ผู้จัดการรายวัน360-ศบค.แถลงพบผู้พบผู้ป่วยโควิดใหม่เพิ่ม 7 ราย กลับจากต่างประเทศทั้งหมด ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่ในไทยไม่เจอติดเชื้อในประเทศครบ 14 วันแล้ว ลุ้นต่อปลายสัปดาห์นี้ หากเรียบร้อยดี เตรียมคลายล็อกเฟส 4 ขณะที่ทั่วโลกป่วยแล้ว 7 ล้านคน ตาย 4 แสน พร้อมปรับวันแถลงข่าวใหม่ เหลือจันทร์-ศุกร์ ส่วนเสาร์-อาทิตย์ว่าตามสถานการณ์ “วิษณุ”เผยมี 3 ทางเลือกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับเป็นห่วงถ้ายกเลิก อาจทำให้งานป้องกันโรคลำบากขึ้น
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวประจำวัน ว่า วานนี้ (8 มิ.ย.) มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่จำนวน 7 ราย กลับบ้านเพิ่ม 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้ป่วยสะสมรวม 3,119 ราย กลับบ้านรวม 2,973 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย ยังรักษาตัวใน รพ. 88 ราย โดยผู้ป่วยรายใหม่กลับมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันของรัฐทั้งหมด แบ่งเป็น 1.มาจากปากีสถาน 2 ราย 2.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 และ 3. สหรัฐฯ 1 ราย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่พบ ส่วนใหญ่ทุกรายเข้ามาอยู่ในสถานกักกันของรัฐและไม่ค่อยมีอาการ และไม่มีรายงานการติดเชื้อในประเทศเป็นวันที่ 14 ติดต่อกัน แต่ยังมีการค้นหาเชิงรุกอยู่ และจนถึงขณะนี้ตรวจไปแล้ว 468,175 ตัวอย่าง โดยสัปดาห์นี้ ยังต้องลุ้น ถ้าปลายสัปดาห์ ทุกอย่างเรียบร้อย จะเข้าสู่การผ่อนคลายระยะที่ 4 ที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมากขึ้น แต่ทุกคนต้องช่วยกัน
ส่วนสถานการณ์ในต่างประเทศ พบว่า พบผู้ป่วยสะสมทั่วโลกเพิ่มเป็น 7.08 ล้านคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 1.11 แสนราย เสียชีวิตรวม 4 แสนกว่ารายแล้ว เกาหลีใต้มีการระบาดใน 3 กลุ่มก้อนใหญ่ คือ กลุ่มผู้ทำกิจกรรมในโบสถ์ กลุ่มบริษัทขายสินค้าตามบ้าน และกลุ่มโรงยิมปิงปอง หลังจากที่เกิดการระบาดในกลุ่มก้อนใหญ่ที่ผับย่านอิแทวอน และกลุ่มกระจายสินค้าออนไลน์คูปัง อินเดียมีการติดเชื้อวันเดียวเกือบ 1 หมื่นราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2.36 แสนราย แซงอิตาลีขึ้นอันดับที่ 6 ของโลก และบราซิล มีผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 3 หมื่นราย มีผู้ติดเชื้อสะสม 6.45 แสนราย
นอกจากนี้ ศบค. ได้ปรับการแถลงการณ์ประจำวันใหม่ โดยตนจะแถลงข่าวสถานการณ์ในทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ส่วนวันอังคารและพฤหัสบดี พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล หรือหมอบุ๋ม ผู้ช่วยโฆษก ศบค. จะเป็นผู้แถลงจากกระทรวงสาธารณสุข และวันเสาร์-อาทิตย์ จะดูตามสถานการณ์และความเร่งด่วน แต่ตนก็ไม่ได้ไปไหน จะเข้าประชุมทุกวันเพื่อเก็บรายละเอียดที่จะผ่อนคลายในระยะที่ 4 ต่อไป
