ผู้จัดการรายวัน360-กทท.ยุติเจรจา กลุ่ม GPC บอร์ดไฟเขียวผลตอบแทนสัมปทาน แหลมฉบังเฟส 3 เพิ่มอีกกว่า 100% ขยับเกือบถึงราคากลาง 3.2 หมื่นล. ชงบอร์ดอีอีซี ชี้ขาด ก.ค. นี้ กก.คัดเลือกฯมั่นใจเจรจาให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด คาดลงนามเร็วๆนี้ ขณะที่เร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งมอบใน 2 ปีหลังเซ็นสัญญา
แหล่งข่าวจาก การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ว่า ขณะนี้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯได้เจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC (ประกอบด้วย บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ในกลุ่มบมจ.ปตท (PTT), บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) , บริษัท China Harbour Engineering Commpany Limited) ได้ข้อยุติแล้ว และที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) กทท. เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ที่ผ่านมาได้รับทราบผลการเจรจาแล้ว โดยภายในสัปดาห์นี้ กทท.ได้สรุปเรื่องส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คาดว่าจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.หรือ บอร์ดอีอีซี) ได้ภายในเดือนก.ค.นี้
ทั้งนี้ จากที่เอกชนได้ยื่นเสนอผลตอบแทนที่ประมาณ 12,051 ล้านบาท โดยการเจรจาล่าสุด เอกชนได้ปรับเพิ่มผลตอบแทนให้รับขึ้นมากว่า 100 % แม้ยังต่ำกว่าผลตอบแทนที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติอยู่ที่ 32,225 ล้านบาท (ผลตอบแทนตลอดอายุสัมปทาน 35 ปี) แต่ผลตอบแทนที่สรุปได้นั้นถือว่าใกล้เคียงกับวงเงินที่รัฐต้องการ ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจาอย่างเต็มที่ พร้อมเสนอเหตุผลทั้งหมดประกอบเพื่อให้บอร์ดอีอีซีพิจารณาตัดสินใจ
“กรณีที่กทท.เจรจากับเอกชน ทั้งที่เสนอผลตอบแทนไม่ถึง วงเงินที่รัฐต้องการนั้นเป็นการดำเนินการตามประกาศฉบับที่ 2 ของ สกพอ. ส่วนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับบอร์ด อีอีซี กทท.ดำเนินการอย่างเต็มที่ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีอัตราผลตอบแทนการลงทุนทางการเงิน (FIRR) ทั้งโครงการ 5% ขณะที่ ในส่วนของท่าเทียบเรือ F นั้น มี FIRR 11% ขณะที่สถานการณ์โรคโควิด-19 ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอกชนประเมินว่า จะส่งผลกระทบ เพราะเศรษฐกิจทุกภาคส่วนปักหัวลงหมด และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเชิดหัวได้ “
ทั้งนี้ หลังจากครม.อนุมัติผลการประมูล กทท.จะต้องเจรจารายละเอียดสัญญากับเอกชน จากนั้นจึงจะเสนอครม.อีกครั้ง เพื่อขออนุมัติลงนามสัญญาต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาอีกระยะ โดยขณะนี้ร่างสัญญาเสร็จแล้วและอัยการได้ตรวจร่างแล้ว
ขณะเดียวกันกทท.จะต้องก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จและส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนผู้ชนะประมูล กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ภายใน 2 ปี หลังจากลงนามสัญญา
สำหรับ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนที่กทท.ดำเนินการเอง มี 4 ส่วน ได้แก่ 1. งานก่อสร้างทางทะเล วงเงิน22,000 ล้านบาท 2. งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค 6,700 ล้านบาท 3. งานก่อสร้างระบบรถไฟ 4. งานจัดหา ประกอบและติดตั้งเครื่องจักรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อสร้างไม่น้อยกว่า 52 เดือน ซึ่งประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) แล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบก่อนประกาศผลการประมูล
แหล่งข่าวจาก การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ว่า ขณะนี้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯได้เจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC (ประกอบด้วย บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ในกลุ่มบมจ.ปตท (PTT), บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) , บริษัท China Harbour Engineering Commpany Limited) ได้ข้อยุติแล้ว และที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) กทท. เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ที่ผ่านมาได้รับทราบผลการเจรจาแล้ว โดยภายในสัปดาห์นี้ กทท.ได้สรุปเรื่องส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คาดว่าจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.หรือ บอร์ดอีอีซี) ได้ภายในเดือนก.ค.นี้
ทั้งนี้ จากที่เอกชนได้ยื่นเสนอผลตอบแทนที่ประมาณ 12,051 ล้านบาท โดยการเจรจาล่าสุด เอกชนได้ปรับเพิ่มผลตอบแทนให้รับขึ้นมากว่า 100 % แม้ยังต่ำกว่าผลตอบแทนที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติอยู่ที่ 32,225 ล้านบาท (ผลตอบแทนตลอดอายุสัมปทาน 35 ปี) แต่ผลตอบแทนที่สรุปได้นั้นถือว่าใกล้เคียงกับวงเงินที่รัฐต้องการ ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจาอย่างเต็มที่ พร้อมเสนอเหตุผลทั้งหมดประกอบเพื่อให้บอร์ดอีอีซีพิจารณาตัดสินใจ
“กรณีที่กทท.เจรจากับเอกชน ทั้งที่เสนอผลตอบแทนไม่ถึง วงเงินที่รัฐต้องการนั้นเป็นการดำเนินการตามประกาศฉบับที่ 2 ของ สกพอ. ส่วนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับบอร์ด อีอีซี กทท.ดำเนินการอย่างเต็มที่ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีอัตราผลตอบแทนการลงทุนทางการเงิน (FIRR) ทั้งโครงการ 5% ขณะที่ ในส่วนของท่าเทียบเรือ F นั้น มี FIRR 11% ขณะที่สถานการณ์โรคโควิด-19 ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอกชนประเมินว่า จะส่งผลกระทบ เพราะเศรษฐกิจทุกภาคส่วนปักหัวลงหมด และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเชิดหัวได้ “
ทั้งนี้ หลังจากครม.อนุมัติผลการประมูล กทท.จะต้องเจรจารายละเอียดสัญญากับเอกชน จากนั้นจึงจะเสนอครม.อีกครั้ง เพื่อขออนุมัติลงนามสัญญาต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาอีกระยะ โดยขณะนี้ร่างสัญญาเสร็จแล้วและอัยการได้ตรวจร่างแล้ว
ขณะเดียวกันกทท.จะต้องก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จและส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนผู้ชนะประมูล กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ภายใน 2 ปี หลังจากลงนามสัญญา
สำหรับ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนที่กทท.ดำเนินการเอง มี 4 ส่วน ได้แก่ 1. งานก่อสร้างทางทะเล วงเงิน22,000 ล้านบาท 2. งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค 6,700 ล้านบาท 3. งานก่อสร้างระบบรถไฟ 4. งานจัดหา ประกอบและติดตั้งเครื่องจักรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อสร้างไม่น้อยกว่า 52 เดือน ซึ่งประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) แล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบก่อนประกาศผลการประมูล