ผู้จัดการรายวัน360- นายกฯ สั่งตั้ง คกก. ตรวจสอบข้อเท็จจริงคดี "บอส อยู่วิทยา" ให้ "วิชา มหาคุณ" เป็นประธาน พร้อมยืนยันหลุดคดีไม่เกี่ยวกับเงินบริจาค ด้าน วิชา" ประกาศพร้อมตรวจสอบให้กระจ่างชัด หวังเรียกความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมไทย ยอมรับกดดัน แต่เชื่อสามารถหาข้อเท็จจริงได้ "บิ๊กป้อม" ป้อง กมธ.ยุค สนช. ไม่มีอำนาจเป่าคดี ลั่น"ตระกูลวงษ์สุวรรณ"ไม่รู้จัก-ไม่เกี่ยวข้องกับ"ตระกูลอยู่วิทยา" อดีตเลขากมธ.ตำรวจฯ สนช. แจงช่วยคดี "บอส" ตามรธน.เปิดช่องช่วยคนเดือดร้อน ไร้หน้าที่ชี้ผิดถูก สวน "ศานิตย์" สับสนปัดตีตก ขออย่าโยง "วงษ์สุวรรณ" ขณะที่ซูเปอร์โพลเผยประชาชนร้อยละ 91.1 ระบุพึ่งพากระบวนการยุติธรรมไม่ได้
วานนี้ (29 ก.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ลงนามในคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 225/2563 เรื่องแต่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาในคดีขับรถชนรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ทองหล่อ เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยพนักงานสอบสวนได้ตั้งข้อหาหลายข้อหา และผู้ต้องหาหลบหนีการดำเนินคดี ต่อมาคดีบางข้อหาได้ขาดอายุความในส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง และฝ่ายตำรวจไม่มีความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งคดีนี้อยู่ในความรับรู้ และสนใจของประชาชนมาโดยตลอด นับแต่เกิดเหตุ เมื่อปี 2555
เมื่อปรากฏผลการสั่งคดีอันเป็นขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้น ก่อนมีคำพิพากษาของศาลเช่นนี้ จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อ และสังคมทั่วไปอย่างกว้างขวาง ถือเป็นความอ่อนไหวกระทบกระเทือนความเชื่อในองค์กรเจ้าหน้าที่ และกระบวนการยุติธรรม แม้ในส่วนของการใช้ดุลยพินิจและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ ย่อมมีอิสระในการสั่งคดีตามรัฐรรมนูญ และกฎหมายโดยไม่อยู่ในการบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารและพนักงานสอบสวนจะอยู่ใการตรวจสอบตามกฎหมายและระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ตาม
แต่กรณีนี้มีเหตุพิเศษที่สังคมควรมีโอกาสทราบในส่วนของข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายตลอดจนพฤติการณ์และบุคลเกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งให้ตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องอาญาในคดีนี้ ประกอบด้วย 1. นายวิชามหาคุณประธานกรรมการ 2. ปลัดกระทรวงยุติธรรม 3. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 4. ประธานคณะกก.ปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย 5. ประธานคณะกก.ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม 6. นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทย 7. คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 9. คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง เป็นกรรมการ และ10. ผอ.สำนักงานป.ย.ป. กรรมการ และเลขานุการ
โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ และอำนาจตรวจสอบข้อเท็จริงและข้อกฎหมายในคดีดังกล่าว และเสนอแนะแนวทาง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาองค์ความรู้การปฏิบัติหน้าที่ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนเสนอข้อแนะนำอื่นใดโดยไม่ก้าวล่วงหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในคดีดังกล่าว แล้วรายงานนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ แต่หากนายกฯ เห็นว่าข้อเสนอแนะในการปฏิรูป ยังไม่แล้วเสร็จ อาจให้ขยายระยะเวลาอีกได้ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการรายงานเบื้องต้นต่อนายกฯ เป็นระยะทุก 10 วัน
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการ มีอำนาจเชิญ หรือประสานขอความร่วมมือ หรือขอเอกสารต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบสอบถามหรือขอความเห็น และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ความร่วมมือแก่คณะกรรมการ นอกจากนี้คณะกรรมการอาจรับฟังความเห็นข้อเสนอแนะ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนในคดีนี้จากประชาชนได้
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมถึง เรื่องที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ และสงสัย กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส จากเหตุการณ์ชนแล้วหนี แต่หลุดทุกคดีว่า เรื่องนี้ รัฐบาลในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร จำเป็นต้องทำให้เกิดความชัดเจนขึ้น โดยไม่ก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในกรณีดังกล่าว มี นายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน เนื่องจากคดีนี้ ประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ดังนั้นต้องหาข้อเท้จจริงให้ได้ ว่าปัญหาอยู่ที่ไหหน อย่างไร และแก้ปัญหาโดยที่จะไปก้าวล่วงในส่วนของอัยการและศาลไม่ได้ แม้กระทั่ง สนช.และส.ว. ตนก็ไปสั่งการอะไรไม่ได้ ซึ่งงเขามีกลไกในการดำเนินการ รวมถึงตำรวจด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
"ขอให้มั่นใจ นายกรัฐมนตรีไม่ได้ปล่อยปละละเลย หรือนิ่งนอนใจ ปัญหาเหล่านี้จะต้องแก้ให้ได้ ความยุติธรรมจะต้องเกิดในสังคมไทยโดยไม่แบ่งชนชั้น และผมย้ำเสมอมาไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป การเมือง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจอื่นๆ จะต้องเดินหน้า ทุกอย่างไม่เกี่ยวกับเรื่องการบริจาคอะไร มันคนละเรื่องกันทั้งหมด เรื่องผลประโยชน์ผมยืนยันแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น 5 ปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยเสียหายเรื่องเหล่านี้ ขอให้ความเชื่อมั่นกับผมด้วย และผมพยายามจะทำอย่างเต็มที่ เพื่อคลี่คลายปัญหา ต่างๆ ดังกล่าวทั้งหมดทุกเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
วิชา"ประกาศพร้อมตรวจสอบให้กระจ่างชัด
นายวิชา มหาคุณ ประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือคดีบอส อยู่วิทยา ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ภายหลังตอบรับเป็น ประธานคณะกรรมการฯ เรื่องดังกล่าวว่า กำลังเตรียมการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งคาดว่าจะนัดประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เบื้องต้นที่มีการหารือกันในตอนแรก จะนัดประชุมในสัปดาห์หน้า แต่มีคนติงว่าจะช้าไปหรือไม่ จึงคาดว่าจะนัดประชุมในวันเสาร์ที่ 1 ส.ค.นี้ กำลังประสานกับฝ่ายเลขาฯ ว่าจะสามารถเตรียมการ และนัดประชุมได้ทันหรือไม่ ส่วนระยะตรวจสอบ 30 วัน เชื่อว่าน่าจะดำเนินการได้เร็วกว่านั้น น่าจะใช้เวลาสัก 2 สัปดาห์
