ส.อ.ท.เผยผลสำรวจการจ้างงาน หลังโควิด-19 จากสมาชิก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม กว่า 55.6% ยังคงการจ้างงานเท่าเดิม ขณะที่ 14 กลุ่มอุตฯ หรือ 31% จ้างงานลดลง โดยอุตสาหกรรมดิจิทัล ยืนหนึ่งจ้างงานเพิ่ม และนายจ้าง มุ่งเน้นลดขนาดองค์กร
นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้สำรวจสถานการณ์การจ้างงาน ในช่วงวิกฤตโควิด-19 และแนวทางการปรับการจ้างงานในอนาคต จากกลุ่มตัวอย่างใน 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. พบว่า ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีกลุ่มอุตฯ ที่มีการลดเวลาทำงาน สลับเวลาทำงาน เลิกจ้างบางส่วน จำนวน 20 กลุ่ม คิดเป็น 44.4% และมีกลุ่มอุตฯ ที่ยังสามารถคงการจ้างงานเท่าเดิม 25 กลุ่ม คิดเป็น 55.6% ส่วนความต้องการแรงงานภายหลังโควิด-19 มีกลุ่มอุตฯ ที่มีความต้องการแรงงานลดลง 14 กลุ่ม คิดเป็น 31.% มีกลุ่มอุตฯ ที่ต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น 1 กลุ่ม คิดเป็น 2.2% และมีกลุ่มอุตฯ ที่มีความต้องการแรงงานเท่าเดิม 30 กลุ่ม คิดเป็น 66.7%
"อุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ในเบื้องต้นได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของโลกที่กำลังมุ่งสู่ยุคดิจิทัล แม้ว่าหลังโควิด-19 บริษัททุกขนาด ยังคงมีแนวโน้มการจ้างงานลดลง แต่มีอัตราส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 และคาดว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป น่าจะเพิ่มขึ้นในระดับ 4-10% " นายสุชาติ กล่าว
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน ยังได้ผลสำรวจแนวทางการปรับตัวการจ้างงานในอนาคต พบว่า กลุ่มอุตฯ ได้ให้ความสำคัญกับการลดขนาดองค์กร และนำเทคโนโลยีมาใช้งานให้มากขึ้นเป็นลำดับ 1 คิดเป็น 32.2% ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ การจ้างค่าจ้างเพิ่ม เพื่อให้ได้แรงงานที่มีทักษะหลากหลาย (Multi Skills)คิดเป็น 19.5% อันดับ 3 ได้แก่ การปรับรูปแบบการจ้างงานให้มีความยืดหยุ่น เช่นจ้างรายชั่วโมง 17.8 % อันดับ 4. การลดการจ้างลูกจ้างประจำ และมาใช้ outsourceแทน 15.5% อันดับ 5. อื่นๆได้แก่ เน้นตลาดออนไลน์ ปรับฐานเงินเดือน 6. การแชร์หรือแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างอุตสาหกรรม 4.6% และ 7. ลดการใช้แรงงานต่างด้าว 1.2%
ทั้งนี้ จากผลสำรวจยังระบุว่าช่วงโควิด-19 บริษัทขนาดย่อม (รายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท/แรงงานไม่เกิน 50 คน) บริษัทขนาดกลาง (รายได้ระหว่าง 100-500 ล้านบาท/ แรงงาน 51-200 คน) มีการจ้างงานลดลง กว่า 50% ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ (รายได้มากกว่า 500 ล้านบาท /แรงงานมากกว่ 200 คน ) มีการลดการจ้างงานลงประมาณ 1 ใน 4 ซึ่งจะเห็นว่าบริษัทขนาดเล็กและกลาง ได้รับผลกระทบมากกว่ารายใหญ่ และประเมินว่า หลังโควิด-19 การจ้างงานของบริษัทขนาดย่อม จะเพิ่มขึ้น 6.5% ขนาดกลาง 10.6% และขนาดใหญ่ 4.1%
ด้านนายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตฯยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มฯ ยังคงติดตามกำลังซื้อทั้งไทยและตลาดโลกอย่างใกล้ชิด ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 63 เนื่องจากจะมีผลต่อการจำหน่ายรถยนต์ในไทย และการส่งออกไปยังตลาดโลก โดยขณะนี้ยังคงมองเป้าหมายการผลิตรถยนต์ปีนี้ไว้ที่ต่ำสุด 1,000,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 500,000 คัน และส่งออก 500,000 คัน
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้พยายามคงอัตราการจ้างพนักงานเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยกลุ่มฯ ยังคาดหวังว่าหลังจากคลายล็อกดาวน์ มาสู่ระยะที่ 5 แล้วกิจกรรมต่างๆ เริ่มกลับมาดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ก็จะทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศดีขึ้น
"ผลกระทบโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อทั้งไทยและโลกลดลงค่อนข้างมาก และเดิมที่ยังไม่มีโควิด-19 เรามองเป้าหมายการผลิตปีนี้ อยู่ที่ 2 ล้านคันด้วยซ้ำไปและหลังจากที่ต้องล็อกดาวน์ ทำให้ต้องหยุดการผลิตในไทยชั่วคราวก่อนหน้า ก็มีผลกระทบ รวมถึงส่งออกด้วย จึงคาดว่าการผลิตปีนี้จะไม่ลดต่ำไปกว่า 1 ล้านคัน แต่จะดีขึ้นหรือลดลง ขอดูแนวโน้มซึ่งคาดว่าอีก 2-3 เดือนน่าจะเห็นสัญญาณที่ชัดเจน ว่าจะไปในทิศทางใด" นายองอาจ กล่าว
นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้สำรวจสถานการณ์การจ้างงาน ในช่วงวิกฤตโควิด-19 และแนวทางการปรับการจ้างงานในอนาคต จากกลุ่มตัวอย่างใน 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. พบว่า ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีกลุ่มอุตฯ ที่มีการลดเวลาทำงาน สลับเวลาทำงาน เลิกจ้างบางส่วน จำนวน 20 กลุ่ม คิดเป็น 44.4% และมีกลุ่มอุตฯ ที่ยังสามารถคงการจ้างงานเท่าเดิม 25 กลุ่ม คิดเป็น 55.6% ส่วนความต้องการแรงงานภายหลังโควิด-19 มีกลุ่มอุตฯ ที่มีความต้องการแรงงานลดลง 14 กลุ่ม คิดเป็น 31.% มีกลุ่มอุตฯ ที่ต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น 1 กลุ่ม คิดเป็น 2.2% และมีกลุ่มอุตฯ ที่มีความต้องการแรงงานเท่าเดิม 30 กลุ่ม คิดเป็น 66.7%
"อุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ในเบื้องต้นได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของโลกที่กำลังมุ่งสู่ยุคดิจิทัล แม้ว่าหลังโควิด-19 บริษัททุกขนาด ยังคงมีแนวโน้มการจ้างงานลดลง แต่มีอัตราส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 และคาดว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป น่าจะเพิ่มขึ้นในระดับ 4-10% " นายสุชาติ กล่าว
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน ยังได้ผลสำรวจแนวทางการปรับตัวการจ้างงานในอนาคต พบว่า กลุ่มอุตฯ ได้ให้ความสำคัญกับการลดขนาดองค์กร และนำเทคโนโลยีมาใช้งานให้มากขึ้นเป็นลำดับ 1 คิดเป็น 32.2% ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ การจ้างค่าจ้างเพิ่ม เพื่อให้ได้แรงงานที่มีทักษะหลากหลาย (Multi Skills)คิดเป็น 19.5% อันดับ 3 ได้แก่ การปรับรูปแบบการจ้างงานให้มีความยืดหยุ่น เช่นจ้างรายชั่วโมง 17.8 % อันดับ 4. การลดการจ้างลูกจ้างประจำ และมาใช้ outsourceแทน 15.5% อันดับ 5. อื่นๆได้แก่ เน้นตลาดออนไลน์ ปรับฐานเงินเดือน 6. การแชร์หรือแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างอุตสาหกรรม 4.6% และ 7. ลดการใช้แรงงานต่างด้าว 1.2%
ทั้งนี้ จากผลสำรวจยังระบุว่าช่วงโควิด-19 บริษัทขนาดย่อม (รายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท/แรงงานไม่เกิน 50 คน) บริษัทขนาดกลาง (รายได้ระหว่าง 100-500 ล้านบาท/ แรงงาน 51-200 คน) มีการจ้างงานลดลง กว่า 50% ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ (รายได้มากกว่า 500 ล้านบาท /แรงงานมากกว่ 200 คน ) มีการลดการจ้างงานลงประมาณ 1 ใน 4 ซึ่งจะเห็นว่าบริษัทขนาดเล็กและกลาง ได้รับผลกระทบมากกว่ารายใหญ่ และประเมินว่า หลังโควิด-19 การจ้างงานของบริษัทขนาดย่อม จะเพิ่มขึ้น 6.5% ขนาดกลาง 10.6% และขนาดใหญ่ 4.1%
ด้านนายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตฯยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มฯ ยังคงติดตามกำลังซื้อทั้งไทยและตลาดโลกอย่างใกล้ชิด ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 63 เนื่องจากจะมีผลต่อการจำหน่ายรถยนต์ในไทย และการส่งออกไปยังตลาดโลก โดยขณะนี้ยังคงมองเป้าหมายการผลิตรถยนต์ปีนี้ไว้ที่ต่ำสุด 1,000,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 500,000 คัน และส่งออก 500,000 คัน
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้พยายามคงอัตราการจ้างพนักงานเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยกลุ่มฯ ยังคาดหวังว่าหลังจากคลายล็อกดาวน์ มาสู่ระยะที่ 5 แล้วกิจกรรมต่างๆ เริ่มกลับมาดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ก็จะทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศดีขึ้น
"ผลกระทบโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อทั้งไทยและโลกลดลงค่อนข้างมาก และเดิมที่ยังไม่มีโควิด-19 เรามองเป้าหมายการผลิตปีนี้ อยู่ที่ 2 ล้านคันด้วยซ้ำไปและหลังจากที่ต้องล็อกดาวน์ ทำให้ต้องหยุดการผลิตในไทยชั่วคราวก่อนหน้า ก็มีผลกระทบ รวมถึงส่งออกด้วย จึงคาดว่าการผลิตปีนี้จะไม่ลดต่ำไปกว่า 1 ล้านคัน แต่จะดีขึ้นหรือลดลง ขอดูแนวโน้มซึ่งคาดว่าอีก 2-3 เดือนน่าจะเห็นสัญญาณที่ชัดเจน ว่าจะไปในทิศทางใด" นายองอาจ กล่าว