ผู้จัดการรายวัน 360 - คลังประเดิมกู้ล็อตแรก 7 หมื่นล้านบาท ภายในเดือนพ.ค. 63 นี้ เพื่อจ่ายเยียวยา 5 พันบาท ด้านปลัดเกษตร เตรียมเสนอให้เยียวยาเกษตรกร 9 ล้านราย วงเงินรวม 1.35 แสนล้านบาท โอนผ่านบัญชี ธ.ก.ส. ขณะที่ยอดยอดยื่นทบทวนสิทธิ์ 3 วัน ทะลุกว่า 2 ล้านราย
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คนน.) ครั้งที่ 2/2563 ที่มีนายอุตตม สาวนายน รมว.คลังเป็นประธาน ว่า กระทรวงการคลังได้ปรับแผนก่อหนี้สาธารณะ ใหม่ หลังพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้ โดยปีงบประมาณ 2563 ช่วงที่เหลืออีก 6 เดือน คาดว่ารัฐบาลจะกู้เงินจาก พ.ร.ก. 6 แสนล้านบาท ส่วนอีก 4 แสนล้านบาทจะกู้ในปีงบประมาณ 64 แต่สามารถปรับเพิ่มได้หากในปีงบประมาณนี้มีความต้องการใช้เงินมากกว่า 6 แสนล้านบาท
จากแผนปรับปรุงก่อหนี้ดังกล่าว จะทำให้ปีงบประมาณ 2563 ในช่วงที่เหลืออีก 6 เดือน ต้องมีการกู้ใหม่ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 6.03 แสนล้านบาท จากแผนเดิมที่จะต้องมีการก่อหนี้ 8.94 แสนล้านบาท รวมเป็นเป็น 1.497 ล้านล้านบาท โดยเงินกู้จะมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งระยะสั้นมีทั้งเครื่องมือการกู้จากธนาคาร การกู้ระยะยาว (Term Loan) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) และตั๋วเงินคลัง รวมทั้งการออกพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้รายย่อยประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งใช้เวลาเตรียมการ 1-2 เดือนก่อนเปิดขาย โดยอยู่ระหว่างพิจารณาว่ารูปแบบ เพราะเป็นวงเงินขนาดใหญ่กว่าปกติที่กำหนดไว้ในช่วงครึ่งปีราว 2-2.5 หมื่นล้านบาท
นางแพตริเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ ครม.เห็นชอบแผนการก่อหนี้ และคณะกรรมการการกลั่นกรองเห็นชอบแผนการใช้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินแล้ว หน่วยงานแรกที่จะใช้เงินทันที คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะใช้เงินเยียวยารอบที่ 2 สำหรับแจกเงิน 5,000 บาทภายใต้มาตรการ "เราไม่ทิ้งกัน" วงเงินก่อหนี้ 7 หมื่นล้านบาท โดยได้ออกจดหมายชี้ชวนถึงสถาบันการเงินให้เข้าร่วมประมูลให้กู้แล้ว และคาดว่า สบน.จะจัดเตรียมเงินพร้อมภายในวันที่ 5 พ.ค.เพื่อให้เบิกจ่ายเงินตามมาตรการ 5,000 บาทในกรอบ 14 ล้านคนได้ภายในวันที่ 8 พ.ค.นี้
โดยเงินก้อนแรก 7 หมื่นล้านจาก พ.ร.ก.กู้เงินนั้น จะเป็นการกู้จากธนาคารในประเทศ เปิดประมูลในวันที่ 29 เม.ย.เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นสำหรับการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ หรือ BIBOR ปัจจุบันอยู่ที่ 0.97% บวก 5 ทศนิยม ส่วนการกู้เดือนต่อไปต้องพิจารณาจากปลายปัจจัย และมาตรการเยียวยาของภาครัฐ หากสรุปตัวเลขออกมาก็จะสามารถดำเนินการได้ตามความต้องการ
นางแพตริเซีย กล่าวว่า การกู้เงิน 1.497 ล้านล้านบาทในปีนี้จะส่งผลให้เพดานหนี้สาธารณะสิ้นปี 63 อยู่ที่ 51.84% และหากคำนวณ ณ สิ้นปี 64 จะอยู่ที่ 57.96% บนสมมุติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีหน้าที่ระดับ 3%
ชงบอร์ดแจก 5 พันเยียวยาเกษตรกร
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ เตรียมเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยให้เยียวยาแก่เกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 9 ล้านทะเบียน ให้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน คาดใช้เงินประมาณ 135,000 ล้านบาท โดยโอนผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว จะช่วยตามรายทะเบียนที่มีประมาณ 9-10 ล้านทะเบียนเท่านั้น ไม่นับเป็นราย ซึ่งจะมีมากกว่า 16-17 ล้านราย แบ่งเป็นที่ขึ้นกับ กรมส่งเสริมการเกษตร 6.1 ล้านทะเบียน ประมงไม่เกิน 1 ล้านทะเบียน ปศุสัตว์ 3 ล้านทะเบียน ซึ่งจะอัพเดททุกรอบการผลิต และมาตรการนี้จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ไม่เกี่ยวกับการประกันรายได้เกษตรกร ทั้งชาวสวนปาล์ม ยาง ข้าว มันสำปะหลัง ซึ่งยังเดินหน้าตามการประกันรายได้
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานตัวเลข "ทะเบียนเกษตรกร" มีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวเลขล่าสุด ของเกษตกรผู้มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 6,196,346 ครัวเรือน จากพื้นที่การเกษตรประมาณ 130 ล้านไร่ คิดเป็นสมาชิกครัวเรือนรวม 16,332,997 คน จากฐานข้อมูลเดิม รายชื่อและพื้นที่เพาะปลูกในระบบทั้งประเทศ 7,522,003 ครัวเรือน.
โดย รมว.เกษตรฯ สั่งการให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประสานกับปลัดกระทรวงการคลัง ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้ครอบคลุมทุกราย เพื่อให้เกษตรกรที่เผชิญผลกระทบจากโควิด-19 ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐบาลมากที่สุด ที่เป็นห่วง คือ เกษตรกรที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน จึงไม่มีชื่ออยู่ในระบบและไม่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐ ซึ่งจะไม่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงการคลัง
จึงเชิญชวนให้เกษตรกรทั้งกลุ่มเพาะปลูก ปศุสัตว์ ประมง และนาเกลือที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน เพื่อยืนยันสถานภาพในการรับความช่วยเหลือต่าง ๆ รวมถึงโครงการประกันรายได้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยเกษตรกรที่ปรับปรุงทะเบียนแล้ว หากรัฐกำหนดมาตรการช่วยเหลือที่ชัดเจนแล้ว หากเยียวยาเป็นเงินจะโอนผ่านบัญชี ธ.ก.ส. ได้ทันที
ผู้ขอทบทวนสิทธิ์รับ 5 พันบาท ทะลุ 2 ล้านราย
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5000 บาท ว่า กระทรวงการคลังได้เปิดให้มีการยื่นทบทวนสิทธิ์เป็นวันที่ 3 ซึ่งมีพี่น้องประชาชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์กว่า 2 ล้านคนได้ยื่นขอทบทวน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เครือข่ายคลังจังหวัดกับทางจังหวัดจะลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตนและการประกอบอาชีพตามที่ลงทะเบียนไว้ในวันที่ 23 เมษายน 2563
ส่วนกรณีที่ครม.อนุมัติขยายจำนวนผู้รับเงินเยียวยา 5000 บาทจาก 9 ล้านคนเป็น 14 ล้านคนนั้น นายธนากร กล่าวว่า เป็นการเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายเยียวยาอย่างต่อเนื่อง เพราะจ่ายเยียวยาเกือบทุกวัน รัฐบาลจะเยียวยาพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนทุกคนที่ผ่านการคัดกรอง
นายธนกร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกลุ่มที่ขอข้อมูลเพิ่มเติม 6.3 ล้านคนนั้น ในวันศุกร์ที่ 24 เม.ย. นี้ จะมีการจ่ายเยียวยาล๊อตแรกอีก 5 แสนคน โดยในส่วนของกลุ่มที่ขอทบทวนสิทธิ์ 10.6 ล้านคน ซึ่งล่าสุดยื่นมาแล้วประมาณ 2 ล้านกว่าคนนั้น จะมีการจ่ายเงินได้จำนวน 2 แสนคนโดยไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่ เนื่องจากสามารถตรวจสอบข้อมูลได้เลย
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คนน.) ครั้งที่ 2/2563 ที่มีนายอุตตม สาวนายน รมว.คลังเป็นประธาน ว่า กระทรวงการคลังได้ปรับแผนก่อหนี้สาธารณะ ใหม่ หลังพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้ โดยปีงบประมาณ 2563 ช่วงที่เหลืออีก 6 เดือน คาดว่ารัฐบาลจะกู้เงินจาก พ.ร.ก. 6 แสนล้านบาท ส่วนอีก 4 แสนล้านบาทจะกู้ในปีงบประมาณ 64 แต่สามารถปรับเพิ่มได้หากในปีงบประมาณนี้มีความต้องการใช้เงินมากกว่า 6 แสนล้านบาท
จากแผนปรับปรุงก่อหนี้ดังกล่าว จะทำให้ปีงบประมาณ 2563 ในช่วงที่เหลืออีก 6 เดือน ต้องมีการกู้ใหม่ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 6.03 แสนล้านบาท จากแผนเดิมที่จะต้องมีการก่อหนี้ 8.94 แสนล้านบาท รวมเป็นเป็น 1.497 ล้านล้านบาท โดยเงินกู้จะมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งระยะสั้นมีทั้งเครื่องมือการกู้จากธนาคาร การกู้ระยะยาว (Term Loan) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) และตั๋วเงินคลัง รวมทั้งการออกพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้รายย่อยประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งใช้เวลาเตรียมการ 1-2 เดือนก่อนเปิดขาย โดยอยู่ระหว่างพิจารณาว่ารูปแบบ เพราะเป็นวงเงินขนาดใหญ่กว่าปกติที่กำหนดไว้ในช่วงครึ่งปีราว 2-2.5 หมื่นล้านบาท
นางแพตริเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ ครม.เห็นชอบแผนการก่อหนี้ และคณะกรรมการการกลั่นกรองเห็นชอบแผนการใช้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินแล้ว หน่วยงานแรกที่จะใช้เงินทันที คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะใช้เงินเยียวยารอบที่ 2 สำหรับแจกเงิน 5,000 บาทภายใต้มาตรการ "เราไม่ทิ้งกัน" วงเงินก่อหนี้ 7 หมื่นล้านบาท โดยได้ออกจดหมายชี้ชวนถึงสถาบันการเงินให้เข้าร่วมประมูลให้กู้แล้ว และคาดว่า สบน.จะจัดเตรียมเงินพร้อมภายในวันที่ 5 พ.ค.เพื่อให้เบิกจ่ายเงินตามมาตรการ 5,000 บาทในกรอบ 14 ล้านคนได้ภายในวันที่ 8 พ.ค.นี้
โดยเงินก้อนแรก 7 หมื่นล้านจาก พ.ร.ก.กู้เงินนั้น จะเป็นการกู้จากธนาคารในประเทศ เปิดประมูลในวันที่ 29 เม.ย.เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นสำหรับการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ หรือ BIBOR ปัจจุบันอยู่ที่ 0.97% บวก 5 ทศนิยม ส่วนการกู้เดือนต่อไปต้องพิจารณาจากปลายปัจจัย และมาตรการเยียวยาของภาครัฐ หากสรุปตัวเลขออกมาก็จะสามารถดำเนินการได้ตามความต้องการ
นางแพตริเซีย กล่าวว่า การกู้เงิน 1.497 ล้านล้านบาทในปีนี้จะส่งผลให้เพดานหนี้สาธารณะสิ้นปี 63 อยู่ที่ 51.84% และหากคำนวณ ณ สิ้นปี 64 จะอยู่ที่ 57.96% บนสมมุติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีหน้าที่ระดับ 3%
ชงบอร์ดแจก 5 พันเยียวยาเกษตรกร
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ เตรียมเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยให้เยียวยาแก่เกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 9 ล้านทะเบียน ให้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน คาดใช้เงินประมาณ 135,000 ล้านบาท โดยโอนผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว จะช่วยตามรายทะเบียนที่มีประมาณ 9-10 ล้านทะเบียนเท่านั้น ไม่นับเป็นราย ซึ่งจะมีมากกว่า 16-17 ล้านราย แบ่งเป็นที่ขึ้นกับ กรมส่งเสริมการเกษตร 6.1 ล้านทะเบียน ประมงไม่เกิน 1 ล้านทะเบียน ปศุสัตว์ 3 ล้านทะเบียน ซึ่งจะอัพเดททุกรอบการผลิต และมาตรการนี้จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ไม่เกี่ยวกับการประกันรายได้เกษตรกร ทั้งชาวสวนปาล์ม ยาง ข้าว มันสำปะหลัง ซึ่งยังเดินหน้าตามการประกันรายได้
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานตัวเลข "ทะเบียนเกษตรกร" มีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวเลขล่าสุด ของเกษตกรผู้มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 6,196,346 ครัวเรือน จากพื้นที่การเกษตรประมาณ 130 ล้านไร่ คิดเป็นสมาชิกครัวเรือนรวม 16,332,997 คน จากฐานข้อมูลเดิม รายชื่อและพื้นที่เพาะปลูกในระบบทั้งประเทศ 7,522,003 ครัวเรือน.
โดย รมว.เกษตรฯ สั่งการให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประสานกับปลัดกระทรวงการคลัง ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้ครอบคลุมทุกราย เพื่อให้เกษตรกรที่เผชิญผลกระทบจากโควิด-19 ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐบาลมากที่สุด ที่เป็นห่วง คือ เกษตรกรที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน จึงไม่มีชื่ออยู่ในระบบและไม่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐ ซึ่งจะไม่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงการคลัง
จึงเชิญชวนให้เกษตรกรทั้งกลุ่มเพาะปลูก ปศุสัตว์ ประมง และนาเกลือที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน เพื่อยืนยันสถานภาพในการรับความช่วยเหลือต่าง ๆ รวมถึงโครงการประกันรายได้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยเกษตรกรที่ปรับปรุงทะเบียนแล้ว หากรัฐกำหนดมาตรการช่วยเหลือที่ชัดเจนแล้ว หากเยียวยาเป็นเงินจะโอนผ่านบัญชี ธ.ก.ส. ได้ทันที
ผู้ขอทบทวนสิทธิ์รับ 5 พันบาท ทะลุ 2 ล้านราย
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5000 บาท ว่า กระทรวงการคลังได้เปิดให้มีการยื่นทบทวนสิทธิ์เป็นวันที่ 3 ซึ่งมีพี่น้องประชาชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์กว่า 2 ล้านคนได้ยื่นขอทบทวน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เครือข่ายคลังจังหวัดกับทางจังหวัดจะลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตนและการประกอบอาชีพตามที่ลงทะเบียนไว้ในวันที่ 23 เมษายน 2563
ส่วนกรณีที่ครม.อนุมัติขยายจำนวนผู้รับเงินเยียวยา 5000 บาทจาก 9 ล้านคนเป็น 14 ล้านคนนั้น นายธนากร กล่าวว่า เป็นการเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายเยียวยาอย่างต่อเนื่อง เพราะจ่ายเยียวยาเกือบทุกวัน รัฐบาลจะเยียวยาพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนทุกคนที่ผ่านการคัดกรอง
นายธนกร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกลุ่มที่ขอข้อมูลเพิ่มเติม 6.3 ล้านคนนั้น ในวันศุกร์ที่ 24 เม.ย. นี้ จะมีการจ่ายเยียวยาล๊อตแรกอีก 5 แสนคน โดยในส่วนของกลุ่มที่ขอทบทวนสิทธิ์ 10.6 ล้านคน ซึ่งล่าสุดยื่นมาแล้วประมาณ 2 ล้านกว่าคนนั้น จะมีการจ่ายเงินได้จำนวน 2 แสนคนโดยไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่ เนื่องจากสามารถตรวจสอบข้อมูลได้เลย