นายกฯ เผยพอใจผลสอบกรณี "บอส อยู่วิทยา" ระดับหนึ่ง แต่จะพอใจมากถ้า ปชช.ยอมรับ “กก.สอบฯ ตร.” สรุปผลเสนอ “ผบ.ตร.” รื้อคดี 2 ข้อหา ขับรถโดยประมาท-เสพโคเคน ฟันวินัย-อาญา ม.157 พนักงานสอบสวน-ผู้เกี่ยวข้อง 14 ราย
วานนี้ (13 ส.ค.63) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าผลการสอบคดีนายวรยุทธ หรือบิส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 ว่า มีความก้าวหน้าหลายอย่าง หลายด้าน ทั้งในส่วนของอัยการ ของตำรวจ และ คณะกรรมการชุดของ นายวิชา มหาคุณ ซึ่งมีการรายงานกับตนมาตลอดอยู่แล้ว ทั้งนี้ หากเรื่องใดที่ตนสามารถมอบให้คณะกรรมการด้านตำรวจดูแลแก้ไขไปชี้แจง ตนก็กำชับไปแล้วว่า ต้องให้ความร่วมมือทุกประเด็น
"ถ้าถามว่าพอใจไหม ก็ต้องบอกว่าจะพอใจได้ก็ต่อเมื่อมันสิ้นสุดไปในทางที่ดี ที่ประชาชนยอมรับนั่นแหละ คือพอใจ แต่ตอนนี้ก็ยังถือว่าพอใจในระดับหนึ่ง ที่มีการออกมาขับเคลื่อนในเรื่องเหล่านี้” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
ทางด้าน คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการสั่งไม่ฟ้องและตำรวจไม่แย้งคดีนายวรยุทธ ได้แถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งของนายกฯ และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำแหน่งชาติ (ผบ.ตร.) และนายกฯในฐานะกำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้สั่งการให้สอบเพิ่มเติม 3 ประเด็น คือ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ไม่แย้งความเห็นของอัยการ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีนี้ใหม่และกรณีตำรวจ 11 นายที่สอบสวนและทำคดีนี้มีกี่คน ทั้งที่โดนทำโทษและบางคนที่ยังเลื่อนตำแหน่งอยู่
โดย พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่าประเด็นการตรวจสอบความเห็นไม่แย้งของ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ไม่พบความบกพร่อง เนื่องจากพิจารณาได้เฉพาะสำนวนของอัยการที่ส่งมาเท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือหยิบยกพยานหลักฐานใหม่มาพิจารณาได้ รวมทั้งผู้ตรวจสำนวนพิจารณาทั้ง 4 ระดับ ก็ไม่มีความเห็นแย้งอัยการ พล.ต.ท.เพิ่มพูนจึงพิจารณาไปตามระเบียบ แต่ยังคงต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ พล.ต.ท.เพิ่มพูน อย่างละเอียดอีกครั้งตามคำสั่งของ นายกฯ
"คณะกรรมการเตรียมเสนอ ผบ.ตร. ให้พิจารณาโทษทางวินัยและอาญากับ 14 นายตำรวจที่ทำคดีทั้งชุดเก่าและชุดใหม่ โดยในจำนวนนี้ 11 นาย เป็นตำรวจที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดและลงโทษแล้ว ส่วนอีก 3 นายมีตำแหน่งระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.) และผู้กำกับการ (ผกก.) ที่มีการกลับคำให้การเรื่องความเร็วรถของนายวรยุทธ" พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ระบุ
นอกจากนี้คณะกรรมการเตรียมเสนอให้ดำเนินคดีนายวรยุทธ ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ที่อายุความยังเหลืออีก 7 ปี เพราะจากการสอบสวนผู้เชี่ยวชาญประกอบความเห็นเดิมของ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเดิมเชื่อได้ว่าความเร็วรถน่าจะอยู่ที่ 177 กม./ชม.และแจ้งข้อหาเสพสารเสพติดให้โทษประเภท2 (โคเคน) ที่มีอายุความเหลือ 2 ปี หลังแพทย์ยืนยันว่า ยาแอมม็อกซิลีนที่นายวรยุทธไปรักษาฟัน ไม่มีส่วนผสมของโคเคน
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อมีการแจ้งข้อหาและทำคดีใหม่ ทางพนักงานสอบสวนก็จะเนินการขอศาลออกหมายจับได้ตามขั้นตอนของกฎหมาย รวมถึงการทำเรื่องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนำคนผิดมาลงโทษ
