เปิดบันทึก.การประชุม กมธ.กฎหมายฯ สนช. ระบุ 4 นายทารอากาศ "พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร - พล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ทองสลวย-ร.อ.สะอาด ศบศาสตราศร-พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์" ร่วมเป็นพยาน ระบุ”ด.ต.วิเชียร”ขี่รถจยย.ตัดหน้าเฟอร์รารี่ ก่อนสรุปผลศึกษา
จากกรณีรองอัยการสูงสุด นายเนตร นาคสุข มีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ในคดีที่นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จากกรณีขับรถเฟอร์รารี่ ชนกับรถจักรยานยนต์ ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 55 และมีการยื้อคดีมาหลายปี เพราะผู้ต้องหาหลบหนี ทำให้หลายข้อหาหมดอายุความ เหลือเพียงข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ที่รองอัยการสูงสุด เพิ่งมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 ม.ค.63 ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีคำสั่งฟ้องมาโดยตลอด จนเป็นประเด็นขัดแย้งกับกระแสสังคมที่ไม่เห็นด้วย
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญในการกลับสำนวน ไม่ฟ้องในคดีนี้ เนื่องจากนายวรยุทธ ได้ร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งต่ออัยการสูงสุด แต่อัยการยุติเรื่องไปแล้ว จึงมีการไปร้องขอความเป็นธรรม ต่อ กมธ.กฎหมายฯ สนช. เมื่อวันที่ 4 พ.ค.59 ก่อนที่อัยการจะกลับสำนวนสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ
จากบันทึกการประชุม กมธ.กฎหมายฯ สนช. พบว่า มีเอกสารร้องเรียนของ นายวรยุทธ คำให้การของพยาน พนักงานสอบสวน อัยการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งสิ้น 9 ปาก รายงานการคำนวณความเร็วของ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม และรายงานผลการศึกษาสอบสวนข้อเท็จจริงของกมธ.
ทั้งนี้ กมธ.กฎหมายฯ สนช. ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ หลังมีมติรับคำร้อง เมื่อ 26 พ.ค.59 ซึ่งคณะทำงานประชุมพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งสิ้น 6 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ถึงวันที่ 9 ธ.ค.59 มีวิธีการพิจาณาจากข้อมูลคำร้องเรียน และเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อเท็จจริงรวม 9 คน คือ 1. นายสุทธิ กิตติสุภพร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2. พ.ต.อ.วิรดล ทับทิมดี พนง.สอบสวน เจ้าของสำนวน 3. พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม สารวัตรงานช่างเครื่องยนต์ที่ไปตรวจสภาพรถหลังเกิดเหตุ 4. นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ รองอัยการสูงสุด ในขณะนั้น ที่ยื่นสั่งฟ้องคดี 5. พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร พยานผู้เห็นเหตุการณ์ 6. พล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ทองสลวย พยานผู้เห็นเหตุการณ์ 7. รอ.สะอาด ศบศาสตราศร พยานที่เกี่ยวข้องกับพล.อ.ท.จักรกฤช 8. พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พยานที่เกี่ยวข้องกับร.อ.สะอาด 9. รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม หน.ศูนย์วิจัยวิศวกรรมการประเมินฯ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ที่คำนวณความเร็วรถนายวรยุทธ ได้ไม่ถึง 80 กม./ชม.
คดีนี้ เหตุการณ์เกิดเมื่อ 3 ก.ย.55 ต่อมา 4 มี.ค.56 พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ4 ข้อหา อัยการเห็นควรสั่งฟ้อง 2 ข้อหา คือ 1.ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 2.ข้อหาชนแล้วหนี ส่วนอีก 2 ข้อหาคือ ขับรถเร็วเกินกว่าที่กำหนด และข้อหาเมาแล้วขับ สั่งไม่ฟ้อง
ต่อมา อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งฟ้องใน 3 ข้อหา โดยเพิ่มข้อหาที่ 3 ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพราะเชื่อว่า นายวรยุทธ รถขับในความเร็วโดยเฉลี่ย 177 กม./ชม. ตามที่พ.ต.ท.ธนสิทธิ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐานที่บันทึกข้อมูลไว้หลังเกิดเหตุ เป็นเหตุให้ นายวรยุทธ ร้องขอความเป็นธรรม ต่ออัยการสูงสุดอยู่หลายครั้ง เพราะหลังเกิดเหตุ พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม สารวัตรงานช่างเครื่องยนต์ ตรวจพิสูจน์สภาพรถที่เกิดเหตุ ได้ให้การว่าสภาพรถที่เกิดเหตุทั้ง 2 คันเสียหายไม่มาก สันนิษฐานได้ว่ารถทั้ง 2 คันน่าจะวิ่งด้วยความเร็วด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.
