xs
xsm
sm
md
lg

ปภ.เผยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย 2 จังหวัด

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 2563 – ปัจจุบัน (6 พ.ย. 2563 เวลา 06.00 น.) มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย รวม 36 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชลบุรี ระยอง อุทัยธานี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล และสงขลา รวม 158 อำเภอ 563 ตำบล 2,488 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92,032 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 11 ราย  (จันทบุรี ตรัง นครราชสีมา ศรีสะเกษ จังหวัดละ 1 ราย ปราจีนบุรี 4 ราย และสุราษฎร์ธานี 3 ราย) บาดเจ็บ 4 ราย (สิงห์บุรี) แยกเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก 34 จังหวัด รวม 134 อำเภอ 531 ตำบล 2,446 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 91,954 ครัวเรือน เสียชีวิต 11 ราย ไม่มีผู้บาดเจ็บ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 31 จังหวัด ยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 17 อำเภอ 79 ตำบล 365 หมู่บ้าน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.ปากช่อง ปักธงชัย สูงเนิน โนนสูง พิมาย เฉลิมพระเกียรติ จักราช และห้วยแถลง ระดับน้ำลดลง และ จ.สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สองพี่น้อง และบางปลาม้า ระดับน้ำลดลง

สำหรับพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 8 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ นครสวรรค์ ชัยนาท กาญจนบุรี สิงห์บุรี กาญจนบุรี พังงา ชุมพร และอุบลราชธานี รวม 19 อำเภอ 26 ตำบล 36 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 78 หลัง บาดเจ็บ 2 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
อยู่ระหว่างการฟื้นฟู พื้นที่ได้รับผลกระทบจากดินสไลด์ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ภูเก็ต สตูล และกระบี่ รวม 5 อำเภอ 6 ตำบล  6 หมู่บ้าน 
 
ทั้งนี้ ปภ.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนเรือท้องแบน พร้อมเครื่องยนต์ รถบรรทุกติดตั้งเครน รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังจุดอพยพ อีกทั้งแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อการดำรงชีพ สำหรับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วให้เร่งสำรวจประเมินความต้องการการช่วยเหลือของผู้ประสบภัย ตลอดจนเร่งซ่อมแซมและฟื้นฟูสิ่งสาธารณประโยชน์ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว