ผู้จัดการรายวัน360 - กพท. เคาะดอนเมืองเฟส 3 ต้องทำ EIA ใหม่ ชี้รับ 40 ล้านคนต้องเพิ่มมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม "ศักดิ์สยาม”สั่งเร่งชี้แจงข้อมูลสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เคลียร์ 59 โครงการที่ยังติด EIA “มอเตอร์เวย์,รถไฟฟ้า,ไฮสปีดไทย-จีน และรถไฟทางคู่”
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ระยะที่ 3 ว่า ล่าสุด ได้ข้อสรุปว่า จะต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ( กก.วล.) โดย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้รายงานผลการหารือของคณะทำงานฯ ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือกพท. พบว่า มีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ จึงต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม พิจารณารายงาน EIA
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เร่งดำเนินการเพื่อนำเรื่องเสนอตามขั้นตอนเพื่อความรอบคอบ
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ ทอท.ได้เสนอโครงการพัฒนาดอนเมืองระยะที่3 โดยเห็นว่า การพัฒนา ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรายงาน EIA เดิม ซึ่งคณะทำงานฯกพท. ซึ่งมีผู้แทนจาก สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ร่วมด้วย ได้มีการประชุมล่าสุด พบว่า แม้การขยายดอนเมืองระยะที่ 3 จะรองรับผู้โดยสารที่40 ล้านคน/ปี และ รองรับเที่ยวบินสูงสุดในชั่วโมงคับคั่งได้ 60 เที่ยวบิน/ชั่วโมง อยู่ในกรอบรายงาน EIA เดิม แต่มีโครงการอื่น ที่เพิ่มเติมจากเดิม และส่งผลต่อการศึกษาEIA ฉบับเดิม เช่น ปริมาณนำ้เสีย ขยะ ฯลฯ ซึ่ง ทอท.จะต้องจัดทำมาตรการรองรับและมาตรการลดผลกระทบ เพื่อนำเสนอสผ.ต่อไป
เร่งชี้แจงข้อมูล สผ. เคลียร์59 โครงการยังติดหล่ม EIA
นอกจากนี้ นายศักดิ์สยาม ได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)ซึ่งมีโครงการที่อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ( กก.วล.) ทั้งสิ้น 59 โครงการ โดยเป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวลล้อม(คชก.) จำนวน 39 โครงการ ได้แก่ โครงการของ กรมทางหลวง(ทล.) 16โครงการ,สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร( สนข.) 12 โครงการ กรมทางหลวงชนบท (ทช.)3 โครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 4 โครงการ และกรมเจ้าท่า(จท.) ,การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) หรือทอท. และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ. ) หน่วยละ1 โครงการ
และเป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อนำเสนอ กก.วล. จำนวน 11 โครงการ ได้แก่ ทล. 5 โครงการ รฟท. 4 โครงการ ทช. 1 โครงการ รฟม. 1 โครงการ ขณะที่มีโครงการที่จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เสร็จแล้วรอบรรจุวาระ กก.วล. เพื่ออนุมัติ มี 4โครงการ
สำหรับโครงการสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์ ) สาย หาดใหญ่-ชายแดนไทยมาเลยเซีย และมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยาย ทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอินซึ่ง กรมทางหลวง ได้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว คาดว่ากก.วล.จะประชุมในเดือนต.ค. นี้
โครงการ รถไฟฟ้า สายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน คชก. เมื่อ 27 ก.ย. 63 ให้รฟม.ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม กรณีประชาชนได้รับผลกระทบ และตรวจวัดคุณภาพอากาศและแรงสั่นสะเทือนใหม่ โดยรฟม.จะส่งรายงานเพิ่มเติม ให้สผ.ในเดือนพ.ย. นี้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี รฟม.ได้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้สผ.แล้ว รอบรรจุวาระ กก.วล.,โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา/ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน คชก. มีมติเห็นชอบรายงานEIA แล้วรฟม.กำลังปรับปรุงรายงานตามความเห็น คชก. คาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ ในเดือนต.ค.นี้
สำหรับ รฟท.มี 10 โครงการ โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ คชก.เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) คาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้คชก.ในเดือนต.ค. 63
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมถนนจิระ-อุบลราชธานี กก.วล.เห็นชอบ แล้ว และรถไฟทางคู่ ช่วง ปากน้ำโพ-เด่นชัย , รถไฟสายสีแดงเข้ม รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ และระบบรถไฟชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกล เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกทม. ช่วงม.ธรรมศาสตร์-ชุมทางบ้านภาชี. อยู่ระหว่างทำข้อมูลเพิ่มเติม