14 ม.ค.59 รองอัยการสูงสุด ได้พิจารณาแล้วเห็นข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่ายังไม่สิ้นกระแสความ จึงได้สั่งการให้พนักงานสอบสวน ไปสอบสวน พ.ต.ท.ธนสิทธิ แตงจั่น พยานของฝั่งตำรวจ ที่ระบุความเร็วรถในสำนวนครั้งแรก 177 กม./ชม. ซึ่งพ.ต.ท.ธนสิทธิ ได้ให้การหลังการสอบสวนเพิ่มเติม ใน 3 ประเด็นสำคัญคือ 1. การคำนวณ ความเร็วในครั้งหลัง ได้อัตราความเร็วรถเฟอร์รารี่ 79.23 กม./ชม. หักล้างกับครั้งแรก 177 กม./ชม. เพราะเกิดความผิดพลาดในการคำนวณจากการวัดระยะทาง 2.รถจักรยานยนต์ของด.ต.วิเชียร ไม่ได้ถูกรถเฟอร์รารี่ลากไปแต่อย่างใด 3. กรณีที่ไม่พบรอยเบรก สันนิษฐานว่า ไม่ได้เหยียบเบรก หรือเหยียบแต่คุณภาพของรถทำให้ไม่มีรอยเบรกเกิดขึ้น
อัยการยืนยันสั่งฟ้อง
11 เม.ย.59 รองอัยการสูงสุด มีคำสั่งยุติการร้องขอความเป็นธรรมของ นายวรยุทธ โดยไม่ได้นำคำให้การของ พ.ต.ท.ธนสิทธิ ที่ให้การเพิ่ม เปลี่ยนแปลงความเร็วในครั้งหลังมาพิจารณา โดยเห็นว่า คำสั่งฟ้องของพนักงานอัยการนั้นชอบด้วยข้อเท็จจริงข้อกฎหมายแล้ว จึงทำให้มีการไปร้องขอความเป็นธรรม ต่อ กมธ.กฎหมายฯ สนช. ขอให้สั่งไม่ฟ้อง
ในรายงานผลการพิจารณา ของ กมธ.กฎหมายฯ สนช. ระบุ นายวรยุทธ ได้ร้อขอความเป็นธรรม 3 ครั้ง
ครั้งแรก วันที่ 4 พ.ค.59 นายวรยุทธได้ร้องขอความเป็นธรรม ในประเด็น การสอบสวนเพิ่มเติมพ.ต.ท.ธนสิทธิ ที่กลับคำให้การ จากความเร็วรถ 177 กม./ชม. เป็น79.23 กม./ชม. ซึ่งหักล้างกับการคำนวณครั้งแรก แต่รองอัยการสูงสุด ไม่นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจาณาสั่งคดี
ครั้งที่ 2 วันที่ 21 ก.ค.59 หลังพบข้อมูลเพิ่มเติมว่า พล.อ.ท.จักกฤช ถนอมกุลบุตร และพล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ทองสลวย เป็นประจักษ์พยานในคดีนี้ และให้การว่า รถของ ด.ต.วิเชียร ขับเปลี่ยนเลนกระทันหัน จนเกิดอุบัติเหตุชนกับรถของนายวรยุทธ
ครั้งที่ 3 วันที่ 9 ส.ค.59 หลังได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ข้อมูลของ พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม ที่นายตำรวจพิสูจน์สภาพรถ และเชื่อว่า นายวรยุทธ ขับเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. นั้น สอดคล้องกับ พล.ต.ท.สุรพล เดชวิรัตนวิไชย ผู้เชี่ยวชาญของศาล
ไม่ฟ้องข้อหาขับเร็วเกินกำหนด
ทั้งนี้ พ.ต.อ.วิรดล ทับทิมดี พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ให้การว่าได้ส่งภาพจากกล้องวงจรปิดให้กองพิสูจน์หลักฐานคำนวณความเร็วของรถ จึงมีการคำนวณได้ 177 กม./ชม. แต่พนักงานสอบสวน เชื่อตามคำให้การของ พ.ต.ท.สมยศ ผู้ที่ตรวจสอบสภาพรถที่เชื่อว่าไม่เกิน 80 กม./ชม. จึงสั่งไม่ฟ้องข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในชั้นพนักงานสอบสวน
และจากการสอบสวน เห็นว่ารถจักรยานยนต์ ของด.ต.วิเชียร อาจเปลี่ยนเลน เพราะรถ ด.ต.วิเชียร ถูกชนจากด้านหลัง พบร่องรอยความเสียหาย ท่อไอเสีย สอดรับกับ นายจารุชาติ มาดทอง พยานที่ขับกระบะในที่เกิดเหตุ ให้การเมื่อ วันที่ 8 ก.ย. 55 ว่า เห็น ด.ต.วิเชียร เปลี่ยนเลนจาก เลนที่1 มาเลน 2 ตัดหน้ารถตนกระทันหัน ทำให้ตนหักหลบไปทางซ้ายแทน ก่อนได้ยินเสียงชนกัน จึงสันนิษฐานว่า ด.ต.วิเชียร เปลี่ยนเลนไปช่องขวาสุด และเกิดอุบัติเหตุ
พนง.สอบสวนได้ฟังความเห็นของพ.ต.ท. สมยศ ที่ไปตรวจสอบความเสียหายของสภาพรถ และพบว่าเสียหายเล็กน้อย ไม่น่าจะใช้ความเร็วถึง 177 กม./ชม.นั้น ให้การว่าหากมีความเร็วถึง 177 กม./ชม.จริง ย่อมมีความเสียหายมากกว่านี้ จึงเห็นว่าเฟอร์รารี่ ไม่น่าจะขับเร็วเกินกว่า 80 กม./ชม. พนักงานสอบสวนจึงมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กม.กำหนด
