ผู้จัดการรายวัน 360 - "วิชา" ย้ำคดี "บอส" ป.ป.ท. รับไม้ต่อ ส่งหน่วยงานเกี่ยวข้องฟันอาญา-วินัย ลั่นหากละเว้นไม่ทำตาม โดน ม.157 ทันที ยันถอดคำพูดเทปลับปรับความเร็วรถไม่ใช่ของคณะกรรมการชุดนี้ ด้านป.ป.ท. ส่งรายชื่อที่พัวพันทั้ง 8 กลุ่ม ให้ต้นสังกัดสอบข้อเท็จจริงเพิ่ม ก่อนเสนอนายกฯ ขณะที่ ประธาน ก.อ. ลั่นสอบอัยการคนไหนเอี่ยว สั่นสะเทือนแน่ นัดถกผลสอบ 22 ก.ย.นี้ หลังพบอัยการเอี่ยวปรับความเร็วรถ ขณะที่การโยกย้ายอัยการ "ประยุทธ" ผงาดนั่งอัยการคดีพิเศษ 1 แถม "เนตร นาคสุข" โผล่นั่งอัยการอาวุโสสำนักงานคดีอาญาพระโขนง
วานนี้ (9 ก.ย.) นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้นำร่างพระราชบัญญัติ 2 ฉบับเข้ามาพิจารณา คือ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ... นำมาดูว่ามีส่วนใดที่ทางคณะกรรมการฯ จะสนับสนุนและมีอะไรเพิ่มเติมได้ เพื่อให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดแบบคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส อีก
ส่วนประเด็นเรื่องคลิปเสียงสนทนา เพื่อเปลี่ยนแปลงความเร็วรถนายวรยุทธ ที่มีการถอดเทปออกมาและเผยแพร่อยู่ในขณะนี้ นายวิชา กล่าวว่า ตนรับรองไม่ได้ว่าเป็นของจริงหรือไม่ เพราะไม่ได้ออกมาจากตนหรือทางคณะกรรมการฯ ที่มีบางสำนักข่าวถอดเทปออกมาก็ว่ากันไป ซึ่งถ้าเขาถอดเทปออกมาอย่างนั้นแสดงว่าเขาเป็นเจ้าของเต็มๆ
เมื่อถามว่าการถอดเทปออกมานั้นมีความใกล้เคียงกับข้อมูลของคณะกรรมการฯ ที่ได้หรือไม่นั้น นายวิชา กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ ตนไม่รับรองในสิ่งที่ไม่ได้ทำ ตนรับรองไม่ได้ ตนการันตีเฉพาะเอกสารที่ส่งให้นายกฯ ซึ่งนายกฯ ก็จะไปตรวจสอบของเองว่าการถอดเทปนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร และเป็นอันเดียวกันหรือไม่
เมื่อถามหลักฐานที่ทางคณะกรรมการส่งให้นายกฯนั้นมีเป็นคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ทางคณะกรรมการฯ ส่งให้หน่วยงาน และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่มีการรับรองจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ก็ถือว่าไม่ได้มาจากทางคณะกรรมการฯ
นายวิชา กล่าวต่อว่า เมื่อนายกฯส่งเรื่องไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตรในภาครัฐ (ป.ป.ท. ) ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของนายกฯแล้ว หน่วยงานก็ต้องทำเพราะถ้าไม่ทำก็จะโดน มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทันที หรือโดนในเรื่องการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ซึ่งการทำงานขอล ป.ป.ท.ไม่ใช่การสอบสวนแต่ให้ไปหาว่ามีชื่อใครบ้าง เพื่อที่จะส่งต่อไปให้หน่วยงานนั้นๆดำเนินการสอบทางวินัย หรือสอบจริยธรรมร้ายแรงหรืออาญา โดยจะต้องรายงานให้นายกฯรับทราบทุก 7 วัน ซึ่งนายกฯ ได้บอกแล้วว่าเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วทาง ป.ป.ท. จะเปิดเผยเอง เนื่องจากมี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารอยู่ สามารถเปิดเผยได้โดยไม่มีความผิด
พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า ป.ป.ท.ได้รับรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือ “บอส” อยู่วิทยา ฉบับสมบูรณ์ของนายวิชาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยในรายงานระบุไว้ชัดเจนว่า มีผู้เกี่ยวข้องกับคดี 8 กลุ่ม ซึ่งผู้เกี่ยวข้องหลัก คือ กลุ่มพนักงานสอบสวนส่วนต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานอัยการ ในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่ง ป.ป.ท.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการส่งรายชื่อของบุคคลต่างๆ ไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงานให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย ดีเอสไอ ป.ป.ช. สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) และป.ป.ท. ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีอำนาจหน้าที่สอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ตามรายชื่อที่ระบุอยู่ในรายงาน
