“เพื่อไทย” แฉขบวนการคลินิกอบอุ่น 18 แห่งพื้นที่ กทม.แต่งบัญชี เบิกงบเกินจริงจาก สปสช. ทำรัฐสูญเงินนับพันล้านบาท ชงเข้า “กมธ.ปราบโกง” เตรียมเชิญผู้เกี่ยวข้องชี้แจง ด้าน "อนุทิน"เผยตรวจสอบคลินิกชุมชนอบอุ่น 86 แห่งทั่ว กทม.
วานนี้ (9 ก.ค.) ที่รัฐสภา นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า ได้รับข้อมูลการทุจริตในหน่วยงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรื่อง คลีนิคอบอุ่น ที่ให้บริการประชาชน บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค โดยได้เข้าไปดูเฉพาะการดำเนินงานในปี 2561 เฉพาะพื้นที่ กทม. ตามที่ สปสช.ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญา พบความผิดปกติถึง 18 แห่ง และได้เรียกเงินคืนไปแล้วกว่า 72 ล้านบาท ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำเป็นขบวนการ ดำเนินการเบิกจ่ายในหมวด บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จะมีหน่วยแพทย์ไปตั้งตามจุดต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชนในการตรวจโรค ซึ่งทราบต่อมาว่ามีการสวมชื่อประชาชนบางคน ที่ไม่เคยไปตรวจจริง แต่กลับมีการแอบอ้างชื่อ แล้วนำไปสู่ขั้นตอนเบิกจ่าย นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลผู้บริหารระดับสูงใน สปสช.บางคน ไปดำเนินการเปิดคลินิก ที่อาจมีประเด็นขัดกันแห่งผลประโยชน์
"ตอนที่ผมอภิปรายในสภาฯ ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ได้ยอมรับในสภาฯว่า มีการทุจริตใน สปสช.จริง ซึ่งท่านควรเข้าไปตรวจสอบย้อนหลัง เพราะได้รับข้อมูลมาว่า มีขบวนการที่กระทำในลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 2555-2563 ถ้าตรวจสอบกันจริงๆ อาจพบตัวเลขที่ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณ แล้วมีการนำมาเบิกจ่ายงบประมาณไม่ต่ำกว่าพันล้านบาทแน่นอน" นายประเดิมชัย กล่าว
นายประเดิมชัย กล่าวต่อว่า ในฐานะ กมธ.ป.ป.ช. ได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ประธาน กมธ.ฯ ซึ่งท่านก็ให้ความสนใจ และคงจะนำเข้าสู่การพิจารณาในกมธ. ที่จะมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจ้ง ขอย้ำว่าจะไม่ตรวจสอบเพียงแค่คลินิกในกทม.เท่านั้น แต่จะตรวจสอบไปถึงคลินิกต่างๆ ที่อยู่พื้นที่ปริมณฑลด้วย
อีกด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้มีรายงานว่ามีการตรวจสอบขยายผลคลินิกชุมชนอบอุ่นในกทม. 86 แห่ง พบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารการเบิกเงินจาก สปสช. แต่ไม่มีการดูแลประชาชนจริง 63 แห่ง เรื่องนี้ถือว่าเป็นการทุจริตชัดเจน ที่ประชุมจึงได้มีการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องการเบิกจ่ายเงินต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอะไรหรือไม่ ดังนั้นเรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้อีก ตรวจสอบว่ายังมีบิลปลอมอีกหรือไม่
“ตอนนี้เรื่องเงินนั้นถือว่ายังไม่เสียหาย แม้ว่าหลายที่ยังไม่จ่ายคืน สปสช. แต่ยืนยันเอาผิดเต็มที่ ทั้งทางแพ่ง อาญา เพิกถอนการเป็นสถานพยาบาล และถ้ามีแพทย์ พยาบาลที่เกี่ยวข้อง ก็เอาผิดหมด รวมถึงการเอาผิดด้านจรรยาวิชาชีพด้วย” นายอนุทิน กล่าว
วันเดียวกัน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. เปิดเผยในการแถลงข่าวเรื่อง บอร์ด สปสช. ตั้งคณะกรรมการสางปัญหา “18 คลินิก ทุจริตเบิกเงินคัดกรองโรคกองทุนบัตรทอง” ตอนหนึ่งว่า กรณีการตรวจพบการทุจริตของคลินิกทั้ง 18 แห่งนั้น เกิดขึ้นจากระบบตรวจสอบการเบิกจ่ายของ สปสช. ที่พบพบความผิดปกติตั้งแต่วันที่ 14-15 ส.ค. 2562 และได้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางการทันที โดยวันที่ 26 ก.ย. 2562 คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขตพื้นที่ กทม.ได้มีมติระงับการจ่ายเงินและขยายผลการตรวจสอบเพิ่มเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจากการตรวจเอกสารกว่า 2 แสนฉบับ พบว่ามีการเบิกจ่ายไม่น่าเชื่อถือรวมกว่า 74.39 ล้านบาท ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. 2562 ขณะเดียวกันเรื่องได้ผ่านการพิจารณามาเป็นลำดับชั้น จนในที่สุดวันที่ 1 เม.ย. 2563 คณะอนุกรรมการพิจารณาหักค่าใช้จ่าย ได้มีมติ 6 ข้อ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการทั้งในส่วนของการเรียกเงินคืน แจ้งความดำเนินคดี รวมถึงยกเลิกสัญญากับหน่วยบริการทั้งหมด
วานนี้ (9 ก.ค.) ที่รัฐสภา นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า ได้รับข้อมูลการทุจริตในหน่วยงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรื่อง คลีนิคอบอุ่น ที่ให้บริการประชาชน บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค โดยได้เข้าไปดูเฉพาะการดำเนินงานในปี 2561 เฉพาะพื้นที่ กทม. ตามที่ สปสช.ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญา พบความผิดปกติถึง 18 แห่ง และได้เรียกเงินคืนไปแล้วกว่า 72 ล้านบาท ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำเป็นขบวนการ ดำเนินการเบิกจ่ายในหมวด บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จะมีหน่วยแพทย์ไปตั้งตามจุดต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชนในการตรวจโรค ซึ่งทราบต่อมาว่ามีการสวมชื่อประชาชนบางคน ที่ไม่เคยไปตรวจจริง แต่กลับมีการแอบอ้างชื่อ แล้วนำไปสู่ขั้นตอนเบิกจ่าย นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลผู้บริหารระดับสูงใน สปสช.บางคน ไปดำเนินการเปิดคลินิก ที่อาจมีประเด็นขัดกันแห่งผลประโยชน์
"ตอนที่ผมอภิปรายในสภาฯ ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ได้ยอมรับในสภาฯว่า มีการทุจริตใน สปสช.จริง ซึ่งท่านควรเข้าไปตรวจสอบย้อนหลัง เพราะได้รับข้อมูลมาว่า มีขบวนการที่กระทำในลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 2555-2563 ถ้าตรวจสอบกันจริงๆ อาจพบตัวเลขที่ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณ แล้วมีการนำมาเบิกจ่ายงบประมาณไม่ต่ำกว่าพันล้านบาทแน่นอน" นายประเดิมชัย กล่าว
นายประเดิมชัย กล่าวต่อว่า ในฐานะ กมธ.ป.ป.ช. ได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ประธาน กมธ.ฯ ซึ่งท่านก็ให้ความสนใจ และคงจะนำเข้าสู่การพิจารณาในกมธ. ที่จะมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจ้ง ขอย้ำว่าจะไม่ตรวจสอบเพียงแค่คลินิกในกทม.เท่านั้น แต่จะตรวจสอบไปถึงคลินิกต่างๆ ที่อยู่พื้นที่ปริมณฑลด้วย
อีกด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้มีรายงานว่ามีการตรวจสอบขยายผลคลินิกชุมชนอบอุ่นในกทม. 86 แห่ง พบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารการเบิกเงินจาก สปสช. แต่ไม่มีการดูแลประชาชนจริง 63 แห่ง เรื่องนี้ถือว่าเป็นการทุจริตชัดเจน ที่ประชุมจึงได้มีการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องการเบิกจ่ายเงินต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอะไรหรือไม่ ดังนั้นเรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้อีก ตรวจสอบว่ายังมีบิลปลอมอีกหรือไม่
“ตอนนี้เรื่องเงินนั้นถือว่ายังไม่เสียหาย แม้ว่าหลายที่ยังไม่จ่ายคืน สปสช. แต่ยืนยันเอาผิดเต็มที่ ทั้งทางแพ่ง อาญา เพิกถอนการเป็นสถานพยาบาล และถ้ามีแพทย์ พยาบาลที่เกี่ยวข้อง ก็เอาผิดหมด รวมถึงการเอาผิดด้านจรรยาวิชาชีพด้วย” นายอนุทิน กล่าว
วันเดียวกัน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. เปิดเผยในการแถลงข่าวเรื่อง บอร์ด สปสช. ตั้งคณะกรรมการสางปัญหา “18 คลินิก ทุจริตเบิกเงินคัดกรองโรคกองทุนบัตรทอง” ตอนหนึ่งว่า กรณีการตรวจพบการทุจริตของคลินิกทั้ง 18 แห่งนั้น เกิดขึ้นจากระบบตรวจสอบการเบิกจ่ายของ สปสช. ที่พบพบความผิดปกติตั้งแต่วันที่ 14-15 ส.ค. 2562 และได้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางการทันที โดยวันที่ 26 ก.ย. 2562 คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขตพื้นที่ กทม.ได้มีมติระงับการจ่ายเงินและขยายผลการตรวจสอบเพิ่มเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจากการตรวจเอกสารกว่า 2 แสนฉบับ พบว่ามีการเบิกจ่ายไม่น่าเชื่อถือรวมกว่า 74.39 ล้านบาท ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. 2562 ขณะเดียวกันเรื่องได้ผ่านการพิจารณามาเป็นลำดับชั้น จนในที่สุดวันที่ 1 เม.ย. 2563 คณะอนุกรรมการพิจารณาหักค่าใช้จ่าย ได้มีมติ 6 ข้อ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการทั้งในส่วนของการเรียกเงินคืน แจ้งความดำเนินคดี รวมถึงยกเลิกสัญญากับหน่วยบริการทั้งหมด