4 นายทหารอากาศโผล่เป็นพยาน
สำหรับข้อเท็จจริง ของรองอัยการสูงสุดขณะนั้น คือ นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ ให้การว่า หลังนายวรยุทธ ร้องขอความเป็นธรรม จึงได้พิจารณาให้พนักงานสอบสวนไปสอบสวนเพิ่มเติม ประจักษ์พยาน 2 ปาก และมีข้อเท็จจริงจึงปรากฏขึ้นใหม่ ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งไป ในวันที่ 30 ก.ย.58 จึงไม่ได้พิจารณาสำนวนดังกล่าวเสร็จสิ้น
คณะทำงานของกมธ. จึงได้เชิญ พล.อ.ท.จักรกฤช หนึ่งในประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุมาให้การว่า ขณะเกิดเหตุนั่งรถมากับ ประจักษ์พยาน อีกคนคือ พล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ทองสลวย คนขับ กลับจากเลี้ยงวันเกิด"เสธไอซ์ " พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต ที่ร้านย่านถนนราชดำริ ก่อนถึงที่เกิดเหตุขับอยู่ในเลนที่ 2 มุ่งหน้าไปเอกมัย ระหว่างซอยสุขุมวิท 45 กับ 47 พบรถจักรยานยนต์ ที่มีชายแต่งตัวคล้ายตำรวจ ขับส่ายไปส่ายมาทำท่าจะเปลี่ยนเลน จึงบอกให้ พล.อ.ท.สุรเชษฐ์ จอดชิดซ้าย หยุดรถป้องกันการเฉี่ยวชน และได้เห็นรถจักรยานยนต์ขับปาด จากเลนที่ 1 ไปถึงเลนที่ 3 อย่างกระชั้นชิด จนเกิดการเฉี่ยวชนขึ้น โดยรถสปอร์ตในเลนขวาสุด หลังชนแล้วรถสปอร์ตได้เบี่ยงมาจอดช่องซ้ายสุด และเห็นตำรวจนอนห่างจากจุดชน ประมาณ 50 ม. ก่อนที่รถสปอร์ต จะขับออกไป
พล.อ.ท.จักรกฤช ให้การว่า หลังเกิดเหตุ ทราบข่าวทางโทรทัศน์ ว่าเป็นทายาทธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดังเป็นคนชน แต่ไม่ได้ให้ความสนในอะไร กับเหตุการณ์ในคดีนี้ จนกระทั้ง เดือนเม.ย. 58 ได้พบกับนายทหารรุ่นพี่ คือ ร.อ.สะอาด ศบศาสตราศร และมาทราบว่ารุ่นพี่รู้จักกับ นายเฉลิม อยู่วิทยา บิดาของ นายวรยุทธ จึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง และ อีก1 สัปดาห์ ร.อ.สะอาด ได้เดินทางมาพบ ขอให้ไปเป็นพยาน ต่อพนักงานสอบสวนในคดีนี้
จากนั้น คณะทำงานได้เชิญ พล.อ.ท.สุรเชษฐ ที่ขับรถมากับพล.อ.ท.จักรกฤช และ ร.อ.สะอาด มาให้ข้อเท็จจริง ตรงกัน โดยพล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ให้การเหมือนกับ พล.อ.ท.จักรกฤช ว่าหลังทราบว่าคนที่ขับชน เป็นทายาทธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ก็ไม่ได้ให้ความสนในอะไร กับเหตุการณ์ในคดีนี้ จนมีการร้องขอให้มาเป็นพยาน ขณะที่พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ ให้การยืนยันว่า พล.อ.ท.จักรกฤช และ พล.อ.สุรเชษฐ์ เคยมาเยี่ยมที่บ้าน และได้มีการพูดคุยกันถึงข่าวของนายวรยุทธ และพล.อ.ท.จักรกฤช ก็เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่ง พล.อ.อ.กันต์ ยอมรับว่ารู้จักกับบิดาของนายวรยุทธ แต่ไม่ได้สนิทสนมกัน
อ.สายประสิทธิ์ระบุความเร็วรถบอส "ไม่ถึง 80"
1 ก.ย.59 คณะทำงานกมธ.ได้เชิญ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ มาให้ข้อมูล เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ และขอให้คำนวณความเร็วรถเฟอร์รารี่ ของนายวรยุทธ จากกล้องวงจรปิด
