ผู้จัดการรายวัน360-“อนุทิน”นำกระทรวงสาธารณสุขแถลงจุดยืน ยกเลิกใช้สารเคมีเกษตร “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส” เหมือนเดิม ถามกลับคณะกรรมการวัตถุอันตราย หากจะพิจารณาชะลอการแบน ขอให้คิดใหม่ และนึกถึงสุขภาพคนไทยด้วย เหตุสารเคมีตกค้างเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสะเทือนใจ “เฉลิมชัย” เลือกฝั่งนายทุน หวัง ปชป. ทบทวนจุดยืน หลังเคยหาเสียงผลักดันเกษตรอินทรีย์
วานนี้ (31 ส.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวง อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเลขาธิการสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกันแถลงข่าวแสดงจุดยืนยกเลิกการใช้สารเคมีภาคเกษตร คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เนื่องจากล่าสุดนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ จะเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย พิจารณาทบทวนมติการแบนสารเคมีอันตรายดังกล่าว
นายอนุทินกล่าวว่า ตนและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านสุขภาพของประชาชน ขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยที่จะเลื่อนการยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตร เพราะมีข้อมูลชัดเจนว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน มีข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากการใช้สารเคมีภาคเกษตร และเกิดการสะสมชัดเจน ดังนั้น บุคลากรการแพทย์ขอวิงวอนหน่วยงานใด หรือบุคคลใดก็ตามที่กดดันให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายให้เลื่อนการยกเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้ ตนก็ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว ขอให้คำนึงถึงสุขภาพประชาชน เพราะไม่ว่าจะมีเงินมากแค่ไหน ก็ไม่อาจทดแทนสุขภาพที่เสียไป ขอให้นึกถึงการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่นึกถึงสุขภาพของคนไทยต้องมาก่อน แม้ว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจบ้าง แต่สุขภาพคนไทยต้องดี ปลอดจากโรคทุกชนิด
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีผู้แทนอยู่ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย 2 เสียง คือ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จากจำนวนคณะกรรมการทั้งคณะ 27 เสียง ดังนั้น โหวตอย่างไรก็แพ้ จะเห็นว่าที่ผ่านมามีกระบวนการที่พยายามกดดันคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้มีการใช้สารเหล่านี้มาตลอด หากจำได้ มติการแบนสารเคมีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอด แค่ 2-3 เดือน พอถูกกดดัน ก็เปลี่ยนแปลงอีก มีการขอให้กลับไปพิจารณาต่อ แบบนี้ไม่ต้องประชุมกรรมการก็ได้ ให้จับฉลากเอา แล้วจะมีกรรมการไว้ทำไม กรรมการที่ตั้งโดยรัฐบาลต้องมีความมั่นคง แน่วแน่ ไม่ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้
“ขอยืนยันว่า กรรมการ 2 คน ของกระทรวงสาธารณสุข จะยืนยันมติการแบนสารเคมีอันตรายในภาคเกษตรเหล่านี้ โดยโหวตตามวิชาชีพแพทย์ ไม่ได้ไปกดดันใคร ซึ่งเรายืนยันแบบนี้มาตลอด ไม่ใช่เฉพาะช่วงที่ผมเข้ามาเป็นรัฐมนตรี แต่เป็นเจตนารมณ์ที่มีมาตั้งแต่รัฐมนตรีคนก่อนๆ ซึ่งผมเห็นความสำคัญและมาสานต่อเจตนารมณ์ แต่ก็ขอความร่วมมือจากประชาชนในฐานะผู้บริโภคร่วมกัน พิจารณาต่อต้าน คัดค้าน ขัดขวางการพิจารณาของกรรมการครั้งนี้ หากประชาชนส่งเสียงพร้อมกัน เพื่อคุ้มครองตัวเอง จะไม่มีใครกล้าเอาสารเคมีอันตรายมาทำร้ายคนไทยต่อไป”นายอนุทินกล่าว
นพ.สุขุม กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากสารเคมีจะตกค้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จึงร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหานี้ และนโยบายปี 2563 ซึ่งเป็นปีแห่งเกษตรอินทรีย์ ก็มีการตั้งเป้าว่าประชาชนปลอดโรค ปลอดภัย ทั้งที่โรงเรียน โรงพยาบาล เรือนจำ และโรงแรมต้องใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยมาประกอบอาหาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและคุ้มครองประชาชนผู้บริโภค
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกสะเทือนใจที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจเลือกข้างบริษัทสารเคมี และจะเดินหน้าทบทวนการยกเลิกพาราควอต ของคณะกรรมการการวัตถุอันตราย จึงอยากขอให้นายเฉลิมชัยทบทวนให้ดี เพราะพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มีนโยบายเกษตรอินทรีย์ ช่วงหาเสียงก็ชูนโยบายแบน 3 สารพิษ อยากเห็น ปชป. มีที่มียืนในสังคม ไม่ใช่ผิดคำพูด
วานนี้ (31 ส.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวง อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเลขาธิการสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกันแถลงข่าวแสดงจุดยืนยกเลิกการใช้สารเคมีภาคเกษตร คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เนื่องจากล่าสุดนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ จะเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย พิจารณาทบทวนมติการแบนสารเคมีอันตรายดังกล่าว
นายอนุทินกล่าวว่า ตนและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านสุขภาพของประชาชน ขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยที่จะเลื่อนการยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตร เพราะมีข้อมูลชัดเจนว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน มีข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากการใช้สารเคมีภาคเกษตร และเกิดการสะสมชัดเจน ดังนั้น บุคลากรการแพทย์ขอวิงวอนหน่วยงานใด หรือบุคคลใดก็ตามที่กดดันให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายให้เลื่อนการยกเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้ ตนก็ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว ขอให้คำนึงถึงสุขภาพประชาชน เพราะไม่ว่าจะมีเงินมากแค่ไหน ก็ไม่อาจทดแทนสุขภาพที่เสียไป ขอให้นึกถึงการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่นึกถึงสุขภาพของคนไทยต้องมาก่อน แม้ว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจบ้าง แต่สุขภาพคนไทยต้องดี ปลอดจากโรคทุกชนิด
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีผู้แทนอยู่ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย 2 เสียง คือ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จากจำนวนคณะกรรมการทั้งคณะ 27 เสียง ดังนั้น โหวตอย่างไรก็แพ้ จะเห็นว่าที่ผ่านมามีกระบวนการที่พยายามกดดันคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้มีการใช้สารเหล่านี้มาตลอด หากจำได้ มติการแบนสารเคมีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอด แค่ 2-3 เดือน พอถูกกดดัน ก็เปลี่ยนแปลงอีก มีการขอให้กลับไปพิจารณาต่อ แบบนี้ไม่ต้องประชุมกรรมการก็ได้ ให้จับฉลากเอา แล้วจะมีกรรมการไว้ทำไม กรรมการที่ตั้งโดยรัฐบาลต้องมีความมั่นคง แน่วแน่ ไม่ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้
“ขอยืนยันว่า กรรมการ 2 คน ของกระทรวงสาธารณสุข จะยืนยันมติการแบนสารเคมีอันตรายในภาคเกษตรเหล่านี้ โดยโหวตตามวิชาชีพแพทย์ ไม่ได้ไปกดดันใคร ซึ่งเรายืนยันแบบนี้มาตลอด ไม่ใช่เฉพาะช่วงที่ผมเข้ามาเป็นรัฐมนตรี แต่เป็นเจตนารมณ์ที่มีมาตั้งแต่รัฐมนตรีคนก่อนๆ ซึ่งผมเห็นความสำคัญและมาสานต่อเจตนารมณ์ แต่ก็ขอความร่วมมือจากประชาชนในฐานะผู้บริโภคร่วมกัน พิจารณาต่อต้าน คัดค้าน ขัดขวางการพิจารณาของกรรมการครั้งนี้ หากประชาชนส่งเสียงพร้อมกัน เพื่อคุ้มครองตัวเอง จะไม่มีใครกล้าเอาสารเคมีอันตรายมาทำร้ายคนไทยต่อไป”นายอนุทินกล่าว
นพ.สุขุม กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากสารเคมีจะตกค้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จึงร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหานี้ และนโยบายปี 2563 ซึ่งเป็นปีแห่งเกษตรอินทรีย์ ก็มีการตั้งเป้าว่าประชาชนปลอดโรค ปลอดภัย ทั้งที่โรงเรียน โรงพยาบาล เรือนจำ และโรงแรมต้องใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยมาประกอบอาหาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและคุ้มครองประชาชนผู้บริโภค
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกสะเทือนใจที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจเลือกข้างบริษัทสารเคมี และจะเดินหน้าทบทวนการยกเลิกพาราควอต ของคณะกรรมการการวัตถุอันตราย จึงอยากขอให้นายเฉลิมชัยทบทวนให้ดี เพราะพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มีนโยบายเกษตรอินทรีย์ ช่วงหาเสียงก็ชูนโยบายแบน 3 สารพิษ อยากเห็น ปชป. มีที่มียืนในสังคม ไม่ใช่ผิดคำพูด