ผู้จัดการรายวัน 360 - ครม.อนุมัติเพิ่มจำนวนผู้เข้าโครงการเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือน จาก 9 ล้านคนเป็น 14 ล้านคน วงเงินรวมเพิ่มเป็น 2.1 แสนล้านบาท กลุ่มนักเรียน-นักศึกษาที่สูญเสียรายได้รับอานิสงส์ด้วย พร้อมไฟเขียวร่างระเบียบฯ ให้อำนาจคลังกู้เงินเยียวยา-ฟื้นเศรษฐกิจ สู้โควิด-19 และรับทราบข้อเสนอการปรับลดงบประมาณปี 64 ของหน่วยงานราชการ "บิ๊กตู่" ย้ำเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เคร่งครัดระเบียบ เท่าที่จำเป็น เพื่อ 3 งานหลัก "สาธารณสุข-เยียวยา-ฟื้นฟู" หลังครม.มีมติตั้ง คกก.กลั่นกรอง-ระเบียบใช้งบฯแล้ว ยืนยันฟังเสียงรอบด้านจากทุกภาคส่วน
วานนี้ (21 เม.ย.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ขยายจำนวนผู้รับเงินชดเชยเยียวยาจากรัฐบาลเนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 จาก 9 ล้านคน เป็น 14 ล้านคน หลังจากพบผู้ได้รับผลกระทบที่มาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก และเมื่อมีการตรวจสอบสิทธิ์ตามที่ได้มีการอุทรณ์เข้ามาพบว่ามีจำนวนที่เพิ่มกว่าเป้าหมายเดิมอย่างมาก ซึ่งรวมถึงนักเรียน-นักศึกษา ประกอบอาชีพลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบด้วย
กระทรวงการคลังจึงขอขยายจำนวนคงที่เข้าโครงการซึ่งจะได้รับเงินจากภาครัฐเดือนละ 5000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ทำให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 1.35 แสนล้านบาท เป็น 2.1 แสนล้านบาท ซึ่งเงินในส่วนนี้จะใช้จ่ายงบประมาณฯจาก ทั้งเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินวงเงิน 1 ล้านล้านบาท รวมทั้งใช้เงินจากการโอนงบประมาณ 2563
พร้อมกันนี้ ครม.เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 พ.ศ. .... เพื่อให้การใช้เงินงบประมาณภายใต้พ.ร.ก. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยสาระสำคัญของ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ประกอบด้วย 6 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 บททั่วไป เป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1) สำนักงบประมาณ มีหน้าที่จัดสรรเงินกู้ตามวงเงินกู้ที่ครม.อนุมัติ โครงการ และกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง 2) กรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ รับฝากเงินกู้ไว้ในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง และจัดทำระบบบัญชี ระบบการเบิกจ่ายเงินกู้สำหรับโครงการ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และ 3) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่จัดหาเงินกู้และดำเนินการกู้เงินสำหรับโครงการ เปิดบัญชีและนำฝากเงินกู้ไว้ในบัญชี จัดทำระบบบริหารเงินสด และรายงานสถานะเงินกู้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
หมวดที่ 2 การเสนอ การพิจารณากลั่นกรอง และการอนุมัติโครงการ โดยกำหนดลักษณะโครงการที่หน่วยงานของรัฐจะเสนอขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พ.ร.ก. จะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแผนงานกรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกำหนด 2) เป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันโดยเร็ว แต่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ หรือได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่ไม่เพียงพอ 3) เป็นโครงการที่มีความพร้อม สามารถดำเนินการได้ทันทีภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี 4) เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการดำเนินงานและก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือสังคมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกำหนด 5) ลักษณะอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวดที่ 3 การดำเนินโครงการ เป็นการกำหนดวิธีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสรรเงินกู้ ดำเนินการกู้เงิน การจัดส่งประมาณการเบิกจ่าย การพัสดุ และการพิจารณาการโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานเมื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ
หมวดที่ 4 การเก็บรักษาเงินกู้และการเบิกจ่ายเงินกู้ เป็นการกำหนดให้สำนักงานบริการหนี้สาธารณะนำเงินกู้ฝากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “เงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา COVID-19” และกำหนดแนวการเบิกจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของทางราชการ และหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวดที่ 5 การติดตามประเมินผล และการรายงานผลการใช้เงินกู้ เป็นการกำหนดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รมว.คลัง กำหนด โดยความเห็นชอบของครม. มาตรา 58 แห่งพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
