“วิชา” เผย DSI รับคดี “บอส” เป็นคดีพิเศษ ขณะที่ ป.ป.ช.สอบเส้นทางการเงินแล้ว ยัน จะคอยติดตามคดีต่อเนื่อง ยอมรับกลับมติ ครม.ไม่ได้ เผยนายกฯรับปากปฏิรูปร่าง พ.ร.บ.ตำรวจ ให้รอบคอบ ยันใส่ 2 หลักการ แต่งตั้งตามระบบอาวุโส-ระบบ
วานนี้ (1 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ทายาทธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ผู้ต้องหาขับรถชนตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 ว่า คนอาจจะนึกว่า คดีนิ่งอยู่ แต่ความจริงองค์กรที่เกี่ยวข้องได้เดินหน้าในส่วนของตนเอง โดยเฉพาะกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษแล้ว และในส่วนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับสำนวน และเข้าสำนวนสู่กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และจะนำไปสู่การไต่สวนต่อไปส่วนการตรวจสอบเรื่องการเงิน ป.ป.ช. จะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการตรวจสอบแล้ว อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองพยานปากสำคัญก็ยังคงต้องทำอยู่ จนกว่าจะมีการเบิกความเสร็จเรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายงานความคืบหน้าทั้งหมดถือเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่าดีแล้ว ถือว่าไปได้เยอะแล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ยังคงตามต่อ ซึ่งคณะกรรมการชุดตน ก็จะประสานกับป.ป.ท.ต่อไป
นายวิชา เปิดเผยถึงการเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อมอบผลสรุปแนวทางปฏิรูปกฎหมายในระบบกระบวนการยุติธรรมให้นายกฯ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 45 นาทีด้วยว่า นายกฯได้เชิญมาพบเพราะคณะกรรมการได้ทำงานตามกำหนดระยะเวลาที่เสร็จสิ้นในวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับคดีนายวรยุทธ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้นายกฯ รับฟังความคิดเห็นทั้งหมดของคณะกรรมการ แต่ได้ตั้งข้อสังเกตเล็กน้อย คือ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... โดยนายกฯ อธิบายให้ฟังว่า เมื่อร่างกฎหมายมาถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ครม.ก็ได้ส่งให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการได้ชี้แจงให้นายกฯ ฟัง ในประเด็นสำคัญที่ไม่อยากให้เปลี่ยน คือ 1.ระบบอาวุโสกับความรู้ความสามารถในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ และ 2.สายสอบสวน ต้องเป็นสายที่มีความรู้ความชำนาญ เป็นอิสระ และได้รับค่าตอบแทนเป็นพิเศษ โดยนายกฯบอกว่า การสอบสวนที่จะต้องเป็นแท่ง และอิสระ ไม่มีอะไรขัดข้อง แต่ระบบการแต่งตั้งของตำรวจมีขบวนการมานานแล้วที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักอาวุโส ฉะนั้นอาจจะต้องมีการใช้บทเฉพาะกาลเพื่อให้ปรับตอนเข้าระบบการเปลี่ยนผ่าน เพราะถ้าหากใช้ทันที ก็จะเกิดข้อร้องเรียนจำนวนมาก
เมื่อถามว่า ข้อเสนอที่จะให้นายกฯกลับมติ ครม. ที่เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจฯไปแล้วนั้น จะทำได้หรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า เราทราบมาอย่างชัดเจนแล้วว่ายังไม่เรียบร้อย เพราะนายกฯได้ส่งเรื่องนี้ไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาถึงเรื่องเงิน เพราะเป็นกฎหมายใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้าย ดังนั้น จึงยังมีเวลาไปปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำเข้าสู่สภา
นายวิชา เปิดเผยด้วยว่า ได้พูดคุยถึงแนวทางการแก้ไข พ.ร.บ.สอบสวนคดีอาญา และข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ กฎหมายที่เกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งนายกฯ ได้รับเรื่องไว้ทั้งหมดว่า จะไปดูเพื่อแก้ไขให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการเสนอ โดยนายกฯ เห็นด้วยที่คณะกรรมการฯเสนอว่า สมควรเปลี่ยนระบบกระบวนการยุติธรรม จากระบบกล่าวหา เป็นระบบไต่สวนหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ จะนำไปสู่การค้นคว้า และการที่จะถกเถียงกันต่อไป
