ผู้จัดการรายวัน360- "วิชา" เตรียมส่งรายงานสรุปปฏิรูปกฎหมาย-กระบวนการยุติธรรม ถึงมือ "นายกฯ" เสนอทบทวนมติครม. หลังผ่านร่างปฏิรูปตำรวจ เหตุไม่สอดรับรัฐธรรมนูญ แนะใช้ร่างฉบับ "มีชัย" ดีที่สุด
วานนี้ (30ก.ย.) นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน กล่าวถึงการประชุมสรุปแนวทางการปฏิรูปกฎหมาย ในระบบกระบวนการยุติธรรม ที่จะเสนอให้นายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (1 ต.ค.) ว่า โดยบทสรุปที่จะนำเสนอ จะมีในระดับส่งให้กับผู้บริหาร คือนายกฯ ประมาณ 4 - 5 หน้า แต่ในรายละเอียดทั้งหมด จะมีประมาณ 40 - 50 หน้า
สำหรับกฎหมายที่เราต้องการให้นายกฯ เพื่อเสนอทบทวนมติ ครม.โดยเร่งด่วน มี 2 ฉบับ ฉบับแรกคือ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... โดยมีต้นตอมาจากการพิจารณาปฏิรูปของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ และส่งต่อมาให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... แต่ต่อมาเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของครม.แล้ว กลายเป็นว่า ร่างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) นำไปปรับปรุงใหม่ ทำให้เนื้อหาไม่สอดคล้องกับรธน. และมีหลายส่วนที่ทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เช่น จะทำให้ตำรวจที่ทำงานเป็นพนักงานสอบสวน ต้องทำงานด้วยความอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยผู้บังคับบัญชา ซึ่งคณะกรรมการชุดที่ตนเป็นประธาน ได้เสนอต่อนายกฯไปแล้วว่า ขอให้มีการทบทวนมติ ครม.ดังกล่าว แล้วนำกลับมาพิจารณาใหม่โดยการถอนร่างเดิมที่ ครม.ได้รับหลักการไปแล้ว เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
เมื่อถามว่าหากนายกฯไม่ตอบรับ ทางคณะกรรมการจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นายวิชา กล่าวว่า หากไม่ตอบรับ คณะกรรมการฯ ก็จะต้องชี้แจงต่อประชาชน เพราะเรื่องเหล่านี้จะต้องให้สภาฯพิจารณาร่วมด้วย เพราะถือว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป ที่จะต้องร่วมกันพิจารณาทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ถือเป็นจุดที่จะต้องเดินหน้า ถึงแม้ว่า ครม.จะกลับหรือไม่กลับมติ ถึงอย่างไรกฎหมายฉบับนี้ ก็จะต้องอยู่ในการพิจารณาของสภาฯ
เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่าง กฎหมายปฏิรูปตำรวจทั้ง 2 ฉบับ นายวิชา กล่าวว่าข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ 1. เรื่องการแต่งตั้ง และการเลื่อนตำแหน่งของตำรวจ จะต้องเป็นไปตามหลักอาวุโส และความรู้ความสามารถ แต่ปรากฏว่าได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยฉบับที่ตำรวจนำไปปรับปรุงนั้น เป็นอาวุโสตามลำดับชั้น เช่น คนที่เป็นรอง ผบ.ตร. ถึงจะให้เป็นอาวุโส แต่ระดับต่ำกว่านั้น อาจจะเป็นอาวุโสตามเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับรธน.
