"คำนูณ" จี้กรมศิลป์แจ้งความเอาผิดรื้อบ้านบอมเบย์เบอร์ม่า ชี้ผิดกฎหมายโบราณสถานฯชัดเจน เผยคดีตัวอย่าง-แม้แต่พระยังไม่รอด
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีการรื้อถอนอาคารศูนย์เรียนรู้ป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน จังหวดแพร่ อันเป็นบ้านไม้โบราณอายุเกือบ 130 ปี และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในฐานะที่เคยเป็นสำนักงานของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ที่เข้ามารับสัมปทานทำป่าไม้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยว่า ในเบื้องต้นกรมศิลปากรควรต้องดำเนินการแจ้งความกล่าวโทษผู้เกี่ยวข้องต่อพนักงานสอบสวน เพื่อสืบสวนสอบสวนสาเหตุที่แท้จริง
"เพราะเป็นการกระทำผิดกฎหมายโบราณสถานฯ 2504 แก้ไขปรับปรุง 2535 โดยชัดแจ้ง เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาต และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจากกรมศิลปากร มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงจากการประชุมชี้แจงระหว่างหน่วยราชการต่างๆ กับเครือข่ายภาคประชาชน ที่ศาลากลางจังหวัดแพร่ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฎชัดเจนว่า ไม่ได้มีแจ้งกรมศิลปากรอย่างสมบูรณ์ก่อนทำการรื้อถอน และกรมศิลปากร ยังรอเอกสารจากสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) อยู่ แต่ก็เกิดการรื้อถอนขึ้นก่อน
"แม้กรมศิลป์จะพยายามเข้ามาเยียวยา โดยจะพยายามสร้างใหม่ให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับว่า จะต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมากกว่าที่โครงการนี้มีอยู่ 4.5 ล้านบาทแน่นอน และการสร้างใหม่โดยไม่มีแผนการศึกษาตามหลักการบูรณะโบราณสถานไว้ก่อนอย่างชัดเจน จะทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้น สิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น เป็นความเสียหายแก่แผ่นดิน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ"
นายคำนูณ กล่าวว่าเคยมีคดีตัวอย่างมาแล้ว เช่น คดีหมายเลขดำที่ อท. 34/2562 เมื่อ 21 ก.พ.62 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาลงโทษเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร กทม. โทษฐานรื้อถอนศาลาราย และกุฏิอันเป็นโบราณสถาน โดยคดีนี้ นายบวรเวท รุ่งรุจี ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในอดีต ได้เข้าร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวน สน.บุปผาราม เมื่อปี 2558 หลังจากตรวจพบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 4, 10, 32 และ 35 รวมทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในกรณีนี้ยังมีคดีเกี่ยวเนื่องอีกหลายคดี รวมทั้งคดีแพ่งที่กรมศิลปากรฟ้องเรียกค่าเสียหายอึก
นายคำนูณ กล่าวว่า แม้บ้านบอมเบย์เบอร์ม่า จะไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร และอยู่นอกเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แต่บ้าน บอมเบย์เบอร์ม่า ก็ยังถือเป็นโบราณสถานตามความใน มาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.โบราณสถานฯอยู่ดี โดยเป็นโบราณสถานประเภทที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน การจะซ่อมแซม ปรับปรุง รื้อถอน หรือทำให้เปลี่ยนสภาพด้วยวิธีการต้องได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร และปฏิบัติตามเงื่ิอนไขที่กำหนด โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เป็นไปตาม มาตรา 10 ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีโทษทางอาญา
"การไม่ได้ขึ้นทะเบียนไม่ได้แปลว่าไม่ได้เป็นโบราณสถาน เรื่องนี้ยังเข้าใจผิดกันอยู่มาก หากอ่าน มาตรา 32 โดยนัย จะเห็นชัดเจนว่ากฎหมายแบ่งแยกโบราณออกเป็น 2 ประเภท และกำหนดไว้ว่า การกระทำผิดต่อโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จะมีโทษหนักกว่า"
นายคำนูณ กล่าวว่าในวันจันทร์ที่ 22 มิงญง ตนจะตั้งกระทู้ถามสด นายกรัฐมนตรีในกรณีบ้านบอมเบย์เบอร์ม่านี้ หวังว่าจะได้รับการบรรจุ และนายกฯ มอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งมาตอบ
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีการรื้อถอนอาคารศูนย์เรียนรู้ป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน จังหวดแพร่ อันเป็นบ้านไม้โบราณอายุเกือบ 130 ปี และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในฐานะที่เคยเป็นสำนักงานของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ที่เข้ามารับสัมปทานทำป่าไม้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยว่า ในเบื้องต้นกรมศิลปากรควรต้องดำเนินการแจ้งความกล่าวโทษผู้เกี่ยวข้องต่อพนักงานสอบสวน เพื่อสืบสวนสอบสวนสาเหตุที่แท้จริง
"เพราะเป็นการกระทำผิดกฎหมายโบราณสถานฯ 2504 แก้ไขปรับปรุง 2535 โดยชัดแจ้ง เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาต และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจากกรมศิลปากร มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงจากการประชุมชี้แจงระหว่างหน่วยราชการต่างๆ กับเครือข่ายภาคประชาชน ที่ศาลากลางจังหวัดแพร่ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฎชัดเจนว่า ไม่ได้มีแจ้งกรมศิลปากรอย่างสมบูรณ์ก่อนทำการรื้อถอน และกรมศิลปากร ยังรอเอกสารจากสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) อยู่ แต่ก็เกิดการรื้อถอนขึ้นก่อน
"แม้กรมศิลป์จะพยายามเข้ามาเยียวยา โดยจะพยายามสร้างใหม่ให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับว่า จะต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมากกว่าที่โครงการนี้มีอยู่ 4.5 ล้านบาทแน่นอน และการสร้างใหม่โดยไม่มีแผนการศึกษาตามหลักการบูรณะโบราณสถานไว้ก่อนอย่างชัดเจน จะทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้น สิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น เป็นความเสียหายแก่แผ่นดิน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ"
นายคำนูณ กล่าวว่าเคยมีคดีตัวอย่างมาแล้ว เช่น คดีหมายเลขดำที่ อท. 34/2562 เมื่อ 21 ก.พ.62 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาลงโทษเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร กทม. โทษฐานรื้อถอนศาลาราย และกุฏิอันเป็นโบราณสถาน โดยคดีนี้ นายบวรเวท รุ่งรุจี ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในอดีต ได้เข้าร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวน สน.บุปผาราม เมื่อปี 2558 หลังจากตรวจพบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 4, 10, 32 และ 35 รวมทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในกรณีนี้ยังมีคดีเกี่ยวเนื่องอีกหลายคดี รวมทั้งคดีแพ่งที่กรมศิลปากรฟ้องเรียกค่าเสียหายอึก
นายคำนูณ กล่าวว่า แม้บ้านบอมเบย์เบอร์ม่า จะไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร และอยู่นอกเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แต่บ้าน บอมเบย์เบอร์ม่า ก็ยังถือเป็นโบราณสถานตามความใน มาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.โบราณสถานฯอยู่ดี โดยเป็นโบราณสถานประเภทที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน การจะซ่อมแซม ปรับปรุง รื้อถอน หรือทำให้เปลี่ยนสภาพด้วยวิธีการต้องได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร และปฏิบัติตามเงื่ิอนไขที่กำหนด โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เป็นไปตาม มาตรา 10 ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีโทษทางอาญา
"การไม่ได้ขึ้นทะเบียนไม่ได้แปลว่าไม่ได้เป็นโบราณสถาน เรื่องนี้ยังเข้าใจผิดกันอยู่มาก หากอ่าน มาตรา 32 โดยนัย จะเห็นชัดเจนว่ากฎหมายแบ่งแยกโบราณออกเป็น 2 ประเภท และกำหนดไว้ว่า การกระทำผิดต่อโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จะมีโทษหนักกว่า"
นายคำนูณ กล่าวว่าในวันจันทร์ที่ 22 มิงญง ตนจะตั้งกระทู้ถามสด นายกรัฐมนตรีในกรณีบ้านบอมเบย์เบอร์ม่านี้ หวังว่าจะได้รับการบรรจุ และนายกฯ มอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งมาตอบ