ซูเปอร์โพล ชี้ผลสำรวจ ร้อยละ 70.8 ยังหนุน "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ มีผลงานจับต้องได้มากกว่า "ธนาธร" ที่ได้แค่ร้อยละ19.2 เชื่อต่างชาติสุมหัวนักการเมือง อยู่เบื้องหลังม็อบป่วนประเทศ ซ้ำเติมวิกฤต
วานนี้ (30ส.ค.) นายนพดล กรรณิกาผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ 1,645 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ส.ค.63 เรื่อง ประชาชนหนุนใคร พบว่า การรับรู้ของประชาชนที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้แก่ เมื่อปีที่แล้วนายธนาธร บอกศาลรธน. ว่า ไม่ทราบ จำไม่ได้ เรื่องโอนหุ้น ร้อยละ 90.6 มีผลต่อความน่าเชื่อถือของนายธนาธร ในขณะที่ ร้อยละ 9.4 ไม่มีผล
นอกจากนี้ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ระบาด กลุ่มนายธนาธร ระดมเงินบริจาคแจกประชาชน แต่ไม่ได้แจกเงินทุนที่ได้มาให้หมด แก่ประชาชน ร้อยละ 90.3 ระบุมีผลต่อความน่าเชื่อถือของนายธนาธร ในขณะที่ร้อยละ 9.7 ไม่มีผล
ขณะที่การรับรู้ของประชาชน ที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบว่า เมื่อประชาชนไม่รู้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ทำให้มีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือเด็กนักเรียน เยาวชนที่ยากจนพิเศษได้ทุนเรียนฟรี พ่อแม่ผู้ปกครองได้รับพัฒนาทักษะ มีงานทำ ร้อยละ 69.7ระบุ มีผล ในขณะที่ร้อยละ 30.3 บอกไม่มีผล
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อไม่รู้ว่าโครงการชิมช้อปใช้ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นศก. ร้อยละ 69.4 ระบุ มีผลต่อความน่าเชื่อถือของพล.อ.ประยุทธ์ ขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุไม่มีผล นอกจากนี้ เมื่อประชาชนไม่รู้ว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ซื้อสินค้าจำเป็นได้ ซื้ออุปกรณ์การเรียน วัสดุการเกษตรได้ ซื้อตั๋วรถโดยสารได้ ร้อยละ 69.8 ระบุ มีผลต่อความน่าเชื่อถือของพล.อ.ประยุทธ์ ในขณะที่ ร้อยละ 30.2 ไม่มีผล
เมื่อถามว่า คนที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่จับต้องได้ ประชาชนได้ประโยชน์มากกว่ากัน ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ นายธนาธร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.6 ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ ในขณะที่ ร้อยละ 17.1 ระบุ นายธนาธร
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามว่าคนที่ควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกฯ มากกว่ากัน ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ นายธนาธร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ในขณะที่ร้อยละ 19.2 สนับสนุน นายธนาธร และร้อยละ 10.0 ระบุอื่น ๆ
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 29ส.ค.ที่ผ่านมา นายนพดล ยังเผยถึงผลสำรวจเรื่อง หยุดคุกคามประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล"จำนวน 5,962 ตัวอย่าง ในโลกโซเชียลฯ และ"เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม" จำนวน 1,121 ตัวอย่าง
จากถามว่า เหตุการณ์ต่อไปนี้ เป็นการคุกคามประชาชนหรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.3 ยกกรณีจลาจลฮ่องกง จุดไฟเผาคุณลุงผู้เห็นต่าง เป็นการคุกคามประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 95.6 ยกกรณีจลาจลฮ่องกง กลุ่มม็อบนักเรียนห้ามครูบาอาจารย์สอนนักเรียนคนอื่น บังคับให้ไปม็อบ เป็นการคุกคาประชาชน , ร้อยละ 92.3 ระบุ การโจมตี ด่า สลิ่ม ด่า ชังชาติ ต่างฝ่ายต่างด่าโจมตีกันไปมา เป็นการคุกคามประชาชน , ร้อยละ 91.7 ระบุการโจมตี ด่า กลุ่มเห็นต่างในโลกโซเชียลฯ เป็นการคุกคามประชาชน ร้อยละ 91.4 ระบุ ม็อบกดดันเจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวคนทำผิดกฎหมาย เป็นการคุกคามประชาชน , ร้อยละ 90.7 ระบุ การยึดพื้นที่ปิดถนน ไม่ให้ประชาชนเดินทางไปมา เป็นการคุกคามประชาชน ,ร้อยละ90.5 ระบุ การถอนโฆษณาจากรายการที่เห็นต่าง เป็นการคุกคามประชาชน และ ร้อยละ 89.8 ระบุ การปลดพิธีกรรายการที่เห็นต่าง เป็นการคุกคามประชาชน เช่นกัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 82.4 ระบุ เชื่อว่าจริง ที่ชาวต่างชาติกับนักการเมืองไทย กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ และอื่นๆ ร่วมกันออกแบบ สั่นคลอน ความมั่นคงของประเทศ ซ้ำเติมวิกฤต ความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ17.6 ไม่เชื่อว่าจริง