ในรายงาน อ.สายประสิทธิ์ ได้สรุปผลการวิเคราะห์ ทั้งหมดเป็น 5 ข้อ 1. ความเร็วรถเฟอร์รารี่ อยู่ระหว่าง 73.13-79.22 กม./ชม. 2.ความเร็วรถจักรยานยนต์ ดต.วิเชียร อยู่ระหว่าง 28.64-31.37 กม./ชม. 3. ผลการวิเคราะห์สาเหตุความเสียหายที่เกิดจากแรงกระแทกหน้ารถขณะเกิดเหตุนั้น ไม่สามารถคำนวณได้ จากข้อมูลทางเทคนิค ของคุณลักษณะการชนได้ 4. ผลการวิเคราะห์ระยะทาง การเคลื่อนที่ของรถจักรยานยนต์หลังถูกชน แล้วล้มครูดนั้น พบว่ารถจักรยานยนต์ เคลื่อนที่ห่างจากจุดเกิดเหตุ ระยะทางระหว่าง 101.55- 203.10 เมตร
5. ผลการคำนวณความเร็วหลังการชนแล้ว ของเฟอร์รารี่ จะอยู่ที่ 63.375 กม./ชม. มีระยะทางในการเบรก ในระยะตอบสนอง 0.75วินาที มีระยะอยู่ที่ 44.63-61.91 เมตร
ในท้ายที่สุด คณะทำงานได้สรุปข้อเท็จจริงจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้ข้อเท็จจริงใน 3 ประเด็น คือ
1. ขณะที่นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ เป็นรองอัยการสูงสุด ในปี 58 มีประจักษ์พยาน 2 ปาก เพิ่มเติมคือ พล.อ.ท.จักรกฤช และ พล.อ.ท.สุรเชษฐ 2 นายทหาร ที่เห็นเหตุการ 2. รองอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด ให้มีการพิจารณาสำนวนร้องขอความเป็นธรรมของ นายวรยุทธ และเห็นว่าการพิจารณาสำนวนครั้งแรกยังไม่สิ้นกระแสความในประเด็นความเร็วรถว่า 177 กม./ชม. จริงหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติม 3. ข้อเท็จจริงเรื่องอัตราความเร็ว รถมีความชัดเจนมากขึ้นจากการคำนวณความเร็วโดย ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ซึ่งคำนวณความเร็วเฉลี่ยของรถเฟอร์รารี่ ได้ 76.175 กม./ชม. สอดคล้องกับคำให้การของ นายจารุชาติ มาดทอง พยานซึ่งขับรถอยู่ในเหตุการณ์ เห็นรถของด.ต.วิเชียร ขับปาดหน้า จากเลนที่ 1 ไปเลน 3 ในระยะกระชั้นชิด และสอดคล้องกับ ข้อเท็จจากคำให้การของ พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม นายตำรวจตรวจพิสูจน์สภาพรถว่า รถไม่น่าจะวิ่งเร็วเกิน 80กม./ชม. ประกอบกับ พ.ต.ท. ธนสิทธิ กองพิสูจน์หลักฐาน ที่ให้ข้อมูล177 กม./ชม.นั้น ยอมรับว่าคำนวณคลาดเคลื่อน ไม่ได้ใช้หลักวิชาการในการคำนวณ
และที่สำคัญ การสั่งฟ้องคดีของอัยการก่อนหน้านั้น นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ รองอัยการสูงสุด และนายสุทธิเกียรติ กิตติสุภพร อธิบดีอัยการ ยอมรับว่าการร้องขอความเป็นธรรมของนายวรยุทธ หากผลการสอบสวนเพิ่มเติม ทำให้ข้อเท็จจริงในคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป จนเป็นให้คดีมีปัญหาข้อเท็จจริงไม่เป็นที่ยุตินั้น สามารถนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ มาประกอบการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการได้
คณะกมธ. จึงมีมติรับทราบข้อเท็จจริงของคณะทำงานศึกษาเรื่องนี้ ตามที่ระบุมาทั้งหมด และมีหนังสือแจ้งไปยังอัยการสูงสุด และอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ เพื่อพิจารณาต่อไป
หลังจากนั้น อัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวน ไปสอบสวนประกอบสำนวนเพิ่มเติมใหม่ จนในที่สุดรองอัยการสูงสุดจึงพิจารณาสั่งไม่ฟ้องคดีบอส
จากกรณีรองอัยการสูงสุด นายเนตร นาคสุข มีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ในคดีที่นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จากกรณีขับรถเฟอร์รารี่ ชนกับรถจักรยานยนต์ ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 55 และมีการยื้อคดีมาหลายปี เพราะผู้ต้องหาหลบหนี ทำให้หลายข้อหาหมดอายุความ เหลือเพียงข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ที่รองอัยการสูงสุด เพิ่งมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 ม.ค.63 ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีคำสั่งฟ้องมาโดยตลอด จนเป็นประเด็นขัดแย้งกับกระแสสังคมที่ไม่เห็นด้วย
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญในการกลับสำนวน ไม่ฟ้องในคดีนี้ เนื่องจากนายวรยุทธ ได้ร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งต่ออัยการสูงสุด แต่อัยการยุติเรื่องไปแล้ว จึงมีการไปร้องขอความเป็นธรรม ต่อ กมธ.กฎหมายฯ สนช. เมื่อวันที่ 4 พ.ค.59 ก่อนที่อัยการจะกลับสำนวนสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ
จากบันทึกการประชุม กมธ.กฎหมายฯ สนช. พบว่า มีเอกสารร้องเรียนของ นายวรยุทธ คำให้การของพยาน พนักงานสอบสวน อัยการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งสิ้น 9 ปาก รายงานการคำนวณความเร็วของ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม และรายงานผลการศึกษาสอบสวนข้อเท็จจริงของกมธ.
ทั้งนี้ กมธ.กฎหมายฯ สนช. ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ หลังมีมติรับคำร้อง เมื่อ 26 พ.ค.59 ซึ่งคณะทำงานประชุมพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งสิ้น 6 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ถึงวันที่ 9 ธ.ค.59 มีวิธีการพิจาณาจากข้อมูลคำร้องเรียน และเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อเท็จจริงรวม 9 คน คือ 1. นายสุทธิ กิตติสุภพร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2. พ.ต.อ.วิรดล ทับทิมดี พนง.สอบสวน เจ้าของสำนวน 3. พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม สารวัตรงานช่างเครื่องยนต์ที่ไปตรวจสภาพรถหลังเกิดเหตุ 4. นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ รองอัยการสูงสุด ในขณะนั้น ที่ยื่นสั่งฟ้องคดี 5. พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร พยานผู้เห็นเหตุการณ์ 6. พล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ทองสลวย พยานผู้เห็นเหตุการณ์ 7. รอ.สะอาด ศบศาสตราศร พยานที่เกี่ยวข้องกับพล.อ.ท.จักรกฤช 8. พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พยานที่เกี่ยวข้องกับร.อ.สะอาด 9. รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม หน.ศูนย์วิจัยวิศวกรรมการประเมินฯ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ที่คำนวณความเร็วรถนายวรยุทธ ได้ไม่ถึง 80 กม./ชม.
คดีนี้ เหตุการณ์เกิดเมื่อ 3 ก.ย.55 ต่อมา 4 มี.ค.56 พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ4 ข้อหา อัยการเห็นควรสั่งฟ้อง 2 ข้อหา คือ 1.ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 2.ข้อหาชนแล้วหนี ส่วนอีก 2 ข้อหาคือ ขับรถเร็วเกินกว่าที่กำหนด และข้อหาเมาแล้วขับ สั่งไม่ฟ้อง
ต่อมา อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งฟ้องใน 3 ข้อหา โดยเพิ่มข้อหาที่ 3 ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพราะเชื่อว่า นายวรยุทธ รถขับในความเร็วโดยเฉลี่ย 177 กม./ชม. ตามที่พ.ต.ท.ธนสิทธิ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐานที่บันทึกข้อมูลไว้หลังเกิดเหตุ เป็นเหตุให้ นายวรยุทธ ร้องขอความเป็นธรรม ต่ออัยการสูงสุดอยู่หลายครั้ง เพราะหลังเกิดเหตุ พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม สารวัตรงานช่างเครื่องยนต์ ตรวจพิสูจน์สภาพรถที่เกิดเหตุ ได้ให้การว่าสภาพรถที่เกิดเหตุทั้ง 2 คันเสียหายไม่มาก สันนิษฐานได้ว่ารถทั้ง 2 คันน่าจะวิ่งด้วยความเร็วด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.