นายวิชา ยอมรับว่ารู้สึกกดดันกับการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะเป็นห่วงสถานการณ์เรื่องความรุนแรง โดยเฉพาะด้านต่างประเทศ ต้องยอมรับว่าข่าวออกมาจากต่างประเทศก่อน และจะมีผลกระทบในเรื่องการลงทุน โดยอ้างกระบวนการยุติธรรมว่าเราใช้ไม่ได้ การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้นเราต้องเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประชาชนให้กลับมาโดยเร็วที่สุด
ส่วนแนวทางการตรวจสอบที่กรรมการจะดำเนินการนั้น นายวิชา เปิดเผยว่าเราต้องหาความจริง ไม่ใช่หาข้อเท็จจริง สองอย่างนี้ต่างกัน ซึ่งเราจะต้องไต่สวนและตรวจสอบเพื่อให้ได้ความจริงที่อยู่เบื้องหลัง ว่ามีอะไร และมีบกพร่องอย่างไร สุดท้ายถ้าพบว่ามีข้อบกพร่องทั้งด้านข้อกฎหมายที่มีอยู่ หรือระเบียบข้อบังคับ ก็ต้องนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
นายวิชา ยังย้ำว่าตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี มีอำนาจและสามารถที่จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวมาให้ข้อมูล ส่วนการที่อัยการสูงสุดและตำรวจ ก็ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วยนั้น เราจะไม่ไปก้าวล่วงในเรื่องของการสั่งการของสองหน่วยงาน แต่อาจเชิญสองหน่วยงานมาให้ข้อมูล ความร่วมมือเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่ผลการสอบของสองหน่วยงานที่ตั้งขึ้นจะออกมาอย่างไร ก็เป็นเรื่องการทำงานของคณะทำงานทั้งสองหน่วยงาน
“เราเป็นเหมือนกระจกส่อง หรือเป็นเรื่องของการทำให้กระบวนการโปร่งใส ตามลักษณะธรรมาภิบาล ต้องมีหน่วยตรวจสอบ”นายวิชากล่าว
"บิ๊กป้อม"บอกไม่รู้จักตระกูลอยู่วิทยา
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และปฏิรูปตำรวจ สืบเนื่องคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา ว่าเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม เรื่องอัยการและเรื่องตำรวจ ที่ต้องออกมาชี้แจง และตอนนี้นายกรัฐมนตรีก็ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ทุกอย่างทำไปตามขั้นตอน รอตำรวจและอัยการ ออกมาชี้แจง ส่วนคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เป็นเรื่องของเขา ที่จะออกมาชี้แจง
ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า กมธ.กฎหมาย สนช. มีส่วนทำให้นายวรยุทธ หลุดคดี พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "โห มันไม่มีอำนาจ" เมื่อถามว่า มีการกล่าวอ้างไปถึง พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ส.ว. ซึ่งเป็นน้องชาย พล.อ.ประวิตร ในฐานะประธาน กมธ. ดังกล่าวด้วย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "โห ตระกูลผมไม่รู้จักกับตระกูลเขา เป็นการส่วนตัวก็ไม่เคยรู้จัก แล้วเขาก็ไม่เคยมาขอความช่วยเหลืออะไรผมเลย"
เมื่อถามถึงกรณีตระกูลวิทยา บริจาคเงินให้รัฐบาล 300 ล้านบาท ก็ถือเป็นการบริจาคในฐานะเจ้าสัวทั่วไปใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ใช่ๆ ไม่มีอะไร ก็ว่าไปตามขั้นตอน
"ธานี" แจงรธน.เปิดช่องให้ กมธ. ทำได้
นายธานี อ่อนละเอียด สมาชิกวุฒิสภา อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการการกฎหมาย (กมธ.) กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) แถลงชี้แจงกรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา (บอส) ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อ กมธ. ว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ค.59 นายธนิต บัวเขียว ทนายความผู้รับมอบอำนาจ ได้มายื่นขอความเป็นธรรม ในประเด็นว่า คำสั่งของรองอัยการสูงสุดที่ยุติเรื่องขอความเป็นธรรม โดยไม่นำเอาข้อเท็จจริงในส่วนของคำให้การของพยานผู้เชี่ยวชาญและรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาสั่งคดี นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงใช้ช่องทางมาร้องต่อกมธ.ขอให้สอบถามข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลและตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเร็วรถในขณะเกิดเหตุ ทางกมธ.เห็นว่าจึงได้ส่งเรื่องไปยังศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สนช. เพื่อตรวจสอบตามระเบียบ
ต่อมาศูนย์ดังกล่าวได้รับเรื่องและพิจารณาเห็นว่าอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ของกมธ.กฎหมายฯ และไม่เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกมธ.ชุดอื่น จึงส่งเรื่องกลับมาให้พิจารณาตามหน้าที่และอำนาจ ทางกมธ.จึงมีมติรับเรื่องไปสอบหาข้อเท็จจริง โดยเชิญบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง 8 คน คืออดีตรองอัยการสูงสุด อธิบดีอัยการ พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ตรวจสอบสภาพรถยนต์ พยาน2 ปาก และพยานแวดล้อม2 ปาก จากนั้นได้ทำหนังสือถึงอธิบการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจ้อมเกล้า พระนครเหนือ ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสภาพความเสียหายและคำนวณความเร็วของรถ โดยได้ส่งรศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มาทำการตรวจสอบ และส่งผลการตรวตสอบกลับมายังกมธ. จากนั้นได้รวบรวมผลการสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดส่งไปยังอัยการสูงสุด และอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
“ยืนยันว่าการดำเนินการของกมธ.เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ2557 ม.13 วรรคสองและข้อบังคับการประชุมสนช. ที่ให้สนช.ทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เรามีหน้าที่เพียงสอบหาไม่ใช่สอบสวน”
ผู้สื่อข่าวถามว่าในรายงานของคณะกรรมาธิการมีความเห็นอย่างไร นายธานี กล่าวว่า ตามอำนาจของกมธ.ไม่สามารถชี้ผิดชี้ถูก เพราะเราไม่ใช่อัยการ ป.ป.ช. หรือกกต.ที่จะวินิจฉัยได้ เรามีหน้าที่แค่เสนอผลการศึกษา คำชี้แจงของผู้มาขี้แจง การศึกษาเรื่องการคำนวณความเร็วรถของผู้เชี่ยวชาญ โดยนำเสนอไปยังหน่วยงานทีเกี่ยวข้องให้พิจารณาเท่านั้น
เมื่อถามว่าผลการศึกษาเรื่องความเร็วไม่ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช่หรือไม่ นายธานี กล่าวว่า เรื่องนี้แบบออกเป็นสองประเด็น คือ เมื่อคนในองค์กรถึงแก่กรรมก็ต้องเร่งดำเนินการ และได้มีการสอบเพิ่มเติมหลังจากมีการร้องกับสนช. ทางอัยการสูงสุดได้สั่งให้สอบเรื่องความเร็วว่าเป็นอย่างไรกันแน่ เจ้าพนักงานจึงไปทำรายงานต่อหน้าผู้บังคับบัญชาระดับนายพลจากความเร็วเดิม 177 กม. ต่อชม. ซึ่งคลาดเคลื่อนจากเป็นจริง คือ 76 กม. ต่อชม. ก่อนที่จะมาชี้แจงอีกครั้งกับกมธ. ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของดร.สายประสิทธิ์ ที่น่าเชื่อถือเพราะเป็นคนไทยคนเดียวที่เป็นสมาชิกเอเชี่ยน เอ็นแคป และในรายงานของกมธ.ที่เสนอไปให้อัยการ คือ 79 กม. ต่อ ชม.
ถามว่าเหตุใดไม่นำข้อมูลของกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ซึ่งยืนยันว่าความเร็วรถเกิน 100 กม.ต่อ ชม. มาตรวจสอบ นายธานี กล่าวว่าเพราะ ไม่มีคนยื่นคำร้องมา แต่ทางกมธ.ได้เชิญสารวัตรช่างเครื่องยนต์ ยศ พ.ต.ท. ซึ่งทำคดีมาจำนวนมาก มาให้ความเห็นด้วย ก็ยืนยันว่าจากสภาพความเสียหาย ความเร็วไม่น่าจะเกิน 80 กมต่อ ชม.
