ผู้จัดการรายวัน360 - คกก.ปรองดองสมานฉันท์ ส่อล้มเหลว "ม็อบราษฎร" แถลงจุดยืนไม่ร่วม ลั่น "บิ๊กตู่" คืออุปสรรคใหญ่ที่สุด ขณะที่รัฐบาล-ฝ่ายค้าน ยังเล่นแง่ "สิระ" ข้ามรุ่นซัด "ชวน" รวบอำนาจ ตัดสินใจคนเดียวในการทาบทามอดีตนายกฯ ร่วม ไม่เห็นด้วยเหตุล้าสมัยเกินไป ควรเอาไปดองเค็ม "เด็กชวน" ตอกกลับไร้สัมมาคารวะ บิดเบือน คิดแต่จะเป็นข่าว"สุทิน" รอดูท่าที ยันต้องนำข้อขัดแย้งทุกเรื่องมาคุย "วิษณุ" มั่นใจมติ "คกก.สมานฉันท์’มีพลังกดดันทุกฝ่าย แต่ไม่มีอำนาจทุบโต๊ะ ด้านภาคีปกป้องสถาบันฯ นัดม็อบใหญ่ 9 พ.ย. ไม่ยอมให้พวกจาบจ้วงใช้ ม.ราม จัดกิจกรรม "สถานทูตสหรัฐฯ" แจงข่าวแกนนำม็อบขอลี้ภัย เป็นข่าวเท็จโดยสิ้นเชิง
วานนี้ (4 พ.ย.) ที่สนามหลวง กลุ่มราษฎร นำโดยนายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ แกนนำกลุ่มขอนแก่นพอกันที นายณัฐชนน ไพโรจน์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และนายสราวุทธิ์ กุลมธุรพจน์ แกนนำเยาวชนปลดแอกเชียงราย พร้อมด้วยนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ดาวดิน ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ พร้อมประกาศจุดยืนไม่ยอมรับคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ และจะไม่เข้าร่วมสังฆกรรมกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพราะคณะกรรมการดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงละครทางาการเมืองของรัฐบาลเท่านั้น เพื่อซื้อเวลาให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
พร้อมยืนยันในข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ 1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. ต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 3.ต้องมีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
"สิระ" ซัด"ชวน"รวบอำนาจตั้งกก.
นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เตรียมทาบทาม นายอานันท์ ปันยารชุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ มาร่วมเป็นกรรมการปรองดองสมานฉันท์ว่า ตนไม่เห็นด้วยเพราะนายอานันท์ บอกว่าอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ลาออก ถามว่าใครจะมาเป็นนายกฯแทน หรือว่าท่านหวังจะเป็นนายกฯส้มหล่นเหมือนที่ผ่านมา
ส่วนนายอภิสิทธิ์ ที่บอกว่าไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ แล้วพอพล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นนายกฯ นายอภิสิทธิ์ ก็เข้ามาเป็นส.ส.ระยะหนึ่งแล้วลาออก หมายความว่า ท่านไม่ยอมรับระบบรัฐสภาหรือไม่ ขณะที่นายสมชายนั้นสังคมรู้ว่า ฝักใฝ่ฝ่ายใด เป็นคนของใคร จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้ อยากถามไปถึงนายชวน ว่า ใช้อำนาจอะไรเพียงคนเดียวในการตั้งคณะกรรมการฯ ทั้งที่เรามีสภาฯ เหตุใดจึงไม่ขอความเห็นจากสภาฯ ว่าจะออกแบบคณะกรรมการชุดนี้อย่างไร ท่านคิดว่าบ้านเมืองนี้เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ และยังมีสภาฯหรือไม่ ตนเห็นว่าบุคคลที่เตรียมเชิญเข้ามา ล้าสมัย เก่าแก่ หมดสภาพที่จะมาทำงานในจุดนี้ จึงไม่เห็นด้วย ไม่เหมาะสม ที่จะเป็นกรรมการปรองดอง แต่ถ้าเอาไปดองเค็มใส่เกลือจะเหมาะกว่า
"เด็กชวน"ตอก"สิระ"ไร้สัมมาคารวะ
