ผู้จัดการรายวัน360- คลังเผยอังคารนี้จ่ายเยียวยา 5 พันบาท อีก 1.5 ล้านคน หลังจากที่จ่ายไปแล้ว 4.9 ล้านคน ด้านโฆษกศบค. ตอบชัดทำไมยังใช้ชีวิตปกติไม่ได้ ชี้ต้องใช้ชีวิตวิถีใหม่ถึงจะคุมโควิด-19ได้ เหตุส่วนใหญ่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ หากใช้ชีวิตแบบเดิม จะเกิดการระบาดรอบใหม่ ย้ำต้องรอจนกว่ามียารักษา และวัคซีน ด้าน สธ.ห่วงคนไทยเริ่มไม่สวมหน้ากาก หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย "เจ๊หน่อย"เสนอ 5 มาตรการ"เปิดเมือง" อย่างปลอดภัย ส่วนเรื่องต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯต้องฟังหมอ ไม่ใช่สมช.
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฝากส่งกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ที่ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ที่ยื่นทบทวนสิทธิ์เยียวยา 5,000 บาททั่วประเทศ โดยขณะนี้ จ่ายเงินเยียวยาไปแล้วจำนวน 4.9 ล้านคน และวันอังคารนี้ จะจ่ายอีก1.5 ล้านคน นอกจากนั้น ยังส่งกำลังใจให้กับแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ที่ร่วมต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจากโควิด-19 อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ นายอุตตม ยังขอบคุณส.ส.พรรคพลังประชารัฐทุกคน ที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนายสะถิระ เผือกประพันธ์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนกับรถกระบะ ขณะส่งหมูเค็มให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากโควิด-19 ซึ่งล่าสุดอาการปลอดภัยแล้ว นายอุตตมได้ฝากเป็นกำลังใจให้
ทั้งนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แก้ปัญหาโควิด-19 ถูกทาง เห็นได้จากคำชมจากทั่วโลก ที่ชื่นชมแนวทางการดำเนินการของประเทศไทย แต่ไม่เข้าใจนักการเมืองจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่ออกมาตำหนิติเตียนการทำงานของรัฐบาลได้ทุกวัน ทำเหมือนกลัวว่าหาก พล.อ.ประยุทธ์ แก้ปัญหาให้กับประชาชนได้สำเร็จ ประชาชนจะรัก พล.อ.ประยุทธ์ มากขึ้นจึงยอมไม่ได้
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 26เม.ย. 15 ราย
วานนี้ (26เม.ย.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 15 ราย แบ่งเป็นผู้มีประวัติใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 4 ราย ไปในสถานที่ชุมชน แออัด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยวใน กทม. 3 ราย อาชีพเสี่ยงใน จ.นครปฐม 1 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน จ.ยะลา 2 ราย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และอยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐ 5 ราย ในจำนวนนี้กลับมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย และเนเธอร์แลนด์ 1 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 2,922 ราย หายป่วยสะสม 2,594 ราย ถือเป็นวันแรกที่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรักษาตัวต่ำกว่า 300 ราย เหลือเพียง 277 ราย โดยไม่มีรายงานเสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้รายงานยอดผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่ 51 ราย
สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อ 2,920,738 เสียชีวิต 203,355 ราย สถานการณ์ทั่วโลกถือว่ายังไม่น่าไว้วางใจ อย่างรอบบ้านเรา สิงคโปร์ที่มีประสบการณ์คล้ายเรา ที่สถานการณ์เคยดีมาก่อน แต่มีการติดเชื้อจากกลุ่มแรงงานต่างด้าว และเขาพื้นที่เล็ก ทำให้การกระจายตัวเร็วขึ้น ซึ่งเราได้บทเรียนตรงนี้มา จึงเกิดการค้นหาเชิงรุกในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ส่วนคนไทยที่จะเดินทางกลับจากต่างประเทศในวันเดียวกันนี้ มาจากออสเตรเลีย 207 คน ส่วนวันที่ 27 เม.ย. จากญี่ปุ่น 35 คน นิวซีแลนด์ 168 คน และเนเธอร์แลนด์ 25 คน ซึ่งเป็นการต่อเครื่องบินของคนไทยที่อยู่ในยุโรป
ส่วนมาตรการในการดูแล ทั้งผู้ที่อยู่ในพื้นที่กักกันและแรงงานต่างด้าวนั้นเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้วิธีการค้นหาเชิงรุกกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งสธ. จะมีทีมระบาดวิทยา ทีมผู้เข้าไปตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัยก็จะมีทีมลงพื้นที่ดูแลเชิงรุกในเรื่องความเป็นอยู่ เรื่องของอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนได้มีสุข ลักษณะอนามัยที่ดี ไม่เป็นแหล่ง-รัง-โรค ซึ่งสธ. ได้คิดทั้งระบบขึ้นมา สิ่งสำคัญที่สุดประชาชน แรงงานต่างด้าว และผู้ประกอบการ จะต้องให้ความร่วมมือด้วย
คนไทยต้องปรับตัวใช้ชีวิตวิถีใหม่
นพ.ทวีศิลป์ ยังกล่าวถึง เรื่องของชีวิตวิถีใหม่ (new nomal)ซึ่งขณะนี้มีบางฝ่ายเห็นว่า เมื่อสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดี ก็น่าจะกลับไปใช้วิถีชีวิตแบบเดิมนั้น ต้องเข้าใจว่า สภาวการณ์การเกิดโรคนี้ ซึ่งไวรัสโควิด-19 เพิ่งเกิดมาในช่วง 3-4 เดือน และเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่กระจายผ่านตัวไวรัสที่ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ คือคนในช่วงวัยทำงาน และไม่มีอาการ เราจึงไม่รู้ว่าใครติดเชื้อบ้าง และยังเดินอยู่ในสังคมตรงไหน ถ้ากลับไปใช้ชีวิตปกติ ก็จะมีโอกาสติดเชื้อจากคนเหล่านี้ได้มาก และเมื่อติดขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้อีก แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะเจอแค่หลัก 10 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะคุมได้หรือจะกลายเป็นศูนย์ (0) และถ้าเมื่อเป็นศูนย์ ก็ต้องดูว่าจะนานเท่าไร และไม่ใช่แค่จะเป็นตัวเลขแค่ศูนย์บ้านเราอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องให้ตัวเลขเป็นศูนย์ทั้งโลก ถึงจะเกิดความมั่นใจได้
ดังนั้น แม้วันนี้บ้านเราจะคุมตัวเลขได้ดี แต่รอบๆ บ้านเราและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตัวเลขยังพุ่งสูงขึ้น แสดงว่าเชื้อในอากาศยังมีอยู่เต็มไปหมด ถ้าเรายังใช้ชีวิตวิถีเดิม เดินทางไปท่องเที่ยว ไปซื้อของเหมือนเดิม ก็มีโอกาสจะกลับมาระบาดได้ใหม่ สิ่งที่เราลงทุนไปเมื่อหลายเดือน ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลยกลายเป็นศูนย์ จึงต้องชี้แจงว่าการจะกลับไปสู่ภาวะปกติต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวพอสมควร สิ่งที่จะกลับไปปกติได้ คือ 1. จะต้องมียารักษา เมื่อมียารักษาก็จะคุมเชื้อโรคได้ โดยต้องเป็นการรักษาให้หาย ไม่ใช่แค่การระงับยับยั้งไม่ให้โรคเจริญเติบโต หรือต้านไว้เฉยๆนั้น ไม่พอ ยาต้านไวรัสไม่ใช่การรักษาไวรัส เป็นการไม่ให้โรคกำเริบเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรักษาให้หายทั้งหมด และ 2. เราจะต้องมีวัคซีนซึ่งเมื่อไหร่ที่มีวัคซีน ก็จะตอบได้ว่าการแพร่ระบาดของโรคก็จะจบได้ตอนนั้น แต่กว่าจะได้ตรงนี้ข้อมูลล่าสุดก็คืออาจจะเป็นต้นปีหน้า หมายความว่าเราต้องใช้เวลาระหว่างนี้ไปถึงต้นปีหน้าในการควบคุมโรค โดยการควบคุมตัวเราเองให้ได้ ปรับชุดพฤติกรรมของเราในตอนนี้ให้ได้ เพื่อที่จะไม่เอาเชื้อโรคมาอยู่ที่ตัวเรา หรือเอาเชื้อโรคจากตัวเราไปอยู่ที่คนอื่น
สธ.ห่วงคนไทยเริ่มไม่สวมหน้ากาก
ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนเริ่มผ่อนคลายจากการมีผู้ป่วยลดลงต่อเนื่อง ทำให้บางส่วนเริ่มเดินทางมากขึ้น สิ่งสำคัญคือ ความตระหนักในการป้องกันโรค เช่น รักษาระยะห่าง 1-2 เมตรขึ้นไป จะทำให้ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ รวมถึงการใช้หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย แต่จากการสำรวจของกรมควบคุมโรค 5 ครั้ง โดยเฉพาะเรื่องของหากมีอาการไข้ อาการหวัด จะสวมหน้ากากป้องกันโรค หรือไม่ การสำรวจครั้งที่ 4 คนตอบว่า ไม่สวมมี 0.3% แต่ครั้งที่ 5 ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นมาเป็น 4% แม้ภาพรวมจะยังตอบว่า สวมเพื่อป้องกันไม่ให้รับเชื้อ หรือแพร่เชื้อ 94% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่สูงก็ตาม โดยการสำรวจพบว่า คนใช้หน้ากากผ้า 53% หน้ากากอนามัย 40%
"กลุ่มที่ตอบว่าไม่สวมหน้ากาก 4% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่อาจจะผ่อนคลาย จากจำนวนผู้ป่วยลดลง เพราะจะเห็นว่าการสำรวจครั้งก่อนตัวเลขไม่สวม ลดลงเหลือ 0.3% รวมถึงอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว และตัวเองไม่ได้มีความเสี่ยงอาการรุนแรง ทั้งนี้จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะถ้าเริ่มมีกิจกรรม กลับมาทำงาน มีการพบปะกันเพิ่มขึ้น การใช้หน้ากากจะเป็นปราการด่านสุดท้ายป้องกันเชื้อออกจากคนมีเชื้อ แต่อาจมีอาการน้อยๆ หรือป้องกันคนปกติแข็งแรงไม่ให้รับเชื้อ การที่ทุกคนช่วยกันจะเพิ่มความปลอดภัยในภาพรวมสังคมไทย ที่ต้องกระตุ้นเตือนเพราะหากไม่ทำให้ตระหนัก เมื่อเริ่มหย่อนยาน ก็จะทำให้การ์ดตก คนไม่สวมมากขึ้น ก็อาจกลับมาระบาดอีกได้" นพ.โสภณ กล่าว
"เจ๊หน่อย"ชง 5 มาตรการเปิดเมือง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้มีการ “เปิดเมือง”มีเนื้อหาดังนี้
รัฐบาลต้องเตรียมแผนงานให้รัดกุมรอบคอบ เพื่อการ Reopening “ เปิดเมืองที่ปลอดภัย” คือให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ก่อนที่สภาพเศรษฐกิจจะสาหัสมากไปกว่านี้ พร้อมกับมาตรการการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ จึงขอเสนอ 5 ข้อ เพื่อการ “เปิดเมืองอย่างปลอดภัย”ดังนี้
1. Reopening แบบมีข้อบังคับด้านสาธารณสุข ให้ธุรกิจที่สามารถจะเปิดให้บริการได้ เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด ร้านทำผม เป็นต้น ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสาธารณสุข ที่รัฐบาลกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น ร้านอาหารต้องมีกฎเกณฑ์ด้านสุขอนามัยเพิ่มเติม มีการจัดที่นั่งให้มีระยะห่างอย่างน้อย 1.5-2 เมตร ตามหลักการ Social Distancing สำหรับผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสิร์ฟ ต้องสวม Face Shield และหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ มีการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าร้าน เป็นต้น รวมทั้งแต่ละจังหวัดต้องมีมาตรการสร้างความปลอดภัย ปลอดเชื้อในที่สาธารณะ และขนส่งสาธารณะ ด้วยการทำความสะอาดฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ
2. รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ทุกจังหวัดที่จะเปิดเมือง ให้มีความสามารถในการตรวจหาเชื้อผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการได้ทุกคน และต้องมีศักยภาพในการนำตัวผู้ติดเชื้อมาแยกตัวเข้าระบบดูแล รวมทั้งต้องมีการ X-Ray ตรวจพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อระวังอย่างสูงสุด ไม่ให้มีการกลับมาระบาดใหม่
3. รัฐบาลยังคงต้องเข้มงวดในการป้องกันผู้ติดเชื้อใหม่ ไม่ให้เดินทางเข้าประเทศด้วยมาตรการ State Quarantine 14 วัน อย่างเคร่งครัดต่อไป
4. รัฐบาลยังต้องสนับสนุนงบประมาณให้โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ให้มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ หากมีการระบาดในรอบใหม่
5. สำหรับประชาชนต้องปรับตัวให้เข้ากับ New Normal โดยให้ความร่วมมือในการสวมหน้ากาก, Social Distancing, รักษาสุขภาพอนามัย, หมั่นล้างมือ และในองค์กรที่มีความสามารถทำได้ รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ Work From Home หรือการเรียน On-Line อีกสักระยะ
ส่วนการที่ สมช. เสนอต่ออายุ พ.ร.บ. ฉุกเฉิน“ปิดเมือง”ต่อไปนั้น รัฐบาลต้องฟังความเห็นจากทีมแพทย์ และสาธารณสุข มากกว่า สมช.
นายกฯเยี่ยมสถานที่กักตัว รร.Ramada
บ่ายวานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ. ศบค. ได้ไปตรวจเยี่ยมสถานที่ State Quarantine เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยของระบบกักกันโรคโควิด-19 ณ โรงแรม Ramada รัชดา โดยได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ และเจ้าของสถานที่ มีการรายงานว่าผู้พำนักที่นี่ ส่วนหนึ่งเดินทางมาจากเกาหลีใต้ แต่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งนายกฯ ได้กล่าวขอบคุณ ทั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าของสถานที่ ที่ได้ร่วมมืออย่างเต็มที่ในการดูแลผู้ที่เข้ามาพำนักกักกันตัว หากมีปัญหาขอให้แจ้ง ทางรัฐบาลพร้อมที่จะแก้ปัญหาให้ทันที
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฝากส่งกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ที่ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ที่ยื่นทบทวนสิทธิ์เยียวยา 5,000 บาททั่วประเทศ โดยขณะนี้ จ่ายเงินเยียวยาไปแล้วจำนวน 4.9 ล้านคน และวันอังคารนี้ จะจ่ายอีก1.5 ล้านคน นอกจากนั้น ยังส่งกำลังใจให้กับแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ที่ร่วมต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจากโควิด-19 อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ นายอุตตม ยังขอบคุณส.ส.พรรคพลังประชารัฐทุกคน ที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนายสะถิระ เผือกประพันธ์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนกับรถกระบะ ขณะส่งหมูเค็มให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากโควิด-19 ซึ่งล่าสุดอาการปลอดภัยแล้ว นายอุตตมได้ฝากเป็นกำลังใจให้
ทั้งนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แก้ปัญหาโควิด-19 ถูกทาง เห็นได้จากคำชมจากทั่วโลก ที่ชื่นชมแนวทางการดำเนินการของประเทศไทย แต่ไม่เข้าใจนักการเมืองจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่ออกมาตำหนิติเตียนการทำงานของรัฐบาลได้ทุกวัน ทำเหมือนกลัวว่าหาก พล.อ.ประยุทธ์ แก้ปัญหาให้กับประชาชนได้สำเร็จ ประชาชนจะรัก พล.อ.ประยุทธ์ มากขึ้นจึงยอมไม่ได้
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 26เม.ย. 15 ราย
วานนี้ (26เม.ย.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 15 ราย แบ่งเป็นผู้มีประวัติใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 4 ราย ไปในสถานที่ชุมชน แออัด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยวใน กทม. 3 ราย อาชีพเสี่ยงใน จ.นครปฐม 1 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน จ.ยะลา 2 ราย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และอยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐ 5 ราย ในจำนวนนี้กลับมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย และเนเธอร์แลนด์ 1 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 2,922 ราย หายป่วยสะสม 2,594 ราย ถือเป็นวันแรกที่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรักษาตัวต่ำกว่า 300 ราย เหลือเพียง 277 ราย โดยไม่มีรายงานเสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้รายงานยอดผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่ 51 ราย
สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อ 2,920,738 เสียชีวิต 203,355 ราย สถานการณ์ทั่วโลกถือว่ายังไม่น่าไว้วางใจ อย่างรอบบ้านเรา สิงคโปร์ที่มีประสบการณ์คล้ายเรา ที่สถานการณ์เคยดีมาก่อน แต่มีการติดเชื้อจากกลุ่มแรงงานต่างด้าว และเขาพื้นที่เล็ก ทำให้การกระจายตัวเร็วขึ้น ซึ่งเราได้บทเรียนตรงนี้มา จึงเกิดการค้นหาเชิงรุกในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ส่วนคนไทยที่จะเดินทางกลับจากต่างประเทศในวันเดียวกันนี้ มาจากออสเตรเลีย 207 คน ส่วนวันที่ 27 เม.ย. จากญี่ปุ่น 35 คน นิวซีแลนด์ 168 คน และเนเธอร์แลนด์ 25 คน ซึ่งเป็นการต่อเครื่องบินของคนไทยที่อยู่ในยุโรป
ส่วนมาตรการในการดูแล ทั้งผู้ที่อยู่ในพื้นที่กักกันและแรงงานต่างด้าวนั้นเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้วิธีการค้นหาเชิงรุกกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งสธ. จะมีทีมระบาดวิทยา ทีมผู้เข้าไปตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัยก็จะมีทีมลงพื้นที่ดูแลเชิงรุกในเรื่องความเป็นอยู่ เรื่องของอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนได้มีสุข ลักษณะอนามัยที่ดี ไม่เป็นแหล่ง-รัง-โรค ซึ่งสธ. ได้คิดทั้งระบบขึ้นมา สิ่งสำคัญที่สุดประชาชน แรงงานต่างด้าว และผู้ประกอบการ จะต้องให้ความร่วมมือด้วย
คนไทยต้องปรับตัวใช้ชีวิตวิถีใหม่
นพ.ทวีศิลป์ ยังกล่าวถึง เรื่องของชีวิตวิถีใหม่ (new nomal)ซึ่งขณะนี้มีบางฝ่ายเห็นว่า เมื่อสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดี ก็น่าจะกลับไปใช้วิถีชีวิตแบบเดิมนั้น ต้องเข้าใจว่า สภาวการณ์การเกิดโรคนี้ ซึ่งไวรัสโควิด-19 เพิ่งเกิดมาในช่วง 3-4 เดือน และเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่กระจายผ่านตัวไวรัสที่ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ คือคนในช่วงวัยทำงาน และไม่มีอาการ เราจึงไม่รู้ว่าใครติดเชื้อบ้าง และยังเดินอยู่ในสังคมตรงไหน ถ้ากลับไปใช้ชีวิตปกติ ก็จะมีโอกาสติดเชื้อจากคนเหล่านี้ได้มาก และเมื่อติดขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้อีก แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะเจอแค่หลัก 10 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะคุมได้หรือจะกลายเป็นศูนย์ (0) และถ้าเมื่อเป็นศูนย์ ก็ต้องดูว่าจะนานเท่าไร และไม่ใช่แค่จะเป็นตัวเลขแค่ศูนย์บ้านเราอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องให้ตัวเลขเป็นศูนย์ทั้งโลก ถึงจะเกิดความมั่นใจได้
ดังนั้น แม้วันนี้บ้านเราจะคุมตัวเลขได้ดี แต่รอบๆ บ้านเราและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตัวเลขยังพุ่งสูงขึ้น แสดงว่าเชื้อในอากาศยังมีอยู่เต็มไปหมด ถ้าเรายังใช้ชีวิตวิถีเดิม เดินทางไปท่องเที่ยว ไปซื้อของเหมือนเดิม ก็มีโอกาสจะกลับมาระบาดได้ใหม่ สิ่งที่เราลงทุนไปเมื่อหลายเดือน ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลยกลายเป็นศูนย์ จึงต้องชี้แจงว่าการจะกลับไปสู่ภาวะปกติต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวพอสมควร สิ่งที่จะกลับไปปกติได้ คือ 1. จะต้องมียารักษา เมื่อมียารักษาก็จะคุมเชื้อโรคได้ โดยต้องเป็นการรักษาให้หาย ไม่ใช่แค่การระงับยับยั้งไม่ให้โรคเจริญเติบโต หรือต้านไว้เฉยๆนั้น ไม่พอ ยาต้านไวรัสไม่ใช่การรักษาไวรัส เป็นการไม่ให้โรคกำเริบเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรักษาให้หายทั้งหมด และ 2. เราจะต้องมีวัคซีนซึ่งเมื่อไหร่ที่มีวัคซีน ก็จะตอบได้ว่าการแพร่ระบาดของโรคก็จะจบได้ตอนนั้น แต่กว่าจะได้ตรงนี้ข้อมูลล่าสุดก็คืออาจจะเป็นต้นปีหน้า หมายความว่าเราต้องใช้เวลาระหว่างนี้ไปถึงต้นปีหน้าในการควบคุมโรค โดยการควบคุมตัวเราเองให้ได้ ปรับชุดพฤติกรรมของเราในตอนนี้ให้ได้ เพื่อที่จะไม่เอาเชื้อโรคมาอยู่ที่ตัวเรา หรือเอาเชื้อโรคจากตัวเราไปอยู่ที่คนอื่น
สธ.ห่วงคนไทยเริ่มไม่สวมหน้ากาก
ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนเริ่มผ่อนคลายจากการมีผู้ป่วยลดลงต่อเนื่อง ทำให้บางส่วนเริ่มเดินทางมากขึ้น สิ่งสำคัญคือ ความตระหนักในการป้องกันโรค เช่น รักษาระยะห่าง 1-2 เมตรขึ้นไป จะทำให้ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ รวมถึงการใช้หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย แต่จากการสำรวจของกรมควบคุมโรค 5 ครั้ง โดยเฉพาะเรื่องของหากมีอาการไข้ อาการหวัด จะสวมหน้ากากป้องกันโรค หรือไม่ การสำรวจครั้งที่ 4 คนตอบว่า ไม่สวมมี 0.3% แต่ครั้งที่ 5 ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นมาเป็น 4% แม้ภาพรวมจะยังตอบว่า สวมเพื่อป้องกันไม่ให้รับเชื้อ หรือแพร่เชื้อ 94% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่สูงก็ตาม โดยการสำรวจพบว่า คนใช้หน้ากากผ้า 53% หน้ากากอนามัย 40%
"กลุ่มที่ตอบว่าไม่สวมหน้ากาก 4% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่อาจจะผ่อนคลาย จากจำนวนผู้ป่วยลดลง เพราะจะเห็นว่าการสำรวจครั้งก่อนตัวเลขไม่สวม ลดลงเหลือ 0.3% รวมถึงอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว และตัวเองไม่ได้มีความเสี่ยงอาการรุนแรง ทั้งนี้จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะถ้าเริ่มมีกิจกรรม กลับมาทำงาน มีการพบปะกันเพิ่มขึ้น การใช้หน้ากากจะเป็นปราการด่านสุดท้ายป้องกันเชื้อออกจากคนมีเชื้อ แต่อาจมีอาการน้อยๆ หรือป้องกันคนปกติแข็งแรงไม่ให้รับเชื้อ การที่ทุกคนช่วยกันจะเพิ่มความปลอดภัยในภาพรวมสังคมไทย ที่ต้องกระตุ้นเตือนเพราะหากไม่ทำให้ตระหนัก เมื่อเริ่มหย่อนยาน ก็จะทำให้การ์ดตก คนไม่สวมมากขึ้น ก็อาจกลับมาระบาดอีกได้" นพ.โสภณ กล่าว
"เจ๊หน่อย"ชง 5 มาตรการเปิดเมือง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้มีการ “เปิดเมือง”มีเนื้อหาดังนี้
รัฐบาลต้องเตรียมแผนงานให้รัดกุมรอบคอบ เพื่อการ Reopening “ เปิดเมืองที่ปลอดภัย” คือให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ก่อนที่สภาพเศรษฐกิจจะสาหัสมากไปกว่านี้ พร้อมกับมาตรการการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ จึงขอเสนอ 5 ข้อ เพื่อการ “เปิดเมืองอย่างปลอดภัย”ดังนี้
1. Reopening แบบมีข้อบังคับด้านสาธารณสุข ให้ธุรกิจที่สามารถจะเปิดให้บริการได้ เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด ร้านทำผม เป็นต้น ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสาธารณสุข ที่รัฐบาลกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น ร้านอาหารต้องมีกฎเกณฑ์ด้านสุขอนามัยเพิ่มเติม มีการจัดที่นั่งให้มีระยะห่างอย่างน้อย 1.5-2 เมตร ตามหลักการ Social Distancing สำหรับผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสิร์ฟ ต้องสวม Face Shield และหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ มีการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าร้าน เป็นต้น รวมทั้งแต่ละจังหวัดต้องมีมาตรการสร้างความปลอดภัย ปลอดเชื้อในที่สาธารณะ และขนส่งสาธารณะ ด้วยการทำความสะอาดฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ
2. รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ทุกจังหวัดที่จะเปิดเมือง ให้มีความสามารถในการตรวจหาเชื้อผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการได้ทุกคน และต้องมีศักยภาพในการนำตัวผู้ติดเชื้อมาแยกตัวเข้าระบบดูแล รวมทั้งต้องมีการ X-Ray ตรวจพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อระวังอย่างสูงสุด ไม่ให้มีการกลับมาระบาดใหม่
3. รัฐบาลยังคงต้องเข้มงวดในการป้องกันผู้ติดเชื้อใหม่ ไม่ให้เดินทางเข้าประเทศด้วยมาตรการ State Quarantine 14 วัน อย่างเคร่งครัดต่อไป
4. รัฐบาลยังต้องสนับสนุนงบประมาณให้โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ให้มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ หากมีการระบาดในรอบใหม่
5. สำหรับประชาชนต้องปรับตัวให้เข้ากับ New Normal โดยให้ความร่วมมือในการสวมหน้ากาก, Social Distancing, รักษาสุขภาพอนามัย, หมั่นล้างมือ และในองค์กรที่มีความสามารถทำได้ รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ Work From Home หรือการเรียน On-Line อีกสักระยะ
ส่วนการที่ สมช. เสนอต่ออายุ พ.ร.บ. ฉุกเฉิน“ปิดเมือง”ต่อไปนั้น รัฐบาลต้องฟังความเห็นจากทีมแพทย์ และสาธารณสุข มากกว่า สมช.
นายกฯเยี่ยมสถานที่กักตัว รร.Ramada
บ่ายวานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ. ศบค. ได้ไปตรวจเยี่ยมสถานที่ State Quarantine เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยของระบบกักกันโรคโควิด-19 ณ โรงแรม Ramada รัชดา โดยได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ และเจ้าของสถานที่ มีการรายงานว่าผู้พำนักที่นี่ ส่วนหนึ่งเดินทางมาจากเกาหลีใต้ แต่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งนายกฯ ได้กล่าวขอบคุณ ทั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าของสถานที่ ที่ได้ร่วมมืออย่างเต็มที่ในการดูแลผู้ที่เข้ามาพำนักกักกันตัว หากมีปัญหาขอให้แจ้ง ทางรัฐบาลพร้อมที่จะแก้ปัญหาให้ทันที