“คลัง” เปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิแจกเงิน 3 พันบาทผ่าน www.คนละครึ่ง.com กลาง ต.ค.นี้ หวังคนใช้สิทธิเต็ม 15 ล้านคน เงินสะพัด 9 หมื่นล้านบาท “นายกฯ” ล้อมวงคุย “บิ๊กเอกชน” ค้าปลีก-อสังหาฯ ขอแรงพยุงเศรษฐกิจ ด้านเอกชนวอนรัฐช่วยจ้างงาน
วานนี้ (3 ก.ย.) นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นการบริโภคแจกเงิน 3,000 บาท ให้กับประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 15 ล้านคน จะเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิผ่าน www.คนละครึ่ง.com กลางเดือน ต.ค. นี้ โดยชื่อเว็บไซต์ต้องการสื่อสารให้ชัดเจนว่า มาตรการนี้รัฐไม่ได้แจกเงินอย่างเดียว แต่ผู้มีสิทธิต้องร่วมจ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคด้วยครึ่งหนึ่งด้วย ทั้งนี้ สศค. กำลังเร่งสรุปรายละเอียดของโครงการทั้งหมด เพื่อเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือ ศบศ. ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะได้ดำเนินการเตรียมพร้อมระบบการลงทะเบียน เงินที่จะมาใช้ในโครงการให้ทันกลางเดือน ต.ค. นี้
นายลวรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับเงื่อนไขของโครงการประชาชนที่สัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ลงทะเบียนได้หมดเพราะเป็นมาตรการต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายจริงๆ รวมถึงร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการขณะนี้ ก็นำร้านค้าจากโครงการ ชิมช้อปใช้ ประมาณ 5-6 หมื่นร้าน และจะมีการลงพื้นที่เพื่อให้ร้านค้าหายเร่แผงลอยเข้าโครงการให้มากที่สุด ส่วนการเปิดให้ร้านค้าสะดวกซื้อต่างๆ เช่น ร้านเซเว่น ห้างสรรพสินค้า เข้าร่วมโครงการด้วย ก็ยังพิจารณาอยู่ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเป้าหมายคือต้องการให้เกิดการใช่จ่ายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้มากที่สุด
"โครงการนี้กำหนดไว้ 15 ล้านคน ซึ่งเป็นการร่วมจ่ายการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ระหว่างผู้ได้สิทธิกับรัฐบาลคนละครึ่ง จึงอยากให้ผู้ได้สิทธิมีกำลังและต้องการซื้่อจริงๆ หากมีคนลงทะเบียนเกินจำนวนมาก ก็สามารถเสนอให้รัฐบาลขยายได้ เพราะถือว่าเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สำหรับโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท หากมีคนมาใช้สิทธิเต็มจำนวน 15 ล้านคน และใช้เงินหมด 3,000 บาท จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 9 หมื่นล้านบาท" นายลวรณ กล่าว
อีกด้าน ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯและรมว.พลังงาน ได้พบหารือตัวแทนและผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เพื่อรับฟังข้อเสนอวิสัยทัศน์และความคิดเห็นในการขับเคลื่อนแต่ละภาคธุรกิจ ที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศ และจะช่วยให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าได้เร็วขึ้น นำพาประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จได้ ทั้งนี้การหารือจะอยู่ในกรอบ 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.วิสัยทัศน์หรือมุมมองใน 3 ปีข้างหน้า โอกาสไทยในเวทีโลก 2. เรื่องสำคัญที่สุด 3 เรื่อง ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน 3.อุปสรรคที่สำคัญมากที่สุดที่ขัดขวางความสำเร็จ 4.กฎกติกาของภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และ 5.หน่วยงานของภาครัฐที่อยากเห็นการปฏิรูปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (รายละเอียดข้อเสนอภาคเอกชนอ่านหน้า 5)
ขณะที่ นายสุพัฒนพงษ์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับภาคเอกชนว่า บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปด้วยดี ซึ่งภาคธุรกิจได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับรัฐบาล โดยเฉพาะข่าวดีที่ว่าความต้องการ และกำลังซื้อของคนในประเทศยังมีอยู่ นอกจากนี้ ยังมีชาวต่างชาติที่เชื่อและสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอีกด้วย ทำให้วันนี้มีการเสนอความเห็นหลายอย่างให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในการสนับสนุนปล่อยสินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์ มาตรการด้านภาษี และการวางระบบผังเมือง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถือเป็นความเห็นบวกที่ทุกคนมีความเชื่อมั่น และเห็นโอกาสที่จะใช้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
“หลังจากรับฟังความเห็นแล้ว ผมจะรวบรวมสรุปนำเข้าสู่ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.)ให้เร็วที่สุด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และนำเข้าสู่ที่ประชุม ศบศ.ในครั้งหน้า” นายสุพัฒนพงษ์ ระบุ
วานนี้ (3 ก.ย.) นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นการบริโภคแจกเงิน 3,000 บาท ให้กับประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 15 ล้านคน จะเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิผ่าน www.คนละครึ่ง.com กลางเดือน ต.ค. นี้ โดยชื่อเว็บไซต์ต้องการสื่อสารให้ชัดเจนว่า มาตรการนี้รัฐไม่ได้แจกเงินอย่างเดียว แต่ผู้มีสิทธิต้องร่วมจ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคด้วยครึ่งหนึ่งด้วย ทั้งนี้ สศค. กำลังเร่งสรุปรายละเอียดของโครงการทั้งหมด เพื่อเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือ ศบศ. ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะได้ดำเนินการเตรียมพร้อมระบบการลงทะเบียน เงินที่จะมาใช้ในโครงการให้ทันกลางเดือน ต.ค. นี้
นายลวรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับเงื่อนไขของโครงการประชาชนที่สัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ลงทะเบียนได้หมดเพราะเป็นมาตรการต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายจริงๆ รวมถึงร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการขณะนี้ ก็นำร้านค้าจากโครงการ ชิมช้อปใช้ ประมาณ 5-6 หมื่นร้าน และจะมีการลงพื้นที่เพื่อให้ร้านค้าหายเร่แผงลอยเข้าโครงการให้มากที่สุด ส่วนการเปิดให้ร้านค้าสะดวกซื้อต่างๆ เช่น ร้านเซเว่น ห้างสรรพสินค้า เข้าร่วมโครงการด้วย ก็ยังพิจารณาอยู่ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเป้าหมายคือต้องการให้เกิดการใช่จ่ายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้มากที่สุด
"โครงการนี้กำหนดไว้ 15 ล้านคน ซึ่งเป็นการร่วมจ่ายการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ระหว่างผู้ได้สิทธิกับรัฐบาลคนละครึ่ง จึงอยากให้ผู้ได้สิทธิมีกำลังและต้องการซื้่อจริงๆ หากมีคนลงทะเบียนเกินจำนวนมาก ก็สามารถเสนอให้รัฐบาลขยายได้ เพราะถือว่าเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สำหรับโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท หากมีคนมาใช้สิทธิเต็มจำนวน 15 ล้านคน และใช้เงินหมด 3,000 บาท จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 9 หมื่นล้านบาท" นายลวรณ กล่าว
อีกด้าน ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯและรมว.พลังงาน ได้พบหารือตัวแทนและผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เพื่อรับฟังข้อเสนอวิสัยทัศน์และความคิดเห็นในการขับเคลื่อนแต่ละภาคธุรกิจ ที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศ และจะช่วยให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าได้เร็วขึ้น นำพาประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จได้ ทั้งนี้การหารือจะอยู่ในกรอบ 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.วิสัยทัศน์หรือมุมมองใน 3 ปีข้างหน้า โอกาสไทยในเวทีโลก 2. เรื่องสำคัญที่สุด 3 เรื่อง ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน 3.อุปสรรคที่สำคัญมากที่สุดที่ขัดขวางความสำเร็จ 4.กฎกติกาของภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และ 5.หน่วยงานของภาครัฐที่อยากเห็นการปฏิรูปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (รายละเอียดข้อเสนอภาคเอกชนอ่านหน้า 5)
ขณะที่ นายสุพัฒนพงษ์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับภาคเอกชนว่า บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปด้วยดี ซึ่งภาคธุรกิจได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับรัฐบาล โดยเฉพาะข่าวดีที่ว่าความต้องการ และกำลังซื้อของคนในประเทศยังมีอยู่ นอกจากนี้ ยังมีชาวต่างชาติที่เชื่อและสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอีกด้วย ทำให้วันนี้มีการเสนอความเห็นหลายอย่างให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในการสนับสนุนปล่อยสินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์ มาตรการด้านภาษี และการวางระบบผังเมือง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถือเป็นความเห็นบวกที่ทุกคนมีความเชื่อมั่น และเห็นโอกาสที่จะใช้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
“หลังจากรับฟังความเห็นแล้ว ผมจะรวบรวมสรุปนำเข้าสู่ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.)ให้เร็วที่สุด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และนำเข้าสู่ที่ประชุม ศบศ.ในครั้งหน้า” นายสุพัฒนพงษ์ ระบุ