“ประยุทธ์” ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงรุ่งสาง จนท.เข้ายึดพื้นที่ข้างทำเนียบคืน พร้อมรวบแกนนำ “อานนท์-เพนกวิน-รุ้ง” ก่อนจ๋อยนอนคุกถ้วนหน้า ม็อบลั่นยึดราชประสงค์ต่อ “ก้าวไกล” โวยรัฐประหารเงียบ “ฝ่ายค้าน” จี้ปล่อยตัวม็อบทันที
กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมในนาม "คณะราษฎร 2563" ได้นำมวลชนปักหลักชุมนุมที่บริเวณ ถ.พิษณุโลก ข้างทำเนียบรัฐบาล เมื่อช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมประกาศจะยกระดับการชุมนุมจนกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะลาออกนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงกลางดึกของวันที่ 14 ต.ค. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่ เมื่อช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค. ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเข้าประชิดขบวนเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ซึ่งเสด็จผ่านบริเวณ ถ.พิษณุโลก ข้างทำเนียบรัฐบาล ระหว่างการเสด็จฯแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ที่วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการกับผู้ที่ขัดขวางขบวนเสด็จพระราชดำเนิน และผู้ที่กระทำอื่นใดในลักษณะที่เป็นการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด ไม่ละเว้น เพราะถือว่า เป็นการชุมนุมโดยไม่สงบ เป็นการบ่อนทำลายการบริหารราชการแผ่นดิน และความสงบสุขของประชาชน
“อานนท์”นกรู้สลายม็อบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 20.45 น.ของัวนที่ 14 ต.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประกาศขอความร่วมมือให้ผู้ร่วมชุมนุม ให้ออกจากพื้นที่ภายในเวลา 22.00 น. เนื่องจากผิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่ไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมใกล้กับทำเนียบรัฐบาลในระยะ 50 เมตร
ต่อมาเวลา 21.10 น. นายอานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎร 2563 ขึ้นเวทีปราศรัยอ้างว่า มีการสั่งการให้ทหารและตำรวจเข้าสลายการชุมนุมในคืนนี้ พร้อมระบุขณะนี้คือจุดแตกหักของประวัติศาสตร์ทางการเมือง และหากมีการสลายการชุมนุมประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิมอีก
ขณะที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า, นายปิยบุตร แสงกนกกุล และ น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ได้เดินทางมาให้กำลังใจผู้ร่วมชุมนุม เมื่อเวลา 21.30 น. โดยยืนยันว่า ไม่ได้อยู่เบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง แต่มาเพื่อเป็นหนึ่งในจำนวนนับให้กับการชุมนุม พร้อมย้ำว่า เป็นการชุมนุมตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย จึงไม่ต้องการเห็นการกระทำที่รุนแรง ซึ่งรัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศ
ยุติชุมนุมหน้าทำเนียบฯ
กระทั่งเวลา 23.00 น.พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. แถลงอีกครั้งให้ผู้ชุมนุมอยู่ในพื้นที่ได้ถึงเวลา 24.00 น. และให้เดินทางกลับบ้าน อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ชุมนุมยังคงปักหลักอยู่ในพื้นที่เหมือนเดิม
เมื่อเวลา 01.15 น.ของวันที่ 15 ต.ค. ที่เวทีหน้าทำเนียบรัฐบาล นายอานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มคณะราษฎร ได้ประกาศว่า จะยุติการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในเช้าวันนี้ (15 ต.ค.) แต่จะยกระดับการชุมนุมไปปักหลักชุมนุมที่บริเวณสี่เเยกราชประสงค์ ในเวลา 16.00 น.วันนี้เป็นต้นไป ดังนั้นคืนนี้ขอให้ผู้ชุมนุมพักค้างคืนที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
“สาเหตุที่ต้องยุติการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพราะเป็นชัยภูมิที่เสียเปรียบ จึงขอให้ผู้ชุมนุมไปรวมตัวที่ราชประสงค์ในช่วง 4 โมงเย็นนี้ และหากคืนนี้เจ้าหน้าที่จะเข้ามาจับกุมก็ขอให้ผู้ชุมนุมนั่งเฉยๆ และแกนนำจะรอให้จับกุมอยู่ที่นี่"นายอานนท์ ระบุ
ประกาศฉุกเฉิน-“บิ๊กป้อม”คุม
จนเมื่อเวลา 04.15 น.ของวันที่ 15 ต.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยมีสาระสำคัญ ระบุว่า โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายใน กทม. โดยใช้วิธีการและช่องทางต่างๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วน วุ่นวาย และความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรง กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐ หรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ยึดคืนพื้นที่-ไร้เหตุปะทะ
หลังนายกรัฐมนตรีออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฯ พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. ได้สั่งเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจพลร่ม ตำรวจตระเวนชายแดน และตำรวจควบคุมฝูงชน เคลื่อนกำลังพล พร้อมรถน้ำแรงดันสูง และรถเครื่องขยายเสียงออกไปประจำจุดที่มีการชุมนุมรอบบริเวณทำเนียบฯ เตรียมกระชับพื้นที่
ระหว่างนั้น นายอานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎร ได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบว่า รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ กทม.แล้ว ขอให้มวลแยกย้ายกันกลับบ้านทันที ทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมชุมนุม ต่างวิ่งไปตาม ถ.พิษณุโลก มุ่งหน้าไปแยกนางเลิ้ง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนดาหน้าเข้าไปตาม ถ.พิษณุโลกไปยังพื้นที่การชุมนุม ด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอคืนพื้นที่ ทำให้มวลชนต่างหนีเข้าซอยบริเวณย่านนางเลิ้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตามไปจับผู้ชุมนุมในหลายจุด และสามารถยึดคืนบริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาลได้ภายในเวลา 30 นาที โดยไร้เหตุปะทะรุนแรง
รวบ“อานนท์”คาแยกนางเลิ้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ผู้ชุมนุมทยอยออกจากพื้นที่จนหมดแล้ว นายอานนท์ ได้เดินเท้าออกมาพร้อมคณะผู้ติดตาม และหน่วยการ์ดรักษาความปลอดภัย กระทั่งมาถึงบริเวณแยกนางเลิ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจชุด อคฝ.ได้ตั้งแผงกั้นไม่ให้ขบวนนายอานนท์ผ่าน จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แสดงหมายจับกุม แล้วแจ้งสิทธิ์ให้กับผู้ต้องหาทราบ โดย นายอานนท์ ได้พยายามขอโทรศัพท์ติดต่อญาติกับทางเจ้าหน้าที่ โดยอ้างสิทธิ์ของผู้ต้องหาที่สามารถติดต่อญาติ และนำตัวบุคคลที่ไว้ใจ ซึ่งเป็นพี่ชายไปด้วยอีก 1 คน เจ้าหน้าที่ให้นายอานนท์ใช้สิทธิ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ นายอานนท์จึงยอมขึ้นรถไปแต่โดยดี ขณะที่มวลชนบางส่วนยังตะโกนต่อว่าเจ้าหน้าที่ ด้วยความไม่พอใจที่จับกุมตัว นายอานนท์
“เพนกวิน-รุ้ง” โดนรวบด้วย
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้แสดงหมายจับกุมแกนนำรายอื่นๆ อาทิ นายพริษฐ์ หรือ เพนกวิน ชิวารักษ์ และนายประสิทธิ์ อุธาโรจน์ ถูกจับกุม นำตัวไปสอบสวนรวมกับคนอื่นๆที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) จ.ปทุมธานี
ต่อมา น.ส.ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งไม่ได้อยู่ที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล ได้อ่านแถลงการณ์ คณะราษฎร ผ่านเฟซบุ๊กเพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ระบุว่า การสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมทั้งมีการจับกลุ่มแกนนำ และผู้ปราศรัย เป็นการกระทำที่ไม่มีความชอบธรรม เพราะการชุมนุมเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน พร้อมประกาศเชิญชวนพี่น้อง ออกมาร่วมชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เวลา 16.00 น. วันที่ 15 ต.ค. หลังจากอ่านแถลงการณ์ได้ไม่นาน น.ส.ปนัสยา ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าจับกุมตัวถึงห้องพัก ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกับทำเนียบรัฐบาล โดย น.ส.ปนัสยา ได้นอนลงกับพื้น ไม่ยอมรับการจับกุมของเจ้าหน้าที่ ก่อนถูกอุ้มขึ้นรถวีลแชร์ และนำตัวไปรวมกับแกนนำที่ถูกจับก่อนหน้านี้ที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี
นายกฯเข้าทำเนียบฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเจ้าหน้าที่เคลียร์พื้นที่โดยรอบ เวลา 07.30 น. ประตูทำเนียบรัฐบาลก็เปิดให้เข้าออกได้แล้ว และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ผู้สื่อข่าว สามารถเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ต่อมาเวลา 10.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็เดินทางเข้าทำเนียบฯ เพื่อให้การต้อนรับ นายหวัง อี้ มนตรีเเห่งรัฐ และ รมว.การต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เข้าเยี่ยมคารวะ ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษ ในวันที่ 16 ต.ค. เวลา 10.00 น .ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเชิญเฉพาะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ เข้าร่วมประชุมเท่านั้น โดยมีวาระการประชุม เพื่อพิจารณาภายหลังจากที่นายกฯ ประกาศ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในพื้นที่ กทม. เพื่อควบคุมและดูแลสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เนื่องจากตามกฎหมาย จะต้องนำการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เข้าสู่ที่ประชุม ครม. หลังวันประกาศใช้ ภายใน 3 วัน
