ผู้จัดการรายวัน360-ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้ “การบินไทย” เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ พร้อมแต่งตั้ง “อีวาย” ร่วมกับ 6 อรหันต์ เป็นผู้จัดทำแผน “ชาญศิลป์”คาดเสนอแผนได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ ระบุเจ้าหนี้มีระยะเวลา 1 เดือนในการยื่นขอรับชำระหนี้ ทั้งผ่านออนไลน์ และ 4 จุดที่เปิดให้ “สำนักงานใหญ่-กรมบังคับคดี-ก.ล.ต.-ชุมนุมสหกรณ์ฯ” ส่วนลูกค้ารีฟันด์ตั๋ว ขอรับทราเวลวอชเชอร์แทนได้ ผู้ที่มีตั๋ว บินต่อได้ทันที ด้าน ROP ขยายอายุไมล์สะสมถึงสิ้นปี 64
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ก.ย.) ศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ ฟฟ10/2563 ระหว่าง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ผู้ร้องขอกับเจ้าหนี้ผู้คัดค้าน โดยมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ผู้ร้องขอ โดยตั้งบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ร่วมกับ พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค , นายบุญทักษ์ หวังเจริญ , นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ , นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้ทำแผน
โดยคดีนี้ ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและขอให้ศาลตั้งบุคคลที่ลูกหนี้ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทำแผน ศาลประกาศนัดไต่สวนตามกฎหมายแล้ว มีเจ้าหนี้ยื่นคำคัดด้าน รวม 16 ราย ขอให้ศาลยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และคัดค้านผู้ทำแผนที่ลูกหนี้ผู้ร้องขอเสนอ ระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 5, 7, 9 และที่ 16 ถอนคำคัดค้าน จากนั้นศาลไต่สวนพยานลูกหนี้ผู้ร้องขอ รวม 5 ปาก และไต่สวนพยานเจ้าหนี้ผู้คัดค้าน รวม 3 ปาก โดยใช้เวลาพิจารณาคดีรวม 3 นัด
ทั้งนี้ ศาลได้วินิจฉัยใน 4 ประการ คือ 1.เห็นว่าลูกหนี้มีหนีสินล้นพ้นตัว และไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้จริง 2.เห็นว่ามีเหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ เพราะมีความสามารถในการสร้างรายได้ โดยการประสบปัญหาทางการเงิน จากผลกระทบโควิด-19 หากไม่ได้รับการฟื้นฟู จะส่งผลเสียต่อลูกหนี้ เจ้าหนี้ ลูกจ้าง ผู้ลงทุนในกิจการของลูกหนี้ ประชาชน และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ส่วนผู้ให้เช่าหรือให้เช่าซื้อเครื่องบิน ก็สนับสนุน รวมถึงเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการด้านอากาศยาน สายการบินคู่ค้า ผู้ถือหุ้นกู้รายใหญ่และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง หากมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการบริหารจัดการ จะทำให้มีโอกาสดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และมีรายได้ชำระหนี้ จึงเป็นประโยชน์มากกว่าปล่อยให้กิจการล้มละลาย 3.เห็นว่าลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยสุจริต โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/3 และได้ความจริงครบถ้วนตามมาตรา 90/10 และประการสุดท้าย เห็นว่า บุคคลที่ลูกหนี้เสนอสมควรเป็นผู้ทำแผน จึงตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทำแผนตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการบริษัท และรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้การบินไทยดำเนินการฟื้นฟูกิจการและตั้งคณะผู้ทำแผนตามที่การบินไทยเสนอ และหลังจากนี้ คณะผู้ทำแผนจะดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ คาดว่าจะนำเสนอแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จากนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยประมาณต้นปี 2564 ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแต่งตั้งผู้บริหารแผนภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 และการบินไทยจะดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