"วิทยาศาสตร์น่าเชื่อถือที่สุด พยานบุคคลยังกลับไปกลับมา ถ้าสงสัยสื่อก็ต้องไปหาความรู้ หาแหล่งอ้างอิงซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการให้ความรู้กับประชาชนว่าวิธีการสืบหาข้อเท็จจริง โดยที่ว่าเราไม่ได้ว่าจินตนาการ คิดว่าน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่การกระทำความผิดไม่เลือกวัย ไม่เลือกความจน ความรวย ทุกคนมีโอกาสทำความผิดกันหมด แต่ข้อเท็จจริงถ้าพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์มันต้องเป็นอย่างนั้น แล้วศาลจะเชื่อถือข้อเท็จจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าบุคคล" นายธานี กล่าว
เมื่อถามถึงพยานใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวทั้งที่คดีดังกล่าวผ่านมา 7 ปี นายธานี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้พยานท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง จึงไม่อยากเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เมื่อเห็นว่าเรื่องเริ่มบานปลายไปกันใหญ่ จึงได้ออกมาเป็นพยานให้ ขอร้องอย่าจินตนาการแบบนี้ อย่านำเปลือกหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่ยุติมาอ้าง ซึ่งอีก 7 วันทางอัยการก็จะรวบรวมหลักฐาน พยาน เพื่อชี้แจง แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยตรวจสอบว่ามีเหตุผลหรือไม่
“อัยการและตำรวจมีหน้าพิจารณามูลเหตุว่าเพียงพอฟ้องหรือไม่ และอัยการเองก็ไม่ได้ทำหน้าที่ตามอำเภอใจ หรืออัยการก็ไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ หรือไม่ใช่พนักงานส่งอาหารที่มาอย่างไรก็ส่งไปอย่างนั้น เขามีดุลยพินิจในการวินิจฉัย ถ้าใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจก็จะติดตัวเขาไปจนตาย ตรงนี้ฝากสื่อให้ความรู้แก่ประชาชนบ้าง ขอให้สื่อใจเย็นและให้สติปัญญากับประชาชน อย่าเร่งเร้า ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานรนรานไปหมด “
นายธานี ยืนยันว่า คณะกมธ.มีหน้าที่ตรวจสอบแต่ไม่มีอำนาจในการสั่งหรือก้าวก่าย และพนักงานอัยการจะนำผลการศึกษาของกมธ.ไปใช้สั่งสำนวนไม่ได้ แต่หากอัยการสงสัยก็จะสั่งให้พนักงานสอบสวนไปสอบสวนในประเด็นนั้นๆเพิ่มเติม และไม่มีการตัดสินชี้ถูกชี้ผิด
ถามต่อว่าทำไมกมธ.ถึงเรียกพยาน 2 ปาก ซึ่งอัยการตีตกพยานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2555 แล้ว นายธานี กล่าวว่า มีการกล่าวอ้างชื่อในคำร้องของนายวรยุทธว่าการไม่ฟังพยาน 2 ปากนี้ ถือว่าไม่ชอบด้วยกฏหมายและไม่เป็นธรรม
ถามอีกว่า นายสมัคร เชาวภานันท์ ทนายความประจำตัวของตระกูลอยู่วิทยา และอดีตส.ว. เคยร่วมทำงานกับพล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ในกมธ.การยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา ปี 51 ซึ่งมีกระแสข่าวว่าเป็นผู้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อกมธ.กฏหมาย สนช. ปี 57 ซึ่งพล.ร.อ.ศิษฐวัชร เป็นประธาน นายธานี กล่าวว่า เท่าที่ทราบ นายธนิต คือทนายความที่รับมอบอำนาจให้มายื่นเรื่องร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว ส่วนจะเป็นตัวแทนนายสมัครหรือไม่ ไม่ทราบ ตั้งแต่ตนเป็นกมธ.ยืนยันไม่เคยเจอนายสมัคร
นอกจากนี้ นายธานี ยังระบุอีกว่า กรณีพล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร อดีตผบช.น. และ อดีตสนช. ออกมาเปิดเผยว่าในชั้นกมธ.ได้ตีตกเรื่องนี้ไปแล้ว นั้น เป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะสนช.มีงานเยอะ พล.ต.ท.ศานิตย์จึงอาจสับสนได้ และย้ำว่ากมธ.ไม่เคยชี้ขาด พร้อมยืนยันว่าไม่มีการทำความเห็นให้อัยการส่งสำนวนไปยังตำรวจเพื่อทบทวนอีกครั้ง
นายธานี ยอมรับว่าผลการศึกษาเรื่องความเร็วของกมธ. ตรงข้ามกับหลักฐานเมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นที่สงสัยของตนและกมธ.เช่นกัน แต่ก็ไม่มีผู้มาร้องเรียนหลังเจ้าพนักงานทำรายงานต่อหน้าผู้บังคับบัญชา และตัวผู้เชี่ยวชาญที่มาศึกษาก็มีความรู้ความสามารถทำคดีมาหลายคดี มีต้นทุนทางสังคม
ส่วนสภาพของรถที่หลายคนสันนิษฐานว่ายับเยินมากกว่าความเร็วที่ 76กม.ต่อชม. นายธานี ชี้แจงว่า จากรายงานให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องมวลของรถเฟอร์รี่ที่หนัก และรถมอเตอร์ไซค์มีมวลรถที่เบา ส่วนหากวิ่งด้วยความเร็วดังกล่าวแล้วทำไมนายวรยุทธถึงมองไม่เห็น ลากร่างผู้เสียชีวิตถึง 200 เมตรนั้น อาจมีรถกระบะมาบังจึงมองไม่เห็นคนที่ถูกชน และมีการสันนิษฐานเป็นสองประเด็น คือ รถเบรกแล้วแต่ไม่มีรอยเพราะด้วยประสิทธิภาพของรถหรู หรือมีความเป็นไปได้ว่าไม่เบรก ส่วนเรื่องยาเสพติดในตัวนายวรยุทธไม่มีการร้องเรื่องนี้เข้ามา ดังนั้น กมธ.จึงไม่ได้มีการตรวจสอบ
เมื่อถามย้ำว่ามีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายหรือไม่ นายธานี กล่าวว่า ผู้เสียหายไม่ได้ร้องมาที่สนช. และจากบันทึกของตำรวจนายวรยุทธได้มีการเยียวยาให้กับครอบครัวผู้ตายไปแล้ว อีกทั้งญาติก็ไม่ได้ร้องว่าไม่ได้รับเงินเยียวยา ถามว่าจะให้สอบประเด็นอะไร เท่าที่ดูข่าวเขาก็ได้รับค่าเสียหายไปแล้วจริงและไม่ติดใจ ที่สำคัญทางญาติก็ไม่ได้นั่งรถไปกับผู้เสียชีวิตและเห็นเหตุการณ์ หากไม่เรียกมาจะถือว่ากมธ.ผิด อย่าอคติกับกมธ.ว่าช่วยนายวรยุทธ เพราะไม่รู้จะช่วยไปทำไม ยืนยันว่ากมธ.ให้ความช่วยเหลือทั้งสองฝ่าย
“ผมอยากจะเตือนสติสังคมว่าไปย้อนดูว่ามีกี่สื่อ กี่ฉบับที่เมื่อศาลพิพากษาแล้ว หรือยกฟ้อง แล้วมีคนตกเป็นจำเลยตามที่สื่อเสนอ แล้วสื่อไปขอโทษด้วยจิตวิญญาณของวิชาชีพ เขาเสียหายขนาดไหน อยากจะเตือนสติไว้บ้างว่าเราเองขายข่าวได้เป็นประเด็น แต่ต้องมีสติ ให้สังคมได้พัฒนา หยิบเอาประเด็นมาเป็นจินตนาการแบบนั้นแบบนี้ เมื่อเขาพิสูจน์ได้ ก็เงียบไป ไม่เห็นมีสื่อไหนถือดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา ขอเถอะ ขอให้มีสติให้สังคมพัฒนาขึ้น ปฏิรูปสื่อสักที” นายธานี กล่าว
ถามทิ้งทายว่าเรื่องนี้มีการโยงไปถึงพล.ร.อ.ศิษฐวัชร ซึ่งเป็นน้องชายของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นการจินตนาการใช่หรือไม่ นายธานี กล่าวว่า คงอย่างนั้น อย่าไปผูกโยงว่าคนตระกูลนี้ผิดไปหมด มันไม่ใช่ ถ้าเขาไม่ทำตามอำนาจหน้าที่ ก็อย่าเหมารวม เพราะมันไม่เป็นธรรม
คกก.ยันโปร่งใส-ไม่มีฟอกขาว
