xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ปัดฝุ่นร่างกฎหมายป้องกันอุ้มหาย มรดก5ปีที่ถูก"ดอง" อยู่ในสภาฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ไม่รู้ว่า "บังเอิญ"หรือเปล่า จากกรณี นักเคลื่อนไหวของไทย ที่กัมพูชา ตามมาด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มภาคประชาชน หลายๆส่วน

วันก่อน รัฐบาลโดย ครม.เพิ่งผ่าน "ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ..." ซึ่งถูกดองมานานแสนนาน
กว่า 5 ปี นับตั้งแต่ มติครม. 27 ธ.ค.59 ที่เห็นชอบและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว

"มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย อันเป็นกฎหมายที่คุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือร่วมลงนาม และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่ง

ชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ต่อไป"

ต่อมา มติครม.10 ม.ค.60 เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ และ

ร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยสนช.เล็งบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน

มติครม.7 มี.ค.60 รับทราบผลการพิจารณาของ "คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สนช." 6 มี.ค.60 เกี่ยวกับรายงานของคณะกรรมาธิการ

พิจารณาศึกษาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ และร่างกฎหมาย ที่ครม.เป็นผู้เสนอ

ครั้งนั้นครม. มีมติรับทราบข้อสังเกต โดยมอบหมายให้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี "นายสุวิทย์ เมษินทรีย์" ในขณะนั้น เป็นผู้ประสานงาน

หลังจากค้างอยู่ 1 ปีเศษ ได้มีมติ ครม. 4 ธ.ค.61 เห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสนช. รับทราบความเห็นของ "กระทรวงยุติธรรม" เกี่ยว

กับ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยมอบหมายให้ประธานวิปสนช. รับข้อสังเกตดังกล่าวไปประสานงานกับ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สนช.

ผ่านมา 3 ปี เมื่อวันอังคารที่ 23 มี.ค.63 คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน มีมติเห็นชอบร่าง.... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่ง "สำนัก งานคณะกรรมการกฤษฎีกา" ตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

"โดยให้พิจารณาในประเด็นความจำเป็นในการใช้ระบบคณะกรรมการ ตามหมวด 2 คณะกรรมการ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" และให้รับความเห็นของ "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้วิปรัฐบาล พิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎร และให้กระทรวงยุติธรรม รับความเห็นของ "สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ" ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สำหรับ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. มีดังนี้

กำหนดความผิดฐานกระทำทรมานและความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย มาตรการป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย การ

เยียวยาผู้เสียหาย และการดำเนินคดีสำหรับความผิดดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading
Treatment or Punishing) และ "อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ
(International Convention for the Protection of all Persons from Enforced
disappearance ICPPED)"

โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. กำหนดบทนิยาม “การทรมาน”“การกระทำให้บุคคลสูญหาย”“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”“ผู้ได้รับความเสียหาย”และ“คณะกรรมการ”

2. กำหนดฐานความผิดการกระทำทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย การกำหนดให้ไม่เป็นความผิดทางการเมือง กำหนดให้สามี ภริยา บุพการี
ผู้สืบสันดานของผู้เสียหายในกรณีกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นผู้เสียหายที่สามารถดำเนินการฟ้องร้องคดีได้

3. ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ปลัด กระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธาน และมีอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นเลขานุการ รวมทั้งสมาชิกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิทางด้าน
สิทธิมนุษยชน แพทย์ และด้านจิตวิทยา รวมทั้งสิ้น 19 คน

โดยมีอำนาจหน้าที่เชิงนโยบายเพื่อวางแผนเกี่ยวกับการป้องกันและการเยียวยาการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย นอกจากนี้ได้กำหนดให้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ

4. กำหนดให้ทุกหน่วยงานที่มีการจำกัดเสรีภาพบุคคลต้องจัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดเสรีภาพ กำหนดเกี่ยวกับเกณฑ์ในการเปิดเผย ข้อมูลของผู้ถูกจำกัดเสรีภาพ และกำหนดให้มีมาตรการระงับการทรมานและเยียวยาความเสียหายเบื้องต้น

5. กำหนดให้ความผิดตามพ.ร.บ. ในเรื่องนี้เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และให้เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ มี อำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเป็นหลัก ยกเว้นกรณีเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตกเป็นผู้ต้องหา ให้ตำรวจเป็นผู้มีอำนาจสืบสวนสอบสวนแทน และหากเจ้าหน้าที่กรม สอบสวนคดีพิเศษและตำรวจตกเป็นผู้ต้องหา ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจสืบสวนสอบสวนแทน รวมทั้งกำหนดให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มี เขตอำนาจ

6. กำหนดระวางโทษความผิดฐานกระทำทรมาน และกระทำให้บุคคลสูญหาย กำหนดเหตุบรรเทาโทษ กำหนดความผิดฐานสมคบคิด และฐานผู้มี

ส่วนร่วมในการกระทำผิด รวมทั้งกำหนดโทษแต่ผู้บังคับบัญชาที่ทราบการกระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายของผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วไม่ดำเนินการป้องกัน
หรือระงับการกระทำความผิดนั้น

ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า เห็นควรดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิกา


วิสามัญฯ ของ สนช. พิจารณาเสร็จแล้วต่อไป โดยมีเหตุผลดังนี้

ในทางปฏิบัติยังพบว่า มีกรณีการกระทำทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายเกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทย รวมถึงกรณีที่มีการร้องเรียนไปสังสห ประชาชาติ โดยเฉพาะในประเด็น “การงดเว้นโทษ”ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำทรมานและการกระทำ ให้บุคคลสูญหายโดยมุ่งเน้นให้มีการดำเนินการทั้งมาตรการป้องกัน ปราบปราม และเยียวยาผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมาตรการที่สำคัญตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและ

การประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ

รวมทั้งลดช่องว่างของกฎหมายที่ส่งผลให้การบังคับใช้และการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการขจัดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรง
และสร้างหลักประกันความเป็นธรรมให้กับประชาชน

ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดความผิด บทลงโทษ รวมถึงมาตรการป้องกันและการเยียวยากรณีการกระทำทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหายไว้ใน กฎหมาย ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นการป้องกัน ปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่มีประสิทธิภาพเพิ่ม

มากขึ้น ทำให้การกระทำทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐลดลงหรือหมดไป ซึ่งจะช่วยพัฒนากระบวนการยุติธรรม และยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้ประชาชนมีหลักประกันการคุ้มครองสิทธิที่มีมาตรฐานตามหลักสากล สร้างความเชื่อมั่นด้านกระบวนการยุติธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ ลดการละเมิดสิทธิ อีกทั้งจะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยในสังคมโลกอีกด้วย

โดย "กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ยธ." จะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการปฏิบัติ และใช้งบประมาณและอัตรากำลังบุคลากรนอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ดำเนินงานตามหน้าที่อยู่แล้ว เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้น

ยธ. ระบุว่า ตลอดปี 62 ที่ผ่านมา ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบกลาง เว็บไซต์ และ facebook webpage ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ ใน 5 ภูมิภาค ที่ จ.เชียงใหม่ อุดรธานี ปัตตานี กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี รวมถึงจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ ในเวทีสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง และรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าวตามมาตรา 77 ของรธน. และพ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่าง

กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เรียบร้อยแล้ว

สรุปก็คือ ร่างฉบับนี้ ยธ.ไฟเขียว ให้ให้ยึดตาม "ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันอุ้มหาย... ตามที่ กมธ.วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันอุ้มหาย เสนอคาสภาไว้ เมื่อปี 2561 นำไปพิจารณา ทีนี้ มาดูตัวอย่างบางมาตรา ตาม "ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันอุ้มหาย... ที่ กมธ.วิสามัญ พิจารณาไว้

เรื่มจาก "ความรับผิดของผู้บังคับบัญชา ตามร่าง มาตรา 32 มที่มาจากอนุสัญญา ICPPED ข้อบทที่ 6 ที่กำหนดให้ "ผู้บังคับบัญชา" ที่จะต้องรับผิดต้องมีหน้าที่หรือควบคุมในการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการกระทำให้บุคคลสูญหาย และรวม "ผู้บังคับบัญชาตลอดสาย" โดยไม่จำกัดลำดับขั้น

เห็นว่า ความมุ่งประสงค์ ของอนุสัญญา ICPPED ข้อบทที่ 6 เพี่อให้ "ผู้บังคับบัญชา" ที่จะต้องรับผิดจะต้องครบองค์ประกอบความผิด คือ

1) เป็นผู้บังคับบัญชา ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและมีอำนาจควบคุมการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการกระทำให้บุคคลสูญหาย

2) ทราบว่ามีการกระทำให้บุคคลสูญหายแล้วเจตนาไม่ป้องกัน ยับยั้ง หรือดำเนินการสอบสวน

อย่างไรกก็ดี เพื่อให้บทบัญญัติตามร่างมาตรา 32 มีความสอดคล้องกับอนุสัญญา ICPPED ตามความเห็น เพิ่มเติมความเป็นวรรคสองของ ร่างมาตรา 32 ดังนี้

"ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง จะต้องเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบและมีอำนาจควบคุม การกระทำซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย”

อีกตัวอย่าง กรณี การห้ามอ้างสถานการณ์ฉุกเฉิน สงคราม ความไม่มั่นคงของรัฐ หรือสถานการณ์พิเคษใด เพี่อให้การกระทำความผิดตามร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายตามร่าง มาตรา 11 มีที่มาจากอนุสัญญา ICPPED ข้อบทที่ 6.2 ที่กำหนดให้การกระทำของเจ้าหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน สงครามความไม่มั่นคงหรือสถานการณ์อื่นใด ไม่อาจนำมาอ้างเพี่อให้การกระทำความผิดตามร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ได้มีการกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการทรมานไว้ ตามร่าง มาตรา 5 และกำหนดฐานความผิดกระทำให้บุคคลสูญหายตามร่าง มาตรา 6 ไว้อย่างชัดเจนแล้ว

ดังนั้น เมื่อมีการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ "ครบองค์ประกอบความผิด" ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ หรือสืบเนื่องจากการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจอ้างว่า เป็นการกระทำโดยสุจริตและไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นความผิด ตามกฎหมายได้ จึงมีความเห็นสอดคล้องกับความเห็นของ คณะกรรมการฯ ร่างมาตรา 11 จึงไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติไว้

ทั้ง 2 ข้อเป็นตัวอย่างของร่าง กฎหมาย ต่อจากนี้ ก็รอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง "ในประเด็นความจำเป็นในการใช้ ระบบคณะกรรมการฯ 19 คน" ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งข้อสังเกต ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการสภาผู้แทนราษฎรต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น