ผู้จัดการรายวัน360 - "อนุทิน" รมว.สธ. ขีดเส้นแผนพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต้องชัดเจนใน 3 เดือน เผย ไทยคุมโรคได้ดี รักษาได้ แต่ยังขาดแค่วัคซีน เห็นชอบร่วมต่างประเทศพัฒนาวัคซีน ย้ำต้องไม่เสียเปรียบเข้าถึงวัคซีนหลังชาวบ้าน พร้อมเจรจาแบงก์กรุงไทย-ออมสิน ลดดอกเบี้ยสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ และไลน์สั่งการให้ผู้บริหาร สธ. ทำแผนใช้งบเงินกู้ 4.5 หมื่นล้าน เน้นโปร่งใส ตรวจสอบได้ ขณะที่การทดสอบวัคซีนรวมกับจีน คาดอีก 3-4 เดือนนำเข้ามาทดลองได้ ด้านศบค.แถลงยอดผู้ป่วยลดต่อเนื่อง เปิดผลสำรวจพบ “บุคลากรทางการแพทย์-ปชช.”เครียดช่วงสภาวะไม่ปกติ “ภูเก็ต”ขึ้นแชมป์แหกเคอร์ฟิว ย้ำผ่อนปรนขึ้นอยู่ตัวเลขสถิติผู้ติดเชื้อ หวั่นประมาทนิดเดียวพุ่งสูงแน่
วานนี้ (22 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ว่า คณะกรรมการฯ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์สนับสนุนให้ทำแผนการทดลองและเซ็นเอ็มโอยูกับประเทศที่กำลังผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตามข้อเสนอพิมพ์เขียวของผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อพัฒนาวัคซีนนี้ขึ้นด้วยกัน ซึ่งสถาบันวัคซีนฯ ได้มีการไปติดต่อกับสถาบันวิทยาศาสตร์ต่างๆ ทั้งต่างประเทศและในไทย
ทั้งนี้ ตนได้กำชับไปหลายรอบ คือ เรื่องของสัญญาต่างๆ ต้องพิจารณาให้ละเอียดและรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศไทยถูกเอาเปรียบ ทำให้ไทยเข้าถึงวัคซีนได้ช้ากว่าคนอื่น โดยคู่สัญญาก็ต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เขาเข้าถึงก่อน เรารอทีหลัง เป็นน้ำใต้ซอกหรือไก่รองบ่อน
สำหรับงบประมาณการดำเนินการนั้น นายอนุทิน กล่าวว่า สธ. มีงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากครม. จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งรวมถึงงบที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาวิจัยและจัดหาวัคซีนด้วย เพื่อรับกับสถานการณ์โควิดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งคณะกรรมการวัคซีนฯ ก็มีความพึงพอใจที่รัฐบาลสนับสนุน เพราะถ้าไม่ได้มีสถานการณ์ระบาดมักไม่ได้รับการเหลียวแล
นายอนุทิน กล่าวเพิ่มเติมว่า โควิดจะเลิกรังควานผู้คนได้ก็ต่อเมื่อมีวัคซีน ซึ่งวันนี้เราควบคุมโรคได้ มีการติดตามเฝ้ารวัง กักตัว ใช้ทุกมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาให้หายได้ มียามาบรรเทาอาการ แต่หมายความว่าต้องป่วยก่อน เราเหลืออย่างเดียว คือ วัคซีน ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยต่างๆ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค เป็นต้น จะต้องมาสุมหัวกัน ใช้ทุกเครือข่ายและองค์ความรู้ที่มีพัฒนาขึ้นมาให้ได้ ต้องขอเป็นพระเอกให้ได้เรื่องของการพัฒนาวัคซีน
"มีการระบุว่ากว่าจะมีวัคซีนคือ 18 เดือน ซึ่ง ผอ.สถาบันวัคซีนเสนอกรอบการพัฒนา 6 เดือน แต่คณะกรรมการและผมขอให้เร็วกว่านั้น ผมก็พูดไปว่า ต้องไม่เกิน 3 เดือน แต่ไม่ใช่ 3 เดือนต้องมีวัคซีน แต่ 3 เดือน คือ มีทิศทางที่ชัดเจน ว่าทำอะไรจะได้ผลอะไร" นายอนุทิน กล่าว
ส่วนประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตหากทั่วโลกมีวัคซีนแล้ว แต่ไทยยังผลิตไม่ได้ จะเป็ฯการสูญเปล่าหรือไม่นั้น นายอนุทิน กล่าวว่า ความสำคัญของรัฐบาลไทย และสธ.คือความปลอดภัยของประชาชน เราไม่เอาเรื่องของศักดิ์ศรีมาต่อรองกับชีวิตประชาชน สมมติพรุ่งนี้มีวัคซีน เราต้องเข้าถึงก่อนคนอื่นให้ได้ นั่นคือเป้าหมาย ซึ่งงบประมาณเรามีแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องบอกว่าเท่าไร คือจนกว่าประชาชนจะปลอดภัย เรามีตัวเลขแล้วว่า ต้องให้วัคซีนกี่คนถึงหยุดการแพร่ระบาดได้
เจรจาออมสิน-กรุงไทยลดดบ.ให้กลุ่มแพทย์
หลังจากนั้น นายอนุทิน ได้หารือกับผู้แทนธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย (KTB) เพื่อขอความร่วมมือในการลดดอกเบี้ยเพื่อสร้างขวัญกำลังใจกับบุคลากรสาธารณสุข จากการต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยได้ยื่นข้อเสนอให้ทั้ง 2 ธนาคาร ลดดอกเบี้ยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ลงอีก 2% และให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเจรจาในรายละเอียดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป ทั้งนี้ จะนำข้อมูลไปชี้แจงกับ รมว.คลัง ด้วยตนเองอีกทางหนึ่งด้วย
"กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขที่เสียสละทำงานดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเต็มที่ โดยหาแนวทางช่วยลดรายจ่ายของทั้งข้าราชการ ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งธนาคารทั้ง 2 แห่งได้รับข้อเสนอนำไปพิจารณา และจะมีการหารือให้ได้ข้อสรุปร่วมกันอีกครั้ง" นายอนุทิน กล่าว
กำชับแผนใช้เงิน 4.5 หมื่นล.ต้องโปร่งใส
ขณะเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข โพสต์ข้อความลงในกลุ่มไลน์ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ที่มี ผู้บริหารระดับสูงของ สธ. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้ตรวจราชการสธ. และสาธารณสุขนิเทศก์ ทั้ง 12 เขต (ทั่วประเทศ) เกี่ยวกับการนำเสนอโครงการตามงบประมาณ ตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1ล้านล้านบาท ตามที่สธ. ได้รับจัดสรรมา เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 วงเงิน 45,000 ล้านบาท โดยให้เน้นถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงต้องพิจารณาจัดซื้อขายในประเทศไทยก่อนเพื่อให้เกิดความหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศ
คาด 3-4 เดือนทดสอบวัคซีนร่วมวิจัยไทย-จีน
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึง กรณีไทยจะเข้าร่วมวิจัยทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนโควิดในคนกับจีน ซึ่งจีนกำลังเข้าสู่การทดสอบระยะที่ 2 ว่า การพัฒนาวัคซีนของจีนมีความก้าวหน้าถึงขั้นมาทดสอบในคนแล้ว ซึ่งมีวัคซีนจากหลายบริษัท โดยการทดสอบในระยะ ที่ 1 คาดว่าทดลองในคนประมาณ 100 คน ระยะที่ 2 ประมาณ 1,000 คน และระยะที่ 3 ประมาณ 10,000 คน ซึ่งสถาบันวัคซีนแห่งชาติของไทย ได้มีการเข้าร่วมทดสอบวัคซีนในคนกับจีน โดยไทยพร้อมเข้าร่วมการทดสอบทุกระยะ อย่างไรก็ตาม การที่ไทยไปร่วมกับจีน ดังนั้น เมื่อจีนสามารถผลิตวัคซีนได้ ไทยก็จะเป็นประเทศแรกๆ ที่จะสามารถเข้าถึงวัคซีน ส่วนจะเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ปริมาณการผลิตของจีน
"คาดว่าน่าจะสามารถนำวัคซีนมาทดลองในไทยได้ภายใน 3-4 เดือน ซึ่งการฉีดวัคซีนจะใช้ 2 มิติ คือ 1.ลดการเสียชีวิต โดยจะฉีดในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก เป็นต้น และ 2.ลดการเจ็บป่วย จะฉีดในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มเมือง ที่พบว่ามีการติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งหากฉีดในกลุ่มนี้จะช่วยลดโอกาสการแพร่โรค อย่างไรก็ตาม การจะฉีดในกลุ่มไหนต้องมีการประเมินอีกครั้ง ส่วนความต้องการวัคซีน ตามหลักแล้วจะต้องฉีดให้ได้มากกว่า 60% แต่หากมีวัคซีนเหลือจำนวนมากก็จะฉีดให้ได้ 90% ขึ้นไป" นพ.สุวรรณชัย กล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาวัคซีนของไทยเริ่มดำเนินการบ้างแล้ว มีการเตรียมพร้อม ทั้งคน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เมื่อจีนสามารถผลิตวัคซีนได้ ไทยก็จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือหากมีการให้วัคซีนมาบรรจุเอง เราก็จะได้เตรียมความพร้อม เช่น โรงงานที่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่เป็นการร่วมทุนขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) และเอกชน หรือหากจีนจะถ่ายทอดกระบวนการเบื้องต้นไทยจึงต้องเตรียมพร้อมไว้ด้วย
ยอดผู้ป่วยติดเชื้อใหม่ลดเหลือ 15 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) แถลงว่า สถานการณ์ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 15 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 2,826 ราย หายป่วยและกลับบ้านเพิ่มเติม 244 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เสียชีวิตสะสม 49 ราย โดยผู้เสียชีวิตรายที่ 49 เป็นหญิงไทย อายุ 58 ปี เป็นแม่บ้าน มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีภาวะอ้วน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นลูกสาว