พล.ต.อ. ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการตครวจสอบข้อเท็จจริง ครั้งที่ 1/2563 ว่า ในการประชุมครั้งแรกได้มีกรอบการพิจารณาข้อเท็จจริงขั้นตอนดำเนินคดีอาญาของนายวรยุทธ์ อยู่วิทยา 3 กรอบ ประกอบด้วย 1.การสอบสวนและความเห็นชั้นพนักงานสอบสวน 2.การสอบสวนเพิ่มเติมตามคำสั่งพนักงานอัยการ 3.การดำเนินการพิจารณาความเห็นตามป.วิอาญามาตรา 145/1 ทั้งนี้ได้มีการแบ่งหน้าที่ทำงานให้คณะกรรมการแต่ละส่วนรับไปดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง โดยหลังจากนี้จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ในส่วนของตำรวจเข้ามาสอบถามในคณะกรรมการทุกท่าน โดยจะพิจารณาการดำเนินการของตำรวจที่รับผิดชอบตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการว่าได้ดำเนินการถูกต้อง ตามระเบียบหรือไม่
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำความผิดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1.การกระทำความผิดที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 2.การกระทำความผิดด้านวินัย ซึ่งทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาด ให้เสนอท่านว่าใครกระทำความผิดบ้าง ด้านอาญาก็ให้ส่งทางป.ป.ช. ส่วนทางวินัยก็ให้ลงทัณฑ์ทันที ซึ่งเมื่อปี 2559 สมัยผมเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเคยตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้แล้ว พบว่าได้กระทำผิดละเว้นการปฏิบัติในบางขั้นตอน ซึ่งได้ส่งเรื่องไปที่ป.ป.ช.แล้ว และป.ป.ช.ได้มีมติออกมาแล้วว่าเป็นการกระทำความผิดวินัย และได้ส่งกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้ลงโทษกักขัง ภาคทัณฑ์ไปแล้วหลายราย และยุติเรื่องในบางท่านที่ได้เกษียณอายุไปแล้ว
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวอีกว่า พนักงานสอบสวนไม่เกี่ยวข้องกับพยานใหม่ 2 ปาก เนื่องจากอัยการเป็นฝ่ายมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวน สอบปากคำเพิ่ม หลังผู้ต้องหายื่นร้องขอความเป็นธรรมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พนักงานสอบสวนจึงทำตามขั้นตอนที่อัยการกำหนดเท่านั้น โดยไม่สามารถก้าวล่วงกับการให้น้ำหนักของพยาน 2 ปากนี้ พร้อมยอมรับว่า ที่ผ่านมา คดีร้อยละ 97 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความเห็นไม่แย้ง มีเพียงร้อยละ 3 ที่เห็นแย้ง โดยทั่วไปผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบคดีตามเขตอำนาจของพนักงานอัยการ จึงสามารถมีความเห็นแย้งหรือไม่แย้งคดีได้
"คณะกรรมการชุดนี้ไม่ใช่การฟอกขาว การไม่แย้งคำสั่งอัยการของ พลตำรวจโท เพิ่มพูน แต่จะทำข้อเท็จจริงให้ปรากฎต่อสาธารณชนและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย" พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าว
อย่างไรก็ตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ จะไม่มีผลต่อคดีความ เพราะคดีสิ้นสุดแล้ว หลังตำรวจมีความเห็นไม่ฟ้อง 1 ข้อหา และสั่งฟ้องข้อหาอื่นทั้งหมด และจะไม่เกี่ยวข้องกับผลการตรวจสอบของอัยการสูงสุด แต่หากพบว่ามีการใช้ดุพินิจไม่ชอบ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาความผิดทางวินัยและอาญาต่อไปสำหรับคดีนี้แม้ทางกระบวนการของตำรวจจะเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ครอบครัวผู้เสียหายยังสามารถฟ้องร้องคดีต่อศาลได้เองตามกระบวนการยุติธรรม
คนไทย 91.1% เชื่อพึ่งพากระบวนการยุติธรรมไม่ได้
นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการ มูลนิธิ เมาไม่ขับ ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ยุติธรรมพึ่งได้หวังได้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,281 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 26 - 28 ก.ค. 63 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.2 ต้องการให้ อัยการ และตำรวจ ออกมาชี้แจง กรณีสั่งไม่ฟ้องคดี "บอส อยู่วิทยา" โดยร้อยละ 87.7 ระบุ ฝ่ายการเมือง นักการเมือง เชิญอัยการและตำรวจชี้แจง เป็นการซื้อเวลา ลดกระแส ขณะที่ร้อยละ 12.3 ระบุจริงใจแก้ปัญหา
ส่วนประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ความเห็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.1 ระบุพึ่งพากระบวนการยุติธรรมไม่ได้ ร้อยละ 86.6 รู้สึกหมดหวังต่อกระบวนการยุติธรรมไทย ร้อยละ 82.5 เศร้าใจ เป็นทุกข์ ร้อยละ 82.3 อับอายไปทั่วโลก และร้อยละ 65.5 สูญเสียความภูมิใจในความเป็นคนไทย
กมธ.ตำรวจ สภาฯเรียก"3 บิ๊กตร."ชี้แจง
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ส.ส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย ในฐานะโฆษก กมธ.ตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงเรื่องนี้ว่า กมธ.ตำรวจ เห็นว่ากรณีนี้ มีความสำคัญ ประชาชนให้ความสนใจ รวมทั้งมีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้กมธ.ตำรวจ ได้รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ทำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคดี รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินการของพนักงานสอบสวน ว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ การประชุม กมธ.ตำรวจ ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา จะมีการเชิญ บุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผบ.ตร. , รอง ผบ.ตร. ที่กำกับดูแลงานด้านกฎหมายและคดี และผบช.น. มาให้ข้อมูลพร้อมขอเอกสารรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและสังคมได้รับทราบกระบวนการทั้งหมด
ร้องศาลไต่สวนก่อนเพิกถอนหมายจับ
วันเดียวกันนี้ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่ออธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้ กรณีคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง โดยขอให้มีการเปิดไต่สวน ก่อนที่จะอนุมัติการถอนหมายจับ เพราะมีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของสังคม เพราะข้อมูลแตกต่างกันมาก อาทิ เรื่องความเร็วของรถ หรือ ก่อนหน้านั้นคดีนี้มีนายวรยุทธเป็นผู้ต้องหาเพียงรายเดียว แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น นายดาบตำรวจ ตกเป็นผู้ต้องหาที่ 2 รวมถึงมีการเพิ่มพยานที่เห็นเหตุการณ์เข้ามาอีก 2 คน และพยานคนนึงก็สนิทกับครอบครัวของผู้ต้องหา มาให้ปากคำหลังจากผ่านเหตุการณ์ไปแล้ว 7-8 ปี
