ผู้จัดการรายวัน360- ส.ส.ก้าวไกลยอมรับไม่มีหลักฐาน ปมแจกงบประมาณ ส.ส. คนละ 80 ล้าน แค่ฟังเขามา ที่ต้องพูดก็เพื่อให้ใช้งบสู้โควิด-19 อย่างโปร่งใส ด้านประธานวิปรัฐบาลถอยแล้ว ยอมให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ ติดตามตรวจสอบการใช้เงินกู้ เพื่อเคลียร์รอยร้าวในพรรคร่วมรัฐบาล คาดตั้งได้ 10-11 มิ.ย.นี้ "ชวน" เผยได้รับญัตติตั้งกมธ.แล้ว แต่ยังไม่บรรจุเข้าวาระ ระบุไม่เคยได้ยินแบ่งเค้ก ส.ส.หัวละ 80 ล้าน หากใครข้องใจ ยื่นกระทู้ถามได้
นายพิจารณ์ เชาวพัฒนาวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดเผยถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ที่ตนอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเรื่องการให้เงินส.ส.หัวละ 80 ล้านบาท จากงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาทโดยไม่มีหลักฐาน ว่า เรื่องนี้ตนได้ยินมาเมื่อช่วงเช้าวันที่ 31 พ.ค.2563 โดยเป็นการพูดคุยระหว่างส.ส.ด้วยกัน ทั้งในพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลว่าจะมีการจัดสรรงบฯ ให้ส.ส.คนละ 80 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ไม่มี แต่มีมานานแล้ว ที่เรียกว่างบฯ ส.ส. ซึ่งเมื่อครั้งที่ตนเป็นกมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ประเด็นนี้ก็มีเรื่องมาเข้าหูเหมือนกัน ในครั้งนั้นมีการพูดคุยในลักษณะนี้ว่ามีการแบ่งปันงบฯ ส.ส.ตัวเลขอยู่ที่ 20-30 ล้านบาท แต่ตอนนั้นเราทำอะไรไม่ได้ เพราะขณะนั้นพรรคอนาคตใหม่ไม่มีส่วนร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับงบฯ ส.ส. ดังกล่าว แต่ครั้งนี้ เมื่อตนได้ยินเรื่องนี้ แล้วคิดว่าจำเป็นที่จะต้องพูดในสภาฯ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ว่า มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น
"จริงๆ แล้วงบฯ ลักษณะนี้ เคยมีมาอยู่แล้วเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเอาไว้ แต่สำหรับรัฐธรรมนูญปี 60 มีการบัญญัติใน ม.144 ว่าการที่ ส.ส.จะผันงบฯ ลงพื้นที่ตนเองทำไม่ได้ ถือว่าผิดรัฐธรรมนูญ และผิดกฎหมาย และขณะนี้ประเทศเรากำลังอยู่ภายใต้วิกฤตโควิด-19 จึงจำเป็นต้องกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในประวัติการณ์ ดังนั้น งบฯ ที่ได้ควรจะจัดสรร และใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและประเทศชาติ ต่อให้ไม่มีงบฯ ส.ส. ไม่มีการคอร์รัปชัน การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็แย่อยู่แล้ว แต่ถ้ายังมีการทุจริต แบ่งเค้กกัน ผมเห็นว่าความหวังที่ไทยจะฟื้นฟู พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสก็ยาก"
นายพิจารณ์กล่าวว่า เมื่อมีงบฯ ลงไปแล้ว ทำให้ ส.ส.สามารถเลือกใช้ได้ว่าจะใช้อย่างไร กับโครงการไหน มีโอกาสสูงมากว่าโครงการที่ดีๆ มาจากหน่วยงานข้าราชการ และโครงการที่ตอบสนองท้องถิ่นจริงอาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ตรงกับผลประโยชน์นักการเมืองบางคน บางกลุ่มในท้องถิ่น โดยงบฯ เหล่านี้จะไปถึงตัวส.ส. โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้น เป็นสิ่งที่ตนจำเป็นต้องพูด และส.ส.พรรคอื่นหลายคนก็อยากพูดตีแผ่ในเรื่องนี้ แต่พูดไม่ได้ เพราะเป็นการขัดผลประโยชน์กับเพื่อน ส.ส.ด้วยกัน