หมวดที่ 6 การใช้วงเงินกู้สำหรับรายการเงินสำรองจ่าย เป็นการกำหนดให้ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้ในรายการเงินสำรองจ่ายตามที่คณะกรรมการได้กำหนดวงเงินไว้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคำขอใช้เงินกู้พร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็น ก่อนเสนอขออนุมัติต่อครม. ต่อไป
ปรับลดงบปี 2564 รับมือโควิด-19
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมครม. รับทราบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ส่วนราชการต่างๆ เสนอ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อาทิ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปรับลด 60,271,400 บาท ,สถาบันพระปกเกล้า ปรับลด 20,968,163 บาท ,สำนักงานศาลยุติธรรม ปรับลด 157,866,100 บาท ,สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปรับลด 33,806,000 บาท ,สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินปรับลด 23,079,100 บาท ,สำนักงาน ป.ป.ช.ปรับลด 166,725,600 บาท ,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปรับลด 298,516,800 บาท ,สำนักงานอัยการสูงสุดปรับลด 141,716,500 บาท เป็นต้น
"บิ๊กตู่" ลั่นกู้เงิน 1 ล้านล.ต้องรอบคอบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังประชุมครม. ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชกำหนดฉบับต่างๆ เรียบร้อยแล้ว โดย พ.ร.ก. ที่สำคัญคือ พ.ร.กให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคาม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) พ.ศ.2563 จำนวนไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือการแก้ด้านสาธารณสุข เยียวยา และฟื้นฟู โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ ครม.เห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ โดยมีในส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิ และระเบียบการใช้เงินต่างๆ ต่อไปต้องพิจารณาให้เป็นไปตามระเบียบและทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด อย่างรอบคอบและจำเป็น โดยให้กระทรวงนำแผนงานและโครงการต่างๆ เข้าครม.ครบถ้วนในโอกาสต่อไปให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันสถานการณ์
นายกฯกล่าวว่า รวมถึง 2 พ.ร.ก. คือ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 เป็นหน้าที่ธนาธาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง ร่วมกันจัดตั้งกองทุนรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ จำนวน 4 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 โดย ธปท. มีอำนาจให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท ตนสั่งการได้ให้กระทรวงการคลัง หารือกับธปท. ดำเนินการด้วยความรอบครอบ และรับข้อสังเกตจากทุกภาคส่วน รวมถึงจากผู้ประสบการณ์มาประกอบในการทำงานด้วย
วานนี้ (21 เม.ย.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ขยายจำนวนผู้รับเงินชดเชยเยียวยาจากรัฐบาลเนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 จาก 9 ล้านคน เป็น 14 ล้านคน หลังจากพบผู้ได้รับผลกระทบที่มาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก และเมื่อมีการตรวจสอบสิทธิ์ตามที่ได้มีการอุทรณ์เข้ามาพบว่ามีจำนวนที่เพิ่มกว่าเป้าหมายเดิมอย่างมาก ซึ่งรวมถึงนักเรียน-นักศึกษา ประกอบอาชีพลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบด้วย
กระทรวงการคลังจึงขอขยายจำนวนคงที่เข้าโครงการซึ่งจะได้รับเงินจากภาครัฐเดือนละ 5000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ทำให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 1.35 แสนล้านบาท เป็น 2.1 แสนล้านบาท ซึ่งเงินในส่วนนี้จะใช้จ่ายงบประมาณฯจาก ทั้งเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินวงเงิน 1 ล้านล้านบาท รวมทั้งใช้เงินจากการโอนงบประมาณ 2563
พร้อมกันนี้ ครม.เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 พ.ศ. .... เพื่อให้การใช้เงินงบประมาณภายใต้พ.ร.ก. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยสาระสำคัญของ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ประกอบด้วย 6 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 บททั่วไป เป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1) สำนักงบประมาณ มีหน้าที่จัดสรรเงินกู้ตามวงเงินกู้ที่ครม.อนุมัติ โครงการ และกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง 2) กรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ รับฝากเงินกู้ไว้ในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง และจัดทำระบบบัญชี ระบบการเบิกจ่ายเงินกู้สำหรับโครงการ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และ 3) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่จัดหาเงินกู้และดำเนินการกู้เงินสำหรับโครงการ เปิดบัญชีและนำฝากเงินกู้ไว้ในบัญชี จัดทำระบบบริหารเงินสด และรายงานสถานะเงินกู้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
หมวดที่ 2 การเสนอ การพิจารณากลั่นกรอง และการอนุมัติโครงการ โดยกำหนดลักษณะโครงการที่หน่วยงานของรัฐจะเสนอขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พ.ร.ก. จะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแผนงานกรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกำหนด 2) เป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันโดยเร็ว แต่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ หรือได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่ไม่เพียงพอ 3) เป็นโครงการที่มีความพร้อม สามารถดำเนินการได้ทันทีภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี 4) เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการดำเนินงานและก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือสังคมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกำหนด 5) ลักษณะอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวดที่ 3 การดำเนินโครงการ เป็นการกำหนดวิธีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสรรเงินกู้ ดำเนินการกู้เงิน การจัดส่งประมาณการเบิกจ่าย การพัสดุ และการพิจารณาการโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานเมื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ
หมวดที่ 4 การเก็บรักษาเงินกู้และการเบิกจ่ายเงินกู้ เป็นการกำหนดให้สำนักงานบริการหนี้สาธารณะนำเงินกู้ฝากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “เงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา COVID-19” และกำหนดแนวการเบิกจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของทางราชการ และหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวดที่ 5 การติดตามประเมินผล และการรายงานผลการใช้เงินกู้ เป็นการกำหนดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รมว.คลัง กำหนด โดยความเห็นชอบของครม. มาตรา 58 แห่งพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
หมวดที่ 6 การใช้วงเงินกู้สำหรับรายการเงินสำรองจ่าย เป็นการกำหนดให้ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้ในรายการเงินสำรองจ่ายตามที่คณะกรรมการได้กำหนดวงเงินไว้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคำขอใช้เงินกู้พร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็น ก่อนเสนอขออนุมัติต่อครม. ต่อไป
ปรับลดงบปี 2564 รับมือโควิด-19
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมครม. รับทราบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ส่วนราชการต่างๆ เสนอ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อาทิ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปรับลด 60,271,400 บาท ,สถาบันพระปกเกล้า ปรับลด 20,968,163 บาท ,สำนักงานศาลยุติธรรม ปรับลด 157,866,100 บาท ,สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปรับลด 33,806,000 บาท ,สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินปรับลด 23,079,100 บาท ,สำนักงาน ป.ป.ช.ปรับลด 166,725,600 บาท ,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปรับลด 298,516,800 บาท ,สำนักงานอัยการสูงสุดปรับลด 141,716,500 บาท เป็นต้น
"บิ๊กตู่" ลั่นกู้เงิน 1 ล้านล.ต้องรอบคอบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังประชุมครม. ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชกำหนดฉบับต่างๆ เรียบร้อยแล้ว โดย พ.ร.ก. ที่สำคัญคือ พ.ร.กให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคาม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) พ.ศ.2563 จำนวนไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือการแก้ด้านสาธารณสุข เยียวยา และฟื้นฟู โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ ครม.เห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ โดยมีในส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิ และระเบียบการใช้เงินต่างๆ ต่อไปต้องพิจารณาให้เป็นไปตามระเบียบและทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด อย่างรอบคอบและจำเป็น โดยให้กระทรวงนำแผนงานและโครงการต่างๆ เข้าครม.ครบถ้วนในโอกาสต่อไปให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันสถานการณ์
นายกฯกล่าวว่า รวมถึง 2 พ.ร.ก. คือ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 เป็นหน้าที่ธนาธาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง ร่วมกันจัดตั้งกองทุนรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ จำนวน 4 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 โดย ธปท. มีอำนาจให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท ตนสั่งการได้ให้กระทรวงการคลัง หารือกับธปท. ดำเนินการด้วยความรอบครอบ และรับข้อสังเกตจากทุกภาคส่วน รวมถึงจากผู้ประสบการณ์มาประกอบในการทำงานด้วย