14 ม.ค.59 รองอัยการสูงสุด ได้พิจารณาแล้วเห็นข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่ายังไม่สิ้นกระแสความ จึงได้สั่งการให้พนักงานสอบสวน ไปสอบสวน พ.ต.ท.ธนสิทธิ แตงจั่น พยานของฝั่งตำรวจ ที่ระบุความเร็วรถในสำนวนครั้งแรก 177 กม./ชม. ซึ่งพ.ต.ท.ธนสิทธิ ได้ให้การหลังการสอบสวนเพิ่มเติม ใน 3 ประเด็นสำคัญคือ 1. การคำนวณ ความเร็วในครั้งหลัง ได้อัตราความเร็วรถเฟอร์รารี่ 79.23 กม./ชม. หักล้างกับครั้งแรก 177 กม./ชม. เพราะเกิดความผิดพลาดในการคำนวณจากการวัดระยะทาง 2.รถจักรยานยนต์ของด.ต.วิเชียร ไม่ได้ถูกรถเฟอร์รารี่ลากไปแต่อย่างใด 3. กรณีที่ไม่พบรอยเบรก สันนิษฐานว่า ไม่ได้เหยียบเบรก หรือเหยียบแต่คุณภาพของรถทำให้ไม่มีรอยเบรกเกิดขึ้น
อัยการยืนยันสั่งฟ้อง
11 เม.ย.59 รองอัยการสูงสุด มีคำสั่งยุติการร้องขอความเป็นธรรมของ นายวรยุทธ โดยไม่ได้นำคำให้การของ พ.ต.ท.ธนสิทธิ ที่ให้การเพิ่ม เปลี่ยนแปลงความเร็วในครั้งหลังมาพิจารณา โดยเห็นว่า คำสั่งฟ้องของพนักงานอัยการนั้นชอบด้วยข้อเท็จจริงข้อกฎหมายแล้ว จึงทำให้มีการไปร้องขอความเป็นธรรม ต่อ กมธ.กฎหมายฯ สนช. ขอให้สั่งไม่ฟ้อง
ในรายงานผลการพิจารณา ของ กมธ.กฎหมายฯ สนช. ระบุ นายวรยุทธ ได้ร้อขอความเป็นธรรม 3 ครั้ง
ครั้งแรก วันที่ 4 พ.ค.59 นายวรยุทธได้ร้องขอความเป็นธรรม ในประเด็น การสอบสวนเพิ่มเติมพ.ต.ท.ธนสิทธิ ที่กลับคำให้การ จากความเร็วรถ 177 กม./ชม. เป็น79.23 กม./ชม. ซึ่งหักล้างกับการคำนวณครั้งแรก แต่รองอัยการสูงสุด ไม่นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจาณาสั่งคดี
ครั้งที่ 2 วันที่ 21 ก.ค.59 หลังพบข้อมูลเพิ่มเติมว่า พล.อ.ท.จักกฤช ถนอมกุลบุตร และพล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ทองสลวย เป็นประจักษ์พยานในคดีนี้ และให้การว่า รถของ ด.ต.วิเชียร ขับเปลี่ยนเลนกระทันหัน จนเกิดอุบัติเหตุชนกับรถของนายวรยุทธ
ครั้งที่ 3 วันที่ 9 ส.ค.59 หลังได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ข้อมูลของ พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม ที่นายตำรวจพิสูจน์สภาพรถ และเชื่อว่า นายวรยุทธ ขับเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. นั้น สอดคล้องกับ พล.ต.ท.สุรพล เดชวิรัตนวิไชย ผู้เชี่ยวชาญของศาล
ไม่ฟ้องข้อหาขับเร็วเกินกำหนด
ทั้งนี้ พ.ต.อ.วิรดล ทับทิมดี พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ให้การว่าได้ส่งภาพจากกล้องวงจรปิดให้กองพิสูจน์หลักฐานคำนวณความเร็วของรถ จึงมีการคำนวณได้ 177 กม./ชม. แต่พนักงานสอบสวน เชื่อตามคำให้การของ พ.ต.ท.สมยศ ผู้ที่ตรวจสอบสภาพรถที่เชื่อว่าไม่เกิน 80 กม./ชม. จึงสั่งไม่ฟ้องข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในชั้นพนักงานสอบสวน
และจากการสอบสวน เห็นว่ารถจักรยานยนต์ ของด.ต.วิเชียร อาจเปลี่ยนเลน เพราะรถ ด.ต.วิเชียร ถูกชนจากด้านหลัง พบร่องรอยความเสียหาย ท่อไอเสีย สอดรับกับ นายจารุชาติ มาดทอง พยานที่ขับกระบะในที่เกิดเหตุ ให้การเมื่อ วันที่ 8 ก.ย. 55 ว่า เห็น ด.ต.วิเชียร เปลี่ยนเลนจาก เลนที่1 มาเลน 2 ตัดหน้ารถตนกระทันหัน ทำให้ตนหักหลบไปทางซ้ายแทน ก่อนได้ยินเสียงชนกัน จึงสันนิษฐานว่า ด.ต.วิเชียร เปลี่ยนเลนไปช่องขวาสุด และเกิดอุบัติเหตุ
