ผู้จัดการรายวัน360 – ครม.มีมติ ต่อสัมปทานฯS1ให้"ปตท.สผ. สยาม" ยาวอีก 10 ปี ตั้งข้อสังเกตว่า การขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี Hydraulic Fracturing อาจมีอันตราย
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้บริษัทปตท.สผ. สยาม จำกัด ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมสำหรับสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2522/16 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข S1 (พื้นที่จ.สุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร) ออกไปอีก 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.2564 ถึงวันที่ 14มี.ค.2574
โดยทางกระทรวงพลังงานได้รายงานว่า ได้นำเสนอเรื่องการต่อเวลาดังกล่าวให้คณะกรรมการปิโตรเลียมพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้รับสัมปทานปฏิบัติครบถ้วนตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย ปิโตรเลียมและข้อกำหนดของสัมปทานปิโตรเลียม รวมทั้งแผนดำเนินงาน แผนการลงทุน ระยะเวลาการผลิต และผลประโยชน์เพิ่มเติมที่เสนอให้แก่รัฐมีความเหมาะสมและมีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ คณะกรรมการปิโตรเลียมจึงมีมติอนุมัติต่อระยะเวลาออกไปให้ 10 ปี ก่อนที่จะนำมาเสนอครม.ตามขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตว่า การขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี Hydraulic Fracturing โดยการฉีดน้ำผสมทรายและสารเคมีลงไปในหลุมเพื่อให้เกิดรอยแตกในชั้นหินและให้น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติไหลออกมา อาจทำให้สารที่ใช้รั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำบาดาลได้ หากดำเนินการอย่างไม่ระมัดระวังและขาดการควบคุมที่ดี ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พื้นที่เกษตรกรรมและการประมง รวมถึงสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ
ดังนั้นจึงเห็นควรให้กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตรวจสอบและควบคุมผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมแปลงสำรวจบนบกทุกรายที่ใช้วิธีขุดเจาะเดียวกันนี้ ให้ดำเนินการด้วยความรอบคอบรัดกุม ได้มาตรฐานสากล และเป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และข้อบังคับที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้บริษัทปตท.สผ. สยาม จำกัด ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมสำหรับสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2522/16 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข S1 (พื้นที่จ.สุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร) ออกไปอีก 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.2564 ถึงวันที่ 14มี.ค.2574
โดยทางกระทรวงพลังงานได้รายงานว่า ได้นำเสนอเรื่องการต่อเวลาดังกล่าวให้คณะกรรมการปิโตรเลียมพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้รับสัมปทานปฏิบัติครบถ้วนตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย ปิโตรเลียมและข้อกำหนดของสัมปทานปิโตรเลียม รวมทั้งแผนดำเนินงาน แผนการลงทุน ระยะเวลาการผลิต และผลประโยชน์เพิ่มเติมที่เสนอให้แก่รัฐมีความเหมาะสมและมีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ คณะกรรมการปิโตรเลียมจึงมีมติอนุมัติต่อระยะเวลาออกไปให้ 10 ปี ก่อนที่จะนำมาเสนอครม.ตามขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตว่า การขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี Hydraulic Fracturing โดยการฉีดน้ำผสมทรายและสารเคมีลงไปในหลุมเพื่อให้เกิดรอยแตกในชั้นหินและให้น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติไหลออกมา อาจทำให้สารที่ใช้รั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำบาดาลได้ หากดำเนินการอย่างไม่ระมัดระวังและขาดการควบคุมที่ดี ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พื้นที่เกษตรกรรมและการประมง รวมถึงสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ
ดังนั้นจึงเห็นควรให้กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตรวจสอบและควบคุมผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมแปลงสำรวจบนบกทุกรายที่ใช้วิธีขุดเจาะเดียวกันนี้ ให้ดำเนินการด้วยความรอบคอบรัดกุม ได้มาตรฐานสากล และเป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และข้อบังคับที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด