงบฯ ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ลงนาม โดยอธิบดี สถ.เมื่อ วันที่ 18 ก.ย.63 หลังจากครั้งแรก เรียกขอข้อมูลเมื่อ 12 ต.ค.62 ส่วนครั้งที่ 2/3/4 เรียกขอข้อมูลเมื่อ วันที่10 มิ.ย. 5 มิ.ย. และ 26 พ.ค.63 ตามลำดับ
ขณะที่หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท.0818.2/ ว 5013 ลงวันที่ 26 ส.ค.63
ยังมีข้อความสรุปแจ้งว่า เพื่อให้การดำเนินการเลือกตั้ง อปท. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในการซักซ้อมแนวทางการตั้งงบฯ การใช้จ่ายเงินสะสม และเงินทุนสำรองสะสมของ อปท. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจายเงินฯ พ.ศ. 2541
ข้อ 4 กำหนดแนวทางว่าให้ อปท. ตั้งงบฯ ค่าใช้จ่ายเลือกตั้งในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบฯ พ.ศ. 2564 ในหมวดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ กกต.กำหนด
กรณีถ้ามีการประกาศเลือกตั้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถ้างบฯ ออกไม่ทันใช้ให้ให้กรอบงบประมาณปีที่ผ่านมาไปพลางๆ หรือถ้างบฯไม่เพียงพอ ให้ อปท.โอนงบฯเหลือจ่าย หรืองบฯในรายการที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่าย ไปเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง ตามระเบียบว่าด้วยวิธีการงบประมาณ อปท. พ.ศ. 2541 ข้อ 26 และข้อ 27
นอกจากนั้น ในเอกสารสั่งการของกระทรวงมหาดไทย ยังระบุรายละเอียด กรณีมีการเลือกตั้งคาบเกี่ยวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กับ 2565 ไว้ด้วย พร้อมแนวทางปฏิบัติ รวมถึงกรณีมีการจัดการเลือกตั้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้ยึดกรอบแนวทางที่กำหนดไว้ และถ้า อปท. มีงบฯไม่เพียงพอ การจะพิจารณาใช้งบฯสะสม หรือทุนสำรองสะสม ให้ทำความตกลงกับ ผวจ. ตามที่มีการมอบอำนาจให้ปฏิบัติการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ตามคำสั่ง มท.ที่ 1268/2563 ด้วย
โดยตัวอย่าง งบฯที่ อปท.รายงาน พบว่า อบจ.ชัยนาท ตั้งงบฯไว้ที่ 20,200,000 บาท อบจ.เชียงราย ตั้งงบฯไว้ที่ 50,000,000 บาท อบจ.ตรัง ตั้งงบฯไว้ที่ 23,846,000 บาท อบจ.นครราชสีมา ขอตั้งไว้ 70,100,000 บาท
อบจ.นราธิวาส ตั้งไว้ 68,121,000 บาท อบจ.พัทลุง ตั้งไว้ 18,000,000 บาท อบจ.สงขลา ตั้งไว้ 90,000,000 บาท อบจ.หนองบัวลำภู ตั้งไว้ 20,000,000 บาท อบจ.อุบลราชธานี ตั้งไว้ 50,000,000 บาท อบจ.เลย ตั้งไว้ 18,000,000 บาท อบจ.นครศรีธรรมราช ตั้งไว้ 100,000,000 บาท อบจ.เชียงใหม่ ตั้งงบไว้ที่ 70,000,000 บาท
โดยรายงานที่ อบจ.ทุกแห่ง รายงานมายังมหาดไทย อ้างคล้ายๆ กันว่า ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ "จำเป็น" ต้องเพิ่มหน่วยเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก เพราะค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าหีบบัตรเลือกตั้ง ค่าเช่าเต็นท์ ค่าตอบแทนกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ค่าเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิทุกหน่วย ๆ ละ 1 เครื่อง เจลล้างมือหน่วยละ 5 จุด เป็นต้น
อบจ.ทุกแห่ง ยืนยันว่า แต่หากมีการกำหนดให้แต่ละหน่วยเลือกตั้งมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 600 คน ก็มีความจำเป็นต้องเพิ่มหน่วยเลือกตั้งอีกประมาณ 1,000 หน่วย และต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้อง หันมา ใช้เงินสะสมอบจ. ตามหนังสือซักซ้อมของมหาดไทย
อบจ.หลายแห่ง เห็นด้วยว่า เพราะหากกำหนดให้แต่ละหน่วยเลือกตั้งมากขึ้น ก็อาจจะขอขยายเวลาการลงคะแนนเลือกตั้งออกไปอีก 1 ชั่วโมง เพื่อลดความแออัดของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะสามารถประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการจัดการเลือกตั้งได้ด้วย
ขณะที่รายงานฉบับล่าสุด พบว่า อบจ.นครราชสีมา ที่มี ส.อบจ.ได้ 48 คน + 1 นายกฯ อบจ. ตั้งงบประมาณไว้สูงสุดถึง 160 ล้านบาท หรือ อปท.ขนาดกลาง อย่าง "อบจ.เลย" ที่มี ส.อบจ. ได้ 30 คน ก็ตั้งเพิ่มไปอีกเป็น 28 ล้านบาท
ดูยอดรวมทั้งงบฯจัดสรรจากรัฐ 3 พันกว่าล้าน กับงบฯที่ อบจ.ตั้งเอาไว้ คงไม่ถึงขั้นต้องแตะ“เงินสะสม”กว่าแสนล้านบาท.