สั่งเด้ง 3 ตร.พลาดคุมม็อบ
วันเดียวกันนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้เซ็นคำสั่งย้าย พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) พล.ต.ต.มานพ สุคนธ์ธนพัฒน์ ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (ผบก.อคฝ.) และ พล.ต.ต.ปราศัย จิตสนธิ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ไปปฏิบัติราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) โดยขาดจากตำแหน่งเดิม ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค.เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีรายงานข่าวว่า สาเหตุที่มีคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุที่ปล่อยให้ม็อบเข้าประชิดและกีดขวางเส้นทางเสด็จฯ
ตร.พอใจยึดคืนพื้นที่
ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น.และ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. แถลงข่าวการสลายการชุมนุมกลุ่มคณะราษฎร ว่า ใช้กำลังตำรวจประมาณ 6 กองร้อย มีผลการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี มีการคุมตัวแกนนำ และผู้ชุมนุมได้ทั้งสิ้น 22 คน โดยมี 4 คน เป็นแกนนำ ได้แก่ นายพริษฐ์, นายอานนท์, นายประสิทธิ์ และ น.ส.ปนัสยา ส่วนที่เหลือเข้าข่ายฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และถูฏคุมตัวอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1 ทุกคนไม่ได้รับบาดเจ็บระหว่างการจับกุมตัว โดยในรายชื่อทั้งหมดยังไม่มี นายภานุพงษ์ จาดนอก หรือ ไมค์ ระยอง รวมอยู่ด้วย ซึ่งหลังจากนี้หากพบผู้ใดกระทำความผิด หรือมีหมายจับ ก็จะดำเนินคดีเพิ่มเติมต่อไป
ลั่นห้ามชุมนุมราชประสงค์
ด้าน พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงแจ้งเตือนกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีการชักชวนรวมตัวบริเวณแยกราชประสงค์ ช่วงเย็นวันนี้ ว่า จะมีความผิดกฎหมาย ฐานฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กทม.โดยขอให้งดการรวมตัวชุมนุมอย่างเด็ดขาด ซึ่งตามขั้นตอนปฏิบัติ หากมีการรวมตัวชุมนุม เจ้าหน้าที่จะมีการแจ้งเตือนก่อน พร้อมให้เวลาผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ แต่หากฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องมีการเข้าควบคุมตัวตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. จะมีการเปิดกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.)โดยมี ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ซึ่งจะมีการเชิญหน่วยร่วมปฏิบัติเข้าหารือแนวทางปฏิบัติ พร้อมยืนยันว่า การชุมนุมมั่วสุมเกิน 5 คน ที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง สามารถทำได้ พร้อมระบุว่า ขณะนี้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ยังคงบังคับใช้เฉพาะในพื้นที่ กทม.แต่หากสถานการณ์ลุกลามไปยังจังหวัดอื่นๆ ก็อาจมีการพิจารณาประกาศเพิ่ม
"พิธา"บุกช่วยประกันแกนนำ
เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานีตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล นายทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และนายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย เดินทางมาเข้าติดตามสถานการณ์และดำเนินการช่วยเหลือแกนนำคณะราษฎร 2563 ที่ถูกควบคุมตัว โดย นายชัยธวัช กล่าวว่า การอ้างการชุมนุมที่ไม่สงบของนักศึกษา ไม่น่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะจะเห็นได้ว่าตลอดทั้งวันในการชุมนุม มีความอดทนอดกลั้นจากการถูกยั่วยุ และใช้แนวทางที่สันติ มีการหลีกเลี่ยงเส้นทางไม่ให้กระทบต่อขบวนเสด็จฯ แต่เรื่องนี้ก็ถูกหยิบยกมาเป็นข้อกล่าวอ้างที่สำคัญเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขอตั้งคำถามด้วยว่า การใช้อำนาจที่ไม่มีความชัดเจนของรัฐแบบนี้ก็คือการทำรัฐประหารเงียบใช่หรือไม่
“ฝ่ายค้าน”จี้ปล่อยตัวม็อบ