สำหรับการดูแลชายหาดให้สวยงามเหมือนเมืองนอก นายกฯ บอกว่าอยากเห็นภาพแบบนี้ คือ 1.บริเวณชายหาดที่มีโขดหินไม่สามารถเล่นน้ำทะเล ซึ่งมีร้านอาหารตั้งอยู่บนนั้น จะเปิดให้บริการได้หรือไม่ 2.บริเวณชายหาดที่มีโขดหินประปราย ให้ร้านค้าแผงลอยไปเปิดบริการตรงนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ซื้อหาสินค้าได้หรือไม่ 3.บริเวณชายหาดที่ประชาชนสามารถลงเล่นน้ำได้ จะกันพื้นที่ไม่ให้มีการขายสินค้า และให้ประชาชนไปปิกนิก เตรียมอาหารไปรับประทานเอง และ 4.ชายหาดที่จะให้เล่นน้ำอย่างเดียว ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ศบค. ที่จะต้องจัดชุดข้อมูลผ่านกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมถึงประชาชนต้องเห็นด้วย ผู้ให้บริการต้องดำเนินการตามมาตรการ และภาครัฐควบคุมกำกับดูแล
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการพิจารณาผ่อนคลายกิจการหรือกิจกรรมเพิ่มเติม ว่า คณะทำงานกลั่นกรอง จะใช้เวลาช่วง 2 สัปดาห์ของเดือนมิ.ย.2563 เพื่อประเมินว่าจะใช้มาตรการอย่างไรต่อไป ส่วนตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2563 จนสิ้นเดือน จะเฝ้าติดตามสถานการณ์ หากสามารถควบคุมสถานการณ์อยู่หรือดีขึ้น อัตราการติดเชื้อคงที่ หรือหากมีการติดเชื้อ ก็เป็นกรณีที่ติดจากเมืองนอก และถ้าในประเทศมีตัวเลขเป็นศูนย์ การจะนำไปสู่การปลดล็อกทั้งหลายโดยสิ้นเชิงมันก็เป็นไปได้
"ขณะนี้ได้เตรียมการไว้ทุกรูปแบบ คือ กรณีแรก เตรียมการที่จะต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกรณีที่ 2 เตรียมการที่จะเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกรณีที่ 3 เตรียมการที่จะต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่งดใช้มาตรการต่างๆ เช่น สามารถที่จะชุมนุมได้ เลิกเคอร์ฟิว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยขณะนี้ถือว่าสถานการณ์ดี แต่ก็ต้องดูว่าถ้ายกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วจะทำงานยังไงต่อ มันไม่ง่ายที่จะใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อ เพราะไม่สามารถบริหารจัดการเหมือนการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้เลย ทั้งการกักตัว การปิดสนามบิน"นายวิษณุกล่าว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวประจำวัน ว่า วานนี้ (8 มิ.ย.) มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่จำนวน 7 ราย กลับบ้านเพิ่ม 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้ป่วยสะสมรวม 3,119 ราย กลับบ้านรวม 2,973 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย ยังรักษาตัวใน รพ. 88 ราย โดยผู้ป่วยรายใหม่กลับมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันของรัฐทั้งหมด แบ่งเป็น 1.มาจากปากีสถาน 2 ราย 2.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 และ 3. สหรัฐฯ 1 ราย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่พบ ส่วนใหญ่ทุกรายเข้ามาอยู่ในสถานกักกันของรัฐและไม่ค่อยมีอาการ และไม่มีรายงานการติดเชื้อในประเทศเป็นวันที่ 14 ติดต่อกัน แต่ยังมีการค้นหาเชิงรุกอยู่ และจนถึงขณะนี้ตรวจไปแล้ว 468,175 ตัวอย่าง โดยสัปดาห์นี้ ยังต้องลุ้น ถ้าปลายสัปดาห์ ทุกอย่างเรียบร้อย จะเข้าสู่การผ่อนคลายระยะที่ 4 ที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมากขึ้น แต่ทุกคนต้องช่วยกัน
