สำนักข่าวเกียวโด จากญี่ปุ่น ส่งทีมงานบุกพิสูจน์การฝึกและการใช้งานลิงขึ้นมะพร้าว ที่ จ.ชุมพร ยอมรับเป็นภูมิปัญญา วิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าชื่นชม มีการเลี้ยงดูอย่างดี ควรอนุรักษ์ไว้ ยันไม่ใช่ทารุณกรรมสัตว์ตามที่ “พีต้า” กล่าวหา
Mr.Toshihisa Onishiจากสำนักข่าวเกียวโด ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทีมข่าวและล่าม ได้เดินทางไปยังหมู่บ้านบางมั่น ต.นาพญา อ.หลังสวน จ.ชุมพร เพื่อพิสูจน์ดูชีวิตความเป็นอยู่ของลิงกังขึ้นมะพร้าว จากกรณีองค์กรมนุษย์เพื่อการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีจริยธรรม หรือ PETA (พีต้า) อ้างว่า ในประเทศไทยมีการบังคับให้ลิงกังทำงานเหมือนกับใช้เครื่องจักร ให้ขึ้นมะพร้าววันละนับพันลูก ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ จึงส่งผลให้ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในประเทศอังกฤษ และยุโรป สั่งเก็บกะทิและผลิตภัณฑ์มะพร้าวออกจากห้าง จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ขณะในนี้
การลงพื้นที่ของสำนักข่าวดังจากประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะเป็นข่าวดังระดับโลก ที่ส่งผลต่อผลผลิตมะพร้าวในประเทศไทย สำหรับ จ.ชุมพร มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวกว่า 1 แสนไร่ โดยเฉพาะหมู่บ้านบางมั่น ต.นาพญา ถือเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว จำนวนมาก
นายเสน่ห์ คงสุวรรณ ประธานชมรมผู้เลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าว จ.ชุมพร นายจินตการ พรหมสุวรรณ รองนายกสมาคมชาวสวนมะพร้าว จ.ชุมพร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เกี่ยวข้องในท้องที่ มาร่วมให้การต้อนรับคณะของผู้สื่อข่าว เพื่อให้ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง พร้อมกับให้ถ่ายทำบันทึกภาพการใช้ลิงกังขึ้นมะพร้าว ชีวิตความเป็นอยู่ของลิงกัง และเจ้าของ ซึ่งเป็นไปตามวิถีชีวิตความรักความผูกพันระหว่างคนกับลิงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้สื่อข่าวจากต่างประเทศได้เห็นกับตา ว่าการเลี้ยงลิงกังไว้ขึ้นมะพร้าวนั้น เจ้าของจะเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างดี มากกว่าการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ
นายเสน่ห์ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวถึงความเป็นมาของการเลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าวใน จ.ชุมพรให้ Mr.Toshihisa Onishiฟังว่า การเลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าวนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ รุ่นปู่ย่าตายาย และปัจจุบันการเลี้ยงดูลิงกังนั้น ไม่ได้จับมาจากป่า เพราะลิงกังเป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 แต่ผู้ที่เลี้ยงลิงกังอยู่ทุกวันนี้ เป็นเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียน และฝังไมโครชิปการครอบครองลิงกังไว้กับทางราชการ ก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นสัตว์คุ้มครอง
"ลิงกังที่ใช้ขึ้นมะพร้าว ได้มีการเลี้ยงขยายพันธุ์มาจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีการขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เมื่อเติบโต ก็จะนำมาฝึกหัดให้ปั่นลูกมะพร้าวจนชำนาญ จนรู้หน้าที่ รู้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างทำงาน พอมีอายุมากกว่า 3 ปี จึงจะนำไปทำงานขึ้นมะพร้าว ในแต่ละวันหนึ่ง จะขึ้นมะพร้าวตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น. มีพักเที่ยงกินอาหารเช่นเดียวกับเจ้าของ และลิงกัง 1 ตัวจะขึ้นมะพร้าวได้ประมาณ 300 ลูก บางคนมีลิงกัง 2-3 ตัว ก็จะขึ้นมะพร้าวรวมกันได้มากถึงพันลูก เมื่อกลับมาถึงบ้าน ก็จะจัดหาอาหารให้ลิงกังได้กินอย่างดี รวมถึงการสร้างที่อยู่ให้แก่ลิงกังได้หลับนอนในตอนกลางคืน เพื่อให้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่"
ทั้งนี้ ผู้ที่จะเลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าวใน จ.ชุมพร ทุกคนได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการแล้ว ซึ่งจะมีกฎหมายควบคุมและมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รัฐอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการทรมานทารุณกรรมลิงกังขึ้นมะพร้าว หากมีการทรมานทารุณกรรมลิงกัง มันก็จะไม่สามารถทำงานขึ้นมะพร้าวให้แก่เราได้เลย เพราะมันจะเกิดอาการดื้อ และต่อต้านไม่ยอมขึ้นอย่างแน่นอน
ด้าน Mr.Toshihisa Onishiกล่าวกับเจ้าของลิงกัง และชาวสวนมะพร้าวผ่านล่ามว่า ที่ตนมาในวันนี้ก็เพื่อจะมาดูมาพิสูจน์ความจริงให้เห็นกับตา ว่าการฝึกสอนลูกลิงกังให้เก็บลูกมะพร้าว กับการให้ทำงานลิงกังขึ้นมะพร้าวจริงๆ และการเลี้ยงดูชีวิตความเป็นอยู่ หลังลิงกังทำงานขึ้นมะพร้าวเป็นอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญา และวิถีชีวิตดั้งเดิม เพราะลิงกังถูกฝึกหัดเรียนรู้จนรู้หน้าที่ตัวเอง และวิ่งขึ้นปั่นลูกมะพร้าวด้วยความชำนาญตามที่มีการฝึกฝนมา โดยใช้ภาษาที่สื่อสารเข้าใจระหว่างกัน ไม่มีการบังคับทุบตีแต่อย่างใด และยังมีความผูกพันความเอื้ออาทรซี่งกันและกันระหว่างคนกับลิงกัง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาวิถีชีวิตของคนไทยที่ควรจะอนุรักษ์ไว้ และตนจะได้นำเสนอข่าวให้คนทั่วโลกได้รับรู้ ตามที่ได้ลงพื้นที่พบเห็นมากับตาตัวเอง
Mr.Toshihisa Onishiจากสำนักข่าวเกียวโด ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทีมข่าวและล่าม ได้เดินทางไปยังหมู่บ้านบางมั่น ต.นาพญา อ.หลังสวน จ.ชุมพร เพื่อพิสูจน์ดูชีวิตความเป็นอยู่ของลิงกังขึ้นมะพร้าว จากกรณีองค์กรมนุษย์เพื่อการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีจริยธรรม หรือ PETA (พีต้า) อ้างว่า ในประเทศไทยมีการบังคับให้ลิงกังทำงานเหมือนกับใช้เครื่องจักร ให้ขึ้นมะพร้าววันละนับพันลูก ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ จึงส่งผลให้ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในประเทศอังกฤษ และยุโรป สั่งเก็บกะทิและผลิตภัณฑ์มะพร้าวออกจากห้าง จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ขณะในนี้
การลงพื้นที่ของสำนักข่าวดังจากประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะเป็นข่าวดังระดับโลก ที่ส่งผลต่อผลผลิตมะพร้าวในประเทศไทย สำหรับ จ.ชุมพร มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวกว่า 1 แสนไร่ โดยเฉพาะหมู่บ้านบางมั่น ต.นาพญา ถือเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว จำนวนมาก
นายเสน่ห์ คงสุวรรณ ประธานชมรมผู้เลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าว จ.ชุมพร นายจินตการ พรหมสุวรรณ รองนายกสมาคมชาวสวนมะพร้าว จ.ชุมพร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เกี่ยวข้องในท้องที่ มาร่วมให้การต้อนรับคณะของผู้สื่อข่าว เพื่อให้ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง พร้อมกับให้ถ่ายทำบันทึกภาพการใช้ลิงกังขึ้นมะพร้าว ชีวิตความเป็นอยู่ของลิงกัง และเจ้าของ ซึ่งเป็นไปตามวิถีชีวิตความรักความผูกพันระหว่างคนกับลิงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้สื่อข่าวจากต่างประเทศได้เห็นกับตา ว่าการเลี้ยงลิงกังไว้ขึ้นมะพร้าวนั้น เจ้าของจะเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างดี มากกว่าการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ
นายเสน่ห์ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวถึงความเป็นมาของการเลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าวใน จ.ชุมพรให้ Mr.Toshihisa Onishiฟังว่า การเลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าวนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ รุ่นปู่ย่าตายาย และปัจจุบันการเลี้ยงดูลิงกังนั้น ไม่ได้จับมาจากป่า เพราะลิงกังเป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 แต่ผู้ที่เลี้ยงลิงกังอยู่ทุกวันนี้ เป็นเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียน และฝังไมโครชิปการครอบครองลิงกังไว้กับทางราชการ ก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นสัตว์คุ้มครอง
"ลิงกังที่ใช้ขึ้นมะพร้าว ได้มีการเลี้ยงขยายพันธุ์มาจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีการขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เมื่อเติบโต ก็จะนำมาฝึกหัดให้ปั่นลูกมะพร้าวจนชำนาญ จนรู้หน้าที่ รู้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างทำงาน พอมีอายุมากกว่า 3 ปี จึงจะนำไปทำงานขึ้นมะพร้าว ในแต่ละวันหนึ่ง จะขึ้นมะพร้าวตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น. มีพักเที่ยงกินอาหารเช่นเดียวกับเจ้าของ และลิงกัง 1 ตัวจะขึ้นมะพร้าวได้ประมาณ 300 ลูก บางคนมีลิงกัง 2-3 ตัว ก็จะขึ้นมะพร้าวรวมกันได้มากถึงพันลูก เมื่อกลับมาถึงบ้าน ก็จะจัดหาอาหารให้ลิงกังได้กินอย่างดี รวมถึงการสร้างที่อยู่ให้แก่ลิงกังได้หลับนอนในตอนกลางคืน เพื่อให้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่"
ทั้งนี้ ผู้ที่จะเลี้ยงลิงกังขึ้นมะพร้าวใน จ.ชุมพร ทุกคนได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการแล้ว ซึ่งจะมีกฎหมายควบคุมและมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รัฐอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการทรมานทารุณกรรมลิงกังขึ้นมะพร้าว หากมีการทรมานทารุณกรรมลิงกัง มันก็จะไม่สามารถทำงานขึ้นมะพร้าวให้แก่เราได้เลย เพราะมันจะเกิดอาการดื้อ และต่อต้านไม่ยอมขึ้นอย่างแน่นอน
ด้าน Mr.Toshihisa Onishiกล่าวกับเจ้าของลิงกัง และชาวสวนมะพร้าวผ่านล่ามว่า ที่ตนมาในวันนี้ก็เพื่อจะมาดูมาพิสูจน์ความจริงให้เห็นกับตา ว่าการฝึกสอนลูกลิงกังให้เก็บลูกมะพร้าว กับการให้ทำงานลิงกังขึ้นมะพร้าวจริงๆ และการเลี้ยงดูชีวิตความเป็นอยู่ หลังลิงกังทำงานขึ้นมะพร้าวเป็นอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญา และวิถีชีวิตดั้งเดิม เพราะลิงกังถูกฝึกหัดเรียนรู้จนรู้หน้าที่ตัวเอง และวิ่งขึ้นปั่นลูกมะพร้าวด้วยความชำนาญตามที่มีการฝึกฝนมา โดยใช้ภาษาที่สื่อสารเข้าใจระหว่างกัน ไม่มีการบังคับทุบตีแต่อย่างใด และยังมีความผูกพันความเอื้ออาทรซี่งกันและกันระหว่างคนกับลิงกัง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาวิถีชีวิตของคนไทยที่ควรจะอนุรักษ์ไว้ และตนจะได้นำเสนอข่าวให้คนทั่วโลกได้รับรู้ ตามที่ได้ลงพื้นที่พบเห็นมากับตาตัวเอง