xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤติคือสัญญาณของความจำเป็นในการพัฒนาคน

เผยแพร่:   โดย: ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร



ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะหดตัวลง 3% ซึ่งจะทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำที่เคยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 โรคระบาดครั้งนี้ที่เกิดจาก Covid-19 เหวี่ยงโลกให้เข้าสู่"วิกฤตการณ์ที่มิอาจคาดการณ์ได้" การระบาดที่ยืดเยื้อจะเป็นบททดสอบความสามารถในการควบคุมสถานการณ์วิกฤติของรัฐบาล World Economic Forum ยังรายงานว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะตกงาน หากต้องการให้องค์กรอยู่รอด การพัฒนาคนในองค์กรจึงเป็นเรื่อง“จำเป็น”


เมื่อจะพูดถึงการใช้ชีวิตในสภาวะวิกฤติ เราจะเห็นได้ว่าทุกคนต่างต้องปรับตัวให้สอดคล้องสถานการณ์ โดยใช้ชีวิตตามความ“จำเป็น” เช่น เมื่อมีการประกาศปิดเมือง ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ และสถานที่ต่างๆ ถูกสั่งปิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนที่สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติถูกพิจารณาตามความจำเป็น อาทิ ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เกต ร้านขายยา เนื่องจากสถานที่เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นต้องการดำรงชีวิตทั้งสิ้น เมื่อหันมามององค์กรต่างๆ เราก็จะพบว่าความ“จำเป็น” ก็เป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจเพื่อให้องค์กรอยู่รอด เช่น เมื่อองค์กรไม่สามารถสร้างรายได้ตามปกติ บางองค์กรถึงขั้นประสบภาวะขาดทุน สิ่งที่จำเป็น คือ การลดต้นทุน และในหลายๆ องค์กร จึงเลือกที่จะลดต้นทุนด้วยการลดจำนวนพนักงาน ให้คงไว้แต่พนักงานที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนธุรกิจตามสภาวะการณ์จริงๆ โดยคาดหวังว่าพนักงานที่เหลืออยู่จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กรและนำพาองค์กรให้ผ่านพันวิกฤติไปได้ด้วยดี เมื่อคน คือ ทรัพยากรที่“จำเป็น” ในการขับเคลื่อนองค์กร ความรู้และทักษะใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่ “จำเป็น” อย่างยิ่ง เหมือนกับการอ่านหนังสือเล่มเดิม เรื่องเดิม ที่อ่านเพียงครั้งเดียวและไม่เคยเพิ่มเติมเรื่องใหม่ให้กับสมอง ชีวิตก็คงจะเหมือนกับการวนเวียนอยู่ในอ่าง ไม่ได้แหวกว่ายออกไปสู่มหาสมุทรเพื่อหาและลงมือทำสร้างสิ่งใหม่เพื่อให้ได้ทักษะใหม่ๆ เพราะฉะนั้นหากมีความรู้หรือทักษะเดิม คนควรจะมีการ Upskill หมายถึง การที่คุณยกระดับทักษะ เช่น การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้มากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ความสามารถของคุณทำงานประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วยประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดีกว่าเดิม แต่หากคุณอยากมีคุณค่าและเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น คุณต้องเพิ่มทักษะใหม่ๆ ให้กับตนเอง หรือที่เรียกกันว่า Reskill เช่น หากคุณเป็น HR ที่เดิมทีอาจจะทำหน้าที่เพียงแค่คัดคนเข้า เอาคนออก พัฒนาบุคลากร ก็อาจเพิ่มทักษะทางด้าน Digital Marketing เข้าไปด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้เรามีคุณค่าในงานมากขึ้นเพราะเราไม่ได้เก่งเพียงด้านเดียว แต่เราสามารถเป็น HR ที่สามารถทำการตลาดดิจิทัลได้ด้วย


“ถ้าพนักงานหยุดการพัฒนา องค์กรจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร” หากมองในมุมขององค์กรนั้นเรื่องการพัฒนาความรู้และทักษะคงต้องเริ่มจากการมองที่กลยุทธ์ขององค์กร ว่ามีเป้าหมายทางธุรกิจอย่างไร แล้วจะทำให้องค์กรไปถึงเป้าที่ตั้งไว้อย่างไรอาจจะต้องศึกษาในเรื่องของทักษะที่บริษัทต้องการเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายกับทักษะของพนักงานศึกษาช่องว่าง (Gaps) ในสายงานขององค์กรว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรหรือไม่ หากต้องการจะเพิ่มความรู้และทักษะคนในองค์กรที่มีอยู่ จะมีวิธีการอย่างไรในการปิดช่องว่างนั้นเพื่อไปยังเป้าหมายที่องค์กรต้องการ สำหรับองค์กร วิกฤตินี้จึงเป็นสัญญาณของความ “จำเป็น” ที่จะต้องพัฒนาคนให้มีความสามารถมากขึ้น เพราะการที่องค์กรไม่สามารถรับคนเข้ามาทำงานเพิ่มได้ ทำให้คนที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นต้องมีมีความรู้และทักษะใหม่ๆ เป็นอาวุธเพื่อฝ่าฟันวิกฤติไปให้ได้


ถึงเวลาแล้วที่องค์กรจะต้องเห็นว่าการพัฒนาความรู้และทักษะของคน คือ ความจำเป็นในสภาวะวิกฤติ ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงพัฒนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารมืออาชีพในรูปแบบของ Public Training ด้วยหลักสูตรที่ออกแบบเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังขององค์กรและผู้บริหาร ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นกรณีศึกษา การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งแบบ Face-to-Face และ Online เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง พัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพ โดยทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์จากภาคธุรกิจและการพัฒนาบุคลากรในองค์กรชั้นนำ นอกจากนี้ หลักสูตร In-house Training เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรเป็นกลุ่มตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปด้วยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ การบริหารทรัพยากรบุคคล ภาวะผู้นำ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการซัพพลายเชน การจัดการโลจิสติกส์ การบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และการวางแผนการผลิต โดยทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์จากภาคธุรกิจและการพัฒนาบุคลากรในองค์กรชั้นนำ สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรอบรมได้ที่ https://steco.kmutt.ac.th/executive-education-programs สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ steco.edu@mail.kmutt.ac.th หรือ โทร. 02-470-9644, 083-099-0328 คุณฉันทิสา


กำลังโหลดความคิดเห็น