วานนี้ (29 ก.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ลงนามในคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 225/2563 เรื่องแต่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาในคดีขับรถชนรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ทองหล่อ เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยพนักงานสอบสวนได้ตั้งข้อหาหลายข้อหา และผู้ต้องหาหลบหนีการดำเนินคดี ต่อมาคดีบางข้อหาได้ขาดอายุความในส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง และฝ่ายตำรวจไม่มีความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งคดีนี้อยู่ในความรับรู้ และสนใจของประชาชนมาโดยตลอด นับแต่เกิดเหตุ เมื่อปี 2555
เมื่อปรากฏผลการสั่งคดีอันเป็นขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้น ก่อนมีคำพิพากษาของศาลเช่นนี้ จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อ และสังคมทั่วไปอย่างกว้างขวาง ถือเป็นความอ่อนไหวกระทบกระเทือนความเชื่อในองค์กรเจ้าหน้าที่ และกระบวนการยุติธรรม แม้ในส่วนของการใช้ดุลยพินิจและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ ย่อมมีอิสระในการสั่งคดีตามรัฐรรมนูญ และกฎหมายโดยไม่อยู่ในการบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารและพนักงานสอบสวนจะอยู่ใการตรวจสอบตามกฎหมายและระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ตาม
แต่กรณีนี้มีเหตุพิเศษที่สังคมควรมีโอกาสทราบในส่วนของข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายตลอดจนพฤติการณ์และบุคลเกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งให้ตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องอาญาในคดีนี้ ประกอบด้วย 1. นายวิชามหาคุณประธานกรรมการ 2. ปลัดกระทรวงยุติธรรม 3. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 4. ประธานคณะกก.ปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย 5. ประธานคณะกก.ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม 6. นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทย 7. คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 9. คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง เป็นกรรมการ และ10. ผอ.สำนักงานป.ย.ป. กรรมการ และเลขานุการ
โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ และอำนาจตรวจสอบข้อเท็จริงและข้อกฎหมายในคดีดังกล่าว และเสนอแนะแนวทาง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาองค์ความรู้การปฏิบัติหน้าที่ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนเสนอข้อแนะนำอื่นใดโดยไม่ก้าวล่วงหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในคดีดังกล่าว แล้วรายงานนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ แต่หากนายกฯ เห็นว่าข้อเสนอแนะในการปฏิรูป ยังไม่แล้วเสร็จ อาจให้ขยายระยะเวลาอีกได้ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการรายงานเบื้องต้นต่อนายกฯ เป็นระยะทุก 10 วัน
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการ มีอำนาจเชิญ หรือประสานขอความร่วมมือ หรือขอเอกสารต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบสอบถามหรือขอความเห็น และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ความร่วมมือแก่คณะกรรมการ นอกจากนี้คณะกรรมการอาจรับฟังความเห็นข้อเสนอแนะ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนในคดีนี้จากประชาชนได้
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมถึง เรื่องที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ และสงสัย กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส จากเหตุการณ์ชนแล้วหนี แต่หลุดทุกคดีว่า เรื่องนี้ รัฐบาลในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร จำเป็นต้องทำให้เกิดความชัดเจนขึ้น โดยไม่ก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในกรณีดังกล่าว มี นายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน เนื่องจากคดีนี้ ประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ดังนั้นต้องหาข้อเท้จจริงให้ได้ ว่าปัญหาอยู่ที่ไหหน อย่างไร และแก้ปัญหาโดยที่จะไปก้าวล่วงในส่วนของอัยการและศาลไม่ได้ แม้กระทั่ง สนช.และส.ว. ตนก็ไปสั่งการอะไรไม่ได้ ซึ่งงเขามีกลไกในการดำเนินการ รวมถึงตำรวจด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
"ขอให้มั่นใจ นายกรัฐมนตรีไม่ได้ปล่อยปละละเลย หรือนิ่งนอนใจ ปัญหาเหล่านี้จะต้องแก้ให้ได้ ความยุติธรรมจะต้องเกิดในสังคมไทยโดยไม่แบ่งชนชั้น และผมย้ำเสมอมาไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป การเมือง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจอื่นๆ จะต้องเดินหน้า ทุกอย่างไม่เกี่ยวกับเรื่องการบริจาคอะไร มันคนละเรื่องกันทั้งหมด เรื่องผลประโยชน์ผมยืนยันแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น 5 ปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยเสียหายเรื่องเหล่านี้ ขอให้ความเชื่อมั่นกับผมด้วย และผมพยายามจะทำอย่างเต็มที่ เพื่อคลี่คลายปัญหา ต่างๆ ดังกล่าวทั้งหมดทุกเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
วิชา"ประกาศพร้อมตรวจสอบให้กระจ่างชัด
นายวิชา มหาคุณ ประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือคดีบอส อยู่วิทยา ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ภายหลังตอบรับเป็น ประธานคณะกรรมการฯ เรื่องดังกล่าวว่า กำลังเตรียมการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งคาดว่าจะนัดประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เบื้องต้นที่มีการหารือกันในตอนแรก จะนัดประชุมในสัปดาห์หน้า แต่มีคนติงว่าจะช้าไปหรือไม่ จึงคาดว่าจะนัดประชุมในวันเสาร์ที่ 1 ส.ค.นี้ กำลังประสานกับฝ่ายเลขาฯ ว่าจะสามารถเตรียมการ และนัดประชุมได้ทันหรือไม่ ส่วนระยะตรวจสอบ 30 วัน เชื่อว่าน่าจะดำเนินการได้เร็วกว่านั้น น่าจะใช้เวลาสัก 2 สัปดาห์
นายวิชา ยอมรับว่ารู้สึกกดดันกับการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะเป็นห่วงสถานการณ์เรื่องความรุนแรง โดยเฉพาะด้านต่างประเทศ ต้องยอมรับว่าข่าวออกมาจากต่างประเทศก่อน และจะมีผลกระทบในเรื่องการลงทุน โดยอ้างกระบวนการยุติธรรมว่าเราใช้ไม่ได้ การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้นเราต้องเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประชาชนให้กลับมาโดยเร็วที่สุด
ส่วนแนวทางการตรวจสอบที่กรรมการจะดำเนินการนั้น นายวิชา เปิดเผยว่าเราต้องหาความจริง ไม่ใช่หาข้อเท็จจริง สองอย่างนี้ต่างกัน ซึ่งเราจะต้องไต่สวนและตรวจสอบเพื่อให้ได้ความจริงที่อยู่เบื้องหลัง ว่ามีอะไร และมีบกพร่องอย่างไร สุดท้ายถ้าพบว่ามีข้อบกพร่องทั้งด้านข้อกฎหมายที่มีอยู่ หรือระเบียบข้อบังคับ ก็ต้องนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
