ทูตสหรัฐฯชมไทยยังมีศักยภาพ น่าลงทุน ยันร่วมมือสร้างเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง "สมคิด"ย้ำ “อีอีซี” จะเป็นศูนย์กลางของวิทยาการด้านต่างๆในภูมิภาค หวังสหรัฐฯเป็นพาร์ตเนอร์ที่ดี พร้อมสั่ง “ก.คลัง” ทำแผนพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน หวังใช้ต่อยอด
วานนี้ (2 ก.ค.) นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมเบร เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเข้ารับหน้าที่ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาหารือประมาณ 45 นาที
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวภายหลังการเข้าพบนายสมคิดว่า ได้พูดคุยกันถึงแนวการทำงานร่วมกันระหว่างสหรัฐฯกับไทย ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของไทยให้มีความเข้มแข็ง และส่งเสริมให้นักลงทุนของสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
“ประเทศไทยยังมีความน่าลงทุน มีศักยภาพ และเหมาะสมอย่างมากสำหรับการที่บริษัทของสหรัฐฯเข้ามาประกอบกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นซัพพลายเชน (Supply Chain)ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายไมเคิล ระบุ
“สมคิด” ชูศูนย์กลาง CLMVT
ด้านนายสมคิด เปิดเผยว่า ได้ขอให้สหรัฐฯโฟกัสประเทศไทยเป็นพิเศษ เพราะเราเชื่อว่าในขณะนี้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ CLMVT (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา, เวียดนาม และไทย) ซึ่งเป็นเมนแลนด์ของอาเซียน และในปีหน้าทางโครงการอีอีซีทั้งหลายจะเริ่มสมบูรณ์ เราสามารถที่จะเชื่อมโยงกับประเทศอีกหลายประเทศในบริเวณใกล้เคียง ในขณะเดียวกันตลาดเงินตลาดทุนของเราก็มีความแข็งแรงอย่างยิ่ง
“ผมอยากให้เขาให้ความสนใจเป็นพิเศษ และบอกเขาอีกว่า อุตสาหกรรมที่เขาสนใจไม่ว่าจะเป็นอิเลกทรอนิกส์ หรือดิจิทัล สิ่งเหล่านี้เราให้ความสำคัญอยู่แล้ว รวมไปถึงอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทางด้านบริการ, การศึกษา สถาบันวิจัย เพราะเราเชื่อว่าจะเป็นศูนย์กลางของวิทยาการในภูมิภาคนี้ เรื่องของตลาดเงินตลาดทุน เราก็เชื่อว่าเราไม่แพ้สิงคโปร์" นายสมคิด กล่าว
ขณะที่ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 10 ก.ค. เวลา 10.30 น. จะมีการประชุม ครม.เศรษฐกิจ โดยจะพิจารณา 2 เรื่องคือ 1. ติดตามภาวะเศรษฐกิจ และ 2. พิจารณาเรื่องของเอสเอ็มอี ซึ่งถือเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาดูแลฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังโควิด-19 คลี่คลาย และติดตามภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
สั่ง “เที่ยวด้วยกัน” มุ่งช่วยท้องถิ่น
จากนั้น นายสมคิด ได้ไปเป็นประธานการประชุมหารือมาตรการเศรษฐกิจ ที่กระทรวงการคลัง ก่อนเปิดเผยถึงชุดมาตรการการท่องเที่ยว “เราไปเที่ยวด้วยกัน” ว่า แพคเกจดังกล่าวยังมีหลายจุดที่ไม่ครอบคลุมส่วนท้องถิ่นและชุมชน จึงได้มอบหมายให้กรมสรรพากร และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เร่งหามาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการบริโภค โดยการดึงดูดให้คนรวยที่มีกำลังในการจับจ่ายให้ออกมาใช้จ่ายกันมากๆ เนื่องจากในเวลานี้คนที่อยู่ข้างล่างมีความลำบาก และหากคนรวยออกมาใช้จ่ายจะช่วยเสริมกันได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางเพื่อมาเสริมกับมาตรการท่องเที่ยวที่รัฐบาลได้อนุมัติไปเมื่อก่อนนี้
นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ สศค. กลับไปพิจารณาเพื่อหาแนวทางหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมานั้นพบว่ายังคงมีโรงงานอีกหลายแห่งต้องปิดกิจการลง และมีแรงงานค่อนข้างมากที่ต้องเดินทางกลับสู่ท้องถิ่นของตน ดังนั้น จึงจะต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนหรือท่องเที่ยวท้องถิ่นให้เพิ่มมากขึ้นให้ได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจ้างงานในพื้นที่
“ผมยังได้กำชับสภาพัฒฯที่มีบทบาทหลักในการพิจารณาโครงการใช้เงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจวงเงิน 4 แสนล้านบาท ได้เตรียมเสนอโครงการที่จะสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น และสอดคล้องกับการจ้างงานของประชาชนเข้าสู่ เพื่อรองรับแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนาด้วย” นายสมคิด กล่าว
“อุตตม” ปั้นจ้างงานใหม่ 4 แสนคน
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้สั่งการให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ออกโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 เพื่อสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อซอฟต์โลนของ ธปท. ได้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ สศค. และ บสย. โดยคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้จะมีข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการจ้างงานนั้น กระทรวงการคลังจะเน้นการจ้างงานในชุมชนให้ได้มากมากที่สุด ทั้งนี้ ส่วนแรกที่จะดำเนินการจะเป็นการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการ เช่น พัฒนาร้านอาหารการสร้างอาชีพ การเกษตร รวมถึงให้มีการจ้างชาวบ้านลงพื้นที่ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลสำหรับการดำเนินในโครงการต่างๆ ของภาครัฐ โดยเบื้องต้น คาดว่าจะทำให้มีการจ้างงานใหม่ 4 แสนคน
ส่วนกรณีภาคเอกชนได้เสนอให้สถาบันการเงินขยายเวลาการพักชำระหนี้ไป 2 ปี จากเดิมพักชำระหนี้ 6 เดือนนั้น นายอุตตม กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะต้องหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อน แต่จะขยายออกไปอีกเท่าใดนั้น คงยังไม่สามารถสรุปได้ได้ตอนนี้
วานนี้ (2 ก.ค.) นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมเบร เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเข้ารับหน้าที่ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาหารือประมาณ 45 นาที
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวภายหลังการเข้าพบนายสมคิดว่า ได้พูดคุยกันถึงแนวการทำงานร่วมกันระหว่างสหรัฐฯกับไทย ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของไทยให้มีความเข้มแข็ง และส่งเสริมให้นักลงทุนของสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
“ประเทศไทยยังมีความน่าลงทุน มีศักยภาพ และเหมาะสมอย่างมากสำหรับการที่บริษัทของสหรัฐฯเข้ามาประกอบกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นซัพพลายเชน (Supply Chain)ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายไมเคิล ระบุ
“สมคิด” ชูศูนย์กลาง CLMVT
ด้านนายสมคิด เปิดเผยว่า ได้ขอให้สหรัฐฯโฟกัสประเทศไทยเป็นพิเศษ เพราะเราเชื่อว่าในขณะนี้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ CLMVT (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา, เวียดนาม และไทย) ซึ่งเป็นเมนแลนด์ของอาเซียน และในปีหน้าทางโครงการอีอีซีทั้งหลายจะเริ่มสมบูรณ์ เราสามารถที่จะเชื่อมโยงกับประเทศอีกหลายประเทศในบริเวณใกล้เคียง ในขณะเดียวกันตลาดเงินตลาดทุนของเราก็มีความแข็งแรงอย่างยิ่ง
“ผมอยากให้เขาให้ความสนใจเป็นพิเศษ และบอกเขาอีกว่า อุตสาหกรรมที่เขาสนใจไม่ว่าจะเป็นอิเลกทรอนิกส์ หรือดิจิทัล สิ่งเหล่านี้เราให้ความสำคัญอยู่แล้ว รวมไปถึงอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทางด้านบริการ, การศึกษา สถาบันวิจัย เพราะเราเชื่อว่าจะเป็นศูนย์กลางของวิทยาการในภูมิภาคนี้ เรื่องของตลาดเงินตลาดทุน เราก็เชื่อว่าเราไม่แพ้สิงคโปร์" นายสมคิด กล่าว
