ผู้จัดการรายวัน 360 - “หม่อมเต่า”ไขก๊อกหัวหน้า-สมาชิกพรรค จ่อเรียกประชุมใหญ่ 5 ก.ค. เผยปม “หม่อมเต่า”ลาออก โดนด่าหนักไม่ช่วยแรงงานช่วงวิกฤตโควิด ชิงลาออกก่อนถูกพรรคปรับพ้นเก้าอี้รมว.แรงงาน ด้าน”โฆษกพรรค” ส่งไลน์ข้อความถึงสื่อประจำพรรค "ขอคุยกับเจ้าตัวก่อนแถลงต่อสื่อ" จับตา 2 ตัวเต็ง หัวหน้าพรรคคนใหม่ "เอนก เหล่าธรรมทัศน์" แม้ใกล้ชิดลุงกำนัน แต่อาจไม่เข้าตา เพราะภาพลักษณ์เป็นนักวิชาการ ส่วน "หมอวรงค์ เดชกิจวิกรรม" ที่ลาจากพรรคประชาธิปัตย์ มีความใกล้ชิดเทพเทือก แถมเชี่ยวชาญด้านงานการเมือง
วานนี้ (16 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวจากพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) แจ้งว่า ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงานฯ และหัวหน้าพรรครปช.ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และตำแหน่งหัวหน้าพรรคอย่างกระทันหัน แต่ไม่กระทบต่อการทำงานตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้การลาออกครั้งนี้ มีสมาชิกพรรคที่เป็นส.ส.และไม่ได้เป็นส.ส. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแกนนำในกลุ่มกปปส. ต่างไม่ทราบสาเหตุของการลาออกในครั้งนี้ ต่างแสดงความตกใจ โดยเฉพาะส.ส.ของพรรค รปช.ทั้ง 5 คน ได้มีการเรียกประชุมส.ส.พรรคเป็นการด่วนโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ ในที่ประชุมต่างยืนยันว่า ไม่ทราบสาเหตุของการลาออกจากพรรคและตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเพื่อเป็นการให้พรรคสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ที่ประชุมส.ส.พรรคจึงมีมติให้นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค ซึ่งเป็นนักกฎหมายคนสนิทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ให้ทำหน้าที่รักษาการณ์หัวหน้าพรรครปช.ไป ก่อนควบกับการทำหน้าที่เดิมในตำแหน่งเลขาธิการพรรค ทั้งนี้ การลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ส่งผลกระทบ ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรครปช.ทั้งคณะ ต้องพ้นจากวาระการดำรงตำแหน่งตามกฎหมายพรรคการเมือง โดยกรรมการบริหาร(กก.บห.)ชุดปัจจุบันทั้งคณะ ต้องทำหน้าที่รักษาการณ์ กก.บห.ไปพรางก่อน โดยที่ประชุมพรรคมีมติให้จัดการประชุมใหญ่สามัญในวันที่ 5 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯธนบุรี
ผู้สื่อข่าวรายงาน ถึงสาเหตุของการลาออกครั้งนี้ว่า ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงานและหัวหน้าพรรครปช.ถูกกระแสสังคมโจมตีถึงการทำงานที่ล่าช้า ในการแก้ไขปัญหาการเยียวยา ในส่วนของการประกันสังคมของแรงงานที่อยู่ในระบบประกันตนตามมาตรา 33 ของพ.ร.บ.ประกันสังคม ที่รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานต้องเยียวยาค่าจ้างของแรงงานในระบบที่ว่างงาน จากคำสั่งของรัฐบาลในช่วงการต่อสู้เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและภาคโรงแรม ที่ว่างงานลง 62 % ซึ่งมีแรงงานที่ถูกพักงานนับล้านคนในช่วงที่ผ่านมา จนถูกฝ่ายค้าน นำมาดิสเครดิตรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประกอบกับการบริหารในพรรค แม้จะเป็นหัวหน้าพรรค แต่อำนาจการตัดสินใจต่างๆในเรื่องสำคัญของพรรค ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับนายสุเทพ รวมถึงในการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่จะเกิดขึ้นในเดือนก.ค.นี้ ทางพรรคได้รับการแจ้งล่วงหน้าแล้วว่า อาจต้องมีการปรับ ม.ร.ว.จตุมงคลให้พ้นจากการเป็นรมว.แรงงาน ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุกดดันตัวเอง ให้แสดงการตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ และมีความขัดแย้งภายใน ไม่เช่นนั้น ม.ร.ว.จตุมงคล จะไม่พูดต่อสื่อมวลชนที่กระทรวงแรงงานว่า “การลาออกไม่มีเหตุผล เหมือนสวามี ภรรยา หย่าขาดจากกัน ซึ่งมีผลทันที คนอย่างผม ถ้าขอลาออกแล้วก็คือออกเลย และถ้ามีการปรับครม.จะเอาผมออก ก็คือ ออกเลย”
ด้านนายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรค รปช.ได้ส่งข้อความทางไลน์ในกลุ่มนักข่าวประจำพรรค เพื่อชี้แจงว่า ในเบื้องต้น ทางพรรคเพิ่งรับทราบการลาออกของท่านวันนี้ ขอเวลาพูดจาหารือกับท่าน และกับคระกรรมการบริหารพรรคก่อน จากนั้นพรรคจะแถลงเป็นทางการอีกครั้ง
สำหรับ ผู้ที่คาดว่าจะมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนต่อไปนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการบริหารพรรค และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะที่อีกกระแสหนึ่ง กลับมองว่าอาจจะเป็นนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรรม ที่ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารพรรค เพื่อเดินหน้ารณรงค์ต่อต้านลัทธิชังชาติ และให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนมากกว่า เพราะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับนายสุเทพ เป็นอย่างดี และเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านงานการเมือง ขณะที่นายเอนก ภาพลักษณ์กลับถูกมองเป็นนักวิชาการ อาจจะไม่เข้าตานายสุเทพเท่าใดนัก
