ผู้จัดการรายวัน360-“ชาญศิลป์”นำทีมคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟู “การบินไทย” เบิกความต่อศาลล้มละลายกลาง ขอพิจารณา 2 คำสั่ง ไฟเขียวฟื้นฟูกิจการ และแต่งตั้งคณะผู้ทำแผน ระบุการไต่สวนนัดแรก เจ้าหนี้ค้านตั้ง “อีวายคอร์ปอเรท” ทำแผนฟื้นฟู ชี้ขาดคุณสมบัติ ด้านผู้บริหารแจงการคัดเลือกโปร่งใส มั่นใจทำงานได้ เหตุเจ้าหนี้หนุน เผยศาลนัดอีกไต่สวนอีก 2 วัน พร้อมฝากความมั่นใจถึงเจ้าหนี้ จะได้รับการดูแลทุกราย ก่อนเชิญฟังแผนฟื้นฟู หากศาลอนุมัติ ย้ำลูกค้าที่จองตั๋วแล้ว ได้เงินคืนแน่ สมาชิก ROP ยังได้รับการดูแลเหมือนเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (17 ส.ค.) ที่ศาลล้มละลายกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางมายังศาลตามคำสั่งนัดไต่สวน เรื่องขอฟื้นฟูกิจการ โดยเป็นตัวแทนลูกหนี้ขึ้นเบิกความ เพื่อขออนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ และคณะผู้จัดทำแผน
โดยบรรยากาศก่อนการพิจารณาคดี ศาลอนุญาตให้เข้าห้องพิจารณาคดีเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ผู้ยื่นคัดค้าน และผู้ที่มีเอกสารหลักฐานที่ต้องการยื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ส่วนการบินไทย ในฐานะลูกหนี้ ได้เตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อศาลล้มละลายกลางอย่างละเอียดรอบด้าน ขณะที่เจ้าหนี้ต่างๆ ได้จัดสรรพื้นที่ภายนอกให้รับชมตลอดการพิจารณาคดี มีเจ้าหนี้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 50 ราย
ทั้งนี้ ในการนัดไต่สวน มีคณะผู้จัดทำแผนเข้าร่วมแสดงตน คือ บริษัท อีวายคอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด รวมกับกรรมการการบินไทย 6 คน ได้แก่ 1.พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน 2.นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล 3.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 4.นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ 5.นายบุญทักษ์ หวังเจริญ และ 6.นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร โดยศาลล้มละลายกลาง จะพิจารณาไต่สวนใน 2 ประเด็น คือ 1.การบินไทยควรได้รับการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ 2.ควรแต่งตั้งคณะผู้ทำแผนตามที่การบินไทยเสนอหรือไม่
ขณะที่ฝ่ายเจ้าหนี้ที่ประสงค์คัดค้านมีจำนวน 16 ราย เช่น เจ้าหนี้รายย่อยที่ขอคืนบัตรโดยการ สหกรณ์ออมทรัพย์วชิรพยาบาล จำกัด และบริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยคัดค้านบริษัท อีวาย คอร์ปอเรทฯ บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ เพราะเห็นว่าขาดคุณสมบัติและประสบการณ์บริหารบริษัทใหญ่และธุรกิจการบิน
นายชาญศิลป์กล่าวชี้แจงว่า การคัดเลือกบริษัทอีวาย ได้ดำเนินการมาก่อนที่ตนจะรับตำแหน่ง และดำเนินการด้วยความโปร่งใสทุกขั้นตอน โดยเป็นบริษัทชั้นนำของโลก และยังได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายใหญ่ของการบินไทย
ขณะที่นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวว่า บริษัทกำหนดค่าตอนแทนตามสัญญาว่าจ้างเป็นเงิน 22 ล้านบาท และจ่ายค่าดำเนินการอีกเดือนละ 15 ล้านบาท เริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดทำแผนจนถึงวันที่ศาลรับแผนฟื้นฟู แต่ขณะนี้ ยังไม่ได้มีการขายเงินให้แก่บริษัทแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ศาลได้นัดให้มีการไต่สวนคำร้องเพิ่มเติมอีก 2 วัน คือ วัน 20 ส.ค.2563 และวันที่ 25 ส.ค.2563
