กลุ่ม UTA ส่งแผนแม่บทพัฒนาและก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ให้ “อีอีซี” แล้ว คาด ก.ย.ปักหมุดสำรวจละเอียด จ่อเจรจากองทัพเรือ ขอบริหารเทอร์มินอล 2 สร้างฐานผู้โดยสาร "หมอเสริฐ" ชูจัดบริการ สะดวก-เร็ว-ลดค่าใช้จ่าย
วานนี้ (20 ส.ค.) คณะผู้บริหารบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA นำโดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ, นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ, นายกวิน กาญจนพาสน์, นายภาคภูมิ ศรีชำนิ และ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ร่วมจัดแถลง “ความคืบหน้า โครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก”ครั้งที่ 1 หลังจากมีการลงนามสัญญา กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 63 โดยเสนอผลประโยชน์ด้านการเงินแก่รัฐ 305,555 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.การบินกรุงเทพ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค.63 บริษัทฯได้เข้าสำรวจพื้นที่ของสนามบินอู่ตะเภาเบื้องต้น และในวันที่ 17 ส.ค. บริษัทฯได้จัดส่งแผนแม่บทให้อีอีซี ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนฯ ทั้งนี้ แผนแม่บทดังกล่าวจะเป็นวางผังเบื้องต้น กำหนดตำแหน่งและจุดเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่สำคัญต่างๆ และในเดือน ก.ย.นี้ จะลงพื้นที่เพื่อสำรวจ Topographic อย่างละเอียด รวมถึงพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงของการบินไทยเพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดต่อไป โดยตามแผนต้นปี 65 คาดว่าจะได้รับหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) และใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี พร้อมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี 2568 และครบอายุสัญญาร่วมทุนในปี 2615
“ในปีแรกที่เปิดบริการ (2568 ) คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 5-6 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภามีผู้โดยสาร 2 ล้านคนเศษ ซึ่งบริษัทฯ สนใจที่จะขอเข้าไปบริหารอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ในปัจจุบันก่อนระหว่างก่อสร้าง ซึ่งจะต้องหารือกับกองทัพเรือเพื่อดูระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะการเข้าไปบริหารจัดการได้ก่อนจะทำให้สามารถสร้างฐานผู้โดยสารให้เมืองการบินได้ และเมื่อเปิดเมืองการบิน อาคาร 2 จะต้องปิดอยู่แล้ว” นายพุฒิพงศ์ ระบุ
ด้าน นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่ปรึกษาประธานคณะผู้บริหาร บมจ. การบินกรุงเทพ กล่าวว่า หลักการบริหารสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลาง การบินของภูมิภาคนั้นจะต้องทำให้ มีความน่าขึ้น-ลง มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ เช่น สามารถบริหารจัดการให้เครื่องบินขึ้น-ลงในเวลาเฉลี่ย 2 นาที/ลำ เพราะช่วยทำให้เครื่องบินจะใช้น้ำมันน้อยลง ซึ่งสนามบินบางแห่งของสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาแค่ 1 นาที/ลำ แต่ไทยปัจจุบัน เฉลี่ย 3 นาที/ลำ และจากทั่วโลกในการเข้าถึงประเทศไทย เส้นทางบินมายังสนามบินอู่ตะเภา จะเร็วกว่าเฉลี่ย 10 นาที เมื่อเทียบกับการลงที่สุวรรณภูมิและดอนเมือง เนื่องจากจุดที่ตั้งของอู่ตะเภาเครื่องบินไม่ต้องบินวน นอกจากนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการค่าธรรมเนียม การขึ้นลงอากาศยาน (Landing Fee)ค่าจอดอากาศยาน(Parking Fee) ที่ต่ำและแบ่งอัตราทั้ง 24 ชม. ให้เหมาะสม ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้สายการบินมาใช้บริการ และลดความแออัดในบางช่วงเวลาได้อีกด้วย และสร้างระบบธุรกิจเครือข่ายทั้ง โรงแรม บริษัททัวร์ ขับเคลื่อนไปด้วย
วานนี้ (20 ส.ค.) คณะผู้บริหารบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA นำโดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ, นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ, นายกวิน กาญจนพาสน์, นายภาคภูมิ ศรีชำนิ และ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ร่วมจัดแถลง “ความคืบหน้า โครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก”ครั้งที่ 1 หลังจากมีการลงนามสัญญา กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 63 โดยเสนอผลประโยชน์ด้านการเงินแก่รัฐ 305,555 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.การบินกรุงเทพ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค.63 บริษัทฯได้เข้าสำรวจพื้นที่ของสนามบินอู่ตะเภาเบื้องต้น และในวันที่ 17 ส.ค. บริษัทฯได้จัดส่งแผนแม่บทให้อีอีซี ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนฯ ทั้งนี้ แผนแม่บทดังกล่าวจะเป็นวางผังเบื้องต้น กำหนดตำแหน่งและจุดเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่สำคัญต่างๆ และในเดือน ก.ย.นี้ จะลงพื้นที่เพื่อสำรวจ Topographic อย่างละเอียด รวมถึงพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงของการบินไทยเพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดต่อไป โดยตามแผนต้นปี 65 คาดว่าจะได้รับหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) และใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี พร้อมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี 2568 และครบอายุสัญญาร่วมทุนในปี 2615
“ในปีแรกที่เปิดบริการ (2568 ) คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 5-6 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภามีผู้โดยสาร 2 ล้านคนเศษ ซึ่งบริษัทฯ สนใจที่จะขอเข้าไปบริหารอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ในปัจจุบันก่อนระหว่างก่อสร้าง ซึ่งจะต้องหารือกับกองทัพเรือเพื่อดูระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะการเข้าไปบริหารจัดการได้ก่อนจะทำให้สามารถสร้างฐานผู้โดยสารให้เมืองการบินได้ และเมื่อเปิดเมืองการบิน อาคาร 2 จะต้องปิดอยู่แล้ว” นายพุฒิพงศ์ ระบุ
ด้าน นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่ปรึกษาประธานคณะผู้บริหาร บมจ. การบินกรุงเทพ กล่าวว่า หลักการบริหารสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลาง การบินของภูมิภาคนั้นจะต้องทำให้ มีความน่าขึ้น-ลง มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ เช่น สามารถบริหารจัดการให้เครื่องบินขึ้น-ลงในเวลาเฉลี่ย 2 นาที/ลำ เพราะช่วยทำให้เครื่องบินจะใช้น้ำมันน้อยลง ซึ่งสนามบินบางแห่งของสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาแค่ 1 นาที/ลำ แต่ไทยปัจจุบัน เฉลี่ย 3 นาที/ลำ และจากทั่วโลกในการเข้าถึงประเทศไทย เส้นทางบินมายังสนามบินอู่ตะเภา จะเร็วกว่าเฉลี่ย 10 นาที เมื่อเทียบกับการลงที่สุวรรณภูมิและดอนเมือง เนื่องจากจุดที่ตั้งของอู่ตะเภาเครื่องบินไม่ต้องบินวน นอกจากนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการค่าธรรมเนียม การขึ้นลงอากาศยาน (Landing Fee)ค่าจอดอากาศยาน(Parking Fee) ที่ต่ำและแบ่งอัตราทั้ง 24 ชม. ให้เหมาะสม ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้สายการบินมาใช้บริการ และลดความแออัดในบางช่วงเวลาได้อีกด้วย และสร้างระบบธุรกิจเครือข่ายทั้ง โรงแรม บริษัททัวร์ ขับเคลื่อนไปด้วย