ผู้จัดการรายวัน360-“สกพอ.”รับโควิด-19 ส่งผลกระทบแผนปั้นบุคลากรให้ตรงกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รองรับความต้องการของนักลงทุนในพื้นที่อีอีซี 5 ปี ต้องชะลอออกไป 6 เดือน แต่ยังคงเป้าพัฒนา 4.75 แสนคน เหตุมั่นใจลงทุนจะทยอยกลับมา วางเป้าปี 64 พัฒนา 3 หมื่นคน พร้อมเร่งปั้นแรงงานรับ 4 อุตสาหกรรมมาแรงหลังโควิด-19 ทั้ง 5G โลจิสติกส์ การแพทย์ และอาหาร
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า จากผลกระทบโควิด-19 ในขณะนี้ ได้ส่งผลต่อแผนการพัฒนาบุคลากร ทำให้ สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับแผนพัฒนาบุคลากรรองรับให้ตรงกับความต้องการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ระยะเวลา 5 ปี (2562-66) โดยต้องชะลอออกไป 6 เดือน ตามทิศทางการลงทุน แต่เป้าหมายการพัฒนาแรงงานยังคงอยู่ที่ 475,000 คนใน 5 ปี
“ขณะนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ มีความชัดเจนที่อนุมัติการลงทุนแล้ว 3 โครงการ รวม 905,480 ล้านบาท คิดเป็น 53% ของเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาท และที่เหลืออีก 2 โครงการ จะเป็นปีหน้า และเมื่อรวมกับอุตสาหกรรมเป้าหมายจะมีเงินลงทุนรวมอีก 700,000-800,000 ล้านบาท ดังนั้น การพัฒนาแรงงาน อาจชะลอแค่ระยะแรก จากนั้นก็มั่นใจว่าจะกลับมา ทำให้เรายังคงเป้าหมายเดิมไว้ แต่ช่วงโควิด-19 เราก็อาศัยช่วงนี้เร่งพัฒนา เมื่อหมดโควิด-19 แล้ว การลงทุนกลับมา แรงงานก็จะพร้อมทันที เพราะการลงทุน แม้ว่าจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากขาดซึ่งแรงงาน ก็ไม่อาจขับเคลื่อนไปได้”นายคณิศกล่าว
นายคณิศกล่าวว่า สกพอ. ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดของผลกระทบโควิด-19 เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนรายละเอียดของความต้องการแรงงานให้ตรงกับความต้องการที่อาจเปลี่ยนไป ซึ่งบางอุตสาหกรรมอาจต้องการเร็วขึ้น แต่บางอุตสาหกรรมอาจต้องเลื่อนออกไป โดยเบื้องต้น พบว่า หลังโควิด-19 อุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานที่เพิ่มและมาเร็ว ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับดูแลสุขภาพหรือการแพทย์ และอาหาร ส่วนอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมาช้าและทำให้ความต้องการแรงงานจะล่าช้าออกไป เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ที่ช้าสุดจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน
ทั้งนี้ แผนพัฒนาบุคลากร 475,000 คนดังกล่าว สกพอ. จะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมการศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเบื้องต้น สกพอ. จะพัฒนาให้ได้ผลชัดเจน 10% ของแผน เพื่อเป็นโมเดลในการขยายผลให้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยในปีงบประมาณ 2564 จะพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับ 30,000 คน ซึ่งกำลังขอรับงบประมาณ 120 ล้านบาท ภายใต้พ.ร.บ.เงินกู้ 400,000 ล้านบาท และเอกชนจะสมทบ 120 ล้านบาท โดยเอกชนที่เข้าร่วมสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษี 2.5 เท่า ซึ่งขณะนี้มีเอกชนเข้าร่วมแล้ว 150 ราย
สำหรับการพัฒนาบุคลากร แบ่งเป็น EEC Model Type A ที่ให้เอกชนจ่าย 100% โดยเป็นการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับอุดมศึกษา และสถาบันอาชีวศึกษา ที่เอกชนจะสัมภาษณ์นักศึกษาตามที่ต้องการและร่วมกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการเพื่อให้เรียนฟรี และมีการฝึกงานจะจ่ายค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และเมื่อจบก็จะได้งานทำและการันตีเงินเดือนเริ่มต้น 20,000 บาทต่อเดือน
ส่วน EEC Model Type B เป็นการฝึกอบรมระยะสั้น (Short Courses) เพื่อผลิตกำลังคน ปรับทักษะ (Re Skill) เพิ่มทักษะ (Up Skill) ระยะเร่งด่วน รัฐจะสนับสนุนงบไม่เกิน 50% ที่เหลือเอกชนจ่ายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย
“ปีงบประมาณ 2563 ได้พัฒนาบุคลากรโมเดล Type A ไปแล้ว 2,516 คน และในปีงบประมาณ 2564 จะเพิ่มเป็น 3,500 คน และ Type B ปีงบประมาณ 2563 พัฒนา 6,064 คน ปีงบประมาณ 2564 จะเพิ่มเป็น 30,000 คน ขณะเดียวกัน สกพอ. ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการผลักดันแนวทางจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศการอาชีวศึกษาในพื้นที่อีอีซี (Excellent Center) เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านให้กับนักเรียนได้อย่างตรงจุดและทำงานทันทีหลังจบ เบื้องต้นจะมี 6 แห่ง”นายคณิศกล่าว
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า จากผลกระทบโควิด-19 ในขณะนี้ ได้ส่งผลต่อแผนการพัฒนาบุคลากร ทำให้ สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับแผนพัฒนาบุคลากรรองรับให้ตรงกับความต้องการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ระยะเวลา 5 ปี (2562-66) โดยต้องชะลอออกไป 6 เดือน ตามทิศทางการลงทุน แต่เป้าหมายการพัฒนาแรงงานยังคงอยู่ที่ 475,000 คนใน 5 ปี
“ขณะนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ มีความชัดเจนที่อนุมัติการลงทุนแล้ว 3 โครงการ รวม 905,480 ล้านบาท คิดเป็น 53% ของเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาท และที่เหลืออีก 2 โครงการ จะเป็นปีหน้า และเมื่อรวมกับอุตสาหกรรมเป้าหมายจะมีเงินลงทุนรวมอีก 700,000-800,000 ล้านบาท ดังนั้น การพัฒนาแรงงาน อาจชะลอแค่ระยะแรก จากนั้นก็มั่นใจว่าจะกลับมา ทำให้เรายังคงเป้าหมายเดิมไว้ แต่ช่วงโควิด-19 เราก็อาศัยช่วงนี้เร่งพัฒนา เมื่อหมดโควิด-19 แล้ว การลงทุนกลับมา แรงงานก็จะพร้อมทันที เพราะการลงทุน แม้ว่าจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากขาดซึ่งแรงงาน ก็ไม่อาจขับเคลื่อนไปได้”นายคณิศกล่าว
นายคณิศกล่าวว่า สกพอ. ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดของผลกระทบโควิด-19 เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนรายละเอียดของความต้องการแรงงานให้ตรงกับความต้องการที่อาจเปลี่ยนไป ซึ่งบางอุตสาหกรรมอาจต้องการเร็วขึ้น แต่บางอุตสาหกรรมอาจต้องเลื่อนออกไป โดยเบื้องต้น พบว่า หลังโควิด-19 อุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานที่เพิ่มและมาเร็ว ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับดูแลสุขภาพหรือการแพทย์ และอาหาร ส่วนอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมาช้าและทำให้ความต้องการแรงงานจะล่าช้าออกไป เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ที่ช้าสุดจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน
ทั้งนี้ แผนพัฒนาบุคลากร 475,000 คนดังกล่าว สกพอ. จะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมการศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเบื้องต้น สกพอ. จะพัฒนาให้ได้ผลชัดเจน 10% ของแผน เพื่อเป็นโมเดลในการขยายผลให้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยในปีงบประมาณ 2564 จะพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับ 30,000 คน ซึ่งกำลังขอรับงบประมาณ 120 ล้านบาท ภายใต้พ.ร.บ.เงินกู้ 400,000 ล้านบาท และเอกชนจะสมทบ 120 ล้านบาท โดยเอกชนที่เข้าร่วมสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษี 2.5 เท่า ซึ่งขณะนี้มีเอกชนเข้าร่วมแล้ว 150 ราย
สำหรับการพัฒนาบุคลากร แบ่งเป็น EEC Model Type A ที่ให้เอกชนจ่าย 100% โดยเป็นการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับอุดมศึกษา และสถาบันอาชีวศึกษา ที่เอกชนจะสัมภาษณ์นักศึกษาตามที่ต้องการและร่วมกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการเพื่อให้เรียนฟรี และมีการฝึกงานจะจ่ายค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และเมื่อจบก็จะได้งานทำและการันตีเงินเดือนเริ่มต้น 20,000 บาทต่อเดือน
ส่วน EEC Model Type B เป็นการฝึกอบรมระยะสั้น (Short Courses) เพื่อผลิตกำลังคน ปรับทักษะ (Re Skill) เพิ่มทักษะ (Up Skill) ระยะเร่งด่วน รัฐจะสนับสนุนงบไม่เกิน 50% ที่เหลือเอกชนจ่ายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย
“ปีงบประมาณ 2563 ได้พัฒนาบุคลากรโมเดล Type A ไปแล้ว 2,516 คน และในปีงบประมาณ 2564 จะเพิ่มเป็น 3,500 คน และ Type B ปีงบประมาณ 2563 พัฒนา 6,064 คน ปีงบประมาณ 2564 จะเพิ่มเป็น 30,000 คน ขณะเดียวกัน สกพอ. ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการผลักดันแนวทางจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศการอาชีวศึกษาในพื้นที่อีอีซี (Excellent Center) เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านให้กับนักเรียนได้อย่างตรงจุดและทำงานทันทีหลังจบ เบื้องต้นจะมี 6 แห่ง”นายคณิศกล่าว