เจอโควิดเพิ่ม 4 ราย กลับจากนอก ผลแล็บยัน “หญิงวัย 31” ไม่ติดเชื้อ ป่วยปอดอักเสบ “ฝ่ายค้าน” ยื่นญัตติด่วน ถกแก้ปม "วีไอพี" นำเชื้อโควิดเข้าไทย จวกรัฐให้สิทธิพิเศษ แต่หละหลวม เย้ย "ไทยชนะ" ถูกอียิปต์ถล่มพัง
วานนี้ (16 ก.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด-19 ประจำวันว่า วันนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4 ราย เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้าพักในสถานเฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ โดยมาจาก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ราย อียิปต์ 1รายและสหรัฐอเมริกา 1 ราย รักษาหายเพิ่ม 3 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ผู้ป่วยสะสม 3,236 ราย มาจาก State Quarantine 299 ราย หายป่วยรวม 3,095 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย รักษาใน รพ. 83 ราย
ส่วนความคืบหน้ากรณีผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 31 ปี มีอาการปอดอักเสบและถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากสงสัยว่าอาจติดเชื้อโควิด-19 นั้น นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ยืนยันว่า ผลแล็บของผู้ป่วยหญิงไทยจาก สถาบันบำราศนราดูร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล็บที่ รพ. เอกชน ส่งไปตรวจ และแล็บจาก รพ.ศิริราช ยืนยันตรงกันทั้ง 4 แห่งว่าไม่พบเชื้อ
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทยได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาเพื่อให้สภาฯพิจารณาหาแนวทาง และมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กรณีที่ ศบค.ได้อนุญาตให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ทำให้เกิดปัญหาขึ้นที่ จ.ระยอง และกทม.
นพ.ชลน่าน อภิปรายว่า ทุกกระแสสังคมมุ่งไปที่การกลัวการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ประชาชนกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก จากกรณีของทหารอียิปต์ และกรณีของลูกสาวอุปทูตซูดาน ทำให้กำลังเป็นที่จับตามองว่า จะมีการนำเชื้อเข้ามาในประเทศ และจะระบาดกันเองในประเทศหรือไม่ ซึ่งเหตุการณ์นี้สร้างความตื่นตระหนก กับประชาชนอย่างมาก จ.ระยอง มีการควบคุมป้องกันอย่างดี ปลอดเชื้อมา 102 วัน แต่ถูกมาตรการของรัฐสั่งโดยใครไม่ทราบ ปิดโรงเรียน 274 แห่ง ห้างสรรพสินค้าอย่างน้อย 2 แห่ง และอาคารสถานที่ต่างๆ ทำให้สภาวะเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายเฟส 5 เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ต่อมาเพียง 8 วัน ก็ออกผลเลย
“การท่องเที่ยวถูกยกเลิกร้อยละ 90 ทุกอย่างหยุดชะงัก กรณีลูกสาวอุปทูตซูดาน ก็ไม่ต่างกัน เพราะได้สิทธิพิเศษทางการทูต เมื่อตรวจหาเชื้อแล้ว ก็ได้กลับไปกักกันตัวที่บ้านพัก แต่มันไม่เป็นอย่างนั้น เพราะกลับไปพักที่โรงแรมที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ ทำไมถึงปล่อยไปได้” นพ.ชลน่าน กล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ต้นเหตุของเรื่องนี้เกิดจากข้อกำหนด ฉบับที่ 12.ของ ศบค. ที่กำหนดให้อนุญาตผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย 11 ประเภท รวมถึงคำสั่ง ศบค.ที่ 7/2563 เกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางการทูต ได้รับข้อยกเว้นให้เดินทางเข้ามาในไทยได้ ตนเห็นด้วย แต่ต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการเฝ้าระวังควบคุมโรค ถ้าเป็นบุคคลพิเศษ ก็ต้องมีมาตรการที่พิเศษด้วย และต้องเท่ากับมาตรการที่ใช้กับประชาชนทั่วไป เช่น ควบคุมได้ใน 14 วัน อยู่ กินอย่างไร ไปที่ไหน
“อย่ามาอ้างไทยชนะ ไอไทยชนะนี่แหล่ะ โดนอียิปต์ถล่มซะพังตายหมดเลย มีประโยชน์อะไร ถ้ามีประโยชน์จะนำไทยชนะมาจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร มีการติดตามอย่างไร ทำให้เห็นว่า มีการเขียนกฎไว้ แต่ผู้ปฏิบัติไม่ปฏิบัติตามระบบ ขาดการตัดสินใจที่ชัดเจน ผู้บังคับบัญชาไม่กำกับดูแล อย่าไปโทษเจ้าหน้าที่ ต้องโทษผู้อำนวยการ ศบค. ที่ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้น" นพ.ชลน่าน กล่าว
อีกด้าน ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมการแพทย์ทหารอากาศ พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวถึงกรณีการเปิดน่านฟ้าให้กองทัพอากาศต่างประเทศเข้ามาแวะพักเครื่องบินในประเทศช่วงสถานการณ์การแพทย์ระบาดไวรัสโควิด-19 หลังเกิดกรณีทหารอียิปต์ติดโควิด-19 ว่า การเปิดน่านฟ้าถือเป็นเรื่องปกติให้กับอากาศยานต่างประเทศที่ต้องการใช้ เพราะเป็นเรื่องกิจการสากล และกติกาสากล ที่ประเทศทั่วโลกต้องเปิดให้สามารถมีการสัญจรไปมาตามปกติ แต่ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่รัดกุม
“ตามกติกาสากล ประเทศใดที่มีความจำเป็นต้องผ่านน่านฟ้าเราก็ต้องเปิดให้ภายใต้กติกาที่รัดกุม ยอมรับว่าก่อนเกิดกรณีทหารอียิปก็มีอากาศยานของทหารชาติอื่นมาแวะขอเติมน้ำมัน เพียงแต่ไม่ทำให้เกิดปัญหา เพราะทุกคนรู้กรอบปฏิบัติ และทราบว่าประเทศเรากำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” พล.อ.อ.มานัต ระบุ
ขณะที่ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ที่แจ้งมาอยู่ในบัญชีขององค์การอนามัยโลก กลางเดือน ก.ค.และอยู่ในการทดลองในมนุษย์แล้ว มีถึง 23 ตัว และอยู่ระหว่างการทดสอบระยะที่ 3 มี 2 ชนิด เป็นของจีน และที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นการทดสอบระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีของจีน และของอเมริกา ที่มีการเผยแพร่ในวารสารแล้ว และยังมีหลายชนิดที่ทดลองในคน ส่วนวัคซีนที่อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ มีทั้งหมด 140 ชนิด มีของประเทศไทย อยู่ 4 ชนิด เป็นของจุฬาฯ 2 ชนิด ภาคเอกชน Bionet Asia 1 ชนิด และมหิดลร่วมกับองค์การเภสัช อีก 1 ชนิด
วานนี้ (16 ก.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด-19 ประจำวันว่า วันนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4 ราย เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้าพักในสถานเฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ โดยมาจาก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ราย อียิปต์ 1รายและสหรัฐอเมริกา 1 ราย รักษาหายเพิ่ม 3 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ผู้ป่วยสะสม 3,236 ราย มาจาก State Quarantine 299 ราย หายป่วยรวม 3,095 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย รักษาใน รพ. 83 ราย
ส่วนความคืบหน้ากรณีผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 31 ปี มีอาการปอดอักเสบและถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากสงสัยว่าอาจติดเชื้อโควิด-19 นั้น นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ยืนยันว่า ผลแล็บของผู้ป่วยหญิงไทยจาก สถาบันบำราศนราดูร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล็บที่ รพ. เอกชน ส่งไปตรวจ และแล็บจาก รพ.ศิริราช ยืนยันตรงกันทั้ง 4 แห่งว่าไม่พบเชื้อ
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทยได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาเพื่อให้สภาฯพิจารณาหาแนวทาง และมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กรณีที่ ศบค.ได้อนุญาตให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ทำให้เกิดปัญหาขึ้นที่ จ.ระยอง และกทม.