ซึ่งนายศักดิ์สยามได้ให้ทุกหน่วยเร่งรัดบริษัทที่ปรึกษาในการตรวจสอบและเตรียมข้อมูลด้านEIA ให้พร้อม เพื่อชี้แจงต่อกก.วล. ที่มีพลเอกประวิทย์ วงศ์สุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานต่อไป
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ระยะที่ 3 ว่า ล่าสุด ได้ข้อสรุปว่า จะต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ( กก.วล.) โดย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้รายงานผลการหารือของคณะทำงานฯ ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือกพท. พบว่า มีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ จึงต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม พิจารณารายงาน EIA
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เร่งดำเนินการเพื่อนำเรื่องเสนอตามขั้นตอนเพื่อความรอบคอบ
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ ทอท.ได้เสนอโครงการพัฒนาดอนเมืองระยะที่3 โดยเห็นว่า การพัฒนา ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรายงาน EIA เดิม ซึ่งคณะทำงานฯกพท. ซึ่งมีผู้แทนจาก สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ร่วมด้วย ได้มีการประชุมล่าสุด พบว่า แม้การขยายดอนเมืองระยะที่ 3 จะรองรับผู้โดยสารที่40 ล้านคน/ปี และ รองรับเที่ยวบินสูงสุดในชั่วโมงคับคั่งได้ 60 เที่ยวบิน/ชั่วโมง อยู่ในกรอบรายงาน EIA เดิม แต่มีโครงการอื่น ที่เพิ่มเติมจากเดิม และส่งผลต่อการศึกษาEIA ฉบับเดิม เช่น ปริมาณนำ้เสีย ขยะ ฯลฯ ซึ่ง ทอท.จะต้องจัดทำมาตรการรองรับและมาตรการลดผลกระทบ เพื่อนำเสนอสผ.ต่อไป
เร่งชี้แจงข้อมูล สผ. เคลียร์59 โครงการยังติดหล่ม EIA
นอกจากนี้ นายศักดิ์สยาม ได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)ซึ่งมีโครงการที่อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ( กก.วล.) ทั้งสิ้น 59 โครงการ โดยเป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวลล้อม(คชก.) จำนวน 39 โครงการ ได้แก่ โครงการของ กรมทางหลวง(ทล.) 16โครงการ,สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร( สนข.) 12 โครงการ กรมทางหลวงชนบท (ทช.)3 โครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 4 โครงการ และกรมเจ้าท่า(จท.) ,การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) หรือทอท. และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ. ) หน่วยละ1 โครงการ
และเป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อนำเสนอ กก.วล. จำนวน 11 โครงการ ได้แก่ ทล. 5 โครงการ รฟท. 4 โครงการ ทช. 1 โครงการ รฟม. 1 โครงการ ขณะที่มีโครงการที่จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เสร็จแล้วรอบรรจุวาระ กก.วล. เพื่ออนุมัติ มี 4โครงการ
สำหรับโครงการสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์ ) สาย หาดใหญ่-ชายแดนไทยมาเลยเซีย และมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยาย ทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอินซึ่ง กรมทางหลวง ได้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว คาดว่ากก.วล.จะประชุมในเดือนต.ค. นี้
โครงการ รถไฟฟ้า สายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน คชก. เมื่อ 27 ก.ย. 63 ให้รฟม.ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม กรณีประชาชนได้รับผลกระทบ และตรวจวัดคุณภาพอากาศและแรงสั่นสะเทือนใหม่ โดยรฟม.จะส่งรายงานเพิ่มเติม ให้สผ.ในเดือนพ.ย. นี้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี รฟม.ได้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้สผ.แล้ว รอบรรจุวาระ กก.วล.,โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา/ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน คชก. มีมติเห็นชอบรายงานEIA แล้วรฟม.กำลังปรับปรุงรายงานตามความเห็น คชก. คาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ ในเดือนต.ค.นี้
สำหรับ รฟท.มี 10 โครงการ โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ คชก.เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) คาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้คชก.ในเดือนต.ค. 63
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมถนนจิระ-อุบลราชธานี กก.วล.เห็นชอบ แล้ว และรถไฟทางคู่ ช่วง ปากน้ำโพ-เด่นชัย , รถไฟสายสีแดงเข้ม รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ และระบบรถไฟชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกล เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกทม. ช่วงม.ธรรมศาสตร์-ชุมทางบ้านภาชี. อยู่ระหว่างทำข้อมูลเพิ่มเติม
ซึ่งนายศักดิ์สยามได้ให้ทุกหน่วยเร่งรัดบริษัทที่ปรึกษาในการตรวจสอบและเตรียมข้อมูลด้านEIA ให้พร้อม เพื่อชี้แจงต่อกก.วล. ที่มีพลเอกประวิทย์ วงศ์สุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานต่อไป