พนง.สอบสวนได้ฟังความเห็นของพ.ต.ท. สมยศ ที่ไปตรวจสอบความเสียหายของสภาพรถ และพบว่าเสียหายเล็กน้อย ไม่น่าจะใช้ความเร็วถึง 177 กม./ชม.นั้น ให้การว่าหากมีความเร็วถึง 177 กม./ชม.จริง ย่อมมีความเสียหายมากกว่านี้ จึงเห็นว่าเฟอร์รารี่ ไม่น่าจะขับเร็วเกินกว่า 80 กม./ชม. พนักงานสอบสวนจึงมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กม.กำหนด
4 นายทหารอากาศโผล่เป็นพยาน
สำหรับข้อเท็จจริง ของรองอัยการสูงสุดขณะนั้น คือ นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ ให้การว่า หลังนายวรยุทธ ร้องขอความเป็นธรรม จึงได้พิจารณาให้พนักงานสอบสวนไปสอบสวนเพิ่มเติม ประจักษ์พยาน 2 ปาก และมีข้อเท็จจริงจึงปรากฏขึ้นใหม่ ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งไป ในวันที่ 30 ก.ย.58 จึงไม่ได้พิจารณาสำนวนดังกล่าวเสร็จสิ้น
คณะทำงานของกมธ. จึงได้เชิญ พล.อ.ท.จักรกฤช หนึ่งในประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุมาให้การว่า ขณะเกิดเหตุนั่งรถมากับ ประจักษ์พยาน อีกคนคือ พล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ทองสลวย คนขับ กลับจากเลี้ยงวันเกิด"เสธไอซ์ " พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต ที่ร้านย่านถนนราชดำริ ก่อนถึงที่เกิดเหตุขับอยู่ในเลนที่ 2 มุ่งหน้าไปเอกมัย ระหว่างซอยสุขุมวิท 45 กับ 47 พบรถจักรยานยนต์ ที่มีชายแต่งตัวคล้ายตำรวจ ขับส่ายไปส่ายมาทำท่าจะเปลี่ยนเลน จึงบอกให้ พล.อ.ท.สุรเชษฐ์ จอดชิดซ้าย หยุดรถป้องกันการเฉี่ยวชน และได้เห็นรถจักรยานยนต์ขับปาด จากเลนที่ 1 ไปถึงเลนที่ 3 อย่างกระชั้นชิด จนเกิดการเฉี่ยวชนขึ้น โดยรถสปอร์ตในเลนขวาสุด หลังชนแล้วรถสปอร์ตได้เบี่ยงมาจอดช่องซ้ายสุด และเห็นตำรวจนอนห่างจากจุดชน ประมาณ 50 ม. ก่อนที่รถสปอร์ต จะขับออกไป
พล.อ.ท.จักรกฤช ให้การว่า หลังเกิดเหตุ ทราบข่าวทางโทรทัศน์ ว่าเป็นทายาทธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดังเป็นคนชน แต่ไม่ได้ให้ความสนในอะไร กับเหตุการณ์ในคดีนี้ จนกระทั้ง เดือนเม.ย. 58 ได้พบกับนายทหารรุ่นพี่ คือ ร.อ.สะอาด ศบศาสตราศร และมาทราบว่ารุ่นพี่รู้จักกับ นายเฉลิม อยู่วิทยา บิดาของ นายวรยุทธ จึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง และ อีก1 สัปดาห์ ร.อ.สะอาด ได้เดินทางมาพบ ขอให้ไปเป็นพยาน ต่อพนักงานสอบสวนในคดีนี้
จากนั้น คณะทำงานได้เชิญ พล.อ.ท.สุรเชษฐ ที่ขับรถมากับพล.อ.ท.จักรกฤช และ ร.อ.สะอาด มาให้ข้อเท็จจริง ตรงกัน โดยพล.อ.ท.สุรเชษฐ์ ให้การเหมือนกับ พล.อ.ท.จักรกฤช ว่าหลังทราบว่าคนที่ขับชน เป็นทายาทธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ก็ไม่ได้ให้ความสนในอะไร กับเหตุการณ์ในคดีนี้ จนมีการร้องขอให้มาเป็นพยาน ขณะที่พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ ให้การยืนยันว่า พล.อ.ท.จักรกฤช และ พล.อ.สุรเชษฐ์ เคยมาเยี่ยมที่บ้าน และได้มีการพูดคุยกันถึงข่าวของนายวรยุทธ และพล.อ.ท.จักรกฤช ก็เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่ง พล.อ.อ.กันต์ ยอมรับว่ารู้จักกับบิดาของนายวรยุทธ แต่ไม่ได้สนิทสนมกัน
อ.สายประสิทธิ์ระบุความเร็วรถบอส "ไม่ถึง 80"
1 ก.ย.59 คณะทำงานกมธ.ได้เชิญ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ มาให้ข้อมูล เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ และขอให้คำนวณความเร็วรถเฟอร์รารี่ ของนายวรยุทธ จากกล้องวงจรปิด