เมื่อเวลา 15.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย หัวหน้าพรรคหรือตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ร่วมประชุมถึงสถานการณ์การเมืองหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมการชุมนุมคณะราษฎร ภายหลังการประชุม พรรคร่วมฝ่ายค้านออกแถลงการณ์ มีสาระสำคัญว่า ขอให้รัฐบาลเคารพในสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และยุติการคุกคามผู้ชุมนุมทุกรูปแบบ พร้อมเสนอให้นายกรัฐมนตรียกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงโดยทันที เพราะการกระทำดังกล่าวไม่ต่างกับการยึดอำนาจและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมองว่าการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีเหตุผลใดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม
3 สถาบันป้องม็อบไม่หมิ่นฯ
เช่นเดียวกับสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยระบุว่า หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องใช้บังคับกฎหมายอย่างเป็นธรรม และไม่ใช้บังคับกฎหมายและดำเนินการจับกุมเพียงเพราะต้องการให้การชุมนุมนั้นยุติลงหรือเพียงเพื่อขัดขวางไม่ให้แกนนำผู้ชุมนุมนั้นได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป และขอเรียกร้องไปยังทางมหาวิทยาลัยประสานงานช่วยเหลือนิสิตดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวฯ
“กรณีขบวนเสด็จพระราชดำเนินผ่านมาบริเวณที่กลุ่มผู้ชุมนุมปิดทางจราจรอยู่ กรณีนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้ง 3 มหาวิทยาลัย เห็นว่า การชุมนุมในบริเวณดังกล่าว แม้ส่งผลให้ขบวนเสด็จพระราชดำเนินฯ นั้นต้องชะลอตัวลงอยู่บ้าง แต่ก็มิได้เกิดความรุนแรงหรือการกระทำใดอันอาจถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แต่อย่างใด”
หมายจับ “เอกชัย” ม.110
รายงานข่าวจาก ศาลอาญา แจ้งว่า ศาลอาญาได้อนุมัติตามคำร้องของพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ออกหมายจับ นายเอกชัย หงส์กังวาน และนายบุญเกื้อหนุน เป้าทอง นักกิจกรรมทางการเมือง ตามหมายจับที่ 1595/2563 และ 1596/2563 ลงวันที่ 15 ต.ค.63 ในข้อหาประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 วรรค 2 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 16 ปีถึง 20 ปี ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
“อานนท์-รุ้ง-กวิ้น” นอนคุก
อีกด้าน รายงานข่าวจาก จ.เชียงใหม่แจ้งว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ควบคุมตัวนายอานนท์ และนายประสิทธิ์ แกนนำคณะราษฎร 2563 ที่ถูกจับกุมตามหมายจับของ สภ.เมืองเชียงใหม่ ข้อหากระทำผิดเกี่ยวกับการชุมนุม เดินทางถึง จ.เชียงใหม่ เพื่อส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี ก่อนนำตัวไปฝากขังที่ศาล จ.เชียงใหม่ และศาลได้อนุญาตฝากขังนายอานนท์ และนายประสิทธิ์ โดยไม่อนุญาตให้ประกันตัว เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวทั้งสองคนไปยังเรือนจำกลางเชียงใหม่ทันที
เช่นเดียวกับที่ศาลจังหวัดธัญบุรี พนักงานสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรคลองหลวง ยื่นคําร้องขอฝากขัง น.ส.ปนัสยา, นายณัฐชนน หรือ ณัฐ ไพโรจน์ และนายพริษฐ์ เพื่อทําการสอบสวน โดยผู้ต้องหาทั้ง 3 ได้ยื่นคําร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาล แต่ศาลมีคําสั่งว่า ผู้ต้องหานี้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดหลายครั้งในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูงหลายข้อหา อีกทั้งพนักงานสอบสวนคัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราว หากปล่อยตัวชั่วคราวออกไปอาจจะกระทําตามที่ถูกกล่าวหาอีก หรือหลบหนีไปได้ ในชั้นนี้ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
ม็อบนัดอีก 5 โมงเย็นวันนี้
ที่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่าย ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร 2563 ทยอยเดินทางเข้ามาจับจองพื้นที่ ขณะเดียวกันก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายกองร้อยเข้ามารักษาพื้นที่ พร้อมประกาศข้อห้ามตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง โดเจ้าหน้าที่ได้แจ้งกับผู้ชุมนุมว่า การชุมนุมในพื้นที่ กทม.ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เมื่อฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีมากกว่าสามารถเข้ายึดพื้นที่แยกราชประสงค์ได้ และปิดการจราจรโดยรอบตั้งแต่ช่วงเย็น โดยมี นายทัตเทพ หรือฟอร์ด เรืองประไพกิจเสรี และนายภานุพงษ์ หรือ ไมค์ จาดนอก เป็นแกนนำ ก่อนที่จะมีการประกาศยุติการชุมนุมนเวลา 22.00 น. พร้อมประกาศนัดหมายมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์อีกครั้งวันนี้ (16 ต.ค.) เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป.
กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมในนาม "คณะราษฎร 2563" ได้นำมวลชนปักหลักชุมนุมที่บริเวณ ถ.พิษณุโลก ข้างทำเนียบรัฐบาล เมื่อช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมประกาศจะยกระดับการชุมนุมจนกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะลาออกนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงกลางดึกของวันที่ 14 ต.ค. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่ เมื่อช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค. ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเข้าประชิดขบวนเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ซึ่งเสด็จผ่านบริเวณ ถ.พิษณุโลก ข้างทำเนียบรัฐบาล ระหว่างการเสด็จฯแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ที่วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการกับผู้ที่ขัดขวางขบวนเสด็จพระราชดำเนิน และผู้ที่กระทำอื่นใดในลักษณะที่เป็นการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด ไม่ละเว้น เพราะถือว่า เป็นการชุมนุมโดยไม่สงบ เป็นการบ่อนทำลายการบริหารราชการแผ่นดิน และความสงบสุขของประชาชน
“อานนท์”นกรู้สลายม็อบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 20.45 น.ของัวนที่ 14 ต.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประกาศขอความร่วมมือให้ผู้ร่วมชุมนุม ให้ออกจากพื้นที่ภายในเวลา 22.00 น. เนื่องจากผิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่ไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมใกล้กับทำเนียบรัฐบาลในระยะ 50 เมตร
ต่อมาเวลา 21.10 น. นายอานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎร 2563 ขึ้นเวทีปราศรัยอ้างว่า มีการสั่งการให้ทหารและตำรวจเข้าสลายการชุมนุมในคืนนี้ พร้อมระบุขณะนี้คือจุดแตกหักของประวัติศาสตร์ทางการเมือง และหากมีการสลายการชุมนุมประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิมอีก
ขณะที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า, นายปิยบุตร แสงกนกกุล และ น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ได้เดินทางมาให้กำลังใจผู้ร่วมชุมนุม เมื่อเวลา 21.30 น. โดยยืนยันว่า ไม่ได้อยู่เบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง แต่มาเพื่อเป็นหนึ่งในจำนวนนับให้กับการชุมนุม พร้อมย้ำว่า เป็นการชุมนุมตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย จึงไม่ต้องการเห็นการกระทำที่รุนแรง ซึ่งรัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศ
ยุติชุมนุมหน้าทำเนียบฯ
กระทั่งเวลา 23.00 น.พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. แถลงอีกครั้งให้ผู้ชุมนุมอยู่ในพื้นที่ได้ถึงเวลา 24.00 น. และให้เดินทางกลับบ้าน อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ชุมนุมยังคงปักหลักอยู่ในพื้นที่เหมือนเดิม
เมื่อเวลา 01.15 น.ของวันที่ 15 ต.ค. ที่เวทีหน้าทำเนียบรัฐบาล นายอานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มคณะราษฎร ได้ประกาศว่า จะยุติการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในเช้าวันนี้ (15 ต.ค.) แต่จะยกระดับการชุมนุมไปปักหลักชุมนุมที่บริเวณสี่เเยกราชประสงค์ ในเวลา 16.00 น.วันนี้เป็นต้นไป ดังนั้นคืนนี้ขอให้ผู้ชุมนุมพักค้างคืนที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
“สาเหตุที่ต้องยุติการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพราะเป็นชัยภูมิที่เสียเปรียบ จึงขอให้ผู้ชุมนุมไปรวมตัวที่ราชประสงค์ในช่วง 4 โมงเย็นนี้ และหากคืนนี้เจ้าหน้าที่จะเข้ามาจับกุมก็ขอให้ผู้ชุมนุมนั่งเฉยๆ และแกนนำจะรอให้จับกุมอยู่ที่นี่"นายอานนท์ ระบุ
ประกาศฉุกเฉิน-“บิ๊กป้อม”คุม
จนเมื่อเวลา 04.15 น.ของวันที่ 15 ต.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยมีสาระสำคัญ ระบุว่า โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายใน กทม. โดยใช้วิธีการและช่องทางต่างๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วน วุ่นวาย และความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรง กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐ หรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ยึดคืนพื้นที่-ไร้เหตุปะทะ
หลังนายกรัฐมนตรีออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฯ พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. ได้สั่งเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจพลร่ม ตำรวจตระเวนชายแดน และตำรวจควบคุมฝูงชน เคลื่อนกำลังพล พร้อมรถน้ำแรงดันสูง และรถเครื่องขยายเสียงออกไปประจำจุดที่มีการชุมนุมรอบบริเวณทำเนียบฯ เตรียมกระชับพื้นที่
ระหว่างนั้น นายอานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎร ได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบว่า รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ กทม.แล้ว ขอให้มวลแยกย้ายกันกลับบ้านทันที ทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมชุมนุม ต่างวิ่งไปตาม ถ.พิษณุโลก มุ่งหน้าไปแยกนางเลิ้ง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนดาหน้าเข้าไปตาม ถ.พิษณุโลกไปยังพื้นที่การชุมนุม ด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอคืนพื้นที่ ทำให้มวลชนต่างหนีเข้าซอยบริเวณย่านนางเลิ้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตามไปจับผู้ชุมนุมในหลายจุด และสามารถยึดคืนบริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาลได้ภายในเวลา 30 นาที โดยไร้เหตุปะทะรุนแรง
รวบ“อานนท์”คาแยกนางเลิ้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ผู้ชุมนุมทยอยออกจากพื้นที่จนหมดแล้ว นายอานนท์ ได้เดินเท้าออกมาพร้อมคณะผู้ติดตาม และหน่วยการ์ดรักษาความปลอดภัย กระทั่งมาถึงบริเวณแยกนางเลิ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจชุด อคฝ.ได้ตั้งแผงกั้นไม่ให้ขบวนนายอานนท์ผ่าน จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แสดงหมายจับกุม แล้วแจ้งสิทธิ์ให้กับผู้ต้องหาทราบ โดย นายอานนท์ ได้พยายามขอโทรศัพท์ติดต่อญาติกับทางเจ้าหน้าที่ โดยอ้างสิทธิ์ของผู้ต้องหาที่สามารถติดต่อญาติ และนำตัวบุคคลที่ไว้ใจ ซึ่งเป็นพี่ชายไปด้วยอีก 1 คน เจ้าหน้าที่ให้นายอานนท์ใช้สิทธิ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ นายอานนท์จึงยอมขึ้นรถไปแต่โดยดี ขณะที่มวลชนบางส่วนยังตะโกนต่อว่าเจ้าหน้าที่ ด้วยความไม่พอใจที่จับกุมตัว นายอานนท์
“เพนกวิน-รุ้ง” โดนรวบด้วย
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้แสดงหมายจับกุมแกนนำรายอื่นๆ อาทิ นายพริษฐ์ หรือ เพนกวิน ชิวารักษ์ และนายประสิทธิ์ อุธาโรจน์ ถูกจับกุม นำตัวไปสอบสวนรวมกับคนอื่นๆที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) จ.ปทุมธานี
ต่อมา น.ส.ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งไม่ได้อยู่ที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล ได้อ่านแถลงการณ์ คณะราษฎร ผ่านเฟซบุ๊กเพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ระบุว่า การสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมทั้งมีการจับกลุ่มแกนนำ และผู้ปราศรัย เป็นการกระทำที่ไม่มีความชอบธรรม เพราะการชุมนุมเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน พร้อมประกาศเชิญชวนพี่น้อง ออกมาร่วมชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เวลา 16.00 น. วันที่ 15 ต.ค. หลังจากอ่านแถลงการณ์ได้ไม่นาน น.ส.ปนัสยา ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าจับกุมตัวถึงห้องพัก ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกับทำเนียบรัฐบาล โดย น.ส.ปนัสยา ได้นอนลงกับพื้น ไม่ยอมรับการจับกุมของเจ้าหน้าที่ ก่อนถูกอุ้มขึ้นรถวีลแชร์ และนำตัวไปรวมกับแกนนำที่ถูกจับก่อนหน้านี้ที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี
นายกฯเข้าทำเนียบฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเจ้าหน้าที่เคลียร์พื้นที่โดยรอบ เวลา 07.30 น. ประตูทำเนียบรัฐบาลก็เปิดให้เข้าออกได้แล้ว และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ผู้สื่อข่าว สามารถเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ต่อมาเวลา 10.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็เดินทางเข้าทำเนียบฯ เพื่อให้การต้อนรับ นายหวัง อี้ มนตรีเเห่งรัฐ และ รมว.การต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เข้าเยี่ยมคารวะ ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษ ในวันที่ 16 ต.ค. เวลา 10.00 น .ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเชิญเฉพาะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ เข้าร่วมประชุมเท่านั้น โดยมีวาระการประชุม เพื่อพิจารณาภายหลังจากที่นายกฯ ประกาศ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในพื้นที่ กทม. เพื่อควบคุมและดูแลสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เนื่องจากตามกฎหมาย จะต้องนำการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เข้าสู่ที่ประชุม ครม. หลังวันประกาศใช้ ภายใน 3 วัน