ด้าน พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร.เปิดเผยว่า ผบ.ตร.ได้มีคำสั่ง ตร. ที่ 416/2563 ลงวันที่ 13 ส.ค.63 ให้ ผบ.ตร.เป็นผู้กำกับดูแลการบริหารราชการในงานกฎหมายและคดีด้วยตนเอง โดยมีผู้ช่วย ผบ.ตร.อีก 5 คน ช่วยกำกับดูแล ทั้งนี้ สำหรับงานที่มีความสำคัญหรือประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ให้ผู้ช่วย ผบ.ตร.เสนอให้ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณาสั่งการ เนื่องจากงานกฎหมายและคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเห็นแย้งในคดีอาญาเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม และมีความสำคัญส่งผลต่อการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ซึ่งต้องควบคุม กำกับดูแล และติดตามผลการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด โดย ผบ.ตร.ย้ำว่าในอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยนั้นก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ เมื่อเป็นหัวหน้าหน่วยต้องพร้อมรับผิดชอบ กำกับดูแลในทุกหน้างาน
อีกด้าน ที่รัฐสภา นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ที่เป็นผู้สั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธในทุกข้อหา ได้ปรากฎตัวเป็นครั้งแรกภายหลังเกิดเรื่อง โดยเข้าชี้แจงกับคณะกรรมาธิการร่วม ระหว่างคณะกรรมาธิการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่มี นาย สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน และ คณะกรรมาธิการกิจการศาลฯ ที่มีนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ เป็นประธาน โดย นายเนตร กล่าวยืนยันว่า การสั่งคดีได้พิจารณาไปตามสำนวนการสอบสวนของตำรวจ และใช้อำนาจตามกรอบของกฎหมาย ไม่ได้ใช้ดุลพินิจการสั่งคดีนอกสำนวนการสอบสวน ส่วนที่ลาออกจากตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ยอมรับว่าได้ลาออกจริง เพราะสังคมกดดันสถาบันอัยการที่ทำงาน ดังนั้นการลาออกเพื่อความสบายใจของทุกคนและเป็นการรักษาภาพลักษณ์ขององค์กร
ขณะเดียวกันยังมี พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ผู้ที่ไม่มีความเห็นแย้งอัยการที่สั่งไม่ฟ้องมาชี้แจงต่อ กมธ.ร่วมด้วย โดย พล.ต.ท.เพิ่มพูน กล่าวยืนยันว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักของกฎหมาย ขอยืนยันว่าตนเองไม่ได้เลือกปฏิบัติ และไม่มีผู้ใดสั่งการมา คนที่จะสั่งตนได้มีเพียงคนเดียว คือ นายชัย ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา ผู้เป็นบิดา ทั้งนี้ในส่วนของขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน หลังจากได้รับสำนวนมาแล้ว ไม่มีสิทธิ์สั่งดำเนินการให้เป็นอย่างอื่นได้ จึงต้องเห็นชอบตามที่ผู้ตรวจสำนวนเสนอ
วานนี้ (13 ส.ค.63) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าผลการสอบคดีนายวรยุทธ หรือบิส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 ว่า มีความก้าวหน้าหลายอย่าง หลายด้าน ทั้งในส่วนของอัยการ ของตำรวจ และ คณะกรรมการชุดของ นายวิชา มหาคุณ ซึ่งมีการรายงานกับตนมาตลอดอยู่แล้ว ทั้งนี้ หากเรื่องใดที่ตนสามารถมอบให้คณะกรรมการด้านตำรวจดูแลแก้ไขไปชี้แจง ตนก็กำชับไปแล้วว่า ต้องให้ความร่วมมือทุกประเด็น
"ถ้าถามว่าพอใจไหม ก็ต้องบอกว่าจะพอใจได้ก็ต่อเมื่อมันสิ้นสุดไปในทางที่ดี ที่ประชาชนยอมรับนั่นแหละ คือพอใจ แต่ตอนนี้ก็ยังถือว่าพอใจในระดับหนึ่ง ที่มีการออกมาขับเคลื่อนในเรื่องเหล่านี้” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
ทางด้าน คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการสั่งไม่ฟ้องและตำรวจไม่แย้งคดีนายวรยุทธ ได้แถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งของนายกฯ และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำแหน่งชาติ (ผบ.ตร.) และนายกฯในฐานะกำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้สั่งการให้สอบเพิ่มเติม 3 ประเด็น คือ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ไม่แย้งความเห็นของอัยการ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีนี้ใหม่และกรณีตำรวจ 11 นายที่สอบสวนและทำคดีนี้มีกี่คน ทั้งที่โดนทำโทษและบางคนที่ยังเลื่อนตำแหน่งอยู่
โดย พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่าประเด็นการตรวจสอบความเห็นไม่แย้งของ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ไม่พบความบกพร่อง เนื่องจากพิจารณาได้เฉพาะสำนวนของอัยการที่ส่งมาเท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือหยิบยกพยานหลักฐานใหม่มาพิจารณาได้ รวมทั้งผู้ตรวจสำนวนพิจารณาทั้ง 4 ระดับ ก็ไม่มีความเห็นแย้งอัยการ พล.ต.ท.เพิ่มพูนจึงพิจารณาไปตามระเบียบ แต่ยังคงต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ พล.ต.ท.เพิ่มพูน อย่างละเอียดอีกครั้งตามคำสั่งของ นายกฯ
"คณะกรรมการเตรียมเสนอ ผบ.ตร. ให้พิจารณาโทษทางวินัยและอาญากับ 14 นายตำรวจที่ทำคดีทั้งชุดเก่าและชุดใหม่ โดยในจำนวนนี้ 11 นาย เป็นตำรวจที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดและลงโทษแล้ว ส่วนอีก 3 นายมีตำแหน่งระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.) และผู้กำกับการ (ผกก.) ที่มีการกลับคำให้การเรื่องความเร็วรถของนายวรยุทธ" พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ระบุ
นอกจากนี้คณะกรรมการเตรียมเสนอให้ดำเนินคดีนายวรยุทธ ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ที่อายุความยังเหลืออีก 7 ปี เพราะจากการสอบสวนผู้เชี่ยวชาญประกอบความเห็นเดิมของ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเดิมเชื่อได้ว่าความเร็วรถน่าจะอยู่ที่ 177 กม./ชม.และแจ้งข้อหาเสพสารเสพติดให้โทษประเภท2 (โคเคน) ที่มีอายุความเหลือ 2 ปี หลังแพทย์ยืนยันว่า ยาแอมม็อกซิลีนที่นายวรยุทธไปรักษาฟัน ไม่มีส่วนผสมของโคเคน
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อมีการแจ้งข้อหาและทำคดีใหม่ ทางพนักงานสอบสวนก็จะเนินการขอศาลออกหมายจับได้ตามขั้นตอนของกฎหมาย รวมถึงการทำเรื่องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนำคนผิดมาลงโทษ
ด้าน พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร.เปิดเผยว่า ผบ.ตร.ได้มีคำสั่ง ตร. ที่ 416/2563 ลงวันที่ 13 ส.ค.63 ให้ ผบ.ตร.เป็นผู้กำกับดูแลการบริหารราชการในงานกฎหมายและคดีด้วยตนเอง โดยมีผู้ช่วย ผบ.ตร.อีก 5 คน ช่วยกำกับดูแล ทั้งนี้ สำหรับงานที่มีความสำคัญหรือประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ให้ผู้ช่วย ผบ.ตร.เสนอให้ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณาสั่งการ เนื่องจากงานกฎหมายและคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเห็นแย้งในคดีอาญาเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม และมีความสำคัญส่งผลต่อการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ซึ่งต้องควบคุม กำกับดูแล และติดตามผลการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด โดย ผบ.ตร.ย้ำว่าในอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยนั้นก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ เมื่อเป็นหัวหน้าหน่วยต้องพร้อมรับผิดชอบ กำกับดูแลในทุกหน้างาน
อีกด้าน ที่รัฐสภา นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ที่เป็นผู้สั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธในทุกข้อหา ได้ปรากฎตัวเป็นครั้งแรกภายหลังเกิดเรื่อง โดยเข้าชี้แจงกับคณะกรรมาธิการร่วม ระหว่างคณะกรรมาธิการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่มี นาย สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน และ คณะกรรมาธิการกิจการศาลฯ ที่มีนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ เป็นประธาน โดย นายเนตร กล่าวยืนยันว่า การสั่งคดีได้พิจารณาไปตามสำนวนการสอบสวนของตำรวจ และใช้อำนาจตามกรอบของกฎหมาย ไม่ได้ใช้ดุลพินิจการสั่งคดีนอกสำนวนการสอบสวน ส่วนที่ลาออกจากตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ยอมรับว่าได้ลาออกจริง เพราะสังคมกดดันสถาบันอัยการที่ทำงาน ดังนั้นการลาออกเพื่อความสบายใจของทุกคนและเป็นการรักษาภาพลักษณ์ขององค์กร
ขณะเดียวกันยังมี พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ผู้ที่ไม่มีความเห็นแย้งอัยการที่สั่งไม่ฟ้องมาชี้แจงต่อ กมธ.ร่วมด้วย โดย พล.ต.ท.เพิ่มพูน กล่าวยืนยันว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักของกฎหมาย ขอยืนยันว่าตนเองไม่ได้เลือกปฏิบัติ และไม่มีผู้ใดสั่งการมา คนที่จะสั่งตนได้มีเพียงคนเดียว คือ นายชัย ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา ผู้เป็นบิดา ทั้งนี้ในส่วนของขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน หลังจากได้รับสำนวนมาแล้ว ไม่มีสิทธิ์สั่งดำเนินการให้เป็นอย่างอื่นได้ จึงต้องเห็นชอบตามที่ผู้ตรวจสำนวนเสนอ