ผู้จัดการรายวัน360- กฟผ.ยอมเสียสละพร้อมไม่รับโบนัส 2 ปี (63-64) เด้งรับนโยบาย"สุพัฒนพงษ์" ศึกษาลดค่าไฟฟ้า จ่อผุดวินอีวี 51 คันเปิดบริการสิ้นปีนี้ -เรือไฟฟ้า 2 ลำลุย
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานและประธานคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(บอร์ดกฟผ.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ กฟผ.ศึกษาแผนลดต้นทุนค่าไฟฟ้าเพื่อร่วมลดผลกระทบค่าครองชีพประชาชนที่ได้รับจากโควิด-19 โดยในวันนี้(23ก.ย.)นายสุพัฒนพงษ์จะเดินทางมาตรวจเยี่ยมกฟผ.เพื่อมอบนโยบายเพิ่มเติม
รมว.พลังงานยังได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)หารือร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ให้แยกโครงสร้างค่าไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ขึ้นมาโดยเฉพาะเนื่องจากมีแนวโน้มรถอีวีจะเกิดเร็วขึ้น ซึ่งการพัฒนาสถานีชาร์จจะร่วมมือกับบมจ.ปตท.ในการติดตั้งที่สถานีบริการน้ำมันของปตท.และแผนยุทธศาสตร์ของกฟผ.การพัฒนานวัตกรรมพลังงานในรูปแบบธุรกิจจะดำเนินงานภายใต้บริษัท อีแกท อินโนเวชั่น โฮลดิ้งส์ คัมปานีส์ จำกัด ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)
นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ ในฐานะโฆษกกฟผ.กล่าวว่า เบื้องต้นกฟผ.เตรียมที่จะไม่รับโบนัสประมาณ 2 ปี จากผลประกอบการปี 2563-2564 ส่วนกรณีให้เปลี่ยนใช้ ROIC และหากปรับเป็นSFRก็ต้องหารือกับ สำนักงาน กกพ.ต่อไป นอกจากนี้จะต้องดูนโยบายจากกระทรวงการคลังด้วยว่า เม็ดเงินอัตราผลตอบแทนส่งคืนรัฐที่ผ่านเรียก 35-45% ของกำไรสุทธิ จะเรียกเพิ่มหรือไม่
"กรณีสำรองไฟที่สูง กฟผ.จะเสนอให้ปลดระวางโรงไฟฟ้าที่ใกล้หมดอายุสัญญา ซื้อขาย (พีพีเอ) ทั้ง ของ กฟผ. และภาคเอกชน โดยปลดล่วงหน้า 3 ปี"นายพัฒนากล่าว
นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวว่า เมื่อ 22 ก.ย.กฟผ.ได้เปิดงาน “E Trans E” นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งกฟผ.ได้นำร่องวินมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าในพื้นที่ อ.บางกรวย จำนวน 51 คัน วิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ความเร็วสูงสุดมากกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีการติดตั้งระบบ GPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสาร โดยผู้ขับขี่สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำรองได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายในธ.ค.นี้
"กฟผ.ได้มอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือทำการวิจัยวินอีวี รวม 18 เดือนซึ่งจะรวบรวมรายละเอียดต่างๆเพื่อขยายผล โดยจุดบริการวินจะอยู่ตรงจุดท่าเรือพระราม 7 หน้าสำนักงานกลางกฟผ.และปากซอยบางกรวย คิดอัตราค่าบริการปกติที่เคยทำอยู่"นายวิบูลย์กล่าว
นอกจากนี้ กฟผ. ได้พัฒนาเรือโดยสารไฟฟ้า จำนวน 2 ลำ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 214 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ระยะแรกจะทดสอบการเดินเรือเพื่อศึกษาวิจัยและประเมินสมรรถนะของเรือ โดยนำมาใช้ในภารกิจของ กฟผ. ก่อน แล้วจึงจะขยายผลสู่การใช้ประโยชน์สำหรับภาคประชาชนในอนาคต เป็นต้น
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานและประธานคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(บอร์ดกฟผ.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ กฟผ.ศึกษาแผนลดต้นทุนค่าไฟฟ้าเพื่อร่วมลดผลกระทบค่าครองชีพประชาชนที่ได้รับจากโควิด-19 โดยในวันนี้(23ก.ย.)นายสุพัฒนพงษ์จะเดินทางมาตรวจเยี่ยมกฟผ.เพื่อมอบนโยบายเพิ่มเติม
รมว.พลังงานยังได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)หารือร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ให้แยกโครงสร้างค่าไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ขึ้นมาโดยเฉพาะเนื่องจากมีแนวโน้มรถอีวีจะเกิดเร็วขึ้น ซึ่งการพัฒนาสถานีชาร์จจะร่วมมือกับบมจ.ปตท.ในการติดตั้งที่สถานีบริการน้ำมันของปตท.และแผนยุทธศาสตร์ของกฟผ.การพัฒนานวัตกรรมพลังงานในรูปแบบธุรกิจจะดำเนินงานภายใต้บริษัท อีแกท อินโนเวชั่น โฮลดิ้งส์ คัมปานีส์ จำกัด ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)
นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ ในฐานะโฆษกกฟผ.กล่าวว่า เบื้องต้นกฟผ.เตรียมที่จะไม่รับโบนัสประมาณ 2 ปี จากผลประกอบการปี 2563-2564 ส่วนกรณีให้เปลี่ยนใช้ ROIC และหากปรับเป็นSFRก็ต้องหารือกับ สำนักงาน กกพ.ต่อไป นอกจากนี้จะต้องดูนโยบายจากกระทรวงการคลังด้วยว่า เม็ดเงินอัตราผลตอบแทนส่งคืนรัฐที่ผ่านเรียก 35-45% ของกำไรสุทธิ จะเรียกเพิ่มหรือไม่
"กรณีสำรองไฟที่สูง กฟผ.จะเสนอให้ปลดระวางโรงไฟฟ้าที่ใกล้หมดอายุสัญญา ซื้อขาย (พีพีเอ) ทั้ง ของ กฟผ. และภาคเอกชน โดยปลดล่วงหน้า 3 ปี"นายพัฒนากล่าว
นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวว่า เมื่อ 22 ก.ย.กฟผ.ได้เปิดงาน “E Trans E” นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งกฟผ.ได้นำร่องวินมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าในพื้นที่ อ.บางกรวย จำนวน 51 คัน วิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ความเร็วสูงสุดมากกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีการติดตั้งระบบ GPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสาร โดยผู้ขับขี่สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำรองได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายในธ.ค.นี้
"กฟผ.ได้มอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือทำการวิจัยวินอีวี รวม 18 เดือนซึ่งจะรวบรวมรายละเอียดต่างๆเพื่อขยายผล โดยจุดบริการวินจะอยู่ตรงจุดท่าเรือพระราม 7 หน้าสำนักงานกลางกฟผ.และปากซอยบางกรวย คิดอัตราค่าบริการปกติที่เคยทำอยู่"นายวิบูลย์กล่าว
นอกจากนี้ กฟผ. ได้พัฒนาเรือโดยสารไฟฟ้า จำนวน 2 ลำ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 214 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ระยะแรกจะทดสอบการเดินเรือเพื่อศึกษาวิจัยและประเมินสมรรถนะของเรือ โดยนำมาใช้ในภารกิจของ กฟผ. ก่อน แล้วจึงจะขยายผลสู่การใช้ประโยชน์สำหรับภาคประชาชนในอนาคต เป็นต้น