ผู้จัดการรายวัน360-เอกชนและวิสาหกิจชุมชน พร้อมเดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง 100 เมกะวัตต์ รอความชัดเจนจากภาครัฐประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่ชัดเจน ก่อนเปิดเสนอซื้อขายไฟม.ค.64 แนะรัฐใช้วิธีประมูลแข่งราคา อาจส่งผลกระทบ กดราคาพืชพลังงานชาวบ้านไม่เป็นผลดี ขณะที่เกษตรกรเตรียมนำนาข้าวบางส่วนมาขยายปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้เพิ่มหวังรัฐเดินหน้าโดยเร็ว
ม.ร.ว.วรากร วรวรรณ ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม. ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ว่าคงรอประกาศร่างหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนจากกระทรวงพลังงาน คาดกระบวนการต่างๆจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และเปิดให้เอกชนยื่นเสนอขายไฟฟ้านำร่อง 100-150 เมกะวัตต์ได้ในเดือนมกราคมปี2564 อย่างไรก็ตาม ความเห็นส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการคัดเลือกด้วยวิธีประมูล (Bidding ) เนื่องจากการแข่งขันด้วยราคาต่ำสุด จะนำไปสู่การกดราคาพืชพลังงานได้แก่ หญ้าเนเปียร์และไม้โต้เร็ว ซึ่งไม่ตอบโจทย์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากแต่อย่างใด
"การแข่งขันผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด จะเป็นผู้ชนะ ในที่สุดต้องไปกดราคารับซื้อพืชพลังงานจากเกษตรกร ขณะเดียวกันรายเล็กที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเสียเปรียบบริษัทมหาชน ที่เพียงเสนอต้นทุนต่ำๆเสมอตัว แต่มูลค่าหุ้นเพิ่มแล้วในตลาดฯเขาก็อยู่ได้"ม.ร.ว.วรากรกล่าว
สำหรับรูปแบบการคัดเลือกที่ได้มีการนำเสนอก่อนหน้ามี 3 รูปแบบได้แก่ 1. ประมูล 2. เปิดให้ยื่นโครงการผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ 3. จับสลาก ส่วนตัวเห็นว่า วิธีจับสลากสามารถดำเนินการได้ แต่ต้องอยู่ที่ระดับนโยบายจะพิจารณาเลือกแนวทางใด ส่วนกรอบราคารับซื้อไฟฟ้าตามต้นทุนที่แท้จริง (Feed in Tariff-FiT) ยังขอให้ยึดตามกรอบเดิมที่เคยกำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ราคารับซื้อพืชพลังงาน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงป้อนให้กับโรงไฟฟ้าชุมชน ที่เป็นรูปแบบเกษตรพันธสัญาหรือ (Contract Farming) ที่จะป้อนถึงโรงไฟฟ้านั้นเบื้องต้นเฉลี่ยราคาหญ้าเนเปียร์ควรจะอยู่ในระดับ 650 บาทต่อตัน เนื่องจากต้องรวมค่าขนส่งและค่าตัดที่สูงขึ้น เพื่อให้เหลือเป็นรายได้ที่ตกถึงมือเกษตรกรจริงๆประมาณ 300 บาทต่อตัน เป็นต้น
นางนฤชล พฤกษา ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนสร้างอาชีพตลาดไทร จ.นครราชสีมา กล่าวว่า กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 290 คนที่ขณะนี้ต้องการเห็นการเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าชุมชนด้วยความหวัง เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการนำพื้นที่ปลูกนาข้าวบางส่วน ไปปลูกหญ้าเนเปียร์เพิ่มขึ้น เพราะนาข้าวทำได้เพียงปีละครั้ง ขณะที่การปลูกหญ้าสามารถตัดส่งโรงไฟ้ฟ้าได้ 2-3 รอบ
"เรารอได้ แต่ขอให้มีความหวัง ที่ผ่านมาบางส่วนเราปลูกข้าว และปลูกหญ้าเนเปียร์ไว้เลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว หากมีโรงไฟฟ้าชุมชนก็จะขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานเพิ่ม เพราะทำนาที่ผ่านมาชีวิตเกษตรกรเองก็ยากลำบาก อยากวอนให้รัฐเร่งโครงการนี้" นางนฤชลกล่าว
นายผจญ ศรีบุญเรือง นายกสมาคมก๊าซชีวภาพไทย กล่าวว่า การคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนนั้น เห็นว่าควรจะคัดเลือกผู้ที่เป็นมืออาชีพสามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าและบริหารจัดการได้อย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการคัดเลือกจึงต้องพิจารณาจากคุณสมบัติดังกล่าว เพื่อตอบโจทย์ให้โครงการเดินหน้าไปได้ และเป็นที่ยอมรับของชุมชนอย่างแท้จริง โดยขณะนี้ผู้พัฒนาโครงการและวิสาหกิจชุมชน ต่างก็มีความพร้อมในการดำเนินการอยู่แล้ว เหลือเพียงรอการประกาศการรับซื้อจากภาครัฐเท่านั้น