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาฯ กล่าวตอบโต้นายสิระ ที่พูดพาดพิงนายชวน ว่าตัดสินใจคนเดียว ในการเชิญอดีตนายกฯ มาร่วมเป็นกรรมการปรองดองฯ และยังคัดค้านว่าบรรดาอดีตนายกฯ เป็นผู้สูงอายุ น่าจะเอาไปดองเค็มมากกว่ามาเป็นกรรมการปรองดอง ว่า น่าเสียดาย ไม่น่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เพราะแค่เริ่มต้นของการทาบทาม เชิญผู้หลักผู้ใหญ่ และอดีตนายกฯ ก็ถูกใส่ร้ายป้ายสี พาดพิงให้เสียหายแล้ว
"การที่นายสิระ ตั้งใจจะปกป้องรัฐบาล หรือปกป้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งในลักษณะไม่มีสัมมาคารวะ จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้บ้านเมืองมีความสงบ และเกิดการปรองดอง สมานฉันท์ มีแต่จะเป็นการซ้ำเติมเหตุการณ์บ้านเมือง ต่อไปผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ก็ไม่อยากเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพราะแค่ในขั้นตอนติดต่อประสานงาน ก็ถูกใส่ร้าย กล่าวหา บิดเบือน ให้ได้รับความเสียหายเช่นนี้แล้ว อย่าคิดว่าแค่ได้ออกสื่อ เป็นข่าว แต่กลับไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ เพราะการไม่เคารพผู้ใหญ่ เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีกับเยาวชน และสังคม อีกทั้งไม่เหมาะที่จะเป็นพฤติกรรมของผู้ทรงเกียรติ" นายสมบูรณ์ กล่าว
"สุทิน"ยันต้องนำข้อขัดแย้งทุกเรื่องมาคุย
นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ว่า คงต้องรอดูท่าทีทุกฝ่ายว่าจะยอมรับคณะกรรมการชุดนี้ หรือไม่ ส่วนข้อเสนอให้สภาฯเป็นผู้จัดตั้งคณะกรรมการนั้น หากสภาฯจะเป็นเจ้าภาพ ก็ต้องพยายามทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคมให้มากที่สุด ให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น หากสภาฯจะดำเนินการเองทั้งหมด จะไม่ได้รับการยอมรับ
ส่วนจะมีประเด็นการพูดคุยถึง 1 ใน 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ที่เป็นประเด็นละเอียดอ่อนหรือไม่นั้น นายสุทินกล่าวว่า ยังไม่ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับเนื้อหา แต่คิดว่าคณะกรรมการฯ คงต้องหยิบทุกเรื่องเพื่อหาทางออก และคลี่คลายสถานการณ์ให้กับประเทศ จะเว้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องใดที่เป็นชนวน และมีความคิดเห็นแตกต่างกันก็น่าจะเป็นเรื่องที่ควรพูดคุยกัน และแสดงความเป็นห่วงว่า คณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นไม่มีอำนาจในตัว ไม่สามารถสั่งการ หรือผูกพันองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้ จึงอยากให้ทุกฝ่ายร่วมกันคิดหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย หรืออย่างน้อยผลการศึกษา ก็น่าจะสร้างความตระหนักสำคัญเพื่อหาทางออก หากรัฐบาลไม่ฟัง รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ หรือบอกสภาฯ แล้วไม่ทำ สภาฯ ต้องรับผิดชอบ
สำหรับรายชื่ออดีตนายกฯ ที่พร้อมให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการฯนั้น เห็นว่า บุคคลเหล่านี้เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศ มีความคิดและวุฒิภาวะสูง ซึ่งวันนี้การหาบุคคลที่ทุกฝ่ายยอมรับ ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นอดีตนายกฯ ในอดีตก็ถูกกล่าวหากันทั้งนั้น แต่คิดว่าหากไม่เอาคนเหล่านี้แล้วจะไปเอาใคร จึงสนับสนุนให้ทาบทามไว้ก่อน ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะของตัวแทนกลุ่ม เช่น ตัวแทนอดีตนายกฯ ตัวแทนอดีตประธานรัฐสภา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดก็ได้ แต่น่าจะมีคนเหล่านี้อยู่ในคณะกรรมการฯ