ส่วนเจ้าหนี้ กรมบังคับคดีจะดำเนินการแจ้งเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ทราบถึงคำสั่งศาล โดยเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้มีกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่มีการประกาศคำสั่งตั้งผู้ทำแผนลงในราชกิจจานุเบกษา
สำหรับช่องทางการขอรับชำระหนี้ สามารถยื่นผ่านทางออนไลน์ หรือนำเอกสารมายื่นขอรับชำระหนี้ที่จุดบริการ 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต อาคาร 1 ชั้น 1 2.กรมบังคับคดี ถนนบางขุนนนท์, สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ, ศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า (ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ อาคารเอ ชั้น 1) 3.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) (สำหรับหุ้นกู้) และ 4.ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนนครอินทร์ (สำหรับหุ้นกู้กลุ่มสหกรณ์)
ส่วนลูกค้าที่ได้แสดงความประสงค์ขอคืนเงินค่าบัตรโดยสาร (Refund) ของการบินไทย จะได้รับชำระหนี้ตามข้อกำหนดของแผนฟื้นฟูกิจการโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการบินไทยยังมีนโยบายดูแลลูกค้าในระหว่างที่ไม่สามารถคืนเงิน โดยสามารถขอเปลี่ยนหนี้ค่าบัตรโดยสารเป็น Travel Voucher ได้ มีอายุถึง 31 ธ.ค.2565 และใช้แทนเงินสดในการออกบัตรโดยสารของการบินไทยหรือไทยสมายล์ได้ ส่วนลูกค้าที่มีบัตรโดยสารที่ยังไม่ได้เดินทาง และไม่ได้ขอคืนค่าบัตรโดยสาร ยังมีสิทธิ์ใช้บัตรโดยสาร เมื่อการบินไทยกลับมาประกอบธุรกิจได้ตามปกติ โดยเก็บบัตรโดยสารไว้ใช้หรือจะแลกเป็น Travel Voucher ก็ได้
ทางด้านสมาชิกโปรแกรมสะสมไมล์ Royal Orchid Plus (ROP) เนื่องจากไม่ใช่เจ้าหนี้ในหนี้เงิน จึงไม่ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยสมาชิก ROP จะยังคงได้รับสิทธิประโยชน์จากสถานภาพสมาชิกและสถานภาพความเป็นสมาชิกจะยังคงอยู่ และการบินไทยจะขยายอายุไมล์สะสมที่จะหมดอายุลงในปีนี้ออกไปจนถึงเดือนธ.ค.2564
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ก.ย.) ศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ ฟฟ10/2563 ระหว่าง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ผู้ร้องขอกับเจ้าหนี้ผู้คัดค้าน โดยมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ผู้ร้องขอ โดยตั้งบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ร่วมกับ พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค , นายบุญทักษ์ หวังเจริญ , นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ , นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้ทำแผน
โดยคดีนี้ ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและขอให้ศาลตั้งบุคคลที่ลูกหนี้ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทำแผน ศาลประกาศนัดไต่สวนตามกฎหมายแล้ว มีเจ้าหนี้ยื่นคำคัดด้าน รวม 16 ราย ขอให้ศาลยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และคัดค้านผู้ทำแผนที่ลูกหนี้ผู้ร้องขอเสนอ ระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 5, 7, 9 และที่ 16 ถอนคำคัดค้าน จากนั้นศาลไต่สวนพยานลูกหนี้ผู้ร้องขอ รวม 5 ปาก และไต่สวนพยานเจ้าหนี้ผู้คัดค้าน รวม 3 ปาก โดยใช้เวลาพิจารณาคดีรวม 3 นัด