นายวิชา ยังย้ำว่าตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี มีอำนาจและสามารถที่จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวมาให้ข้อมูล ส่วนการที่อัยการสูงสุดและตำรวจ ก็ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วยนั้น เราจะไม่ไปก้าวล่วงในเรื่องของการสั่งการของสองหน่วยงาน แต่อาจเชิญสองหน่วยงานมาให้ข้อมูล ความร่วมมือเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่ผลการสอบของสองหน่วยงานที่ตั้งขึ้นจะออกมาอย่างไร ก็เป็นเรื่องการทำงานของคณะทำงานทั้งสองหน่วยงาน
“เราเป็นเหมือนกระจกส่อง หรือเป็นเรื่องของการทำให้กระบวนการโปร่งใส ตามลักษณะธรรมาภิบาล ต้องมีหน่วยตรวจสอบ”นายวิชากล่าว
"บิ๊กป้อม"บอกไม่รู้จักตระกูลอยู่วิทยา
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และปฏิรูปตำรวจ สืบเนื่องคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา ว่าเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม เรื่องอัยการและเรื่องตำรวจ ที่ต้องออกมาชี้แจง และตอนนี้นายกรัฐมนตรีก็ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ทุกอย่างทำไปตามขั้นตอน รอตำรวจและอัยการ ออกมาชี้แจง ส่วนคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เป็นเรื่องของเขา ที่จะออกมาชี้แจง
ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า กมธ.กฎหมาย สนช. มีส่วนทำให้นายวรยุทธ หลุดคดี พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "โห มันไม่มีอำนาจ" เมื่อถามว่า มีการกล่าวอ้างไปถึง พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ส.ว. ซึ่งเป็นน้องชาย พล.อ.ประวิตร ในฐานะประธาน กมธ. ดังกล่าวด้วย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "โห ตระกูลผมไม่รู้จักกับตระกูลเขา เป็นการส่วนตัวก็ไม่เคยรู้จัก แล้วเขาก็ไม่เคยมาขอความช่วยเหลืออะไรผมเลย"
เมื่อถามถึงกรณีตระกูลวิทยา บริจาคเงินให้รัฐบาล 300 ล้านบาท ก็ถือเป็นการบริจาคในฐานะเจ้าสัวทั่วไปใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ใช่ๆ ไม่มีอะไร ก็ว่าไปตามขั้นตอน
"ธานี" แจงรธน.เปิดช่องให้ กมธ. ทำได้
นายธานี อ่อนละเอียด สมาชิกวุฒิสภา อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการการกฎหมาย (กมธ.) กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) แถลงชี้แจงกรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา (บอส) ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อ กมธ. ว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ค.59 นายธนิต บัวเขียว ทนายความผู้รับมอบอำนาจ ได้มายื่นขอความเป็นธรรม ในประเด็นว่า คำสั่งของรองอัยการสูงสุดที่ยุติเรื่องขอความเป็นธรรม โดยไม่นำเอาข้อเท็จจริงในส่วนของคำให้การของพยานผู้เชี่ยวชาญและรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาสั่งคดี นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงใช้ช่องทางมาร้องต่อกมธ.ขอให้สอบถามข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลและตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเร็วรถในขณะเกิดเหตุ ทางกมธ.เห็นว่าจึงได้ส่งเรื่องไปยังศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สนช. เพื่อตรวจสอบตามระเบียบ
ต่อมาศูนย์ดังกล่าวได้รับเรื่องและพิจารณาเห็นว่าอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ของกมธ.กฎหมายฯ และไม่เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกมธ.ชุดอื่น จึงส่งเรื่องกลับมาให้พิจารณาตามหน้าที่และอำนาจ ทางกมธ.จึงมีมติรับเรื่องไปสอบหาข้อเท็จจริง โดยเชิญบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง 8 คน คืออดีตรองอัยการสูงสุด อธิบดีอัยการ พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ตรวจสอบสภาพรถยนต์ พยาน2 ปาก และพยานแวดล้อม2 ปาก จากนั้นได้ทำหนังสือถึงอธิบการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจ้อมเกล้า พระนครเหนือ ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสภาพความเสียหายและคำนวณความเร็วของรถ โดยได้ส่งรศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มาทำการตรวจสอบ และส่งผลการตรวตสอบกลับมายังกมธ. จากนั้นได้รวบรวมผลการสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดส่งไปยังอัยการสูงสุด และอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
“ยืนยันว่าการดำเนินการของกมธ.เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ2557 ม.13 วรรคสองและข้อบังคับการประชุมสนช. ที่ให้สนช.ทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เรามีหน้าที่เพียงสอบหาไม่ใช่สอบสวน”
ผู้สื่อข่าวถามว่าในรายงานของคณะกรรมาธิการมีความเห็นอย่างไร นายธานี กล่าวว่า ตามอำนาจของกมธ.ไม่สามารถชี้ผิดชี้ถูก เพราะเราไม่ใช่อัยการ ป.ป.ช. หรือกกต.ที่จะวินิจฉัยได้ เรามีหน้าที่แค่เสนอผลการศึกษา คำชี้แจงของผู้มาขี้แจง การศึกษาเรื่องการคำนวณความเร็วรถของผู้เชี่ยวชาญ โดยนำเสนอไปยังหน่วยงานทีเกี่ยวข้องให้พิจารณาเท่านั้น
เมื่อถามว่าผลการศึกษาเรื่องความเร็วไม่ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช่หรือไม่ นายธานี กล่าวว่า เรื่องนี้แบบออกเป็นสองประเด็น คือ เมื่อคนในองค์กรถึงแก่กรรมก็ต้องเร่งดำเนินการ และได้มีการสอบเพิ่มเติมหลังจากมีการร้องกับสนช. ทางอัยการสูงสุดได้สั่งให้สอบเรื่องความเร็วว่าเป็นอย่างไรกันแน่ เจ้าพนักงานจึงไปทำรายงานต่อหน้าผู้บังคับบัญชาระดับนายพลจากความเร็วเดิม 177 กม. ต่อชม. ซึ่งคลาดเคลื่อนจากเป็นจริง คือ 76 กม. ต่อชม. ก่อนที่จะมาชี้แจงอีกครั้งกับกมธ. ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของดร.สายประสิทธิ์ ที่น่าเชื่อถือเพราะเป็นคนไทยคนเดียวที่เป็นสมาชิกเอเชี่ยน เอ็นแคป และในรายงานของกมธ.ที่เสนอไปให้อัยการ คือ 79 กม. ต่อ ชม.
ถามว่าเหตุใดไม่นำข้อมูลของกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ซึ่งยืนยันว่าความเร็วรถเกิน 100 กม.ต่อ ชม. มาตรวจสอบ นายธานี กล่าวว่าเพราะ ไม่มีคนยื่นคำร้องมา แต่ทางกมธ.ได้เชิญสารวัตรช่างเครื่องยนต์ ยศ พ.ต.ท. ซึ่งทำคดีมาจำนวนมาก มาให้ความเห็นด้วย ก็ยืนยันว่าจากสภาพความเสียหาย ความเร็วไม่น่าจะเกิน 80 กมต่อ ชม.
"วิทยาศาสตร์น่าเชื่อถือที่สุด พยานบุคคลยังกลับไปกลับมา ถ้าสงสัยสื่อก็ต้องไปหาความรู้ หาแหล่งอ้างอิงซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการให้ความรู้กับประชาชนว่าวิธีการสืบหาข้อเท็จจริง โดยที่ว่าเราไม่ได้ว่าจินตนาการ คิดว่าน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่การกระทำความผิดไม่เลือกวัย ไม่เลือกความจน ความรวย ทุกคนมีโอกาสทำความผิดกันหมด แต่ข้อเท็จจริงถ้าพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์มันต้องเป็นอย่างนั้น แล้วศาลจะเชื่อถือข้อเท็จจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าบุคคล" นายธานี กล่าว
เมื่อถามถึงพยานใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวทั้งที่คดีดังกล่าวผ่านมา 7 ปี นายธานี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้พยานท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง จึงไม่อยากเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เมื่อเห็นว่าเรื่องเริ่มบานปลายไปกันใหญ่ จึงได้ออกมาเป็นพยานให้ ขอร้องอย่าจินตนาการแบบนี้ อย่านำเปลือกหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่ยุติมาอ้าง ซึ่งอีก 7 วันทางอัยการก็จะรวบรวมหลักฐาน พยาน เพื่อชี้แจง แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยตรวจสอบว่ามีเหตุผลหรือไม่
“อัยการและตำรวจมีหน้าพิจารณามูลเหตุว่าเพียงพอฟ้องหรือไม่ และอัยการเองก็ไม่ได้ทำหน้าที่ตามอำเภอใจ หรืออัยการก็ไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ หรือไม่ใช่พนักงานส่งอาหารที่มาอย่างไรก็ส่งไปอย่างนั้น เขามีดุลยพินิจในการวินิจฉัย ถ้าใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจก็จะติดตัวเขาไปจนตาย ตรงนี้ฝากสื่อให้ความรู้แก่ประชาชนบ้าง ขอให้สื่อใจเย็นและให้สติปัญญากับประชาชน อย่าเร่งเร้า ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานรนรานไปหมด “
นายธานี ยืนยันว่า คณะกมธ.มีหน้าที่ตรวจสอบแต่ไม่มีอำนาจในการสั่งหรือก้าวก่าย และพนักงานอัยการจะนำผลการศึกษาของกมธ.ไปใช้สั่งสำนวนไม่ได้ แต่หากอัยการสงสัยก็จะสั่งให้พนักงานสอบสวนไปสอบสวนในประเด็นนั้นๆเพิ่มเติม และไม่มีการตัดสินชี้ถูกชี้ผิด
ถามต่อว่าทำไมกมธ.ถึงเรียกพยาน 2 ปาก ซึ่งอัยการตีตกพยานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2555 แล้ว นายธานี กล่าวว่า มีการกล่าวอ้างชื่อในคำร้องของนายวรยุทธว่าการไม่ฟังพยาน 2 ปากนี้ ถือว่าไม่ชอบด้วยกฏหมายและไม่เป็นธรรม
ถามอีกว่า นายสมัคร เชาวภานันท์ ทนายความประจำตัวของตระกูลอยู่วิทยา และอดีตส.ว. เคยร่วมทำงานกับพล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ในกมธ.การยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา ปี 51 ซึ่งมีกระแสข่าวว่าเป็นผู้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อกมธ.กฏหมาย สนช. ปี 57 ซึ่งพล.ร.อ.ศิษฐวัชร เป็นประธาน นายธานี กล่าวว่า เท่าที่ทราบ นายธนิต คือทนายความที่รับมอบอำนาจให้มายื่นเรื่องร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว ส่วนจะเป็นตัวแทนนายสมัครหรือไม่ ไม่ทราบ ตั้งแต่ตนเป็นกมธ.ยืนยันไม่เคยเจอนายสมัคร
นอกจากนี้ นายธานี ยังระบุอีกว่า กรณีพล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร อดีตผบช.น. และ อดีตสนช. ออกมาเปิดเผยว่าในชั้นกมธ.ได้ตีตกเรื่องนี้ไปแล้ว นั้น เป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะสนช.มีงานเยอะ พล.ต.ท.ศานิตย์จึงอาจสับสนได้ และย้ำว่ากมธ.ไม่เคยชี้ขาด พร้อมยืนยันว่าไม่มีการทำความเห็นให้อัยการส่งสำนวนไปยังตำรวจเพื่อทบทวนอีกครั้ง
นายธานี ยอมรับว่าผลการศึกษาเรื่องความเร็วของกมธ. ตรงข้ามกับหลักฐานเมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นที่สงสัยของตนและกมธ.เช่นกัน แต่ก็ไม่มีผู้มาร้องเรียนหลังเจ้าพนักงานทำรายงานต่อหน้าผู้บังคับบัญชา และตัวผู้เชี่ยวชาญที่มาศึกษาก็มีความรู้ความสามารถทำคดีมาหลายคดี มีต้นทุนทางสังคม
ส่วนสภาพของรถที่หลายคนสันนิษฐานว่ายับเยินมากกว่าความเร็วที่ 76กม.ต่อชม. นายธานี ชี้แจงว่า จากรายงานให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องมวลของรถเฟอร์รี่ที่หนัก และรถมอเตอร์ไซค์มีมวลรถที่เบา ส่วนหากวิ่งด้วยความเร็วดังกล่าวแล้วทำไมนายวรยุทธถึงมองไม่เห็น ลากร่างผู้เสียชีวิตถึง 200 เมตรนั้น อาจมีรถกระบะมาบังจึงมองไม่เห็นคนที่ถูกชน และมีการสันนิษฐานเป็นสองประเด็น คือ รถเบรกแล้วแต่ไม่มีรอยเพราะด้วยประสิทธิภาพของรถหรู หรือมีความเป็นไปได้ว่าไม่เบรก ส่วนเรื่องยาเสพติดในตัวนายวรยุทธไม่มีการร้องเรื่องนี้เข้ามา ดังนั้น กมธ.จึงไม่ได้มีการตรวจสอบ
เมื่อถามย้ำว่ามีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายหรือไม่ นายธานี กล่าวว่า ผู้เสียหายไม่ได้ร้องมาที่สนช. และจากบันทึกของตำรวจนายวรยุทธได้มีการเยียวยาให้กับครอบครัวผู้ตายไปแล้ว อีกทั้งญาติก็ไม่ได้ร้องว่าไม่ได้รับเงินเยียวยา ถามว่าจะให้สอบประเด็นอะไร เท่าที่ดูข่าวเขาก็ได้รับค่าเสียหายไปแล้วจริงและไม่ติดใจ ที่สำคัญทางญาติก็ไม่ได้นั่งรถไปกับผู้เสียชีวิตและเห็นเหตุการณ์ หากไม่เรียกมาจะถือว่ากมธ.ผิด อย่าอคติกับกมธ.ว่าช่วยนายวรยุทธ เพราะไม่รู้จะช่วยไปทำไม ยืนยันว่ากมธ.ให้ความช่วยเหลือทั้งสองฝ่าย
“ผมอยากจะเตือนสติสังคมว่าไปย้อนดูว่ามีกี่สื่อ กี่ฉบับที่เมื่อศาลพิพากษาแล้ว หรือยกฟ้อง แล้วมีคนตกเป็นจำเลยตามที่สื่อเสนอ แล้วสื่อไปขอโทษด้วยจิตวิญญาณของวิชาชีพ เขาเสียหายขนาดไหน อยากจะเตือนสติไว้บ้างว่าเราเองขายข่าวได้เป็นประเด็น แต่ต้องมีสติ ให้สังคมได้พัฒนา หยิบเอาประเด็นมาเป็นจินตนาการแบบนั้นแบบนี้ เมื่อเขาพิสูจน์ได้ ก็เงียบไป ไม่เห็นมีสื่อไหนถือดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา ขอเถอะ ขอให้มีสติให้สังคมพัฒนาขึ้น ปฏิรูปสื่อสักที” นายธานี กล่าว
ถามทิ้งทายว่าเรื่องนี้มีการโยงไปถึงพล.ร.อ.ศิษฐวัชร ซึ่งเป็นน้องชายของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นการจินตนาการใช่หรือไม่ นายธานี กล่าวว่า คงอย่างนั้น อย่าไปผูกโยงว่าคนตระกูลนี้ผิดไปหมด มันไม่ใช่ ถ้าเขาไม่ทำตามอำนาจหน้าที่ ก็อย่าเหมารวม เพราะมันไม่เป็นธรรม
คกก.ยันโปร่งใส-ไม่มีฟอกขาว
พล.ต.อ. ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการตครวจสอบข้อเท็จจริง ครั้งที่ 1/2563 ว่า ในการประชุมครั้งแรกได้มีกรอบการพิจารณาข้อเท็จจริงขั้นตอนดำเนินคดีอาญาของนายวรยุทธ์ อยู่วิทยา 3 กรอบ ประกอบด้วย 1.การสอบสวนและความเห็นชั้นพนักงานสอบสวน 2.การสอบสวนเพิ่มเติมตามคำสั่งพนักงานอัยการ 3.การดำเนินการพิจารณาความเห็นตามป.วิอาญามาตรา 145/1 ทั้งนี้ได้มีการแบ่งหน้าที่ทำงานให้คณะกรรมการแต่ละส่วนรับไปดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง โดยหลังจากนี้จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ในส่วนของตำรวจเข้ามาสอบถามในคณะกรรมการทุกท่าน โดยจะพิจารณาการดำเนินการของตำรวจที่รับผิดชอบตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการว่าได้ดำเนินการถูกต้อง ตามระเบียบหรือไม่
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำความผิดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1.การกระทำความผิดที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 2.การกระทำความผิดด้านวินัย ซึ่งทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาด ให้เสนอท่านว่าใครกระทำความผิดบ้าง ด้านอาญาก็ให้ส่งทางป.ป.ช. ส่วนทางวินัยก็ให้ลงทัณฑ์ทันที ซึ่งเมื่อปี 2559 สมัยผมเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเคยตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้แล้ว พบว่าได้กระทำผิดละเว้นการปฏิบัติในบางขั้นตอน ซึ่งได้ส่งเรื่องไปที่ป.ป.ช.แล้ว และป.ป.ช.ได้มีมติออกมาแล้วว่าเป็นการกระทำความผิดวินัย และได้ส่งกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้ลงโทษกักขัง ภาคทัณฑ์ไปแล้วหลายราย และยุติเรื่องในบางท่านที่ได้เกษียณอายุไปแล้ว
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวอีกว่า พนักงานสอบสวนไม่เกี่ยวข้องกับพยานใหม่ 2 ปาก เนื่องจากอัยการเป็นฝ่ายมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวน สอบปากคำเพิ่ม หลังผู้ต้องหายื่นร้องขอความเป็นธรรมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พนักงานสอบสวนจึงทำตามขั้นตอนที่อัยการกำหนดเท่านั้น โดยไม่สามารถก้าวล่วงกับการให้น้ำหนักของพยาน 2 ปากนี้ พร้อมยอมรับว่า ที่ผ่านมา คดีร้อยละ 97 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความเห็นไม่แย้ง มีเพียงร้อยละ 3 ที่เห็นแย้ง โดยทั่วไปผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบคดีตามเขตอำนาจของพนักงานอัยการ จึงสามารถมีความเห็นแย้งหรือไม่แย้งคดีได้
"คณะกรรมการชุดนี้ไม่ใช่การฟอกขาว การไม่แย้งคำสั่งอัยการของ พลตำรวจโท เพิ่มพูน แต่จะทำข้อเท็จจริงให้ปรากฎต่อสาธารณชนและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย" พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าว
อย่างไรก็ตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ จะไม่มีผลต่อคดีความ เพราะคดีสิ้นสุดแล้ว หลังตำรวจมีความเห็นไม่ฟ้อง 1 ข้อหา และสั่งฟ้องข้อหาอื่นทั้งหมด และจะไม่เกี่ยวข้องกับผลการตรวจสอบของอัยการสูงสุด แต่หากพบว่ามีการใช้ดุพินิจไม่ชอบ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาความผิดทางวินัยและอาญาต่อไปสำหรับคดีนี้แม้ทางกระบวนการของตำรวจจะเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ครอบครัวผู้เสียหายยังสามารถฟ้องร้องคดีต่อศาลได้เองตามกระบวนการยุติธรรม
คนไทย 91.1% เชื่อพึ่งพากระบวนการยุติธรรมไม่ได้
นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการ มูลนิธิ เมาไม่ขับ ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ยุติธรรมพึ่งได้หวังได้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,281 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 26 - 28 ก.ค. 63 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.2 ต้องการให้ อัยการ และตำรวจ ออกมาชี้แจง กรณีสั่งไม่ฟ้องคดี "บอส อยู่วิทยา" โดยร้อยละ 87.7 ระบุ ฝ่ายการเมือง นักการเมือง เชิญอัยการและตำรวจชี้แจง เป็นการซื้อเวลา ลดกระแส ขณะที่ร้อยละ 12.3 ระบุจริงใจแก้ปัญหา
ส่วนประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ความเห็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.1 ระบุพึ่งพากระบวนการยุติธรรมไม่ได้ ร้อยละ 86.6 รู้สึกหมดหวังต่อกระบวนการยุติธรรมไทย ร้อยละ 82.5 เศร้าใจ เป็นทุกข์ ร้อยละ 82.3 อับอายไปทั่วโลก และร้อยละ 65.5 สูญเสียความภูมิใจในความเป็นคนไทย
กมธ.ตำรวจ สภาฯเรียก"3 บิ๊กตร."ชี้แจง
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ส.ส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย ในฐานะโฆษก กมธ.ตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงเรื่องนี้ว่า กมธ.ตำรวจ เห็นว่ากรณีนี้ มีความสำคัญ ประชาชนให้ความสนใจ รวมทั้งมีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้กมธ.ตำรวจ ได้รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ทำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคดี รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินการของพนักงานสอบสวน ว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ การประชุม กมธ.ตำรวจ ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา จะมีการเชิญ บุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผบ.ตร. , รอง ผบ.ตร. ที่กำกับดูแลงานด้านกฎหมายและคดี และผบช.น. มาให้ข้อมูลพร้อมขอเอกสารรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและสังคมได้รับทราบกระบวนการทั้งหมด
ร้องศาลไต่สวนก่อนเพิกถอนหมายจับ
วันเดียวกันนี้ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่ออธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้ กรณีคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง โดยขอให้มีการเปิดไต่สวน ก่อนที่จะอนุมัติการถอนหมายจับ เพราะมีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของสังคม เพราะข้อมูลแตกต่างกันมาก อาทิ เรื่องความเร็วของรถ หรือ ก่อนหน้านั้นคดีนี้มีนายวรยุทธเป็นผู้ต้องหาเพียงรายเดียว แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น นายดาบตำรวจ ตกเป็นผู้ต้องหาที่ 2 รวมถึงมีการเพิ่มพยานที่เห็นเหตุการณ์เข้ามาอีก 2 คน และพยานคนนึงก็สนิทกับครอบครัวของผู้ต้องหา มาให้ปากคำหลังจากผ่านเหตุการณ์ไปแล้ว 7-8 ปี