ผู้จัดการรายวัน360-“บิ๊กตู่”ถกบอร์ดอีอีซี เห็นชอบแนวทางผ่อนปรนการเดินทางระหว่างประเทศแบบ Business Bubble เตรียมเสนอ ศบค. อนุมัติ เพื่อเร่งเครื่องการลงทุนในอีอีซี พร้อมมอบศึกษาสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม S-Curve ส่วนยอดขอรับส่งเสริม 5 เดือน 7.4 หมื่นล้าน ลดลง 10% เหตุได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่สัญญาณการย้ายฐานจากจีนเริ่มมา ลุ้นไตรมาส 3-4 ดีขึ้น
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า การประชุม กพอ. ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมรับทราบแนวทางผ่อนปรนการเดินทางระหว่างประเทศแบบ Business Bubble เป็นลำดับแรกในพื้นที่เฉพาะจงจง เช่น พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะเสนอแนวทางผ่อนปรนการเดินดังกล่าวให้กับที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ต่อไป เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง
“เพื่อรองรับบุคลากรภาคธุรกิจในพื้นที่อีอีซีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สกพอ.อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ถึงแนวทางผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศไทย ได้แก่ การสร้างภาคีเครือข่ายองค์กร บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศต้นทาง กับสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ จัดให้มีการตรวจและออกใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางมีสุขภาพเหมาะสมกับการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly) การขึ้นทะเบียนสถานที่และการบริการ Alternative State Quarantine เพิ่มเติมในพื้นที่อีอีซี และทบทวนข้อกำหนด หรือมาตรการให้บุคลากรต่างชาติสามารถทำภารกิจในพื้นที่ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น”นายคณิศกล่าว
ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสอดรับกับการที่กลุ่มบุคลากรภาคธุรกิจในพื้นที่อีอีซีจากประเทศญี่ปุ่น เช่น หอการค้าประเทศญี่ปุ่น (JCC) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ภาคธุรกิจจากสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือถึงภาครัฐขอให้ผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมถึงการส่งช่างเทคนิคเข้ามาตรวจสอบซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรม และเพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่
นอกจากนี้ กพอ. ยังได้มอบให้ สกพอ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) พิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์การลงทุน เพื่อเป็นแรงจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะ 5 อุตสาหกรรม S-Curve รวมถึงการศึกษาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเน้นอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีขั้นสูง และเทคโนโลยีใหม่ๆ
นายคณิศกล่าวว่า ล่าสุดบีโอไอได้รายงานภาวะการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซีระยะ 5 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่าคำขออยู่ที่ 74,151 ล้านบาทคิดเป็น 67% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งประเทศ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 82,467 ล้านบาท ลดลงประมาณ 10% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
ขณะที่การลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีมูลค่า 32,308 ล้านบาท โดยจีนมีการลงทุนในอีอีซีมากเป็นอันดับ 1 มูลค่า 8,441 ล้านบาท รองมาเป็นญี่ปุ่นมูลค่า 8,114 ล้านบาท และสิงคโปร์อันดับ 3 มีมูลค่า 6,632 ล้านบาท ส่วนการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่อีอีซี 5 เดือนปีนี้ มีมูลค่ารวม 27,074 ล้านบาท คิดเป็น 37% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมทั้งหมด
“เชื่อว่าภาพรวมไตรมาส 3-4 น่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ และ สกพอ. เอง ยังไม่มีการปรับเป้าหมายยอดขอส่งเสริมการลงทุนทั้งปีที่ตั้งไว้ว่าจะมีมูลค่าโครงการลงทุนใหม่ในพื้นที่อีอีซี 100,000 ล้านบาท ส่วนการลงทุนเดิมผ่านบีโอไอ อีก 200,000 ล้านบาท รวมเป็นพื้นที่การลงทุนรวมในพื้นที่อีอีซี ปีละ 300,000 ล้านบาท โดยการเข้ามาลงทุนในอีอีซีส่วนใหญ่เป็นกลุ่มย้ายฐานการผลิตออกจากจีน โดยคาดว่าจะมีมากขึ้น ซึ่งทาง สกพอ. จะเร่งทำงานในช่วง 4-6 เดือนจากนี้ไป เพื่อให้ต้นปี 2564 นักลงทุนเริ่มมีการลงทุนได้”นายคณิศกล่าว
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังรับทราบการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่อีอีซี ซึ่งมีเป้าหมายยกระดับรายได้เกษตรกรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ โดยให้ความสำคัญกับเกษตร 5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐานทำได้ทันที ได้แก่ ผลไม้ , พืช Bio-Based 3 , ประมง , สมุนไพร และพืชมูลค่าสูง เช่น ไม้ประดับ ผักปลอดสารพิษ รวมทั้งรับทราบความก้าวหน้าโครงการจัดหาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) ในพื้นที่อีอีซี ที่มอบหมายให้บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิตไฟฟ้า
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า การประชุม กพอ. ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมรับทราบแนวทางผ่อนปรนการเดินทางระหว่างประเทศแบบ Business Bubble เป็นลำดับแรกในพื้นที่เฉพาะจงจง เช่น พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะเสนอแนวทางผ่อนปรนการเดินดังกล่าวให้กับที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ต่อไป เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง
“เพื่อรองรับบุคลากรภาคธุรกิจในพื้นที่อีอีซีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สกพอ.อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ถึงแนวทางผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศไทย ได้แก่ การสร้างภาคีเครือข่ายองค์กร บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศต้นทาง กับสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ จัดให้มีการตรวจและออกใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางมีสุขภาพเหมาะสมกับการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly) การขึ้นทะเบียนสถานที่และการบริการ Alternative State Quarantine เพิ่มเติมในพื้นที่อีอีซี และทบทวนข้อกำหนด หรือมาตรการให้บุคลากรต่างชาติสามารถทำภารกิจในพื้นที่ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น”นายคณิศกล่าว
ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสอดรับกับการที่กลุ่มบุคลากรภาคธุรกิจในพื้นที่อีอีซีจากประเทศญี่ปุ่น เช่น หอการค้าประเทศญี่ปุ่น (JCC) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ภาคธุรกิจจากสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือถึงภาครัฐขอให้ผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมถึงการส่งช่างเทคนิคเข้ามาตรวจสอบซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรม และเพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่
นอกจากนี้ กพอ. ยังได้มอบให้ สกพอ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) พิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์การลงทุน เพื่อเป็นแรงจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะ 5 อุตสาหกรรม S-Curve รวมถึงการศึกษาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเน้นอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีขั้นสูง และเทคโนโลยีใหม่ๆ
นายคณิศกล่าวว่า ล่าสุดบีโอไอได้รายงานภาวะการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซีระยะ 5 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่าคำขออยู่ที่ 74,151 ล้านบาทคิดเป็น 67% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งประเทศ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 82,467 ล้านบาท ลดลงประมาณ 10% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
ขณะที่การลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีมูลค่า 32,308 ล้านบาท โดยจีนมีการลงทุนในอีอีซีมากเป็นอันดับ 1 มูลค่า 8,441 ล้านบาท รองมาเป็นญี่ปุ่นมูลค่า 8,114 ล้านบาท และสิงคโปร์อันดับ 3 มีมูลค่า 6,632 ล้านบาท ส่วนการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่อีอีซี 5 เดือนปีนี้ มีมูลค่ารวม 27,074 ล้านบาท คิดเป็น 37% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมทั้งหมด
“เชื่อว่าภาพรวมไตรมาส 3-4 น่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ และ สกพอ. เอง ยังไม่มีการปรับเป้าหมายยอดขอส่งเสริมการลงทุนทั้งปีที่ตั้งไว้ว่าจะมีมูลค่าโครงการลงทุนใหม่ในพื้นที่อีอีซี 100,000 ล้านบาท ส่วนการลงทุนเดิมผ่านบีโอไอ อีก 200,000 ล้านบาท รวมเป็นพื้นที่การลงทุนรวมในพื้นที่อีอีซี ปีละ 300,000 ล้านบาท โดยการเข้ามาลงทุนในอีอีซีส่วนใหญ่เป็นกลุ่มย้ายฐานการผลิตออกจากจีน โดยคาดว่าจะมีมากขึ้น ซึ่งทาง สกพอ. จะเร่งทำงานในช่วง 4-6 เดือนจากนี้ไป เพื่อให้ต้นปี 2564 นักลงทุนเริ่มมีการลงทุนได้”นายคณิศกล่าว
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังรับทราบการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่อีอีซี ซึ่งมีเป้าหมายยกระดับรายได้เกษตรกรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ โดยให้ความสำคัญกับเกษตร 5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐานทำได้ทันที ได้แก่ ผลไม้ , พืช Bio-Based 3 , ประมง , สมุนไพร และพืชมูลค่าสูง เช่น ไม้ประดับ ผักปลอดสารพิษ รวมทั้งรับทราบความก้าวหน้าโครงการจัดหาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) ในพื้นที่อีอีซี ที่มอบหมายให้บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิตไฟฟ้า