"หน้าที่ป.ป.ท.นอกจากจะเป็นหน่วยงานกลางแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหากได้รับมอบหมายภารกิจอื่นใดจากป.ป.ช.ในคดีนี้ก็พร้อมดำเนินการต่อ ไม่ใช่ว่าเราไม่ได้ทำอะไรเลย”เลขาธิการ ป.ป.ท.กล่าว
พ.ต.ท.วันนพ กล่าวอีกว่า หากแต่ละหน่วยงานสอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะรายงานมาให้ป.ป.ท.รับทราบผลการสอบสวนว่า แต่ละหน่วยได้ดำเนินการไปแล้วอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นป.ป.ท.ก็จะนำเสนอรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการ (ก.อ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ท. เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดการสอบสวนชุดนายวิชา แนบมาด้วย ซึ่งตนก็ได้ส่งต่อหนังสือดังกล่าวให้อธิบดี ก.อ.พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ส่วนหนังสือฉบับนี้ตนยังไม่ได้เปิดอ่านจึงยังไม่ทราบรายละเอียด จึงต้องรออธิบดี ก.อ.นำเสนอผ่านไปยังอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อเสนอมายังตนอีกครั้ง โดยจะมีการประชุม ก.อ.อีกครั้งวันที่ 22 ก.ย.นี้ เวลา 09.00 น. โดยคาดว่าหนังสือดังกล่าวคงเป็นการส่งข้อมูลจากชุดนายวิชา และเป็นกรณีให้เราตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ว่ามีส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกับอัยการ
สำหรับเประเด็นคลิปเสียงที่มีการอ้างว่า เป็นเสียงอัยการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความเร็วรถนายวรยุทธในที่ประชุม ก.อ.ยังไม่ได้พูดคุยเรื่องนี้ เนื่องจากยังไม่มีหนังสือจากสำนักนายกฯ แต่หากมีหนังสือส่งมายัง ก.อ.แล้วก็คงจะต้องสอบทั้งหมด
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ก.อ.ครั้งที่ 9/2563 ได้การพิจารณาเลื่อนขั้น แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอัยการ โดยมี 1.ระดับอธิบดีอัยการ ไปเป็นผู้ตรวจราชการ 1 ตำแหน่ง เห็นชอบ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการคดีอาญาธนบุรี เป็นผู้ตรวจการอัยการ 2.พิจารณาเลื่อนขั้นสับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการอัยการชั้น 6 (พิเศษฝ่าย) 161 ตำแหน่ง 3.พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 5 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 6 (อัยการผู้เชี่ยวชาญขึ้นเป็นเชี่ยวชาญพิเศษ) 106 ตำแหน่ง 4. พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 4 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 5 (อัยการจังหวัดขึ้นอัยการผู้เชี่ยวชาญ) 109 ตำแหน่ง
5. พิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอัยการชั้น 4 จำนวน 3 ตำแหน่ง 6. พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 3 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 จำนวน 119 ตำแหน่ง 7. พิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอัยการชั้น 3 จำนวน 6 ตำแหน่ง 8.พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 2 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 3 จำนวน 119 ตำแหน่ง 9. พิจารณาโยกย้ายอัยการอาวุโส จำนวน 34 ตำแหน่ง 10.พิจารณาแต่งตั้งอัยการอาวุโส จำนวน 105 ตำแหน่ง โดยทุกตำแหน่งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 เป็นต้นไป
โดยตำแหน่งสำคัญๆ ที่น่าสนใจและถูกจับตาครั้งนี้ อาทิ นายประยุทธ เพชรคุณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 ไปดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานอัยการคดีพิเศษ 1, นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ อัยการพิเศษฝ่าย สำนักงานอัยการสูงสุด ไปดำรงตำแหน่ง อัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานการสอบสวน 2, นายสมคิด สายเจริญ อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 1 ไปดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3