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 77.1 ระบุ กลุ่มม็อบต่างๆก็คุกคามประชาชน ในขณะที่ ร้อยละ 22.9 ระบุ กลุ่มม็อบต่างๆ ไม่ได้คุกคามประชาชน ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 89.8 เห็นด้วยว่าทุกฝ่ายควรหยุดคุกคามประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ไม่เห็นด้วย
"ไทยภักดี"ลั่นป้องชาติ-ศาสน์-กษัตริย์
วานนี้ (30 ส.ค.) ที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง กทม. "กลุ่มไทยภักดี" นำโดย นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้นัดรวมตัวสมาชิกและเครือข่ายที่มีจุดยืนเดียวกัน เพื่อทำกิจกรรมแสดงจุดยืนภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคึก มีประชาชนแต่งกายแสดงออกทางสัญญลักษณ์ ทั้งริบบิ้นลายธงชาติ ชูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทยอยเดินทางมาสมทบ
ต่อมานพ.วรงค์ ได้ขึ้นเวที นำผู้เข้าร่วมงาน ยืนตรงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนจะประกาศจุดยืนปฎิเสธการถูกว่าจ้าง และยืนยันว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มไม่ใช่สร้างม็อบชนม็อบ เพื่อให้เกิดการปะทะตามที่มีการโจมตี
จากนั้น นายวิชัย ล้ำสุทธิ เลขาธิการกลุ่มไทยภักดี ได้ขึ้นเวทีประกาศอุดมการณ์ 5 ข้อ 1. ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. สืบสานรากเหง้าเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ความเป็นไทย 3. อำนาจควบคุมตรวจสอบทุนผูกขาด 4. เสริมสร้างความเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีทันสมัยในการประกอบอาชีพของทุกชนชั้น และ 5 . สร้างรากฐานความมั่งคั่งของชาติอย่างมั่นคง ด้วยระบบเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง
พร้อมกันนี้ ได้ประกาศข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ต้องไม่ยุบสภา 2. ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทุกกลุ่มที่ก้าวล่วงสถาบันฯ และ 3. ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ 2560
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ท่ามกลางบรรยากาศการชุมนุมที่คึกคัก มีกลุ่มสมาชิกศูนย์กลางประสานงาน นักศึกษา อาชีวะประชาชน ปกป้องสถาบัน (ศอปส.) ก็เดินทางเข้าร่วมชุมนุมด้วย
ทั้งนี้ นพ.วรงค์ ให้สัมภาษณ์ถึงการนัดชุมนุมครั้งนี้ว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เกิดขบวนการทำลายล้างสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึงรัฐธรรมนูญ จึงต้องการให้ความรู้กับประชาชน ซึ่งพวกเรายังยืนยันว่า ปัญหาหลักเกิดจากการกระทำของนักการเมืองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับสถาบันฯ
"โครงสร้างหลักในการปกครองประเทศ ไม่ได้มีปัญหามาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เกี่ยวร้อยสังคมไทยด้วยกัน วันนี้มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง มาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เรามองว่าไม่ใช่ สถาบันฯไม่เคยเป็นอุปสรรคต่อการดูแลประชาชนของรัฐบาล ถ้าไปหลงทาง ประเทศเดินผิดทาง แต่ถ้าเรามีการปรับที่นักการเมือง ผมเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น" นพ.วรงค์กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่มไทยภักดี เราไม่มีความคิดเรื่องม็อบ ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงอะไร แต่เรามาให้ความรู้ประชาชน ส่วนเรื่องการแก้ไขรธน. เราร้องต้องให้ความรู้ประชาชนว่าหากมีการแก้ไขรธน. ต้องมีการทำประชามติ เป็นเงื่อนไขเดียว ต้องถามประชาชนก่อนว่ายอมรับหรือไม่ ถ้าประชาชนยอม เราก็ตกลง แล้วก็มาดูว่าจะต้องแก้ไขตรงไหนบ้าง
วานนี้ (30ส.ค.) นายนพดล กรรณิกาผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ 1,645 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ส.ค.63 เรื่อง ประชาชนหนุนใคร พบว่า การรับรู้ของประชาชนที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้แก่ เมื่อปีที่แล้วนายธนาธร บอกศาลรธน. ว่า ไม่ทราบ จำไม่ได้ เรื่องโอนหุ้น ร้อยละ 90.6 มีผลต่อความน่าเชื่อถือของนายธนาธร ในขณะที่ ร้อยละ 9.4 ไม่มีผล
นอกจากนี้ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ระบาด กลุ่มนายธนาธร ระดมเงินบริจาคแจกประชาชน แต่ไม่ได้แจกเงินทุนที่ได้มาให้หมด แก่ประชาชน ร้อยละ 90.3 ระบุมีผลต่อความน่าเชื่อถือของนายธนาธร ในขณะที่ร้อยละ 9.7 ไม่มีผล
ขณะที่การรับรู้ของประชาชน ที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบว่า เมื่อประชาชนไม่รู้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ทำให้มีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือเด็กนักเรียน เยาวชนที่ยากจนพิเศษได้ทุนเรียนฟรี พ่อแม่ผู้ปกครองได้รับพัฒนาทักษะ มีงานทำ ร้อยละ 69.7ระบุ มีผล ในขณะที่ร้อยละ 30.3 บอกไม่มีผล
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อไม่รู้ว่าโครงการชิมช้อปใช้ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นศก. ร้อยละ 69.4 ระบุ มีผลต่อความน่าเชื่อถือของพล.อ.ประยุทธ์ ขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุไม่มีผล นอกจากนี้ เมื่อประชาชนไม่รู้ว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ซื้อสินค้าจำเป็นได้ ซื้ออุปกรณ์การเรียน วัสดุการเกษตรได้ ซื้อตั๋วรถโดยสารได้ ร้อยละ 69.8 ระบุ มีผลต่อความน่าเชื่อถือของพล.อ.ประยุทธ์ ในขณะที่ ร้อยละ 30.2 ไม่มีผล
เมื่อถามว่า คนที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่จับต้องได้ ประชาชนได้ประโยชน์มากกว่ากัน ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ นายธนาธร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.6 ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ ในขณะที่ ร้อยละ 17.1 ระบุ นายธนาธร
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามว่าคนที่ควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกฯ มากกว่ากัน ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ นายธนาธร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ในขณะที่ร้อยละ 19.2 สนับสนุน นายธนาธร และร้อยละ 10.0 ระบุอื่น ๆ
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 29ส.ค.ที่ผ่านมา นายนพดล ยังเผยถึงผลสำรวจเรื่อง หยุดคุกคามประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล"จำนวน 5,962 ตัวอย่าง ในโลกโซเชียลฯ และ"เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม" จำนวน 1,121 ตัวอย่าง
จากถามว่า เหตุการณ์ต่อไปนี้ เป็นการคุกคามประชาชนหรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.3 ยกกรณีจลาจลฮ่องกง จุดไฟเผาคุณลุงผู้เห็นต่าง เป็นการคุกคามประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 95.6 ยกกรณีจลาจลฮ่องกง กลุ่มม็อบนักเรียนห้ามครูบาอาจารย์สอนนักเรียนคนอื่น บังคับให้ไปม็อบ เป็นการคุกคาประชาชน , ร้อยละ 92.3 ระบุ การโจมตี ด่า สลิ่ม ด่า ชังชาติ ต่างฝ่ายต่างด่าโจมตีกันไปมา เป็นการคุกคามประชาชน , ร้อยละ 91.7 ระบุการโจมตี ด่า กลุ่มเห็นต่างในโลกโซเชียลฯ เป็นการคุกคามประชาชน ร้อยละ 91.4 ระบุ ม็อบกดดันเจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวคนทำผิดกฎหมาย เป็นการคุกคามประชาชน , ร้อยละ 90.7 ระบุ การยึดพื้นที่ปิดถนน ไม่ให้ประชาชนเดินทางไปมา เป็นการคุกคามประชาชน ,ร้อยละ90.5 ระบุ การถอนโฆษณาจากรายการที่เห็นต่าง เป็นการคุกคามประชาชน และ ร้อยละ 89.8 ระบุ การปลดพิธีกรรายการที่เห็นต่าง เป็นการคุกคามประชาชน เช่นกัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 82.4 ระบุ เชื่อว่าจริง ที่ชาวต่างชาติกับนักการเมืองไทย กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ และอื่นๆ ร่วมกันออกแบบ สั่นคลอน ความมั่นคงของประเทศ ซ้ำเติมวิกฤต ความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ17.6 ไม่เชื่อว่าจริง
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 77.1 ระบุ กลุ่มม็อบต่างๆก็คุกคามประชาชน ในขณะที่ ร้อยละ 22.9 ระบุ กลุ่มม็อบต่างๆ ไม่ได้คุกคามประชาชน ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 89.8 เห็นด้วยว่าทุกฝ่ายควรหยุดคุกคามประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ไม่เห็นด้วย
"ไทยภักดี"ลั่นป้องชาติ-ศาสน์-กษัตริย์
วานนี้ (30 ส.ค.) ที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง กทม. "กลุ่มไทยภักดี" นำโดย นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้นัดรวมตัวสมาชิกและเครือข่ายที่มีจุดยืนเดียวกัน เพื่อทำกิจกรรมแสดงจุดยืนภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคึก มีประชาชนแต่งกายแสดงออกทางสัญญลักษณ์ ทั้งริบบิ้นลายธงชาติ ชูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทยอยเดินทางมาสมทบ
ต่อมานพ.วรงค์ ได้ขึ้นเวที นำผู้เข้าร่วมงาน ยืนตรงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนจะประกาศจุดยืนปฎิเสธการถูกว่าจ้าง และยืนยันว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มไม่ใช่สร้างม็อบชนม็อบ เพื่อให้เกิดการปะทะตามที่มีการโจมตี
จากนั้น นายวิชัย ล้ำสุทธิ เลขาธิการกลุ่มไทยภักดี ได้ขึ้นเวทีประกาศอุดมการณ์ 5 ข้อ 1. ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. สืบสานรากเหง้าเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ความเป็นไทย 3. อำนาจควบคุมตรวจสอบทุนผูกขาด 4. เสริมสร้างความเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีทันสมัยในการประกอบอาชีพของทุกชนชั้น และ 5 . สร้างรากฐานความมั่งคั่งของชาติอย่างมั่นคง ด้วยระบบเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง
พร้อมกันนี้ ได้ประกาศข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ต้องไม่ยุบสภา 2. ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทุกกลุ่มที่ก้าวล่วงสถาบันฯ และ 3. ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ 2560
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ท่ามกลางบรรยากาศการชุมนุมที่คึกคัก มีกลุ่มสมาชิกศูนย์กลางประสานงาน นักศึกษา อาชีวะประชาชน ปกป้องสถาบัน (ศอปส.) ก็เดินทางเข้าร่วมชุมนุมด้วย
ทั้งนี้ นพ.วรงค์ ให้สัมภาษณ์ถึงการนัดชุมนุมครั้งนี้ว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เกิดขบวนการทำลายล้างสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึงรัฐธรรมนูญ จึงต้องการให้ความรู้กับประชาชน ซึ่งพวกเรายังยืนยันว่า ปัญหาหลักเกิดจากการกระทำของนักการเมืองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับสถาบันฯ
"โครงสร้างหลักในการปกครองประเทศ ไม่ได้มีปัญหามาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เกี่ยวร้อยสังคมไทยด้วยกัน วันนี้มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง มาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เรามองว่าไม่ใช่ สถาบันฯไม่เคยเป็นอุปสรรคต่อการดูแลประชาชนของรัฐบาล ถ้าไปหลงทาง ประเทศเดินผิดทาง แต่ถ้าเรามีการปรับที่นักการเมือง ผมเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น" นพ.วรงค์กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่มไทยภักดี เราไม่มีความคิดเรื่องม็อบ ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงอะไร แต่เรามาให้ความรู้ประชาชน ส่วนเรื่องการแก้ไขรธน. เราร้องต้องให้ความรู้ประชาชนว่าหากมีการแก้ไขรธน. ต้องมีการทำประชามติ เป็นเงื่อนไขเดียว ต้องถามประชาชนก่อนว่ายอมรับหรือไม่ ถ้าประชาชนยอม เราก็ตกลง แล้วก็มาดูว่าจะต้องแก้ไขตรงไหนบ้าง