ในรายงาน อ.สายประสิทธิ์ ได้สรุปผลการวิเคราะห์ ทั้งหมดเป็น 5 ข้อ 1. ความเร็วรถเฟอร์รารี่ อยู่ระหว่าง 73.13-79.22 กม./ชม. 2.ความเร็วรถจักรยานยนต์ ดต.วิเชียร อยู่ระหว่าง 28.64-31.37 กม./ชม. 3. ผลการวิเคราะห์สาเหตุความเสียหายที่เกิดจากแรงกระแทกหน้ารถขณะเกิดเหตุนั้น ไม่สามารถคำนวณได้ จากข้อมูลทางเทคนิค ของคุณลักษณะการชนได้ 4. ผลการวิเคราะห์ระยะทาง การเคลื่อนที่ของรถจักรยานยนต์หลังถูกชน แล้วล้มครูดนั้น พบว่ารถจักรยานยนต์ เคลื่อนที่ห่างจากจุดเกิดเหตุ ระยะทางระหว่าง 101.55- 203.10 เมตร
5. ผลการคำนวณความเร็วหลังการชนแล้ว ของเฟอร์รารี่ จะอยู่ที่ 63.375 กม./ชม. มีระยะทางในการเบรก ในระยะตอบสนอง 0.75วินาที มีระยะอยู่ที่ 44.63-61.91 เมตร
ในท้ายที่สุด คณะทำงานได้สรุปข้อเท็จจริงจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้ข้อเท็จจริงใน 3 ประเด็น คือ
1. ขณะที่นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ เป็นรองอัยการสูงสุด ในปี 58 มีประจักษ์พยาน 2 ปาก เพิ่มเติมคือ พล.อ.ท.จักรกฤช และ พล.อ.ท.สุรเชษฐ 2 นายทหาร ที่เห็นเหตุการ 2. รองอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด ให้มีการพิจารณาสำนวนร้องขอความเป็นธรรมของ นายวรยุทธ และเห็นว่าการพิจารณาสำนวนครั้งแรกยังไม่สิ้นกระแสความในประเด็นความเร็วรถว่า 177 กม./ชม. จริงหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติม 3. ข้อเท็จจริงเรื่องอัตราความเร็ว รถมีความชัดเจนมากขึ้นจากการคำนวณความเร็วโดย ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ซึ่งคำนวณความเร็วเฉลี่ยของรถเฟอร์รารี่ ได้ 76.175 กม./ชม. สอดคล้องกับคำให้การของ นายจารุชาติ มาดทอง พยานซึ่งขับรถอยู่ในเหตุการณ์ เห็นรถของด.ต.วิเชียร ขับปาดหน้า จากเลนที่ 1 ไปเลน 3 ในระยะกระชั้นชิด และสอดคล้องกับ ข้อเท็จจากคำให้การของ พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม นายตำรวจตรวจพิสูจน์สภาพรถว่า รถไม่น่าจะวิ่งเร็วเกิน 80กม./ชม. ประกอบกับ พ.ต.ท. ธนสิทธิ กองพิสูจน์หลักฐาน ที่ให้ข้อมูล177 กม./ชม.นั้น ยอมรับว่าคำนวณคลาดเคลื่อน ไม่ได้ใช้หลักวิชาการในการคำนวณ
และที่สำคัญ การสั่งฟ้องคดีของอัยการก่อนหน้านั้น นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ รองอัยการสูงสุด และนายสุทธิเกียรติ กิตติสุภพร อธิบดีอัยการ ยอมรับว่าการร้องขอความเป็นธรรมของนายวรยุทธ หากผลการสอบสวนเพิ่มเติม ทำให้ข้อเท็จจริงในคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป จนเป็นให้คดีมีปัญหาข้อเท็จจริงไม่เป็นที่ยุตินั้น สามารถนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ มาประกอบการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการได้
คณะกมธ. จึงมีมติรับทราบข้อเท็จจริงของคณะทำงานศึกษาเรื่องนี้ ตามที่ระบุมาทั้งหมด และมีหนังสือแจ้งไปยังอัยการสูงสุด และอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ เพื่อพิจารณาต่อไป
หลังจากนั้น อัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวน ไปสอบสวนประกอบสำนวนเพิ่มเติมใหม่ จนในที่สุดรองอัยการสูงสุดจึงพิจารณาสั่งไม่ฟ้องคดีบอส