ผู้จัดการรายวัน360-กรมทางหลวงชนบท ผุด 2 โปรเจ็กต์ ”สะพานโกลเด้นเกท” และ ”อุโมงค์ลอดทะเล” ข้ามทะเลอันดามันเชื่อมเกาะลันตาน้อย และข้ามทะเลหลวงเชื่อม”สงขลา-พัทลุง” สร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ย่น เวลา ระยะทาง หนุนท่องเที่ยว ศึกษาเสร็จปี 64 คาดก่อสร้างปี 66
นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทช.ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นรายละเอียด (EIA) โครงการก่อสร้างสะพาน 2 โครงการ คือ สะพานข้ามทะเล อันดามันเชื่อมแผ่นดินใหญ่-เกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ ระยะทางประมาณ 1.5 กม.โดยตั้งงบศึกษาปี 2563 จำนวน 25 ล้านบาท เบื้องต้นประเมินค่าก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาทเศษ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปีครึ่ง
อีกโครงการคือ การก่อสร้างสะพานข้ามทะเลหลวง เชื่อมระหว่างจังหวัดสงขลา-จังหวัดพัทลุง ระยะทางประมาณ 6 กม. ตั้งงบศึกษาปี 2563 จำนวน 29 ล้านบาท เบื้องต้นประเมินค่าก่อสร้างประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการจะศึกษาแล้วเสร็จกลางปี 2564 และปี 2565 จะเสนอของบประมาณเพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะก่อสร้างได้ปี 2566
ส่วนแนวคิดในการก่อสร้างสะพานทั้ง 2 โครงการนั้น จะศึกษาเปรียบเทียบความเหมาะสมใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.สะพานแขวน หรือที่เรียกว่า สะพานโกลเด้นเกท 2.สะพานขึง ซึ่งรูปแบบเดียวกับสะพานพระราม9 และ 3. อุโมงค์ลอดใต้ทะเล ซึ่งจะเป็นการหล่อชิ้นส่วนของอุโมงค์ และนำไปวางต่อเชื่อมกันเหนือพื้นดินใต้ทะเล เป็นเทคนิคเรียกว่า immersed tube ขณะที่ต้นทุนในการก่อสร้างไม่ต่างกันมากนัก สำหรับ รูปแบบสะพานแขวน(สะพานโกลเด้นเกท) มีความเป็นไปได้เนื่องจากพื้นที่มีภูเขาทั้ง 2 ฝั่ง สามารถทำสมอยึดถ่วงตัวสะพานแขวนได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทช.ได้มีการศึกษา โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนเชื่อมต่อบริเวณ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ-จ.สมุทรสาคร โดยจะก่อสร้างรูปแบบ สะพานโกลเด้นเกท แต่พบว่า พื้นที่เป็นดินอ่อน การยึดถ่วงสะพานจะต้องก่อสร้างตึกลึกลงไปใต้ดินอย่างน้อย 7 ชั้น เพื่อเป็นจุดยึดถ่วง ซึ่งมีต้นทุนสูงมากจึงต้องปรับรูปแบบเป็นสะพานขึงแทน ดังนั้นหากสะพานข้ามทะเลอันดามัน เชื่อมแผ่นดินใหญ่-เกาะลันตาน้อย สรุปว่าจะใช้รูปแบบสะพานแขวน จะเป็นสะพานโกลเด้นเกท แห่งแรกของไทย
ปัจจุบันการเดินทางจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะลันตาน้อย จะใช้แพขนานยนต์ มีคิวต่อแถวยาวประมาณ 2 กิโลเมตร โดยต้องใช้เวลาข้ามฝั่ง 1-2 ชั่วโมง การเดินทางมีข้อจำกัด เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้มากขึ้น
ส่วนสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา บริเวณทะเลหลวงนั้น จะช่วยย่นเวลาในการเดินทางระหว่างจังหวัดสงขลา-พัทลุง ได้กว่า 2 ชั่วโมง หรือย่นระยะทางได้ถึง 90 กม.
นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทช.ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นรายละเอียด (EIA) โครงการก่อสร้างสะพาน 2 โครงการ คือ สะพานข้ามทะเล อันดามันเชื่อมแผ่นดินใหญ่-เกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ ระยะทางประมาณ 1.5 กม.โดยตั้งงบศึกษาปี 2563 จำนวน 25 ล้านบาท เบื้องต้นประเมินค่าก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาทเศษ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปีครึ่ง
อีกโครงการคือ การก่อสร้างสะพานข้ามทะเลหลวง เชื่อมระหว่างจังหวัดสงขลา-จังหวัดพัทลุง ระยะทางประมาณ 6 กม. ตั้งงบศึกษาปี 2563 จำนวน 29 ล้านบาท เบื้องต้นประเมินค่าก่อสร้างประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการจะศึกษาแล้วเสร็จกลางปี 2564 และปี 2565 จะเสนอของบประมาณเพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะก่อสร้างได้ปี 2566
ส่วนแนวคิดในการก่อสร้างสะพานทั้ง 2 โครงการนั้น จะศึกษาเปรียบเทียบความเหมาะสมใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.สะพานแขวน หรือที่เรียกว่า สะพานโกลเด้นเกท 2.สะพานขึง ซึ่งรูปแบบเดียวกับสะพานพระราม9 และ 3. อุโมงค์ลอดใต้ทะเล ซึ่งจะเป็นการหล่อชิ้นส่วนของอุโมงค์ และนำไปวางต่อเชื่อมกันเหนือพื้นดินใต้ทะเล เป็นเทคนิคเรียกว่า immersed tube ขณะที่ต้นทุนในการก่อสร้างไม่ต่างกันมากนัก สำหรับ รูปแบบสะพานแขวน(สะพานโกลเด้นเกท) มีความเป็นไปได้เนื่องจากพื้นที่มีภูเขาทั้ง 2 ฝั่ง สามารถทำสมอยึดถ่วงตัวสะพานแขวนได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทช.ได้มีการศึกษา โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนเชื่อมต่อบริเวณ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ-จ.สมุทรสาคร โดยจะก่อสร้างรูปแบบ สะพานโกลเด้นเกท แต่พบว่า พื้นที่เป็นดินอ่อน การยึดถ่วงสะพานจะต้องก่อสร้างตึกลึกลงไปใต้ดินอย่างน้อย 7 ชั้น เพื่อเป็นจุดยึดถ่วง ซึ่งมีต้นทุนสูงมากจึงต้องปรับรูปแบบเป็นสะพานขึงแทน ดังนั้นหากสะพานข้ามทะเลอันดามัน เชื่อมแผ่นดินใหญ่-เกาะลันตาน้อย สรุปว่าจะใช้รูปแบบสะพานแขวน จะเป็นสะพานโกลเด้นเกท แห่งแรกของไทย
ปัจจุบันการเดินทางจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะลันตาน้อย จะใช้แพขนานยนต์ มีคิวต่อแถวยาวประมาณ 2 กิโลเมตร โดยต้องใช้เวลาข้ามฝั่ง 1-2 ชั่วโมง การเดินทางมีข้อจำกัด เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้มากขึ้น
ส่วนสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา บริเวณทะเลหลวงนั้น จะช่วยย่นเวลาในการเดินทางระหว่างจังหวัดสงขลา-พัทลุง ได้กว่า 2 ชั่วโมง หรือย่นระยะทางได้ถึง 90 กม.