นพ.ชลน่าน อภิปรายว่า ทุกกระแสสังคมมุ่งไปที่การกลัวการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ประชาชนกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก จากกรณีของทหารอียิปต์ และกรณีของลูกสาวอุปทูตซูดาน ทำให้กำลังเป็นที่จับตามองว่า จะมีการนำเชื้อเข้ามาในประเทศ และจะระบาดกันเองในประเทศหรือไม่ ซึ่งเหตุการณ์นี้สร้างความตื่นตระหนก กับประชาชนอย่างมาก จ.ระยอง มีการควบคุมป้องกันอย่างดี ปลอดเชื้อมา 102 วัน แต่ถูกมาตรการของรัฐสั่งโดยใครไม่ทราบ ปิดโรงเรียน 274 แห่ง ห้างสรรพสินค้าอย่างน้อย 2 แห่ง และอาคารสถานที่ต่างๆ ทำให้สภาวะเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายเฟส 5 เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ต่อมาเพียง 8 วัน ก็ออกผลเลย
“การท่องเที่ยวถูกยกเลิกร้อยละ 90 ทุกอย่างหยุดชะงัก กรณีลูกสาวอุปทูตซูดาน ก็ไม่ต่างกัน เพราะได้สิทธิพิเศษทางการทูต เมื่อตรวจหาเชื้อแล้ว ก็ได้กลับไปกักกันตัวที่บ้านพัก แต่มันไม่เป็นอย่างนั้น เพราะกลับไปพักที่โรงแรมที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ ทำไมถึงปล่อยไปได้” นพ.ชลน่าน กล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ต้นเหตุของเรื่องนี้เกิดจากข้อกำหนด ฉบับที่ 12.ของ ศบค. ที่กำหนดให้อนุญาตผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย 11 ประเภท รวมถึงคำสั่ง ศบค.ที่ 7/2563 เกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางการทูต ได้รับข้อยกเว้นให้เดินทางเข้ามาในไทยได้ ตนเห็นด้วย แต่ต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการเฝ้าระวังควบคุมโรค ถ้าเป็นบุคคลพิเศษ ก็ต้องมีมาตรการที่พิเศษด้วย และต้องเท่ากับมาตรการที่ใช้กับประชาชนทั่วไป เช่น ควบคุมได้ใน 14 วัน อยู่ กินอย่างไร ไปที่ไหน
“อย่ามาอ้างไทยชนะ ไอไทยชนะนี่แหล่ะ โดนอียิปต์ถล่มซะพังตายหมดเลย มีประโยชน์อะไร ถ้ามีประโยชน์จะนำไทยชนะมาจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร มีการติดตามอย่างไร ทำให้เห็นว่า มีการเขียนกฎไว้ แต่ผู้ปฏิบัติไม่ปฏิบัติตามระบบ ขาดการตัดสินใจที่ชัดเจน ผู้บังคับบัญชาไม่กำกับดูแล อย่าไปโทษเจ้าหน้าที่ ต้องโทษผู้อำนวยการ ศบค. ที่ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้น" นพ.ชลน่าน กล่าว
อีกด้าน ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมการแพทย์ทหารอากาศ พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวถึงกรณีการเปิดน่านฟ้าให้กองทัพอากาศต่างประเทศเข้ามาแวะพักเครื่องบินในประเทศช่วงสถานการณ์การแพทย์ระบาดไวรัสโควิด-19 หลังเกิดกรณีทหารอียิปต์ติดโควิด-19 ว่า การเปิดน่านฟ้าถือเป็นเรื่องปกติให้กับอากาศยานต่างประเทศที่ต้องการใช้ เพราะเป็นเรื่องกิจการสากล และกติกาสากล ที่ประเทศทั่วโลกต้องเปิดให้สามารถมีการสัญจรไปมาตามปกติ แต่ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่รัดกุม
“ตามกติกาสากล ประเทศใดที่มีความจำเป็นต้องผ่านน่านฟ้าเราก็ต้องเปิดให้ภายใต้กติกาที่รัดกุม ยอมรับว่าก่อนเกิดกรณีทหารอียิปก็มีอากาศยานของทหารชาติอื่นมาแวะขอเติมน้ำมัน เพียงแต่ไม่ทำให้เกิดปัญหา เพราะทุกคนรู้กรอบปฏิบัติ และทราบว่าประเทศเรากำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” พล.อ.อ.มานัต ระบุ
ขณะที่ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ที่แจ้งมาอยู่ในบัญชีขององค์การอนามัยโลก กลางเดือน ก.ค.และอยู่ในการทดลองในมนุษย์แล้ว มีถึง 23 ตัว และอยู่ระหว่างการทดสอบระยะที่ 3 มี 2 ชนิด เป็นของจีน และที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นการทดสอบระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีของจีน และของอเมริกา ที่มีการเผยแพร่ในวารสารแล้ว และยังมีหลายชนิดที่ทดลองในคน ส่วนวัคซีนที่อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ มีทั้งหมด 140 ชนิด มีของประเทศไทย อยู่ 4 ชนิด เป็นของจุฬาฯ 2 ชนิด ภาคเอกชน Bionet Asia 1 ชนิด และมหิดลร่วมกับองค์การเภสัช อีก 1 ชนิด