อย่างไรก็ตาม นายชาญศิลป์กล่าวภายหลังว่า ประเด็นที่คัดค้าน ไม่มีเรื่องใดน่าหนักใจ เพราะเป็นประเด็นที่การบินไทยสามารถชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้ ส่วนเจ้าหนี้รายใหญ่หลายราย รวมทั้งกระทรวงการคลัง ได้ลงนามในหนังสือให้การสนับสนุนการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยและไม่คัดค้านคณะผู้ทำแผนฯ ที่การบินไทยเสนอ ซึ่งคิดเป็นจำนวนรวมมากกว่า 50% ของจำนวนหนี้ตามงบการเงินไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2563 โดยการบินไทยได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลอย่างเต็มที่แล้วว่าการบินไทยสมควรได้รับการฟื้นฟูกิจการ และคณะผู้ทำแผนฯ ที่การบินไทยเสนอ มีความเหมาะสม แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลล้มละลายกลางว่าจะมีคำสั่งอย่างไรและเมื่อใด
“ได้เน้นย้ำและฝากความมั่นใจไปยังเจ้าหนี้ทุกรายของการบินไทย ว่า หากศาลมีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ และตั้งคณะผู้ทำแผนฯ ก็จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเจ้าหนี้ทุกราย เพราะกระบวนการฟื้นฟูกิจการ จะไม่ล่าช้าและการบินไทยจะสามารถเริ่มต้นแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินได้โดยเร็ว และขอขอบคุณเจ้าหนี้และลูกค้าของการบินไทยที่ให้การสนับสนุนการฟื้นฟูกิจการและไม่คัดค้านคณะผู้ทำแผนฯ ที่การบินไทยเสนอ ซึ่งการบินไทยจะเตรียมความพร้อมเพื่อดูแลทุกท่านเป็นอย่างดีตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ต่อไป”นายชาญศิลป์กล่าว
นอกจากนี้ หากการไต่สวนเสร็จสิ้น และศาลมีคำสั่งให้การบินไทยเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการและตั้งคณะผู้ทำแผนฯ และออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมบังคับคดีจะดำเนินการแจ้งเจ้าหนี้ทุกรายให้ทราบถึงขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการบินไทยจะเชิญเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ มารับฟังการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับทราบความคืบหน้า
สำหรับลูกค้าที่ขอคืนค่าบัตรโดยสาร (Refund) คณะผู้ทำแผนฯ ได้มีการกำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดไว้ในแผนฟื้นฟูแล้ว ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายใดๆ ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ส่วนสมาชิกโปรแกรมสะสมไมล์ Royal Orchid Plus (ROP) แม้จะไม่ใช่เจ้าหนี้ แต่การบินไทยตระหนักถึงความสำคัญ และมุ่งมั่นมอบสิทธิประโยชน์ต่อไป โดยสิทธิยังคงมีอยู่ตามเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (17 ส.ค.) ที่ศาลล้มละลายกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางมายังศาลตามคำสั่งนัดไต่สวน เรื่องขอฟื้นฟูกิจการ โดยเป็นตัวแทนลูกหนี้ขึ้นเบิกความ เพื่อขออนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ และคณะผู้จัดทำแผน
โดยบรรยากาศก่อนการพิจารณาคดี ศาลอนุญาตให้เข้าห้องพิจารณาคดีเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ผู้ยื่นคัดค้าน และผู้ที่มีเอกสารหลักฐานที่ต้องการยื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ส่วนการบินไทย ในฐานะลูกหนี้ ได้เตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อศาลล้มละลายกลางอย่างละเอียดรอบด้าน ขณะที่เจ้าหนี้ต่างๆ ได้จัดสรรพื้นที่ภายนอกให้รับชมตลอดการพิจารณาคดี มีเจ้าหนี้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 50 ราย
ทั้งนี้ ในการนัดไต่สวน มีคณะผู้จัดทำแผนเข้าร่วมแสดงตน คือ บริษัท อีวายคอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด รวมกับกรรมการการบินไทย 6 คน ได้แก่ 1.พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน 2.นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล 3.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 4.นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ 5.นายบุญทักษ์ หวังเจริญ และ 6.นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร โดยศาลล้มละลายกลาง จะพิจารณาไต่สวนใน 2 ประเด็น คือ 1.การบินไทยควรได้รับการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ 2.ควรแต่งตั้งคณะผู้ทำแผนตามที่การบินไทยเสนอหรือไม่
ขณะที่ฝ่ายเจ้าหนี้ที่ประสงค์คัดค้านมีจำนวน 16 ราย เช่น เจ้าหนี้รายย่อยที่ขอคืนบัตรโดยการ สหกรณ์ออมทรัพย์วชิรพยาบาล จำกัด และบริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยคัดค้านบริษัท อีวาย คอร์ปอเรทฯ บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ เพราะเห็นว่าขาดคุณสมบัติและประสบการณ์บริหารบริษัทใหญ่และธุรกิจการบิน
นายชาญศิลป์กล่าวชี้แจงว่า การคัดเลือกบริษัทอีวาย ได้ดำเนินการมาก่อนที่ตนจะรับตำแหน่ง และดำเนินการด้วยความโปร่งใสทุกขั้นตอน โดยเป็นบริษัทชั้นนำของโลก และยังได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายใหญ่ของการบินไทย
ขณะที่นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวว่า บริษัทกำหนดค่าตอนแทนตามสัญญาว่าจ้างเป็นเงิน 22 ล้านบาท และจ่ายค่าดำเนินการอีกเดือนละ 15 ล้านบาท เริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดทำแผนจนถึงวันที่ศาลรับแผนฟื้นฟู แต่ขณะนี้ ยังไม่ได้มีการขายเงินให้แก่บริษัทแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ศาลได้นัดให้มีการไต่สวนคำร้องเพิ่มเติมอีก 2 วัน คือ วัน 20 ส.ค.2563 และวันที่ 25 ส.ค.2563
อย่างไรก็ตาม นายชาญศิลป์กล่าวภายหลังว่า ประเด็นที่คัดค้าน ไม่มีเรื่องใดน่าหนักใจ เพราะเป็นประเด็นที่การบินไทยสามารถชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้ ส่วนเจ้าหนี้รายใหญ่หลายราย รวมทั้งกระทรวงการคลัง ได้ลงนามในหนังสือให้การสนับสนุนการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยและไม่คัดค้านคณะผู้ทำแผนฯ ที่การบินไทยเสนอ ซึ่งคิดเป็นจำนวนรวมมากกว่า 50% ของจำนวนหนี้ตามงบการเงินไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2563 โดยการบินไทยได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลอย่างเต็มที่แล้วว่าการบินไทยสมควรได้รับการฟื้นฟูกิจการ และคณะผู้ทำแผนฯ ที่การบินไทยเสนอ มีความเหมาะสม แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลล้มละลายกลางว่าจะมีคำสั่งอย่างไรและเมื่อใด
“ได้เน้นย้ำและฝากความมั่นใจไปยังเจ้าหนี้ทุกรายของการบินไทย ว่า หากศาลมีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ และตั้งคณะผู้ทำแผนฯ ก็จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเจ้าหนี้ทุกราย เพราะกระบวนการฟื้นฟูกิจการ จะไม่ล่าช้าและการบินไทยจะสามารถเริ่มต้นแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินได้โดยเร็ว และขอขอบคุณเจ้าหนี้และลูกค้าของการบินไทยที่ให้การสนับสนุนการฟื้นฟูกิจการและไม่คัดค้านคณะผู้ทำแผนฯ ที่การบินไทยเสนอ ซึ่งการบินไทยจะเตรียมความพร้อมเพื่อดูแลทุกท่านเป็นอย่างดีตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ต่อไป”นายชาญศิลป์กล่าว
นอกจากนี้ หากการไต่สวนเสร็จสิ้น และศาลมีคำสั่งให้การบินไทยเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการและตั้งคณะผู้ทำแผนฯ และออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมบังคับคดีจะดำเนินการแจ้งเจ้าหนี้ทุกรายให้ทราบถึงขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการบินไทยจะเชิญเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ มารับฟังการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับทราบความคืบหน้า
สำหรับลูกค้าที่ขอคืนค่าบัตรโดยสาร (Refund) คณะผู้ทำแผนฯ ได้มีการกำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดไว้ในแผนฟื้นฟูแล้ว ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายใดๆ ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ส่วนสมาชิกโปรแกรมสะสมไมล์ Royal Orchid Plus (ROP) แม้จะไม่ใช่เจ้าหนี้ แต่การบินไทยตระหนักถึงความสำคัญ และมุ่งมั่นมอบสิทธิประโยชน์ต่อไป โดยสิทธิยังคงมีอยู่ตามเดิม