นอกจากนี้ การพิจารณาแต่งตั้งอัยการอาวุโส ได้ปรากฏชื่อนายเนตร นาคสุข ไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสสำนักงานคดีอาญาพระโขนง จากก่อนหน้าที่นายเนตร เคยเคยยื่นหนังสือลาออกจากอัยการ แต่อัยการสูงสุดยังไม่ได้มีคำสั่งอนุมัติ
วานนี้ (9 ก.ย.) นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้นำร่างพระราชบัญญัติ 2 ฉบับเข้ามาพิจารณา คือ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ... นำมาดูว่ามีส่วนใดที่ทางคณะกรรมการฯ จะสนับสนุนและมีอะไรเพิ่มเติมได้ เพื่อให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดแบบคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส อีก
ส่วนประเด็นเรื่องคลิปเสียงสนทนา เพื่อเปลี่ยนแปลงความเร็วรถนายวรยุทธ ที่มีการถอดเทปออกมาและเผยแพร่อยู่ในขณะนี้ นายวิชา กล่าวว่า ตนรับรองไม่ได้ว่าเป็นของจริงหรือไม่ เพราะไม่ได้ออกมาจากตนหรือทางคณะกรรมการฯ ที่มีบางสำนักข่าวถอดเทปออกมาก็ว่ากันไป ซึ่งถ้าเขาถอดเทปออกมาอย่างนั้นแสดงว่าเขาเป็นเจ้าของเต็มๆ
เมื่อถามว่าการถอดเทปออกมานั้นมีความใกล้เคียงกับข้อมูลของคณะกรรมการฯ ที่ได้หรือไม่นั้น นายวิชา กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ ตนไม่รับรองในสิ่งที่ไม่ได้ทำ ตนรับรองไม่ได้ ตนการันตีเฉพาะเอกสารที่ส่งให้นายกฯ ซึ่งนายกฯ ก็จะไปตรวจสอบของเองว่าการถอดเทปนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร และเป็นอันเดียวกันหรือไม่
เมื่อถามหลักฐานที่ทางคณะกรรมการส่งให้นายกฯนั้นมีเป็นคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ทางคณะกรรมการฯ ส่งให้หน่วยงาน และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่มีการรับรองจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ก็ถือว่าไม่ได้มาจากทางคณะกรรมการฯ
นายวิชา กล่าวต่อว่า เมื่อนายกฯส่งเรื่องไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตรในภาครัฐ (ป.ป.ท. ) ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของนายกฯแล้ว หน่วยงานก็ต้องทำเพราะถ้าไม่ทำก็จะโดน มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทันที หรือโดนในเรื่องการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ซึ่งการทำงานขอล ป.ป.ท.ไม่ใช่การสอบสวนแต่ให้ไปหาว่ามีชื่อใครบ้าง เพื่อที่จะส่งต่อไปให้หน่วยงานนั้นๆดำเนินการสอบทางวินัย หรือสอบจริยธรรมร้ายแรงหรืออาญา โดยจะต้องรายงานให้นายกฯรับทราบทุก 7 วัน ซึ่งนายกฯ ได้บอกแล้วว่าเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วทาง ป.ป.ท. จะเปิดเผยเอง เนื่องจากมี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารอยู่ สามารถเปิดเผยได้โดยไม่มีความผิด
พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า ป.ป.ท.ได้รับรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือ “บอส” อยู่วิทยา ฉบับสมบูรณ์ของนายวิชาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยในรายงานระบุไว้ชัดเจนว่า มีผู้เกี่ยวข้องกับคดี 8 กลุ่ม ซึ่งผู้เกี่ยวข้องหลัก คือ กลุ่มพนักงานสอบสวนส่วนต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานอัยการ ในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่ง ป.ป.ท.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการส่งรายชื่อของบุคคลต่างๆ ไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงานให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย ดีเอสไอ ป.ป.ช. สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) และป.ป.ท. ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีอำนาจหน้าที่สอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ตามรายชื่อที่ระบุอยู่ในรายงาน
"หน้าที่ป.ป.ท.นอกจากจะเป็นหน่วยงานกลางแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหากได้รับมอบหมายภารกิจอื่นใดจากป.ป.ช.ในคดีนี้ก็พร้อมดำเนินการต่อ ไม่ใช่ว่าเราไม่ได้ทำอะไรเลย”เลขาธิการ ป.ป.ท.กล่าว
