"ศักดิ์สยาม" สั่งเดินหน้าแผนลงทุนขยายสนามบินทุกแห่งตามแผน แม้ "โควิด"กระทบการบินหนัก คาดปีนี้มีผู้โดยสารรวม 41 ล้านคน จากปีก่อนมี 165 ล้านคน ด้าน"ถาวร" ชี้ต้องเร่งพัฒนาสนามบินภูมิภาค คาดเสร็จพอดีอุตฯ การบินฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผย ภาพรวมการบินของประเทศไทย ในปี 2562 มีจำนวนผู้โดยสารที่ 165 ล้านคน มีปริมาณเที่ยวบินที่ 1.04 ล้านเที่ยวบิน ขณะที่ศักยภาพของสนามบินรองรับได้ที่ 150 ล้านคน ซึ่งปริมาณผู้โดยสารจริงนั้นเกินขีดการรองรับ
หลังเกิดโรคโควิด -19 ระบาด ส่งผลทำให้การบินในปีนี้ได้รับผลกระทบทั่วโลก คาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศในปีนี้ของประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 41.8 ล้านคน และมีปริมาณเที่ยวบิน 5.5 แสนเที่ยวบินเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม นโยบายยังคงเป้าหมายแผนพัฒนาขนส่งทางอากาศ ระยะ15 ปี (2562-2576) ในการเพิ่มขีดความสามารถรองรับเที่ยวบินที่1.2 ล้านเที่ยวบิน ซึ่งจะมีผู้โดยสารเข้ามาถึง 240 ล้านคน/ ปี ซึ่งการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับชอบของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. และ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ยังดำเนินการไปตามแผนแม่บท และนโยบายของรัฐบาลโดย. ทอท.เตรียมลงนามสัญญากับผู้รับจ้าง โครงการงานจ้างก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินประมาณ 9,600 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในปี 2567
ส่วนโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารส่วนต่อขยาย ด้านทิศเหนือ (North Expansion)มูลค่า 4.2 หมื่นล้านบาท ได้เสนอไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาแล้ว สำหรับการพัฒนาดอนเมืองเฟส 3 มูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ซึ่งตามแผนจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2569 โครงการศูนย์ซ่อมเครื่องบินอู่ตะเภา (MRO)ซึ่ง จะให้ ทอท.เข้าไปดำเนินการแทน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีการฟื้นฟู ซึ่งเชื่อว่าทอท.มีศักยภาพที่จะดำเนินการได้
ส่วนสนามบินภูมิภาค ในความรับผิดชอบของ ทย. จำนวน 29 แห่ง จะมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ในการก่อสร้างรวมถึงการศึกษาก่อสร้างสนามบินเพิ่มเติม เพื่อขีดความสามารถในการให้บริการ และรองรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้น
คาดปี 65- 66 อุตฯการบินกลับสู่ปกติ
นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม กล่าวว่า กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ยังคงเดินหน้าแผนการก่อสร้างขยายขีดความสามารถของสนามบิน 28 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากตามที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาตา) คาดว่า โรคโควิด-19 จะยุติ ในอีก 2-3 ปี หรือในปี 65-66 สถานการณ์โลก การบิน การเดินทางต่างๆจะกลับสู่ภาวะปกติ เหมือนปี62 และอีก 2 ปีต่อไปหรือ ปี 68 ทุกอย่างจะเป็นปกติ ดังนั้นแผนการก่อสร้างขยายศักยภาพสนามบิน ทย.ทั้งหมด จะแล้วเสร็จพอดีกับที่การบินจะกลับมาเติบโตตามปกติ
โดยในปี 64 เสนอของบประมาณ ที่ 5,800 ล้านบาท โดยมีแผนก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่งพร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน ที่สนามบินบุรีรัมย์ และ ตรัง เป็นต้น ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างศึกษาได้แก่ มุกดาหาร นครปฐม พัทลุง สตูล บึงกาฬ พะเยา กาฬสินธุ์ และการใช้ประโยชน์พื้นที่สนามบินตาก หัวหิน เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา
นอกจากการพัฒนากายภาพสนามบินแล้ว การบริการจะต้องสร้างความพึงพอใจ กับผู้โดยสาร ทั้งความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ ความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผย ภาพรวมการบินของประเทศไทย ในปี 2562 มีจำนวนผู้โดยสารที่ 165 ล้านคน มีปริมาณเที่ยวบินที่ 1.04 ล้านเที่ยวบิน ขณะที่ศักยภาพของสนามบินรองรับได้ที่ 150 ล้านคน ซึ่งปริมาณผู้โดยสารจริงนั้นเกินขีดการรองรับ
หลังเกิดโรคโควิด -19 ระบาด ส่งผลทำให้การบินในปีนี้ได้รับผลกระทบทั่วโลก คาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศในปีนี้ของประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 41.8 ล้านคน และมีปริมาณเที่ยวบิน 5.5 แสนเที่ยวบินเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม นโยบายยังคงเป้าหมายแผนพัฒนาขนส่งทางอากาศ ระยะ15 ปี (2562-2576) ในการเพิ่มขีดความสามารถรองรับเที่ยวบินที่1.2 ล้านเที่ยวบิน ซึ่งจะมีผู้โดยสารเข้ามาถึง 240 ล้านคน/ ปี ซึ่งการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับชอบของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. และ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ยังดำเนินการไปตามแผนแม่บท และนโยบายของรัฐบาลโดย. ทอท.เตรียมลงนามสัญญากับผู้รับจ้าง โครงการงานจ้างก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินประมาณ 9,600 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในปี 2567
ส่วนโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารส่วนต่อขยาย ด้านทิศเหนือ (North Expansion)มูลค่า 4.2 หมื่นล้านบาท ได้เสนอไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาแล้ว สำหรับการพัฒนาดอนเมืองเฟส 3 มูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ซึ่งตามแผนจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2569 โครงการศูนย์ซ่อมเครื่องบินอู่ตะเภา (MRO)ซึ่ง จะให้ ทอท.เข้าไปดำเนินการแทน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีการฟื้นฟู ซึ่งเชื่อว่าทอท.มีศักยภาพที่จะดำเนินการได้
ส่วนสนามบินภูมิภาค ในความรับผิดชอบของ ทย. จำนวน 29 แห่ง จะมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ในการก่อสร้างรวมถึงการศึกษาก่อสร้างสนามบินเพิ่มเติม เพื่อขีดความสามารถในการให้บริการ และรองรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้น
คาดปี 65- 66 อุตฯการบินกลับสู่ปกติ
นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม กล่าวว่า กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ยังคงเดินหน้าแผนการก่อสร้างขยายขีดความสามารถของสนามบิน 28 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากตามที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาตา) คาดว่า โรคโควิด-19 จะยุติ ในอีก 2-3 ปี หรือในปี 65-66 สถานการณ์โลก การบิน การเดินทางต่างๆจะกลับสู่ภาวะปกติ เหมือนปี62 และอีก 2 ปีต่อไปหรือ ปี 68 ทุกอย่างจะเป็นปกติ ดังนั้นแผนการก่อสร้างขยายศักยภาพสนามบิน ทย.ทั้งหมด จะแล้วเสร็จพอดีกับที่การบินจะกลับมาเติบโตตามปกติ
โดยในปี 64 เสนอของบประมาณ ที่ 5,800 ล้านบาท โดยมีแผนก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่งพร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน ที่สนามบินบุรีรัมย์ และ ตรัง เป็นต้น ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างศึกษาได้แก่ มุกดาหาร นครปฐม พัทลุง สตูล บึงกาฬ พะเยา กาฬสินธุ์ และการใช้ประโยชน์พื้นที่สนามบินตาก หัวหิน เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา
นอกจากการพัฒนากายภาพสนามบินแล้ว การบริการจะต้องสร้างความพึงพอใจ กับผู้โดยสาร ทั้งความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ ความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล