ผู้จัดการรายวัน 360 - บมจ.การบินไทย ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง พร้อมรายชื่อผู้ทำแผนฝ่ายลูกหนี้ 7 ราย ศาลนัดฟังคำสั่งวันนี้ (27 พ.ค.) ขณะที่ "บิ๊กตู่" ลงนามตั้ง 9 คณะกรรมการติดตามการดำเนินแก้ไขปัญหาการบิน มี “วิษณุ” นั่งประธาน ด้านเจ้าตัวยันไม่ใช่ซูเปอร์บอร์ด เป็นแค่มินิบอร์ด คอยประสานงาน "อุตตม" ยันไม่แทรกแซง “ศักดิ์สยาม” ปล่อยมือการบินไทย วัดใจเจ้าหนี้โหวตแผนฟื้นฟูกิจการ แย้มอนาคตแข็งแรงคลังอาจใส่หุ้นเพิ่ม กลับคืนรัฐวิสาหกิจได้
วานนี้ (26พ.ค.) ฝ่ายกฎหมายของ บมจ.การบินไทย ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง ขอทำแผนฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา 90/12 ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ตามมติครม.แล้ว
นายประภาศ คงเอียด ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. กล่าวว่า หลังจาก ก.คลัง ขายหุ้นการบินไทยไปแล้ว 3% เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้การบินไทย สิ้นสุดสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น สคร. จึงไม่ได้กำกับดูแลการบินไทยอีกต่อไป ซึ่งหากศาลรับคำร้อง จะทำให้การบินไทย ได้รับการคุ้มครองตาม มาตรา 90/12 ของพ.ร.บ.ล้มละลาย หรือ สภาวะพักชำระหนี้
ทั้งนี้ นายประภาศ เพิ่งได้รับแต่งตั้งจาก นายกฯ ให้เป็นทั้งกรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหา การบินไทย โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่เป็นตัวแทนภาครัฐในการติดตามการแก้ไขปัญหาบริษัทการบินไทย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของภาครัฐ โดยไม่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาของศาล
ตั้ง 7 ผู้ทำแผน 'การบินไทย'
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการฯครั้งนี้ ได้ยื่นรายชื่อ "ผู้ทำแผน" ฝ่ายลูกหนี้ 7 ราย เป็นบุคคลธรรมดา 6 ราย และนิติบุคคล 1 ราย ประกอบด้วย พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย, นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการ คนที่ 2 และรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย, นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กรรมการบริษัท การบินไทย, นายบุญทักษ์ หวังเจริญ กรรมการบริษัท การบินไทย, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการบริษัท การบินไทย, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการบริษัท การบินไทย และบริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด
หลังจากศาลอนุมัติคำร้องของฟื้นฟูกิจการการบินไทย หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบกับรายชื่อผู้ทำแผนที่ลูกหนี้เสนอ ที่ประชุมเจ้าหนี้ต้องเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แต่หากฝ่ายเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบรายชื่อผู้ทำแผนที่ฝ่ายลูกหนี้เสนอ และต้องการเสนอผู้ทำแผนแข่ง ต้องใช้เสียงของที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องฟื้นฟูกิจการของบมจ.การบินไทย ซึ่งศาลล้มละลายกลางเห็นว่ามีรายละเอียดต้องพิจารณาและมีผู้มีความได้เสียจำนวนมาก จึงนัดฟังคำสั่งในวันนี้ (27 พ.ค.)