2.เรื่องสายงานของการสอบสวน ที่เราต้องการให้เป็นอิสระ และชุดของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ร่างให้เป็นอิสระ มีผู้บัญชาการด้านสอบสวน แต่ร่างของ ตช. ให้ไปขึ้นอยู่กับ รองผู้กำกับทุกสน. ซึ่งถือว่าไม่สอดรับกับรธน. เพียงแค่สองเรื่องนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดแล้ว
เมื่อถามถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ "บอส" ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มีความคืบหน้าอย่างไร นายวิชา กล่าวว่า ขณะนี้บางส่วนได้ส่งไปที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ แล้ว ซึ่ง ป.ป.ท.ได้ประสานงานและหารือกับคณะกรรมการชุดของตนโดยตลอด
วานนี้ (30ก.ย.) นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน กล่าวถึงการประชุมสรุปแนวทางการปฏิรูปกฎหมาย ในระบบกระบวนการยุติธรรม ที่จะเสนอให้นายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (1 ต.ค.) ว่า โดยบทสรุปที่จะนำเสนอ จะมีในระดับส่งให้กับผู้บริหาร คือนายกฯ ประมาณ 4 - 5 หน้า แต่ในรายละเอียดทั้งหมด จะมีประมาณ 40 - 50 หน้า
สำหรับกฎหมายที่เราต้องการให้นายกฯ เพื่อเสนอทบทวนมติ ครม.โดยเร่งด่วน มี 2 ฉบับ ฉบับแรกคือ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... โดยมีต้นตอมาจากการพิจารณาปฏิรูปของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ และส่งต่อมาให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... แต่ต่อมาเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของครม.แล้ว กลายเป็นว่า ร่างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) นำไปปรับปรุงใหม่ ทำให้เนื้อหาไม่สอดคล้องกับรธน. และมีหลายส่วนที่ทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เช่น จะทำให้ตำรวจที่ทำงานเป็นพนักงานสอบสวน ต้องทำงานด้วยความอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยผู้บังคับบัญชา ซึ่งคณะกรรมการชุดที่ตนเป็นประธาน ได้เสนอต่อนายกฯไปแล้วว่า ขอให้มีการทบทวนมติ ครม.ดังกล่าว แล้วนำกลับมาพิจารณาใหม่โดยการถอนร่างเดิมที่ ครม.ได้รับหลักการไปแล้ว เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
เมื่อถามว่าหากนายกฯไม่ตอบรับ ทางคณะกรรมการจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นายวิชา กล่าวว่า หากไม่ตอบรับ คณะกรรมการฯ ก็จะต้องชี้แจงต่อประชาชน เพราะเรื่องเหล่านี้จะต้องให้สภาฯพิจารณาร่วมด้วย เพราะถือว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป ที่จะต้องร่วมกันพิจารณาทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ถือเป็นจุดที่จะต้องเดินหน้า ถึงแม้ว่า ครม.จะกลับหรือไม่กลับมติ ถึงอย่างไรกฎหมายฉบับนี้ ก็จะต้องอยู่ในการพิจารณาของสภาฯ
เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่าง กฎหมายปฏิรูปตำรวจทั้ง 2 ฉบับ นายวิชา กล่าวว่าข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ 1. เรื่องการแต่งตั้ง และการเลื่อนตำแหน่งของตำรวจ จะต้องเป็นไปตามหลักอาวุโส และความรู้ความสามารถ แต่ปรากฏว่าได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยฉบับที่ตำรวจนำไปปรับปรุงนั้น เป็นอาวุโสตามลำดับชั้น เช่น คนที่เป็นรอง ผบ.ตร. ถึงจะให้เป็นอาวุโส แต่ระดับต่ำกว่านั้น อาจจะเป็นอาวุโสตามเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับรธน.
2.เรื่องสายงานของการสอบสวน ที่เราต้องการให้เป็นอิสระ และชุดของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ร่างให้เป็นอิสระ มีผู้บัญชาการด้านสอบสวน แต่ร่างของ ตช. ให้ไปขึ้นอยู่กับ รองผู้กำกับทุกสน. ซึ่งถือว่าไม่สอดรับกับรธน. เพียงแค่สองเรื่องนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดแล้ว
เมื่อถามถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ "บอส" ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มีความคืบหน้าอย่างไร นายวิชา กล่าวว่า ขณะนี้บางส่วนได้ส่งไปที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ แล้ว ซึ่ง ป.ป.ท.ได้ประสานงานและหารือกับคณะกรรมการชุดของตนโดยตลอด