พ.ต.ท.วันนพ กล่าวอีกว่า หากแต่ละหน่วยงานสอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะรายงานมาให้ป.ป.ท.รับทราบผลการสอบสวนว่า แต่ละหน่วยได้ดำเนินการไปแล้วอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นป.ป.ท.ก็จะนำเสนอรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการ (ก.อ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ท. เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดการสอบสวนชุดนายวิชา แนบมาด้วย ซึ่งตนก็ได้ส่งต่อหนังสือดังกล่าวให้อธิบดี ก.อ.พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ส่วนหนังสือฉบับนี้ตนยังไม่ได้เปิดอ่านจึงยังไม่ทราบรายละเอียด จึงต้องรออธิบดี ก.อ.นำเสนอผ่านไปยังอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อเสนอมายังตนอีกครั้ง โดยจะมีการประชุม ก.อ.อีกครั้งวันที่ 22 ก.ย.นี้ เวลา 09.00 น. โดยคาดว่าหนังสือดังกล่าวคงเป็นการส่งข้อมูลจากชุดนายวิชา และเป็นกรณีให้เราตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ว่ามีส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกับอัยการ
สำหรับเประเด็นคลิปเสียงที่มีการอ้างว่า เป็นเสียงอัยการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความเร็วรถนายวรยุทธในที่ประชุม ก.อ.ยังไม่ได้พูดคุยเรื่องนี้ เนื่องจากยังไม่มีหนังสือจากสำนักนายกฯ แต่หากมีหนังสือส่งมายัง ก.อ.แล้วก็คงจะต้องสอบทั้งหมด
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ก.อ.ครั้งที่ 9/2563 ได้การพิจารณาเลื่อนขั้น แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอัยการ โดยมี 1.ระดับอธิบดีอัยการ ไปเป็นผู้ตรวจราชการ 1 ตำแหน่ง เห็นชอบ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการคดีอาญาธนบุรี เป็นผู้ตรวจการอัยการ 2.พิจารณาเลื่อนขั้นสับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการอัยการชั้น 6 (พิเศษฝ่าย) 161 ตำแหน่ง 3.พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 5 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 6 (อัยการผู้เชี่ยวชาญขึ้นเป็นเชี่ยวชาญพิเศษ) 106 ตำแหน่ง 4. พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 4 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 5 (อัยการจังหวัดขึ้นอัยการผู้เชี่ยวชาญ) 109 ตำแหน่ง
5. พิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอัยการชั้น 4 จำนวน 3 ตำแหน่ง 6. พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 3 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 จำนวน 119 ตำแหน่ง 7. พิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอัยการชั้น 3 จำนวน 6 ตำแหน่ง 8.พิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น 2 ขึ้นเป็นข้าราชการอัยการชั้น 3 จำนวน 119 ตำแหน่ง 9. พิจารณาโยกย้ายอัยการอาวุโส จำนวน 34 ตำแหน่ง 10.พิจารณาแต่งตั้งอัยการอาวุโส จำนวน 105 ตำแหน่ง โดยทุกตำแหน่งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 เป็นต้นไป
โดยตำแหน่งสำคัญๆ ที่น่าสนใจและถูกจับตาครั้งนี้ อาทิ นายประยุทธ เพชรคุณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 ไปดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานอัยการคดีพิเศษ 1, นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ อัยการพิเศษฝ่าย สำนักงานอัยการสูงสุด ไปดำรงตำแหน่ง อัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานการสอบสวน 2, นายสมคิด สายเจริญ อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 1 ไปดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3
นอกจากนี้ การพิจารณาแต่งตั้งอัยการอาวุโส ได้ปรากฏชื่อนายเนตร นาคสุข ไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสสำนักงานคดีอาญาพระโขนง จากก่อนหน้าที่นายเนตร เคยเคยยื่นหนังสือลาออกจากอัยการ แต่อัยการสูงสุดยังไม่ได้มีคำสั่งอนุมัติ