“บิ๊กตู่”ลงนามตั้ง 9 กก.ติดตามฟื้นฟูการบินไทย
วานนี้ (26 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 143/2563 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2563 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่ครม. มีมติ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 63 ให้บริษัทการบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาล ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
สำหรับกรรมการ 8 คน ประกอบด้วย นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) , นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง , นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม , นายชยธรรมม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร , นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม , นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา , น.ส.รื่นฤดี สุวรรณมงคล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และนายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นทั้งกรรมการและเลขานุการด้วย
นายวิษณุ กล่าวถึง คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาบมจ.การบินไทยว่า ไม่ใช่เป็นซุปเปอร์บอร์ด แต่เป็นมินิบอร์ดที่เชื่อมโยง เป็นคนกลางและตัวกลางระหว่างรัฐบาลกับบริษัท เพื่อให้แผนการฟื้นฟูบมจ.การบินไทยไม่สะดุดเดินหน้าได้
อีกทั้งยังมีประเด็นทั้งเรื่องสหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ กว่า 80 แห่ง ไปถือหุ้นกู้อยู่จะได้รับความเดือดร้อน หรือแม้แต่ตำรวจกำลังดำเนินการสอบสวนเรื่องการขายตั๋ว ซึ่งหากไม่ตั้งคณะกรรมการชุดนี้ ก็อาจทำให้ การฟื้นฟูสะดุดได้
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นของรัฐบาลไม่ใช่คณะกรรมการของการบินไทย แต่การจะไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยได้ ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปกำกับดูแลการดำเนินการ
วัดใจเจ้าหนี้โหวตแแผนฟื้นฟูฯ บินไทย
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (26 พ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้รายงานจากมติครม.เมื่อวันที่ 19 พ.ค. นั้น ขณะนี้สถานะของการบินไทยพ้นจาการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ทำให้ไม่มีกฎหมายใดรองรับในการที่หน่วยงานรัฐจะเข้าไปกำกับการบินไทย
ดังนั้น การบินไทย ในฐานะบริษัท จำกัด (มหาชน) ต้องดำเนินการต่อในรูปแบบของบริษัทจำกัดมหาชนต่อไป
นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่มีมติให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการนั้น กระทรวงได้ดำเนินการไปแล้วใน ช่วงที่คลังยังไม่ลดสัดส่วนหุ้น ซึ่งการบินไทยยังเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคมอยู่นั้น กระทรวงคมนาคมได้ให้การบินไทย จัดเตรียมทุกเรื่องที่จะต้องดำเนินการแล้ว หลังจากนี้เป็นเรื่องที่บริษัทจะต้องดำเนินการต่อไป
เจตนารมณ์ของนายกฯ ต้องการฟื้นการบินไทยให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งเท่านั้น ถ้าการบินไทยฟื้นตัวแล้ว อาจจะกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งก็ได้ หากเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของคลังเข้าไป
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอผู้แทน 2 คน คือ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ร่วมคณะทำงานชุดรองฯวิษณุ
ส่วนการบินไทยที่ได้ยื่นศาลล้มละลายกลางเพื่อขอฟื้นฟูกิจการแล้ว หากเจ้าหนี้ยอมรับ จะเข้าสู่การแต่งตั้งผู้บริหารแผนต่อไป หากไม่ยอมรับก็ต้องดำเนินการโหวต เจ้าหนี้แต่ละราย จะมีการปรับปรุงแผนอย่างไร
“วันนี้การบินไทยเป็นบริษัท จำกัด (มหาชน) มีคล่องตัวดำเนินการต่างๆ ที่จะมีการปรับโครงสร้างต่างๆ และล่าสุด ได้แต่งตั้งบอร์ดใหม่ 4 คนได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเข้ากระบวนการ ตรวจสอบคัดสรรเหมือนตอนเป็นรัฐวิสาหกิจ และเข้าสคร. ครม.”
วานนี้ (26พ.ค.) ฝ่ายกฎหมายของ บมจ.การบินไทย ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง ขอทำแผนฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา 90/12 ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ตามมติครม.แล้ว
นายประภาศ คงเอียด ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. กล่าวว่า หลังจาก ก.คลัง ขายหุ้นการบินไทยไปแล้ว 3% เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้การบินไทย สิ้นสุดสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น สคร. จึงไม่ได้กำกับดูแลการบินไทยอีกต่อไป ซึ่งหากศาลรับคำร้อง จะทำให้การบินไทย ได้รับการคุ้มครองตาม มาตรา 90/12 ของพ.ร.บ.ล้มละลาย หรือ สภาวะพักชำระหนี้
ทั้งนี้ นายประภาศ เพิ่งได้รับแต่งตั้งจาก นายกฯ ให้เป็นทั้งกรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหา การบินไทย โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่เป็นตัวแทนภาครัฐในการติดตามการแก้ไขปัญหาบริษัทการบินไทย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของภาครัฐ โดยไม่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาของศาล
ตั้ง 7 ผู้ทำแผน 'การบินไทย'
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการฯครั้งนี้ ได้ยื่นรายชื่อ "ผู้ทำแผน" ฝ่ายลูกหนี้ 7 ราย เป็นบุคคลธรรมดา 6 ราย และนิติบุคคล 1 ราย ประกอบด้วย พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย, นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการ คนที่ 2 และรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย, นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กรรมการบริษัท การบินไทย, นายบุญทักษ์ หวังเจริญ กรรมการบริษัท การบินไทย, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการบริษัท การบินไทย, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการบริษัท การบินไทย และบริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด
หลังจากศาลอนุมัติคำร้องของฟื้นฟูกิจการการบินไทย หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบกับรายชื่อผู้ทำแผนที่ลูกหนี้เสนอ ที่ประชุมเจ้าหนี้ต้องเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แต่หากฝ่ายเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบรายชื่อผู้ทำแผนที่ฝ่ายลูกหนี้เสนอ และต้องการเสนอผู้ทำแผนแข่ง ต้องใช้เสียงของที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องฟื้นฟูกิจการของบมจ.การบินไทย ซึ่งศาลล้มละลายกลางเห็นว่ามีรายละเอียดต้องพิจารณาและมีผู้มีความได้เสียจำนวนมาก จึงนัดฟังคำสั่งในวันนี้ (27 พ.ค.)
“บิ๊กตู่”ลงนามตั้ง 9 กก.ติดตามฟื้นฟูการบินไทย
วานนี้ (26 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 143/2563 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2563 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่ครม. มีมติ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 63 ให้บริษัทการบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาล ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
สำหรับกรรมการ 8 คน ประกอบด้วย นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) , นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง , นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม , นายชยธรรมม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร , นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม , นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา , น.ส.รื่นฤดี สุวรรณมงคล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และนายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นทั้งกรรมการและเลขานุการด้วย
นายวิษณุ กล่าวถึง คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาบมจ.การบินไทยว่า ไม่ใช่เป็นซุปเปอร์บอร์ด แต่เป็นมินิบอร์ดที่เชื่อมโยง เป็นคนกลางและตัวกลางระหว่างรัฐบาลกับบริษัท เพื่อให้แผนการฟื้นฟูบมจ.การบินไทยไม่สะดุดเดินหน้าได้
อีกทั้งยังมีประเด็นทั้งเรื่องสหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ กว่า 80 แห่ง ไปถือหุ้นกู้อยู่จะได้รับความเดือดร้อน หรือแม้แต่ตำรวจกำลังดำเนินการสอบสวนเรื่องการขายตั๋ว ซึ่งหากไม่ตั้งคณะกรรมการชุดนี้ ก็อาจทำให้ การฟื้นฟูสะดุดได้
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นของรัฐบาลไม่ใช่คณะกรรมการของการบินไทย แต่การจะไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยได้ ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปกำกับดูแลการดำเนินการ
วัดใจเจ้าหนี้โหวตแแผนฟื้นฟูฯ บินไทย
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (26 พ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้รายงานจากมติครม.เมื่อวันที่ 19 พ.ค. นั้น ขณะนี้สถานะของการบินไทยพ้นจาการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ทำให้ไม่มีกฎหมายใดรองรับในการที่หน่วยงานรัฐจะเข้าไปกำกับการบินไทย
ดังนั้น การบินไทย ในฐานะบริษัท จำกัด (มหาชน) ต้องดำเนินการต่อในรูปแบบของบริษัทจำกัดมหาชนต่อไป
นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่มีมติให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการนั้น กระทรวงได้ดำเนินการไปแล้วใน ช่วงที่คลังยังไม่ลดสัดส่วนหุ้น ซึ่งการบินไทยยังเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคมอยู่นั้น กระทรวงคมนาคมได้ให้การบินไทย จัดเตรียมทุกเรื่องที่จะต้องดำเนินการแล้ว หลังจากนี้เป็นเรื่องที่บริษัทจะต้องดำเนินการต่อไป
เจตนารมณ์ของนายกฯ ต้องการฟื้นการบินไทยให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งเท่านั้น ถ้าการบินไทยฟื้นตัวแล้ว อาจจะกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งก็ได้ หากเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของคลังเข้าไป
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอผู้แทน 2 คน คือ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ร่วมคณะทำงานชุดรองฯวิษณุ
ส่วนการบินไทยที่ได้ยื่นศาลล้มละลายกลางเพื่อขอฟื้นฟูกิจการแล้ว หากเจ้าหนี้ยอมรับ จะเข้าสู่การแต่งตั้งผู้บริหารแผนต่อไป หากไม่ยอมรับก็ต้องดำเนินการโหวต เจ้าหนี้แต่ละราย จะมีการปรับปรุงแผนอย่างไร
“วันนี้การบินไทยเป็นบริษัท จำกัด (มหาชน) มีคล่องตัวดำเนินการต่างๆ ที่จะมีการปรับโครงสร้างต่างๆ และล่าสุด ได้แต่งตั้งบอร์ดใหม่ 4 คนได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเข้ากระบวนการ ตรวจสอบคัดสรรเหมือนตอนเป็นรัฐวิสาหกิจ และเข้าสคร. ครม.”