ส่วนสถานการณ์ในต่างประเทศ พบว่า พบผู้ป่วยสะสมทั่วโลกเพิ่มเป็น 7.08 ล้านคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 1.11 แสนราย เสียชีวิตรวม 4 แสนกว่ารายแล้ว เกาหลีใต้มีการระบาดใน 3 กลุ่มก้อนใหญ่ คือ กลุ่มผู้ทำกิจกรรมในโบสถ์ กลุ่มบริษัทขายสินค้าตามบ้าน และกลุ่มโรงยิมปิงปอง หลังจากที่เกิดการระบาดในกลุ่มก้อนใหญ่ที่ผับย่านอิแทวอน และกลุ่มกระจายสินค้าออนไลน์คูปัง อินเดียมีการติดเชื้อวันเดียวเกือบ 1 หมื่นราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2.36 แสนราย แซงอิตาลีขึ้นอันดับที่ 6 ของโลก และบราซิล มีผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 3 หมื่นราย มีผู้ติดเชื้อสะสม 6.45 แสนราย
นอกจากนี้ ศบค. ได้ปรับการแถลงการณ์ประจำวันใหม่ โดยตนจะแถลงข่าวสถานการณ์ในทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ส่วนวันอังคารและพฤหัสบดี พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล หรือหมอบุ๋ม ผู้ช่วยโฆษก ศบค. จะเป็นผู้แถลงจากกระทรวงสาธารณสุข และวันเสาร์-อาทิตย์ จะดูตามสถานการณ์และความเร่งด่วน แต่ตนก็ไม่ได้ไปไหน จะเข้าประชุมทุกวันเพื่อเก็บรายละเอียดที่จะผ่อนคลายในระยะที่ 4 ต่อไป
สำหรับการดูแลชายหาดให้สวยงามเหมือนเมืองนอก นายกฯ บอกว่าอยากเห็นภาพแบบนี้ คือ 1.บริเวณชายหาดที่มีโขดหินไม่สามารถเล่นน้ำทะเล ซึ่งมีร้านอาหารตั้งอยู่บนนั้น จะเปิดให้บริการได้หรือไม่ 2.บริเวณชายหาดที่มีโขดหินประปราย ให้ร้านค้าแผงลอยไปเปิดบริการตรงนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ซื้อหาสินค้าได้หรือไม่ 3.บริเวณชายหาดที่ประชาชนสามารถลงเล่นน้ำได้ จะกันพื้นที่ไม่ให้มีการขายสินค้า และให้ประชาชนไปปิกนิก เตรียมอาหารไปรับประทานเอง และ 4.ชายหาดที่จะให้เล่นน้ำอย่างเดียว ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ศบค. ที่จะต้องจัดชุดข้อมูลผ่านกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมถึงประชาชนต้องเห็นด้วย ผู้ให้บริการต้องดำเนินการตามมาตรการ และภาครัฐควบคุมกำกับดูแล
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการพิจารณาผ่อนคลายกิจการหรือกิจกรรมเพิ่มเติม ว่า คณะทำงานกลั่นกรอง จะใช้เวลาช่วง 2 สัปดาห์ของเดือนมิ.ย.2563 เพื่อประเมินว่าจะใช้มาตรการอย่างไรต่อไป ส่วนตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2563 จนสิ้นเดือน จะเฝ้าติดตามสถานการณ์ หากสามารถควบคุมสถานการณ์อยู่หรือดีขึ้น อัตราการติดเชื้อคงที่ หรือหากมีการติดเชื้อ ก็เป็นกรณีที่ติดจากเมืองนอก และถ้าในประเทศมีตัวเลขเป็นศูนย์ การจะนำไปสู่การปลดล็อกทั้งหลายโดยสิ้นเชิงมันก็เป็นไปได้
"ขณะนี้ได้เตรียมการไว้ทุกรูปแบบ คือ กรณีแรก เตรียมการที่จะต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกรณีที่ 2 เตรียมการที่จะเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกรณีที่ 3 เตรียมการที่จะต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่งดใช้มาตรการต่างๆ เช่น สามารถที่จะชุมนุมได้ เลิกเคอร์ฟิว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยขณะนี้ถือว่าสถานการณ์ดี แต่ก็ต้องดูว่าถ้ายกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วจะทำงานยังไงต่อ มันไม่ง่ายที่จะใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อ เพราะไม่สามารถบริหารจัดการเหมือนการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้เลย ทั้งการกักตัว การปิดสนามบิน"นายวิษณุกล่าว