ทั้งนี้ ศาลได้วินิจฉัยใน 4 ประการ คือ 1.เห็นว่าลูกหนี้มีหนีสินล้นพ้นตัว และไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้จริง 2.เห็นว่ามีเหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ เพราะมีความสามารถในการสร้างรายได้ โดยการประสบปัญหาทางการเงิน จากผลกระทบโควิด-19 หากไม่ได้รับการฟื้นฟู จะส่งผลเสียต่อลูกหนี้ เจ้าหนี้ ลูกจ้าง ผู้ลงทุนในกิจการของลูกหนี้ ประชาชน และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ส่วนผู้ให้เช่าหรือให้เช่าซื้อเครื่องบิน ก็สนับสนุน รวมถึงเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการด้านอากาศยาน สายการบินคู่ค้า ผู้ถือหุ้นกู้รายใหญ่และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง หากมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการบริหารจัดการ จะทำให้มีโอกาสดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และมีรายได้ชำระหนี้ จึงเป็นประโยชน์มากกว่าปล่อยให้กิจการล้มละลาย 3.เห็นว่าลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยสุจริต โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/3 และได้ความจริงครบถ้วนตามมาตรา 90/10 และประการสุดท้าย เห็นว่า บุคคลที่ลูกหนี้เสนอสมควรเป็นผู้ทำแผน จึงตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทำแผนตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการบริษัท และรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้การบินไทยดำเนินการฟื้นฟูกิจการและตั้งคณะผู้ทำแผนตามที่การบินไทยเสนอ และหลังจากนี้ คณะผู้ทำแผนจะดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ คาดว่าจะนำเสนอแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จากนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยประมาณต้นปี 2564 ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแต่งตั้งผู้บริหารแผนภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 และการบินไทยจะดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
ส่วนเจ้าหนี้ กรมบังคับคดีจะดำเนินการแจ้งเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ทราบถึงคำสั่งศาล โดยเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้มีกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่มีการประกาศคำสั่งตั้งผู้ทำแผนลงในราชกิจจานุเบกษา
สำหรับช่องทางการขอรับชำระหนี้ สามารถยื่นผ่านทางออนไลน์ หรือนำเอกสารมายื่นขอรับชำระหนี้ที่จุดบริการ 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต อาคาร 1 ชั้น 1 2.กรมบังคับคดี ถนนบางขุนนนท์, สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ, ศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า (ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ อาคารเอ ชั้น 1) 3.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) (สำหรับหุ้นกู้) และ 4.ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนนครอินทร์ (สำหรับหุ้นกู้กลุ่มสหกรณ์)
ส่วนลูกค้าที่ได้แสดงความประสงค์ขอคืนเงินค่าบัตรโดยสาร (Refund) ของการบินไทย จะได้รับชำระหนี้ตามข้อกำหนดของแผนฟื้นฟูกิจการโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการบินไทยยังมีนโยบายดูแลลูกค้าในระหว่างที่ไม่สามารถคืนเงิน โดยสามารถขอเปลี่ยนหนี้ค่าบัตรโดยสารเป็น Travel Voucher ได้ มีอายุถึง 31 ธ.ค.2565 และใช้แทนเงินสดในการออกบัตรโดยสารของการบินไทยหรือไทยสมายล์ได้ ส่วนลูกค้าที่มีบัตรโดยสารที่ยังไม่ได้เดินทาง และไม่ได้ขอคืนค่าบัตรโดยสาร ยังมีสิทธิ์ใช้บัตรโดยสาร เมื่อการบินไทยกลับมาประกอบธุรกิจได้ตามปกติ โดยเก็บบัตรโดยสารไว้ใช้หรือจะแลกเป็น Travel Voucher ก็ได้
ทางด้านสมาชิกโปรแกรมสะสมไมล์ Royal Orchid Plus (ROP) เนื่องจากไม่ใช่เจ้าหนี้ในหนี้เงิน จึงไม่ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยสมาชิก ROP จะยังคงได้รับสิทธิประโยชน์จากสถานภาพสมาชิกและสถานภาพความเป็นสมาชิกจะยังคงอยู่ และการบินไทยจะขยายอายุไมล์สะสมที่จะหมดอายุลงในปีนี้ออกไปจนถึงเดือนธ.ค.2564