“กฟภ.-กฟน.” แจงมาตรกรลดค่าไฟ 22 ล้านครัวเรือน ระหว่าง มี.ค.-พ.ค.63 บิลที่ออกไปแล้วบางส่วนยังไม่ได้สิทธิ์ส่วนลดเพราะระบบยังไม่รองรับ กฟภ.ระบบพร้อมรับ แนะให้เริ่มจ่าย 8 พ.ค.เป็นต้นไป ด้าน กฟน. ให้จ่ายหลัง 12 พ.ค.เป็นต้นไป
จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.63 ที่กำหนดมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าช่วงการแพร่ระบาดโดรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมผู้ใช้ไฟ 22 ล้านราย แบ่งเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน 18.5 ล้านราย และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จำนวน 3.5 ล้านราย ระยะเวลา 3 เดือน ช่วงมี.ค.-พ.ค. 63 โดยมีเงื่อนไขคือ 1. ใช้น้อยกว่าหน่วยเดือน ก.พ.63 จ่ายเท่าหน่วยตามการใช้จริง, 2. ไม่เกิน 800 หน่วย จ่ายเท่าหน่วยเดือน ก.พ., 3. เกิน 800 หน่วยแต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย จ่ายเท่าเดือนก.พ.+50%ของหน่วยส่วนเกินจากเดือนก.พ.63 และ 4.เกิน 3,000 หน่วย จ่ายเท่าหน่วยก.พ.+70% ของหน่วยส่วนเกินจากเดือน ก.พ.63 นั้น
วานนี้ (7 พ.ค.) นายวิโรจน์ บัวคลี่ ผู้ช่วยผู้ว่าการ และในฐานะโฆษก กฟภ. กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า กฟภ.ได้ปรับระบบบิลใหม่ ที่จะมีสิทธิ์ส่วนลดในบิลทันทีตามมาตรการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.นี้ ดังนั้นประชาชนที่ยังไม่ได้ชำระค่าไฟฟ้า หากจ่ายตั้งแต่ 8 พ.ค.นี้เป็นต้นไปจะได้ส่วนลดค่าไฟทันที แต่กรณีบิลค่าไฟ มี.ค.-เม.ย.63 ที่ออกไปก่อน และประชาชนได้ชำระค่าไฟฟ้าดังกล่าวไปแล้ว ซึ่งยังไม่ได้สิทธิ์ส่วนลด กฟภ.จะคืนค่าไฟฟ้าโดยหักคืนเป็นส่วนลดค่าไฟในเดือนมิ.ย.63 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบตามยอดเงินที่ได้ชำระแล้ว
“ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ชำระค่าไฟฟ้างวดเดือน เม.ย.63 สามารถชำระได้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.เป็นต้นไป เพราะระบบได้คำนวณส่วนลดให้แล้ว แม้ในตัวบิลค่าไฟจะไม่เห็นส่วนลด แต่ระบบจะเริ่มเห็นเมื่อไปจ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน้าเคาน์เตอร์ กฟภ. ที่ร้านสะดวกซื้อ ผู้รับจ่ายบิลจะเห็นส่วนลดทันที ก็จะไม่ต้องจ่ายเงินเต็มตามบิล โดยต้องหักส่วนลดก่อน และบิลค่าไฟงวดเดือน พ.ค.63 จะเริ่มเห็นส่วนลดที่สมบูรณ์แล้ว เพราะการทำระบบใหม่รองรับต้องอาศัยเวลาที่ผ่านมายังทำไม่ทัน" นายวิโรจน์กล่าว
โฆษก กฟภ.กล่าวต่อว่า ประชาชนสามารถตรวจสอบค่าไฟฟ้า ผ่านช่องทางต่างๆของ กฟภ. ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ชำระค่าไฟผ่านบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิต ระบบจะตัดบัญชี/บัตรเครดิต นั้นได้ให้ธนาคารชะลอการหักเงิน และจะเริ่มได้ในวันที่ 11 พ.ค.นี้ ด้วยยอดเงินที่ปรับปรุงตามมาตรการแล้ว อย่างไรก็ตาม กฟภ.ได้กำหนดให้สามารถค้างชำระค่าไฟฟ้าได้โดยไม่ตัดไฟ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 จนกว่าการแพร่ระบาดจะจบลง
"อยากให้ประชาชนศึกษาบิลค่าไฟ ให้เน้นการดูประเภทผู้ใช้ไฟเป็นหลัก เพราะจะง่ายกว่าไปยึดที่ขนาดมิเตอร์" นายวิโรจน์ กล่าว
ด้าน นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ และในฐานะโฆษก กฟน. ชี้แจงในส่วนของ กฟน.ว่า ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.63 สามารถนำใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดิมที่ยังไม่ได้ระบุส่วนลดการใช้ไฟฟ้าตามมาตรการรัฐ ไปชำระค่าไฟฟ้าซึ่งจะได้รับสิทธิ์ส่วนลดโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะรวมถึงการหักชำระค่าไฟผ่านบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต ส่วนกรณีได้ชำระค่าไฟฟ้าไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้สิทธิ์ส่วนลด จะได้รับการคืนเงินโดยหักลดในค่าไฟฟ้างวดเดือน มิ.ย.63 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบค่าไฟฟ้า และสิทธิ์ส่วนลดการใช้ไฟฟ้าตามมาตรการนี้ได้ที่เวบไซต์ กฟน. ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.63 เป็นต้นไป
"กฟน.ดูแลผู้ใช้ไฟใน 3 จังหวัดคือ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยงวด มี.ค. คือการจดหน่วยวันที่ 14 มี.ค.-13 เม.ย.63, งวด เม.ย.จะจดหน่วยช่วงวันที่ 14 เม.ย.-13 พ.ค. เป็นต้น โดยช่วงโควิด-19 กฟน.ก็ไม่มีนโยบายตัดไฟเช่นกันหากค้างชำระจนกว่าจนกว่าโควิด-19 จะจบลง" นายจาตุรงค์กล่าว
จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.63 ที่กำหนดมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าช่วงการแพร่ระบาดโดรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมผู้ใช้ไฟ 22 ล้านราย แบ่งเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน 18.5 ล้านราย และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จำนวน 3.5 ล้านราย ระยะเวลา 3 เดือน ช่วงมี.ค.-พ.ค. 63 โดยมีเงื่อนไขคือ 1. ใช้น้อยกว่าหน่วยเดือน ก.พ.63 จ่ายเท่าหน่วยตามการใช้จริง, 2. ไม่เกิน 800 หน่วย จ่ายเท่าหน่วยเดือน ก.พ., 3. เกิน 800 หน่วยแต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย จ่ายเท่าเดือนก.พ.+50%ของหน่วยส่วนเกินจากเดือนก.พ.63 และ 4.เกิน 3,000 หน่วย จ่ายเท่าหน่วยก.พ.+70% ของหน่วยส่วนเกินจากเดือน ก.พ.63 นั้น
วานนี้ (7 พ.ค.) นายวิโรจน์ บัวคลี่ ผู้ช่วยผู้ว่าการ และในฐานะโฆษก กฟภ. กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า กฟภ.ได้ปรับระบบบิลใหม่ ที่จะมีสิทธิ์ส่วนลดในบิลทันทีตามมาตรการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.นี้ ดังนั้นประชาชนที่ยังไม่ได้ชำระค่าไฟฟ้า หากจ่ายตั้งแต่ 8 พ.ค.นี้เป็นต้นไปจะได้ส่วนลดค่าไฟทันที แต่กรณีบิลค่าไฟ มี.ค.-เม.ย.63 ที่ออกไปก่อน และประชาชนได้ชำระค่าไฟฟ้าดังกล่าวไปแล้ว ซึ่งยังไม่ได้สิทธิ์ส่วนลด กฟภ.จะคืนค่าไฟฟ้าโดยหักคืนเป็นส่วนลดค่าไฟในเดือนมิ.ย.63 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบตามยอดเงินที่ได้ชำระแล้ว
“ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ชำระค่าไฟฟ้างวดเดือน เม.ย.63 สามารถชำระได้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.เป็นต้นไป เพราะระบบได้คำนวณส่วนลดให้แล้ว แม้ในตัวบิลค่าไฟจะไม่เห็นส่วนลด แต่ระบบจะเริ่มเห็นเมื่อไปจ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน้าเคาน์เตอร์ กฟภ. ที่ร้านสะดวกซื้อ ผู้รับจ่ายบิลจะเห็นส่วนลดทันที ก็จะไม่ต้องจ่ายเงินเต็มตามบิล โดยต้องหักส่วนลดก่อน และบิลค่าไฟงวดเดือน พ.ค.63 จะเริ่มเห็นส่วนลดที่สมบูรณ์แล้ว เพราะการทำระบบใหม่รองรับต้องอาศัยเวลาที่ผ่านมายังทำไม่ทัน" นายวิโรจน์กล่าว
โฆษก กฟภ.กล่าวต่อว่า ประชาชนสามารถตรวจสอบค่าไฟฟ้า ผ่านช่องทางต่างๆของ กฟภ. ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ชำระค่าไฟผ่านบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิต ระบบจะตัดบัญชี/บัตรเครดิต นั้นได้ให้ธนาคารชะลอการหักเงิน และจะเริ่มได้ในวันที่ 11 พ.ค.นี้ ด้วยยอดเงินที่ปรับปรุงตามมาตรการแล้ว อย่างไรก็ตาม กฟภ.ได้กำหนดให้สามารถค้างชำระค่าไฟฟ้าได้โดยไม่ตัดไฟ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 จนกว่าการแพร่ระบาดจะจบลง
"อยากให้ประชาชนศึกษาบิลค่าไฟ ให้เน้นการดูประเภทผู้ใช้ไฟเป็นหลัก เพราะจะง่ายกว่าไปยึดที่ขนาดมิเตอร์" นายวิโรจน์ กล่าว
ด้าน นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ และในฐานะโฆษก กฟน. ชี้แจงในส่วนของ กฟน.ว่า ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.63 สามารถนำใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดิมที่ยังไม่ได้ระบุส่วนลดการใช้ไฟฟ้าตามมาตรการรัฐ ไปชำระค่าไฟฟ้าซึ่งจะได้รับสิทธิ์ส่วนลดโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะรวมถึงการหักชำระค่าไฟผ่านบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต ส่วนกรณีได้ชำระค่าไฟฟ้าไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้สิทธิ์ส่วนลด จะได้รับการคืนเงินโดยหักลดในค่าไฟฟ้างวดเดือน มิ.ย.63 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบค่าไฟฟ้า และสิทธิ์ส่วนลดการใช้ไฟฟ้าตามมาตรการนี้ได้ที่เวบไซต์ กฟน. ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.63 เป็นต้นไป
"กฟน.ดูแลผู้ใช้ไฟใน 3 จังหวัดคือ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยงวด มี.ค. คือการจดหน่วยวันที่ 14 มี.ค.-13 เม.ย.63, งวด เม.ย.จะจดหน่วยช่วงวันที่ 14 เม.ย.-13 พ.ค. เป็นต้น โดยช่วงโควิด-19 กฟน.ก็ไม่มีนโยบายตัดไฟเช่นกันหากค้างชำระจนกว่าจนกว่าโควิด-19 จะจบลง" นายจาตุรงค์กล่าว