"แม้สิ่งที่ผมพูดไปจะไม่มีหลักฐาน แต่เชื่อว่าการที่ออกมาพูดลักษณะนี้ อย่างน้อยจะเป็นการป้องปราม หยุดยั้งสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น สำคัญที่สุด คือ เราต้องตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อตรวจสอบเงินกู้เหล่านี้" นายพิจารณ์ กล่าว
ด้านนายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงการตั้งกมธ.วิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้เงินกู้ ว่า จะมีการหารือในที่ประชุมวิปครั้งหน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ตั้งกมธ.ชุดนี้ โดยขณะนี้สองพรรคได้ยื่นญัตติไปแล้ว คือ ภูมิใจไทยกับประชาธิปัตย์ ซึ่งพลังประชารัฐก็ไม่ขัดข้อง ส่วนที่มีการให้สัมภาษณ์คัดค้านก่อนหน้านี้ เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น และเชื่อว่าจะสามารถตั้งกมธ.ได้ในวันที่ 10 หรือ 11 มิ.ย.2563 ไม่น่าจะทันในการประชุมสภาสัปดาห์นี้ เนื่องจากมีวาระที่ต้องพิจารณาเรื่องด่วนของรัฐบาล คือ พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 วงเงิน 8.8 หมื่นล้านบาทก่อน
“ไม่มีปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากการลงมติที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเสียงของรัฐบาลก็มีความเข้มแข็งขึ้น อีกทั้งไม่เชื่อว่าจะเกิดปัญหาภายใน จนทำให้รัฐบาลระส่ำระสาย”
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน ยื่นญัตติด่วนขอให้ตั้ง กมธ.วิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ว่า มีการยื่นมาแล้ว แต่ถ้าจะตั้งกมธ. ต้องผ่านการโหวตของสภาฯ และญัตติดังกล่าวยังไม่ได้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระ ซึ่งสัปดาห์หน้า วันพฤหัสบดีที่ 5 มิ.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณปี 2563 แต่ถ้าไม่จบ ไปต่อในวันที่ศุกร์ที่ 6 มิ.ย.
เมื่อถามว่าการตั้งกมธ.วิสามัญเพื่อติดตามตรวจสอบ จะซ้ำซ้อน กับกมธ.สามัญ ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง หรือยุ่งยากอะไร สามารถตรวจสอบได้ทั้ง กมธ.สามัญ และวิสามัญ ที่จะตั้งขึ้นใหม่ สามารถตรวจสอบได้ภายในขอบเขตของแต่ละกมธ. ส่วนความซ้ำซ้อน จะอยู่ที่ กมธ. จะกำหนดไว้ตามภารกิจของกมธ. นั้นๆ
เมื่อถามถึงกรณี นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า มีการกันงบฯ 80 ล้านให้ส.ส. แลกกับการลงมติผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ ทั้ง 3 ฉบับ นายชวน กล่าวว่า ตนได้ยินเรื่องนี้เมื่อวาน หากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ก็คงปิดไม่มิด เป็นหน้าที่ของแต่ละฝ่ายต้องคอยดูกัน ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญต้องตั้ง กมธ. มาตรวจสอบ ต้องย้อนไปดูสมัยก่อน ปกติแล้วเมื่อมี พ.ร.ก. มีโอกาสน้อยมากที่จะไม่ผ่าน เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลตัดสินใจแล้วว่าจะเอาเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วน แต่เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ส่วนใหญ่การวิพากษ์วิจารณ์ก็จะน้อย ฉะนั้นการลงมติรับอนุมัติ ก็เป็นเรื่องปกติ