วานนี้ (16 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวจากพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) แจ้งว่า ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงานฯ และหัวหน้าพรรครปช.ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และตำแหน่งหัวหน้าพรรคอย่างกระทันหัน แต่ไม่กระทบต่อการทำงานตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้การลาออกครั้งนี้ มีสมาชิกพรรคที่เป็นส.ส.และไม่ได้เป็นส.ส. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแกนนำในกลุ่มกปปส. ต่างไม่ทราบสาเหตุของการลาออกในครั้งนี้ ต่างแสดงความตกใจ โดยเฉพาะส.ส.ของพรรค รปช.ทั้ง 5 คน ได้มีการเรียกประชุมส.ส.พรรคเป็นการด่วนโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ ในที่ประชุมต่างยืนยันว่า ไม่ทราบสาเหตุของการลาออกจากพรรคและตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเพื่อเป็นการให้พรรคสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ที่ประชุมส.ส.พรรคจึงมีมติให้นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค ซึ่งเป็นนักกฎหมายคนสนิทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ให้ทำหน้าที่รักษาการณ์หัวหน้าพรรครปช.ไป ก่อนควบกับการทำหน้าที่เดิมในตำแหน่งเลขาธิการพรรค ทั้งนี้ การลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ส่งผลกระทบ ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรครปช.ทั้งคณะ ต้องพ้นจากวาระการดำรงตำแหน่งตามกฎหมายพรรคการเมือง โดยกรรมการบริหาร(กก.บห.)ชุดปัจจุบันทั้งคณะ ต้องทำหน้าที่รักษาการณ์ กก.บห.ไปพรางก่อน โดยที่ประชุมพรรคมีมติให้จัดการประชุมใหญ่สามัญในวันที่ 5 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯธนบุรี
ผู้สื่อข่าวรายงาน ถึงสาเหตุของการลาออกครั้งนี้ว่า ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงานและหัวหน้าพรรครปช.ถูกกระแสสังคมโจมตีถึงการทำงานที่ล่าช้า ในการแก้ไขปัญหาการเยียวยา ในส่วนของการประกันสังคมของแรงงานที่อยู่ในระบบประกันตนตามมาตรา 33 ของพ.ร.บ.ประกันสังคม ที่รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานต้องเยียวยาค่าจ้างของแรงงานในระบบที่ว่างงาน จากคำสั่งของรัฐบาลในช่วงการต่อสู้เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและภาคโรงแรม ที่ว่างงานลง 62 % ซึ่งมีแรงงานที่ถูกพักงานนับล้านคนในช่วงที่ผ่านมา จนถูกฝ่ายค้าน นำมาดิสเครดิตรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประกอบกับการบริหารในพรรค แม้จะเป็นหัวหน้าพรรค แต่อำนาจการตัดสินใจต่างๆในเรื่องสำคัญของพรรค ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับนายสุเทพ รวมถึงในการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่จะเกิดขึ้นในเดือนก.ค.นี้ ทางพรรคได้รับการแจ้งล่วงหน้าแล้วว่า อาจต้องมีการปรับ ม.ร.ว.จตุมงคลให้พ้นจากการเป็นรมว.แรงงาน ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุกดดันตัวเอง ให้แสดงการตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ และมีความขัดแย้งภายใน ไม่เช่นนั้น ม.ร.ว.จตุมงคล จะไม่พูดต่อสื่อมวลชนที่กระทรวงแรงงานว่า “การลาออกไม่มีเหตุผล เหมือนสวามี ภรรยา หย่าขาดจากกัน ซึ่งมีผลทันที คนอย่างผม ถ้าขอลาออกแล้วก็คือออกเลย และถ้ามีการปรับครม.จะเอาผมออก ก็คือ ออกเลย”
ด้านนายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรค รปช.ได้ส่งข้อความทางไลน์ในกลุ่มนักข่าวประจำพรรค เพื่อชี้แจงว่า ในเบื้องต้น ทางพรรคเพิ่งรับทราบการลาออกของท่านวันนี้ ขอเวลาพูดจาหารือกับท่าน และกับคระกรรมการบริหารพรรคก่อน จากนั้นพรรคจะแถลงเป็นทางการอีกครั้ง
สำหรับ ผู้ที่คาดว่าจะมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนต่อไปนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการบริหารพรรค และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะที่อีกกระแสหนึ่ง กลับมองว่าอาจจะเป็นนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรรม ที่ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารพรรค เพื่อเดินหน้ารณรงค์ต่อต้านลัทธิชังชาติ และให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนมากกว่า เพราะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับนายสุเทพ เป็นอย่างดี และเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านงานการเมือง ขณะที่นายเอนก ภาพลักษณ์กลับถูกมองเป็นนักวิชาการ อาจจะไม่เข้าตานายสุเทพเท่าใดนัก