สั่งเด้ง 3 ตร.พลาดคุมม็อบ
วันเดียวกันนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้เซ็นคำสั่งย้าย พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) พล.ต.ต.มานพ สุคนธ์ธนพัฒน์ ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (ผบก.อคฝ.) และ พล.ต.ต.ปราศัย จิตสนธิ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ไปปฏิบัติราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) โดยขาดจากตำแหน่งเดิม ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค.เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีรายงานข่าวว่า สาเหตุที่มีคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุที่ปล่อยให้ม็อบเข้าประชิดและกีดขวางเส้นทางเสด็จฯ
ตร.พอใจยึดคืนพื้นที่
ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น.และ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. แถลงข่าวการสลายการชุมนุมกลุ่มคณะราษฎร ว่า ใช้กำลังตำรวจประมาณ 6 กองร้อย มีผลการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี มีการคุมตัวแกนนำ และผู้ชุมนุมได้ทั้งสิ้น 22 คน โดยมี 4 คน เป็นแกนนำ ได้แก่ นายพริษฐ์, นายอานนท์, นายประสิทธิ์ และ น.ส.ปนัสยา ส่วนที่เหลือเข้าข่ายฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และถูฏคุมตัวอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1 ทุกคนไม่ได้รับบาดเจ็บระหว่างการจับกุมตัว โดยในรายชื่อทั้งหมดยังไม่มี นายภานุพงษ์ จาดนอก หรือ ไมค์ ระยอง รวมอยู่ด้วย ซึ่งหลังจากนี้หากพบผู้ใดกระทำความผิด หรือมีหมายจับ ก็จะดำเนินคดีเพิ่มเติมต่อไป
ลั่นห้ามชุมนุมราชประสงค์
ด้าน พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงแจ้งเตือนกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีการชักชวนรวมตัวบริเวณแยกราชประสงค์ ช่วงเย็นวันนี้ ว่า จะมีความผิดกฎหมาย ฐานฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กทม.โดยขอให้งดการรวมตัวชุมนุมอย่างเด็ดขาด ซึ่งตามขั้นตอนปฏิบัติ หากมีการรวมตัวชุมนุม เจ้าหน้าที่จะมีการแจ้งเตือนก่อน พร้อมให้เวลาผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ แต่หากฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องมีการเข้าควบคุมตัวตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. จะมีการเปิดกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.)โดยมี ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ซึ่งจะมีการเชิญหน่วยร่วมปฏิบัติเข้าหารือแนวทางปฏิบัติ พร้อมยืนยันว่า การชุมนุมมั่วสุมเกิน 5 คน ที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง สามารถทำได้ พร้อมระบุว่า ขณะนี้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ยังคงบังคับใช้เฉพาะในพื้นที่ กทม.แต่หากสถานการณ์ลุกลามไปยังจังหวัดอื่นๆ ก็อาจมีการพิจารณาประกาศเพิ่ม
"พิธา"บุกช่วยประกันแกนนำ
เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานีตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล นายทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และนายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย เดินทางมาเข้าติดตามสถานการณ์และดำเนินการช่วยเหลือแกนนำคณะราษฎร 2563 ที่ถูกควบคุมตัว โดย นายชัยธวัช กล่าวว่า การอ้างการชุมนุมที่ไม่สงบของนักศึกษา ไม่น่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะจะเห็นได้ว่าตลอดทั้งวันในการชุมนุม มีความอดทนอดกลั้นจากการถูกยั่วยุ และใช้แนวทางที่สันติ มีการหลีกเลี่ยงเส้นทางไม่ให้กระทบต่อขบวนเสด็จฯ แต่เรื่องนี้ก็ถูกหยิบยกมาเป็นข้อกล่าวอ้างที่สำคัญเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขอตั้งคำถามด้วยว่า การใช้อำนาจที่ไม่มีความชัดเจนของรัฐแบบนี้ก็คือการทำรัฐประหารเงียบใช่หรือไม่
“ฝ่ายค้าน”จี้ปล่อยตัวม็อบ