เมื่อถามว่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาฯ หรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ตนเห็นข่าวพาดหัวบางฉบับ ทุกฝ่ายก็ต้องติดตามกันต่อไป แต่ส่วนตัวไม่เคยได้ยินมาก่อน ส่วนการตรวจสอบนั้น ผู้พูดก็ต้องติดตามต่อไป และฝ่ายที่ข้องใจก็สามารถตั้งกระทู้ถามได้
นายพิจารณ์ เชาวพัฒนาวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดเผยถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ที่ตนอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเรื่องการให้เงินส.ส.หัวละ 80 ล้านบาท จากงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาทโดยไม่มีหลักฐาน ว่า เรื่องนี้ตนได้ยินมาเมื่อช่วงเช้าวันที่ 31 พ.ค.2563 โดยเป็นการพูดคุยระหว่างส.ส.ด้วยกัน ทั้งในพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลว่าจะมีการจัดสรรงบฯ ให้ส.ส.คนละ 80 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ไม่มี แต่มีมานานแล้ว ที่เรียกว่างบฯ ส.ส. ซึ่งเมื่อครั้งที่ตนเป็นกมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ประเด็นนี้ก็มีเรื่องมาเข้าหูเหมือนกัน ในครั้งนั้นมีการพูดคุยในลักษณะนี้ว่ามีการแบ่งปันงบฯ ส.ส.ตัวเลขอยู่ที่ 20-30 ล้านบาท แต่ตอนนั้นเราทำอะไรไม่ได้ เพราะขณะนั้นพรรคอนาคตใหม่ไม่มีส่วนร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับงบฯ ส.ส. ดังกล่าว แต่ครั้งนี้ เมื่อตนได้ยินเรื่องนี้ แล้วคิดว่าจำเป็นที่จะต้องพูดในสภาฯ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ว่า มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น
"จริงๆ แล้วงบฯ ลักษณะนี้ เคยมีมาอยู่แล้วเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเอาไว้ แต่สำหรับรัฐธรรมนูญปี 60 มีการบัญญัติใน ม.144 ว่าการที่ ส.ส.จะผันงบฯ ลงพื้นที่ตนเองทำไม่ได้ ถือว่าผิดรัฐธรรมนูญ และผิดกฎหมาย และขณะนี้ประเทศเรากำลังอยู่ภายใต้วิกฤตโควิด-19 จึงจำเป็นต้องกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในประวัติการณ์ ดังนั้น งบฯ ที่ได้ควรจะจัดสรร และใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและประเทศชาติ ต่อให้ไม่มีงบฯ ส.ส. ไม่มีการคอร์รัปชัน การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็แย่อยู่แล้ว แต่ถ้ายังมีการทุจริต แบ่งเค้กกัน ผมเห็นว่าความหวังที่ไทยจะฟื้นฟู พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสก็ยาก"
นายพิจารณ์กล่าวว่า เมื่อมีงบฯ ลงไปแล้ว ทำให้ ส.ส.สามารถเลือกใช้ได้ว่าจะใช้อย่างไร กับโครงการไหน มีโอกาสสูงมากว่าโครงการที่ดีๆ มาจากหน่วยงานข้าราชการ และโครงการที่ตอบสนองท้องถิ่นจริงอาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ตรงกับผลประโยชน์นักการเมืองบางคน บางกลุ่มในท้องถิ่น โดยงบฯ เหล่านี้จะไปถึงตัวส.ส. โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้น เป็นสิ่งที่ตนจำเป็นต้องพูด และส.ส.พรรคอื่นหลายคนก็อยากพูดตีแผ่ในเรื่องนี้ แต่พูดไม่ได้ เพราะเป็นการขัดผลประโยชน์กับเพื่อน ส.ส.ด้วยกัน
"แม้สิ่งที่ผมพูดไปจะไม่มีหลักฐาน แต่เชื่อว่าการที่ออกมาพูดลักษณะนี้ อย่างน้อยจะเป็นการป้องปราม หยุดยั้งสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น สำคัญที่สุด คือ เราต้องตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อตรวจสอบเงินกู้เหล่านี้" นายพิจารณ์ กล่าว