‘วิษณุ’มั่นใจมติ‘คกก.สมานฉันท์’มีพลัง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการปรองดองฯ ว่า เป็นเรื่องของรัฐสภาที่รับไปดำเนินการ ไม่เกี่ยวอะไรกับรัฐบาล ส่วนกรณีที่จะดึงอดีตนายกฯ มาร่วมด้วยนั้น ตนไม่มีความเห็น ทั้งในฐานะส่วนตัวและรัฐบาล ไม่พึงออกความเห็นใดๆ ทั้งนั้น
เมื่อถามว่า หากคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีมติออกมาแล้วจะนำไปดำเนินการอย่างไรต่อ นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่ภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายว่าจะให้คณะกรรมการชุดนี้ไปทำอะไร อย่างไร และขนาดไหน ส่วนผลจะออกมาอย่างไรนั้น ตนไม่ทราบ
"ถ้าคณะกรรมการชุดนี้ทำให้ประชาชนคล้อยตามได้ ก็จะเกิดพลังในทางกดดันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่ว่าข้อเสนอแนะเขามีผลไปถึงใคร อาจจะเสนอเป็นข้อๆ ให้เป็นทางเลือก แต่คงไม่มีอำนาจไปทุบโต๊ะ ว่าต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ หรือแนะนำว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ เป็นข้อๆ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะรับไปปฏิบัติเป็นข้อๆ ก็ยังดี เพราะอย่างน้อยเป็นทางออกที่ได้รับการกลั่นกรองจากคนที่มีประสบการณ์ และมีความเป็นกลาง" นายวิษณุ กล่าว
ภาคีปกป้องสถาบันฯนัดม็อบใหญ่ 9 พ.ย.
วานนี้ (4 พ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ นำโดยนายพานสุวรรณ ณ แก้ว, นายทินกร ปลอดภัย ,นายทศพล มนูญญรัตน์, นายสมเดช คงวิจิตร์ ชี้แจงเหตุการปะทะกับเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย พร้อมประกาศจุดยืน นัดชุมนุม 9 พ.ย. 63 เวลา 16.00 น. ที่ลานพ่อขุนรามคำแหง
นายพานสุวรรณ กล่าวว่า พวกเราขอโทษสังคมที่เกิดเหตุความรุนแรงขณะใส่เสื้อเหลือง ยอมรับว่าทำผิดพลาด ตกเป็นเหยื่อของความยั่วยุของอีกฝ่าย และมีหลักฐานที่เครือข่ายรามคำแหงเพื่อปรระขาธิปไตย นำบุคคลภายนอกเข้ามาแสดงพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบัน เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ จึงขับไล่ให้ออกจากมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเจตนาที่จะยั่วยุหรือใช้ความรุนแรง พวกเราพร้อมต่อสู้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ตามกฎหมาย จะไม่ใช้วิธีการแบบกลุ่มคณะราษฎร เอามวลชนไปปิดล้อมสน.ประชาชื่น
นายทินกร กล่าวว่า จากนี้ไปในฐานะศิษย์เก่ารามคำแหง ไม่ยอมให้นักการเมือง กลุ่มการเมืองใดๆมาหลอกใช้นักศึกษารามฯ ตั้งเวทีหรือแสดงพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ ไปทำที่อื่นไม่ว่า แต่ถ้ามาใช้ในม.ราม เราจะสู้ทุกรูปแบบ พร้อมจะเดินไล่รื้อทุกเวที ด้วยวิธีการสันติวิธี
7 เสื้อเหลืองปะทะม็อบนศ.รับทราบข้อหา