เมื่อเวลา 15.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย หัวหน้าพรรคหรือตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ร่วมประชุมถึงสถานการณ์การเมืองหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมการชุมนุมคณะราษฎร ภายหลังการประชุม พรรคร่วมฝ่ายค้านออกแถลงการณ์ มีสาระสำคัญว่า ขอให้รัฐบาลเคารพในสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และยุติการคุกคามผู้ชุมนุมทุกรูปแบบ พร้อมเสนอให้นายกรัฐมนตรียกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงโดยทันที เพราะการกระทำดังกล่าวไม่ต่างกับการยึดอำนาจและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมองว่าการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีเหตุผลใดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม
3 สถาบันป้องม็อบไม่หมิ่นฯ
เช่นเดียวกับสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยระบุว่า หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องใช้บังคับกฎหมายอย่างเป็นธรรม และไม่ใช้บังคับกฎหมายและดำเนินการจับกุมเพียงเพราะต้องการให้การชุมนุมนั้นยุติลงหรือเพียงเพื่อขัดขวางไม่ให้แกนนำผู้ชุมนุมนั้นได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป และขอเรียกร้องไปยังทางมหาวิทยาลัยประสานงานช่วยเหลือนิสิตดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวฯ
“กรณีขบวนเสด็จพระราชดำเนินผ่านมาบริเวณที่กลุ่มผู้ชุมนุมปิดทางจราจรอยู่ กรณีนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้ง 3 มหาวิทยาลัย เห็นว่า การชุมนุมในบริเวณดังกล่าว แม้ส่งผลให้ขบวนเสด็จพระราชดำเนินฯ นั้นต้องชะลอตัวลงอยู่บ้าง แต่ก็มิได้เกิดความรุนแรงหรือการกระทำใดอันอาจถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แต่อย่างใด”
หมายจับ “เอกชัย” ม.110
รายงานข่าวจาก ศาลอาญา แจ้งว่า ศาลอาญาได้อนุมัติตามคำร้องของพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ออกหมายจับ นายเอกชัย หงส์กังวาน และนายบุญเกื้อหนุน เป้าทอง นักกิจกรรมทางการเมือง ตามหมายจับที่ 1595/2563 และ 1596/2563 ลงวันที่ 15 ต.ค.63 ในข้อหาประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 วรรค 2 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 16 ปีถึง 20 ปี ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
“อานนท์-รุ้ง-กวิ้น” นอนคุก
อีกด้าน รายงานข่าวจาก จ.เชียงใหม่แจ้งว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ควบคุมตัวนายอานนท์ และนายประสิทธิ์ แกนนำคณะราษฎร 2563 ที่ถูกจับกุมตามหมายจับของ สภ.เมืองเชียงใหม่ ข้อหากระทำผิดเกี่ยวกับการชุมนุม เดินทางถึง จ.เชียงใหม่ เพื่อส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี ก่อนนำตัวไปฝากขังที่ศาล จ.เชียงใหม่ และศาลได้อนุญาตฝากขังนายอานนท์ และนายประสิทธิ์ โดยไม่อนุญาตให้ประกันตัว เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวทั้งสองคนไปยังเรือนจำกลางเชียงใหม่ทันที
เช่นเดียวกับที่ศาลจังหวัดธัญบุรี พนักงานสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรคลองหลวง ยื่นคําร้องขอฝากขัง น.ส.ปนัสยา, นายณัฐชนน หรือ ณัฐ ไพโรจน์ และนายพริษฐ์ เพื่อทําการสอบสวน โดยผู้ต้องหาทั้ง 3 ได้ยื่นคําร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาล แต่ศาลมีคําสั่งว่า ผู้ต้องหานี้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดหลายครั้งในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูงหลายข้อหา อีกทั้งพนักงานสอบสวนคัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราว หากปล่อยตัวชั่วคราวออกไปอาจจะกระทําตามที่ถูกกล่าวหาอีก หรือหลบหนีไปได้ ในชั้นนี้ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
ม็อบนัดอีก 5 โมงเย็นวันนี้
ที่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่าย ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร 2563 ทยอยเดินทางเข้ามาจับจองพื้นที่ ขณะเดียวกันก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายกองร้อยเข้ามารักษาพื้นที่ พร้อมประกาศข้อห้ามตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง โดเจ้าหน้าที่ได้แจ้งกับผู้ชุมนุมว่า การชุมนุมในพื้นที่ กทม.ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เมื่อฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีมากกว่าสามารถเข้ายึดพื้นที่แยกราชประสงค์ได้ และปิดการจราจรโดยรอบตั้งแต่ช่วงเย็น โดยมี นายทัตเทพ หรือฟอร์ด เรืองประไพกิจเสรี และนายภานุพงษ์ หรือ ไมค์ จาดนอก เป็นแกนนำ ก่อนที่จะมีการประกาศยุติการชุมนุมนเวลา 22.00 น. พร้อมประกาศนัดหมายมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์อีกครั้งวันนี้ (16 ต.ค.) เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป.