ผู้จัดการรายวัน360-“อุตสาหกรรม”ชง ครม.สัญจรวันนี้ คลอดมาตรการอุ้มอุตสาหกรรมยานยนต์ฝ่าวิกฤติโควิด-19 เล็งขอลดภาษีให้ผู้ซื้อรถยนต์คันใหม่ เพื่อกระตุ้นตลาด พร้อมขอปรับเกณฑ์ให้บีโอไอกับ “มิตซูบิชิ” หนุนการผลิตรถยนต์อีวี และชงอนุมัติโครงการสมาร์ท ปาร์ค หวังก่อสร้างได้ไตรมาส 2 ปีหน้า เผยสั่งชะลอการถมทะเลรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตแล้ว พร้อมให้หาที่ใหม่ เล็งไว้ 4 ที่รองรับ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรกลุ่มภาคตะวันออก 1 ระยอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี (กลุ่มจังหวัดอีอีซี) วันนี้ (25 ส.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมจะรายงานภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ภาพรวมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัว โดยจะเสนอให้พิจารณามาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ให้กับผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ หรือมาตรการอื่นๆ ในการสนับสนุน เพื่อรักษาฐานการผลิตรถยนต์ในไทยและรองรับสัญญาณแนวโน้มที่คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ภาพรวมจะเริ่มฟื้นตัวในปี 2564
ทั้งนี้ จากการเดินทางเยี่ยมชมศูนย์การผลิตของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งมีแผนจะผลิตรถมิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริดที่ผลิตนอกญี่ปุ่นครั้งแรก ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่เกี่ยวกับบีโอไอที่ทางมิตซูบิชิฯ จะขอปรับเปลี่ยน จะนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาว่าจะช่วยเหลืออย่างไรด้วย
“มิตซูบิชิฯ มองว่าปี 2564 ตลาดรถยนต์จะเริ่มกลับมาฟื้นตัว จึงมีแผนลงทุนไว้ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท เป็นโรงพ่นสี 7,500 ล้านบาท และโครงการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบอีก 13,000 ล้านบาท และก่อนหน้านี้ ก็ได้หารือกับ ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) ที่เลือกฐานการผลิตเพื่อส่งออกไว้ที่ไทยเพียงแห่งเดียว เช่นเดียวกับจีเอ็ม และเกรท วอล มอเตอร์ส ก็จะเริ่มผลิตได้ต้นปีหน้า เห็นว่าสัญญาณเริ่มฟื้น”นายสริยะกล่าว
นายสุริยะกล่าวว่า จะเสนอ ครม. ให้อนุมัติก่อสร้างโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมฯ มาตาพุด จ.ระยอง พื้นที่โครงการประมาณ 1,383.76 ไร่ ที่ปัจจุบันสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีมติเห็นชอบไปเมื่อ 10 ก.ค.2563 โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาส 2 ปี 2564 เปิดดำเนินการได้ไตรมาส 1 ปี 2567 ใช้เงินลงทุนระยะแรก 2,480.73 ล้านบาท ที่จะก่อให้เกิดจ้างงาน 7,459 คนส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่ประมาณ 1,342,620,000 บาทต่อปี
ส่วนความคืบหน้าการโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ที่มีมูลค่าลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท ในพื้นที่ อ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอีอีซี ล่าสุดบริษัท เอ็กซอนโมบิล ได้แจ้งขอชะลอโครงการออกไปก่อนจนกว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมชะลอการพิจารณาพื้นที่ถมทะเลเพื่อเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนออกไป และให้มองหาพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่เป็นพื้นที่อื่นที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยสุด เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายแทน
น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ.ได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคตไว้ 4 พื้นที่ได้แก่ 1.พื้นที่บนบก 1,200 ไร่ ที่ขณะนี้เป็นคลังสินค้า ลานจอดรถเพื่อการส่งออก 2.พื้นที่บนบกที่เป็นพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบโรงกลั่น 5,000 ไร่ 3.พื้นที่ถมทะเลเขาบ่อยาและเขาภูไบทิศเหนือของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังเป้าหมายถมทะเล 2,500 ไร่ และ 4.พื้นที่ถมทะเลเป็นแหล่เก็บตะกอนพื้นที่ 1,875 ไร่
ส่วนโครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ที่ กนอ. ได้ลงนามสัญญาร่วมทุนในรูปแบบการบริหารธุรกิจกับบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินัล จำกัด จะเริ่มถมทะเลต้นปี 2564 พร้อมเปิดบริการได้ภายในปี 2569
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรกลุ่มภาคตะวันออก 1 ระยอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี (กลุ่มจังหวัดอีอีซี) วันนี้ (25 ส.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมจะรายงานภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ภาพรวมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัว โดยจะเสนอให้พิจารณามาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ให้กับผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ หรือมาตรการอื่นๆ ในการสนับสนุน เพื่อรักษาฐานการผลิตรถยนต์ในไทยและรองรับสัญญาณแนวโน้มที่คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ภาพรวมจะเริ่มฟื้นตัวในปี 2564
ทั้งนี้ จากการเดินทางเยี่ยมชมศูนย์การผลิตของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งมีแผนจะผลิตรถมิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริดที่ผลิตนอกญี่ปุ่นครั้งแรก ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่เกี่ยวกับบีโอไอที่ทางมิตซูบิชิฯ จะขอปรับเปลี่ยน จะนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาว่าจะช่วยเหลืออย่างไรด้วย
“มิตซูบิชิฯ มองว่าปี 2564 ตลาดรถยนต์จะเริ่มกลับมาฟื้นตัว จึงมีแผนลงทุนไว้ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท เป็นโรงพ่นสี 7,500 ล้านบาท และโครงการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบอีก 13,000 ล้านบาท และก่อนหน้านี้ ก็ได้หารือกับ ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) ที่เลือกฐานการผลิตเพื่อส่งออกไว้ที่ไทยเพียงแห่งเดียว เช่นเดียวกับจีเอ็ม และเกรท วอล มอเตอร์ส ก็จะเริ่มผลิตได้ต้นปีหน้า เห็นว่าสัญญาณเริ่มฟื้น”นายสริยะกล่าว
นายสุริยะกล่าวว่า จะเสนอ ครม. ให้อนุมัติก่อสร้างโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมฯ มาตาพุด จ.ระยอง พื้นที่โครงการประมาณ 1,383.76 ไร่ ที่ปัจจุบันสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีมติเห็นชอบไปเมื่อ 10 ก.ค.2563 โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาส 2 ปี 2564 เปิดดำเนินการได้ไตรมาส 1 ปี 2567 ใช้เงินลงทุนระยะแรก 2,480.73 ล้านบาท ที่จะก่อให้เกิดจ้างงาน 7,459 คนส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่ประมาณ 1,342,620,000 บาทต่อปี
ส่วนความคืบหน้าการโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ที่มีมูลค่าลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท ในพื้นที่ อ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอีอีซี ล่าสุดบริษัท เอ็กซอนโมบิล ได้แจ้งขอชะลอโครงการออกไปก่อนจนกว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมชะลอการพิจารณาพื้นที่ถมทะเลเพื่อเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนออกไป และให้มองหาพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่เป็นพื้นที่อื่นที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยสุด เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายแทน
น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ.ได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคตไว้ 4 พื้นที่ได้แก่ 1.พื้นที่บนบก 1,200 ไร่ ที่ขณะนี้เป็นคลังสินค้า ลานจอดรถเพื่อการส่งออก 2.พื้นที่บนบกที่เป็นพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบโรงกลั่น 5,000 ไร่ 3.พื้นที่ถมทะเลเขาบ่อยาและเขาภูไบทิศเหนือของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังเป้าหมายถมทะเล 2,500 ไร่ และ 4.พื้นที่ถมทะเลเป็นแหล่เก็บตะกอนพื้นที่ 1,875 ไร่
ส่วนโครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ที่ กนอ. ได้ลงนามสัญญาร่วมทุนในรูปแบบการบริหารธุรกิจกับบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินัล จำกัด จะเริ่มถมทะเลต้นปี 2564 พร้อมเปิดบริการได้ภายในปี 2569