ขณะที่ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 10 ก.ค. เวลา 10.30 น. จะมีการประชุม ครม.เศรษฐกิจ โดยจะพิจารณา 2 เรื่องคือ 1. ติดตามภาวะเศรษฐกิจ และ 2. พิจารณาเรื่องของเอสเอ็มอี ซึ่งถือเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาดูแลฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังโควิด-19 คลี่คลาย และติดตามภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
สั่ง “เที่ยวด้วยกัน” มุ่งช่วยท้องถิ่น
จากนั้น นายสมคิด ได้ไปเป็นประธานการประชุมหารือมาตรการเศรษฐกิจ ที่กระทรวงการคลัง ก่อนเปิดเผยถึงชุดมาตรการการท่องเที่ยว “เราไปเที่ยวด้วยกัน” ว่า แพคเกจดังกล่าวยังมีหลายจุดที่ไม่ครอบคลุมส่วนท้องถิ่นและชุมชน จึงได้มอบหมายให้กรมสรรพากร และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เร่งหามาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการบริโภค โดยการดึงดูดให้คนรวยที่มีกำลังในการจับจ่ายให้ออกมาใช้จ่ายกันมากๆ เนื่องจากในเวลานี้คนที่อยู่ข้างล่างมีความลำบาก และหากคนรวยออกมาใช้จ่ายจะช่วยเสริมกันได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางเพื่อมาเสริมกับมาตรการท่องเที่ยวที่รัฐบาลได้อนุมัติไปเมื่อก่อนนี้
นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ สศค. กลับไปพิจารณาเพื่อหาแนวทางหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมานั้นพบว่ายังคงมีโรงงานอีกหลายแห่งต้องปิดกิจการลง และมีแรงงานค่อนข้างมากที่ต้องเดินทางกลับสู่ท้องถิ่นของตน ดังนั้น จึงจะต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนหรือท่องเที่ยวท้องถิ่นให้เพิ่มมากขึ้นให้ได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจ้างงานในพื้นที่
“ผมยังได้กำชับสภาพัฒฯที่มีบทบาทหลักในการพิจารณาโครงการใช้เงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจวงเงิน 4 แสนล้านบาท ได้เตรียมเสนอโครงการที่จะสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น และสอดคล้องกับการจ้างงานของประชาชนเข้าสู่ เพื่อรองรับแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนาด้วย” นายสมคิด กล่าว
“อุตตม” ปั้นจ้างงานใหม่ 4 แสนคน
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้สั่งการให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ออกโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 เพื่อสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อซอฟต์โลนของ ธปท. ได้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ สศค. และ บสย. โดยคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้จะมีข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการจ้างงานนั้น กระทรวงการคลังจะเน้นการจ้างงานในชุมชนให้ได้มากมากที่สุด ทั้งนี้ ส่วนแรกที่จะดำเนินการจะเป็นการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการ เช่น พัฒนาร้านอาหารการสร้างอาชีพ การเกษตร รวมถึงให้มีการจ้างชาวบ้านลงพื้นที่ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลสำหรับการดำเนินในโครงการต่างๆ ของภาครัฐ โดยเบื้องต้น คาดว่าจะทำให้มีการจ้างงานใหม่ 4 แสนคน
ส่วนกรณีภาคเอกชนได้เสนอให้สถาบันการเงินขยายเวลาการพักชำระหนี้ไป 2 ปี จากเดิมพักชำระหนี้ 6 เดือนนั้น นายอุตตม กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะต้องหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อน แต่จะขยายออกไปอีกเท่าใดนั้น คงยังไม่สามารถสรุปได้ได้ตอนนี้