ขณะเดียวกัน ที่สน.หัวหมาก นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ทนายความ ได้พา พากลุ่มอาชีวะช่วยชาติที่ถูกออกหมายเรียกในคดีที่บุกฝ่าแนวกั้นตำรวจไปทำร้ายร่างกายนักเรียนนักศึกษาเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ระหว่างการชุมนุมในมหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา รวม 7 คน พร้อมชี้แจงเหตุการณ์และมอบหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประกอบการพิจารณาคดีต่างๆ ส่วนที่เหลืออีก 2 คน จะเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้
'ทูตสหรัฐฯ'แจงข่าวแกนนำม็อบขอลี้ภัยเป็นเท็จ
จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich ได้โพสต์ข้อความระบุว่า บอกว่าพวกเด็กปลดแอก แกนนำจำนวนหลายคน ทำเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองไปอาศัยในสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ทาง CIA รับรองคำขอลี้ภัยให้เด็กพวกนี้ จะได้ไปชุบตัว เรียนหนังสือต่อ ด้วยทุนของสหรัฐอเมริกา แล้วคงกลับมาเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า นั้น
ล่าสุด เพจ Cofactโคแฟค โครงการตรวจสอบข้อเท้จจริงด้วยเทคโนโลยีภาคพลเมือง ได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ ดังนี้
โคแฟค ได้รับคำตอบทางอีเมล์จากสถานทูตสหรัฐฯ การจะขอเป็นผู้ลี้ภัยจะต้องอยู่ใน USAแล้ว สิทธิการเป็นผู้ลี้ภัย ต้องดำเนินการโดย หน่วยงานด้านพลเมือง และการอพยพ USCISเท่านั้น
"ที่ผ่านมามีข้อมูลลวงจำนวนมาก ที่กล่าวหาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของประเทศสหรัฐฯ กับการเมืองไทยเผยแพร่ไปทั่ว ล่าสุดมีกรณีเรื่องการขอลี้ภัยทางการเมืองไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นข่าวเท็จโดยสิ้นเชิง ข้อกล่าวหานี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า มีเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับกระบวนการขอสิทธิของการเป็นผู้ลี้ภัยในสหรัฐฯ เพราะว่าการจะขอเป็นผู้ลี้ภัยได้ ตัวผู้ขอลี้ภัย จะต้องมีสถานะอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว อีกทั้งในกระบวนการขอสิทธิการเป็นผู้ลี้ภัย จะต้องดำเนินการโดยหน่วยงานด้านพลเมืองและการอพยพ (U.S. Citizenship and Immigration Services)ไม่ใช่หน่วยงานอื่นๆของสหรัฐอเมริกา"
วานนี้ (4 พ.ย.) ที่สนามหลวง กลุ่มราษฎร นำโดยนายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ แกนนำกลุ่มขอนแก่นพอกันที นายณัฐชนน ไพโรจน์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และนายสราวุทธิ์ กุลมธุรพจน์ แกนนำเยาวชนปลดแอกเชียงราย พร้อมด้วยนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ดาวดิน ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ พร้อมประกาศจุดยืนไม่ยอมรับคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ และจะไม่เข้าร่วมสังฆกรรมกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพราะคณะกรรมการดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงละครทางาการเมืองของรัฐบาลเท่านั้น เพื่อซื้อเวลาให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
พร้อมยืนยันในข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ 1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. ต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 3.ต้องมีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
"สิระ" ซัด"ชวน"รวบอำนาจตั้งกก.
นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เตรียมทาบทาม นายอานันท์ ปันยารชุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ มาร่วมเป็นกรรมการปรองดองสมานฉันท์ว่า ตนไม่เห็นด้วยเพราะนายอานันท์ บอกว่าอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ลาออก ถามว่าใครจะมาเป็นนายกฯแทน หรือว่าท่านหวังจะเป็นนายกฯส้มหล่นเหมือนที่ผ่านมา
ส่วนนายอภิสิทธิ์ ที่บอกว่าไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ แล้วพอพล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นนายกฯ นายอภิสิทธิ์ ก็เข้ามาเป็นส.ส.ระยะหนึ่งแล้วลาออก หมายความว่า ท่านไม่ยอมรับระบบรัฐสภาหรือไม่ ขณะที่นายสมชายนั้นสังคมรู้ว่า ฝักใฝ่ฝ่ายใด เป็นคนของใคร จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้ อยากถามไปถึงนายชวน ว่า ใช้อำนาจอะไรเพียงคนเดียวในการตั้งคณะกรรมการฯ ทั้งที่เรามีสภาฯ เหตุใดจึงไม่ขอความเห็นจากสภาฯ ว่าจะออกแบบคณะกรรมการชุดนี้อย่างไร ท่านคิดว่าบ้านเมืองนี้เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ และยังมีสภาฯหรือไม่ ตนเห็นว่าบุคคลที่เตรียมเชิญเข้ามา ล้าสมัย เก่าแก่ หมดสภาพที่จะมาทำงานในจุดนี้ จึงไม่เห็นด้วย ไม่เหมาะสม ที่จะเป็นกรรมการปรองดอง แต่ถ้าเอาไปดองเค็มใส่เกลือจะเหมาะกว่า
"เด็กชวน"ตอก"สิระ"ไร้สัมมาคารวะ
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาฯ กล่าวตอบโต้นายสิระ ที่พูดพาดพิงนายชวน ว่าตัดสินใจคนเดียว ในการเชิญอดีตนายกฯ มาร่วมเป็นกรรมการปรองดองฯ และยังคัดค้านว่าบรรดาอดีตนายกฯ เป็นผู้สูงอายุ น่าจะเอาไปดองเค็มมากกว่ามาเป็นกรรมการปรองดอง ว่า น่าเสียดาย ไม่น่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เพราะแค่เริ่มต้นของการทาบทาม เชิญผู้หลักผู้ใหญ่ และอดีตนายกฯ ก็ถูกใส่ร้ายป้ายสี พาดพิงให้เสียหายแล้ว
"การที่นายสิระ ตั้งใจจะปกป้องรัฐบาล หรือปกป้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งในลักษณะไม่มีสัมมาคารวะ จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้บ้านเมืองมีความสงบ และเกิดการปรองดอง สมานฉันท์ มีแต่จะเป็นการซ้ำเติมเหตุการณ์บ้านเมือง ต่อไปผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ก็ไม่อยากเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพราะแค่ในขั้นตอนติดต่อประสานงาน ก็ถูกใส่ร้าย กล่าวหา บิดเบือน ให้ได้รับความเสียหายเช่นนี้แล้ว อย่าคิดว่าแค่ได้ออกสื่อ เป็นข่าว แต่กลับไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ เพราะการไม่เคารพผู้ใหญ่ เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีกับเยาวชน และสังคม อีกทั้งไม่เหมาะที่จะเป็นพฤติกรรมของผู้ทรงเกียรติ" นายสมบูรณ์ กล่าว
"สุทิน"ยันต้องนำข้อขัดแย้งทุกเรื่องมาคุย
นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ว่า คงต้องรอดูท่าทีทุกฝ่ายว่าจะยอมรับคณะกรรมการชุดนี้ หรือไม่ ส่วนข้อเสนอให้สภาฯเป็นผู้จัดตั้งคณะกรรมการนั้น หากสภาฯจะเป็นเจ้าภาพ ก็ต้องพยายามทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคมให้มากที่สุด ให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น หากสภาฯจะดำเนินการเองทั้งหมด จะไม่ได้รับการยอมรับ
ส่วนจะมีประเด็นการพูดคุยถึง 1 ใน 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ที่เป็นประเด็นละเอียดอ่อนหรือไม่นั้น นายสุทินกล่าวว่า ยังไม่ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับเนื้อหา แต่คิดว่าคณะกรรมการฯ คงต้องหยิบทุกเรื่องเพื่อหาทางออก และคลี่คลายสถานการณ์ให้กับประเทศ จะเว้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องใดที่เป็นชนวน และมีความคิดเห็นแตกต่างกันก็น่าจะเป็นเรื่องที่ควรพูดคุยกัน และแสดงความเป็นห่วงว่า คณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นไม่มีอำนาจในตัว ไม่สามารถสั่งการ หรือผูกพันองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้ จึงอยากให้ทุกฝ่ายร่วมกันคิดหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย หรืออย่างน้อยผลการศึกษา ก็น่าจะสร้างความตระหนักสำคัญเพื่อหาทางออก หากรัฐบาลไม่ฟัง รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ หรือบอกสภาฯ แล้วไม่ทำ สภาฯ ต้องรับผิดชอบ
สำหรับรายชื่ออดีตนายกฯ ที่พร้อมให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการฯนั้น เห็นว่า บุคคลเหล่านี้เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศ มีความคิดและวุฒิภาวะสูง ซึ่งวันนี้การหาบุคคลที่ทุกฝ่ายยอมรับ ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นอดีตนายกฯ ในอดีตก็ถูกกล่าวหากันทั้งนั้น แต่คิดว่าหากไม่เอาคนเหล่านี้แล้วจะไปเอาใคร จึงสนับสนุนให้ทาบทามไว้ก่อน ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะของตัวแทนกลุ่ม เช่น ตัวแทนอดีตนายกฯ ตัวแทนอดีตประธานรัฐสภา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดก็ได้ แต่น่าจะมีคนเหล่านี้อยู่ในคณะกรรมการฯ
‘วิษณุ’มั่นใจมติ‘คกก.สมานฉันท์’มีพลัง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการปรองดองฯ ว่า เป็นเรื่องของรัฐสภาที่รับไปดำเนินการ ไม่เกี่ยวอะไรกับรัฐบาล ส่วนกรณีที่จะดึงอดีตนายกฯ มาร่วมด้วยนั้น ตนไม่มีความเห็น ทั้งในฐานะส่วนตัวและรัฐบาล ไม่พึงออกความเห็นใดๆ ทั้งนั้น
เมื่อถามว่า หากคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีมติออกมาแล้วจะนำไปดำเนินการอย่างไรต่อ นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่ภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายว่าจะให้คณะกรรมการชุดนี้ไปทำอะไร อย่างไร และขนาดไหน ส่วนผลจะออกมาอย่างไรนั้น ตนไม่ทราบ
"ถ้าคณะกรรมการชุดนี้ทำให้ประชาชนคล้อยตามได้ ก็จะเกิดพลังในทางกดดันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่ว่าข้อเสนอแนะเขามีผลไปถึงใคร อาจจะเสนอเป็นข้อๆ ให้เป็นทางเลือก แต่คงไม่มีอำนาจไปทุบโต๊ะ ว่าต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ หรือแนะนำว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ เป็นข้อๆ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะรับไปปฏิบัติเป็นข้อๆ ก็ยังดี เพราะอย่างน้อยเป็นทางออกที่ได้รับการกลั่นกรองจากคนที่มีประสบการณ์ และมีความเป็นกลาง" นายวิษณุ กล่าว
ภาคีปกป้องสถาบันฯนัดม็อบใหญ่ 9 พ.ย.
วานนี้ (4 พ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ นำโดยนายพานสุวรรณ ณ แก้ว, นายทินกร ปลอดภัย ,นายทศพล มนูญญรัตน์, นายสมเดช คงวิจิตร์ ชี้แจงเหตุการปะทะกับเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย พร้อมประกาศจุดยืน นัดชุมนุม 9 พ.ย. 63 เวลา 16.00 น. ที่ลานพ่อขุนรามคำแหง
นายพานสุวรรณ กล่าวว่า พวกเราขอโทษสังคมที่เกิดเหตุความรุนแรงขณะใส่เสื้อเหลือง ยอมรับว่าทำผิดพลาด ตกเป็นเหยื่อของความยั่วยุของอีกฝ่าย และมีหลักฐานที่เครือข่ายรามคำแหงเพื่อปรระขาธิปไตย นำบุคคลภายนอกเข้ามาแสดงพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบัน เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ จึงขับไล่ให้ออกจากมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเจตนาที่จะยั่วยุหรือใช้ความรุนแรง พวกเราพร้อมต่อสู้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ตามกฎหมาย จะไม่ใช้วิธีการแบบกลุ่มคณะราษฎร เอามวลชนไปปิดล้อมสน.ประชาชื่น
นายทินกร กล่าวว่า จากนี้ไปในฐานะศิษย์เก่ารามคำแหง ไม่ยอมให้นักการเมือง กลุ่มการเมืองใดๆมาหลอกใช้นักศึกษารามฯ ตั้งเวทีหรือแสดงพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ ไปทำที่อื่นไม่ว่า แต่ถ้ามาใช้ในม.ราม เราจะสู้ทุกรูปแบบ พร้อมจะเดินไล่รื้อทุกเวที ด้วยวิธีการสันติวิธี
7 เสื้อเหลืองปะทะม็อบนศ.รับทราบข้อหา
ขณะเดียวกัน ที่สน.หัวหมาก นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ทนายความ ได้พา พากลุ่มอาชีวะช่วยชาติที่ถูกออกหมายเรียกในคดีที่บุกฝ่าแนวกั้นตำรวจไปทำร้ายร่างกายนักเรียนนักศึกษาเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ระหว่างการชุมนุมในมหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา รวม 7 คน พร้อมชี้แจงเหตุการณ์และมอบหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประกอบการพิจารณาคดีต่างๆ ส่วนที่เหลืออีก 2 คน จะเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้
'ทูตสหรัฐฯ'แจงข่าวแกนนำม็อบขอลี้ภัยเป็นเท็จ
จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich ได้โพสต์ข้อความระบุว่า บอกว่าพวกเด็กปลดแอก แกนนำจำนวนหลายคน ทำเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองไปอาศัยในสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ทาง CIA รับรองคำขอลี้ภัยให้เด็กพวกนี้ จะได้ไปชุบตัว เรียนหนังสือต่อ ด้วยทุนของสหรัฐอเมริกา แล้วคงกลับมาเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า นั้น
ล่าสุด เพจ Cofactโคแฟค โครงการตรวจสอบข้อเท้จจริงด้วยเทคโนโลยีภาคพลเมือง ได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ ดังนี้
โคแฟค ได้รับคำตอบทางอีเมล์จากสถานทูตสหรัฐฯ การจะขอเป็นผู้ลี้ภัยจะต้องอยู่ใน USAแล้ว สิทธิการเป็นผู้ลี้ภัย ต้องดำเนินการโดย หน่วยงานด้านพลเมือง และการอพยพ USCISเท่านั้น
"ที่ผ่านมามีข้อมูลลวงจำนวนมาก ที่กล่าวหาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของประเทศสหรัฐฯ กับการเมืองไทยเผยแพร่ไปทั่ว ล่าสุดมีกรณีเรื่องการขอลี้ภัยทางการเมืองไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นข่าวเท็จโดยสิ้นเชิง ข้อกล่าวหานี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า มีเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับกระบวนการขอสิทธิของการเป็นผู้ลี้ภัยในสหรัฐฯ เพราะว่าการจะขอเป็นผู้ลี้ภัยได้ ตัวผู้ขอลี้ภัย จะต้องมีสถานะอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว อีกทั้งในกระบวนการขอสิทธิการเป็นผู้ลี้ภัย จะต้องดำเนินการโดยหน่วยงานด้านพลเมืองและการอพยพ (U.S. Citizenship and Immigration Services)ไม่ใช่หน่วยงานอื่นๆของสหรัฐอเมริกา"