ด้านนายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงการตั้งกมธ.วิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้เงินกู้ ว่า จะมีการหารือในที่ประชุมวิปครั้งหน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ตั้งกมธ.ชุดนี้ โดยขณะนี้สองพรรคได้ยื่นญัตติไปแล้ว คือ ภูมิใจไทยกับประชาธิปัตย์ ซึ่งพลังประชารัฐก็ไม่ขัดข้อง ส่วนที่มีการให้สัมภาษณ์คัดค้านก่อนหน้านี้ เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น และเชื่อว่าจะสามารถตั้งกมธ.ได้ในวันที่ 10 หรือ 11 มิ.ย.2563 ไม่น่าจะทันในการประชุมสภาสัปดาห์นี้ เนื่องจากมีวาระที่ต้องพิจารณาเรื่องด่วนของรัฐบาล คือ พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 วงเงิน 8.8 หมื่นล้านบาทก่อน
“ไม่มีปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากการลงมติที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเสียงของรัฐบาลก็มีความเข้มแข็งขึ้น อีกทั้งไม่เชื่อว่าจะเกิดปัญหาภายใน จนทำให้รัฐบาลระส่ำระสาย”
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน ยื่นญัตติด่วนขอให้ตั้ง กมธ.วิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ว่า มีการยื่นมาแล้ว แต่ถ้าจะตั้งกมธ. ต้องผ่านการโหวตของสภาฯ และญัตติดังกล่าวยังไม่ได้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระ ซึ่งสัปดาห์หน้า วันพฤหัสบดีที่ 5 มิ.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณปี 2563 แต่ถ้าไม่จบ ไปต่อในวันที่ศุกร์ที่ 6 มิ.ย.
เมื่อถามว่าการตั้งกมธ.วิสามัญเพื่อติดตามตรวจสอบ จะซ้ำซ้อน กับกมธ.สามัญ ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง หรือยุ่งยากอะไร สามารถตรวจสอบได้ทั้ง กมธ.สามัญ และวิสามัญ ที่จะตั้งขึ้นใหม่ สามารถตรวจสอบได้ภายในขอบเขตของแต่ละกมธ. ส่วนความซ้ำซ้อน จะอยู่ที่ กมธ. จะกำหนดไว้ตามภารกิจของกมธ. นั้นๆ
เมื่อถามถึงกรณี นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า มีการกันงบฯ 80 ล้านให้ส.ส. แลกกับการลงมติผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ ทั้ง 3 ฉบับ นายชวน กล่าวว่า ตนได้ยินเรื่องนี้เมื่อวาน หากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ก็คงปิดไม่มิด เป็นหน้าที่ของแต่ละฝ่ายต้องคอยดูกัน ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญต้องตั้ง กมธ. มาตรวจสอบ ต้องย้อนไปดูสมัยก่อน ปกติแล้วเมื่อมี พ.ร.ก. มีโอกาสน้อยมากที่จะไม่ผ่าน เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลตัดสินใจแล้วว่าจะเอาเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วน แต่เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ส่วนใหญ่การวิพากษ์วิจารณ์ก็จะน้อย ฉะนั้นการลงมติรับอนุมัติ ก็เป็นเรื่องปกติ
เมื่อถามว่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาฯ หรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ตนเห็นข่าวพาดหัวบางฉบับ ทุกฝ่ายก็ต้องติดตามกันต่อไป แต่ส่วนตัวไม่เคยได้ยินมาก่อน ส่วนการตรวจสอบนั้น ผู้พูดก็ต้องติดตามต่อไป และฝ่ายที่ข้องใจก็สามารถตั้งกระทู้ถามได้