"รัฐต้องการนำร่อง 100 เมกะวัตต์ก่อนเพื่อศึกษาข้อดี ข้อเสีย ในการที่จะเดินหน้าในระยะต่อไปซึ่งก็เข้าใจในส่วนนี้โดยเอกชนเองก็ยังคงมองว่าโครงการนี้จะเดินหน้าต่อไปหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เห็นชอบแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(PDP2018)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 แล้ว"นายผจญกล่าว
ม.ร.ว.วรากร วรวรรณ ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม. ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ว่าคงรอประกาศร่างหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนจากกระทรวงพลังงาน คาดกระบวนการต่างๆจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และเปิดให้เอกชนยื่นเสนอขายไฟฟ้านำร่อง 100-150 เมกะวัตต์ได้ในเดือนมกราคมปี2564 อย่างไรก็ตาม ความเห็นส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการคัดเลือกด้วยวิธีประมูล (Bidding ) เนื่องจากการแข่งขันด้วยราคาต่ำสุด จะนำไปสู่การกดราคาพืชพลังงานได้แก่ หญ้าเนเปียร์และไม้โต้เร็ว ซึ่งไม่ตอบโจทย์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากแต่อย่างใด
"การแข่งขันผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด จะเป็นผู้ชนะ ในที่สุดต้องไปกดราคารับซื้อพืชพลังงานจากเกษตรกร ขณะเดียวกันรายเล็กที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเสียเปรียบบริษัทมหาชน ที่เพียงเสนอต้นทุนต่ำๆเสมอตัว แต่มูลค่าหุ้นเพิ่มแล้วในตลาดฯเขาก็อยู่ได้"ม.ร.ว.วรากรกล่าว
สำหรับรูปแบบการคัดเลือกที่ได้มีการนำเสนอก่อนหน้ามี 3 รูปแบบได้แก่ 1. ประมูล 2. เปิดให้ยื่นโครงการผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ 3. จับสลาก ส่วนตัวเห็นว่า วิธีจับสลากสามารถดำเนินการได้ แต่ต้องอยู่ที่ระดับนโยบายจะพิจารณาเลือกแนวทางใด ส่วนกรอบราคารับซื้อไฟฟ้าตามต้นทุนที่แท้จริง (Feed in Tariff-FiT) ยังขอให้ยึดตามกรอบเดิมที่เคยกำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ราคารับซื้อพืชพลังงาน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงป้อนให้กับโรงไฟฟ้าชุมชน ที่เป็นรูปแบบเกษตรพันธสัญาหรือ (Contract Farming) ที่จะป้อนถึงโรงไฟฟ้านั้นเบื้องต้นเฉลี่ยราคาหญ้าเนเปียร์ควรจะอยู่ในระดับ 650 บาทต่อตัน เนื่องจากต้องรวมค่าขนส่งและค่าตัดที่สูงขึ้น เพื่อให้เหลือเป็นรายได้ที่ตกถึงมือเกษตรกรจริงๆประมาณ 300 บาทต่อตัน เป็นต้น
นางนฤชล พฤกษา ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนสร้างอาชีพตลาดไทร จ.นครราชสีมา กล่าวว่า กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 290 คนที่ขณะนี้ต้องการเห็นการเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าชุมชนด้วยความหวัง เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการนำพื้นที่ปลูกนาข้าวบางส่วน ไปปลูกหญ้าเนเปียร์เพิ่มขึ้น เพราะนาข้าวทำได้เพียงปีละครั้ง ขณะที่การปลูกหญ้าสามารถตัดส่งโรงไฟ้ฟ้าได้ 2-3 รอบ
"เรารอได้ แต่ขอให้มีความหวัง ที่ผ่านมาบางส่วนเราปลูกข้าว และปลูกหญ้าเนเปียร์ไว้เลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว หากมีโรงไฟฟ้าชุมชนก็จะขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานเพิ่ม เพราะทำนาที่ผ่านมาชีวิตเกษตรกรเองก็ยากลำบาก อยากวอนให้รัฐเร่งโครงการนี้" นางนฤชลกล่าว
นายผจญ ศรีบุญเรือง นายกสมาคมก๊าซชีวภาพไทย กล่าวว่า การคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนนั้น เห็นว่าควรจะคัดเลือกผู้ที่เป็นมืออาชีพสามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าและบริหารจัดการได้อย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการคัดเลือกจึงต้องพิจารณาจากคุณสมบัติดังกล่าว เพื่อตอบโจทย์ให้โครงการเดินหน้าไปได้ และเป็นที่ยอมรับของชุมชนอย่างแท้จริง โดยขณะนี้ผู้พัฒนาโครงการและวิสาหกิจชุมชน ต่างก็มีความพร้อมในการดำเนินการอยู่แล้ว เหลือเพียงรอการประกาศการรับซื้อจากภาครัฐเท่านั้น
"รัฐต้องการนำร่อง 100 เมกะวัตต์ก่อนเพื่อศึกษาข้อดี ข้อเสีย ในการที่จะเดินหน้าในระยะต่อไปซึ่งก็เข้าใจในส่วนนี้โดยเอกชนเองก็ยังคงมองว่าโครงการนี้จะเดินหน้าต่อไปหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เห็นชอบแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(PDP2018)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 แล้ว"นายผจญกล่าว