นายวิชา ระบุด้วยว่า ถือว่าคณะกรรมการฯ ได้ยุติบทบาทลงแล้ว เพราะได้ส่งงานกันเรียบร้อยแล้ว
วานนี้ (1 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ทายาทธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ผู้ต้องหาขับรถชนตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 ว่า คนอาจจะนึกว่า คดีนิ่งอยู่ แต่ความจริงองค์กรที่เกี่ยวข้องได้เดินหน้าในส่วนของตนเอง โดยเฉพาะกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษแล้ว และในส่วนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับสำนวน และเข้าสำนวนสู่กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และจะนำไปสู่การไต่สวนต่อไปส่วนการตรวจสอบเรื่องการเงิน ป.ป.ช. จะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการตรวจสอบแล้ว อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองพยานปากสำคัญก็ยังคงต้องทำอยู่ จนกว่าจะมีการเบิกความเสร็จเรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายงานความคืบหน้าทั้งหมดถือเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่าดีแล้ว ถือว่าไปได้เยอะแล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ยังคงตามต่อ ซึ่งคณะกรรมการชุดตน ก็จะประสานกับป.ป.ท.ต่อไป
นายวิชา เปิดเผยถึงการเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อมอบผลสรุปแนวทางปฏิรูปกฎหมายในระบบกระบวนการยุติธรรมให้นายกฯ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 45 นาทีด้วยว่า นายกฯได้เชิญมาพบเพราะคณะกรรมการได้ทำงานตามกำหนดระยะเวลาที่เสร็จสิ้นในวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับคดีนายวรยุทธ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้นายกฯ รับฟังความคิดเห็นทั้งหมดของคณะกรรมการ แต่ได้ตั้งข้อสังเกตเล็กน้อย คือ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... โดยนายกฯ อธิบายให้ฟังว่า เมื่อร่างกฎหมายมาถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ครม.ก็ได้ส่งให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการได้ชี้แจงให้นายกฯ ฟัง ในประเด็นสำคัญที่ไม่อยากให้เปลี่ยน คือ 1.ระบบอาวุโสกับความรู้ความสามารถในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ และ 2.สายสอบสวน ต้องเป็นสายที่มีความรู้ความชำนาญ เป็นอิสระ และได้รับค่าตอบแทนเป็นพิเศษ โดยนายกฯบอกว่า การสอบสวนที่จะต้องเป็นแท่ง และอิสระ ไม่มีอะไรขัดข้อง แต่ระบบการแต่งตั้งของตำรวจมีขบวนการมานานแล้วที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักอาวุโส ฉะนั้นอาจจะต้องมีการใช้บทเฉพาะกาลเพื่อให้ปรับตอนเข้าระบบการเปลี่ยนผ่าน เพราะถ้าหากใช้ทันที ก็จะเกิดข้อร้องเรียนจำนวนมาก
เมื่อถามว่า ข้อเสนอที่จะให้นายกฯกลับมติ ครม. ที่เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจฯไปแล้วนั้น จะทำได้หรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า เราทราบมาอย่างชัดเจนแล้วว่ายังไม่เรียบร้อย เพราะนายกฯได้ส่งเรื่องนี้ไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาถึงเรื่องเงิน เพราะเป็นกฎหมายใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้าย ดังนั้น จึงยังมีเวลาไปปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำเข้าสู่สภา
นายวิชา เปิดเผยด้วยว่า ได้พูดคุยถึงแนวทางการแก้ไข พ.ร.บ.สอบสวนคดีอาญา และข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ กฎหมายที่เกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งนายกฯ ได้รับเรื่องไว้ทั้งหมดว่า จะไปดูเพื่อแก้ไขให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการเสนอ โดยนายกฯ เห็นด้วยที่คณะกรรมการฯเสนอว่า สมควรเปลี่ยนระบบกระบวนการยุติธรรม จากระบบกล่าวหา เป็นระบบไต่สวนหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ จะนำไปสู่การค้นคว้า และการที่จะถกเถียงกันต่อไป
นายวิชา ระบุด้วยว่า ถือว่าคณะกรรมการฯ ได้ยุติบทบาทลงแล้ว เพราะได้ส่งงานกันเรียบร้อยแล้ว