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ที่ลดลงนี้ ถือว่าน่าพอใจอย่างยิ่ง เป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง และความสำเร็จเล็กๆ เป็นความภาคภูมิใจของทั้งประเทศ แต่ภารกิจยังไม่เสร็จสิ้น ยังทอดยาวกันไปอีก หลายคนบอกว่าอีกหลายเดือน และบางทฤษฎีบอกว่าเป็นปี การลากยาวมีความสำคัญอย่างยิ่ง ตัวเลขวันนี้ เป็นการทำงานของคนไทยทั้งประเทศที่ทำให้ลดลง ผลของการทำงานวันนี้ จะแสดงผลในอีก 14 วันข้างหน้า ต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ เบาใจได้ แต่วางใจไม่ได้ การ์ดอย่าตก
ในรอบ 14 วันที่ผ่านมา มีจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ 36 จังหวัด ซึ่งยอดเท่ากับวันที่ 21 เม.ย. โดยจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มเติมเข้ามาคือ นครราชสีมา แต่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาหลายวัน กลับพบผู้ป่วย จากนี้ต้องไปดูสาเหตุและสอบสวนโรคกันต่อไป ส่วนจังหวัดที่ยังมีรายงานผู้ป่วยในรอบ 7 วันที่ผ่านมา มี 14 จังหวัด ได้แก่ กทม. นนทบุรี ภูเก็ต ชลบุรี ยะลา ปัตตานี สงขลา ปทุมธานี นครปฐม กระบี่ นราธิวาส ขอนแก่น ชุมพร พระนครศรีอยุธยา
จากการเข้าไปค้นประวัติผู้ป่วยยืนยัน 542 ราย จากทั้งหมด พบว่าส่วนใหญ่เข้ามาตรวจหลังมีอาการ 4 วัน ถือว่าเร็ว แต่ก่อนเข้ามาตรวจเชื้อ 3 วันที่ผ่านมา ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ แต่รายที่เข้ามาตรวจช้าสุด คือ หลังมีอาการ 28 วัน ถือเป็นเวลาที่นานมาก เสี่ยงกระจายเชื้อไปในวงกว้าง ตอนนี้จึงนิยามหลักเกณฑ์การสอบสวนโรคใหม่ ทำให้ประชาขนทั่วไปเข้ามาตรวจง่ายขึ้น คือ มีประวัติมีไข้ อุณหภูมิ 37.5 ขึ้นไป มีอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ซึ่งถ้ามีไข้ และประกอบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น สามารถไปตรวจได้ฟรี
สำหรับผลการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงในช่วงเคอร์ฟิว คืนวันที่ 21 เม.ย. ต่อเนื่องเช้าวันที่ 22 เม.ย. มีผู้ฝ่าฝืนออกนอกเคหสถาน 554 ราย ลดลงจากคืนก่อน 139 ราย ชุมนุม มั่วสุม 55 ราย ลดลงจากคืนก่อน 10 ราย ส่วนจังหวัดที่มีการกระทำผิดมากที่สุด ได้แก่ ภูเก็ต รองมาลงมา กทม. ปทุมธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ลพบุรี ราชบุรี ขอนแก่น ส่วนคนไทยที่เดินทางกลับประเทศในวันเดียวกันนี้ จากประเทศรัสเซีย 25 ราย เกาหลีใต้ 60 ราย และเวียดนาม 115 ราย
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวว่าบางจังหวัดเตรียมจะคลายล็อก ผ่อนผันให้มีการขายของในตลาดได้ ถ้าตัวเลขผู้ติดเชื้อเหลือเลขตัวเดียว จะทำให้ยืดหยุ่นมากกว่านี้ได้หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผอ.ศบค. จะใช้สถิติ ชุดข้อมูล และความร่วมมือเป็นสำคัญ การจะเปิด ผ่อนปรน ขึ้นอยู่กับตัวเลขเหล่านี้ ยืนยันว่า การจะยกเลิกตอนนี้ยังไม่มี แต่เป็นลักษณะผ่อนปรน เพราะสถานการณ์รอบบ้านเรามีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ของเราแม้จะควบคุมได้ แต่ถ้ากระพริบตา ประมาทนิดเดียว ตัวเลขพุ่งขึ้นทันที ที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้เก็บสถิติเอาไว้ทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง ขึ้นอยู่กับสถิติและความจำเป็น สถานที่ใดที่จำเป็นต้องเปิดต้องมีมาตรการดูแลให้มั่นใจว่า จะไม่มีการแพร่เชื้อระหว่างกัน ซึ่งมีการหยิบยกมาพูดกัน อาจะมีการทดลองเป็นกลุ่มจังหวัด บางพื้นที่ หรือจะขยายทั้งประเทศต้องรอฟังก่อน ส่วนรายละเอียด ต้องฟังมติจากครม. และมติ ศบค. ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
เมื่อถามว่า หลายบริษัทเริ่มกลับมาทำงานแล้ว และพบว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดจากสถานที่ทำงาน จะมีแนวทางอย่างไร นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เราต้องเก็บเป็นสถิติ สถานประกอบการนั้นจะถูกเพ่งเล็ง ถ้ามีความจำเป็นต้องเปิด จะต้องสร้างมาตรการเข้มในการควบคุม นายกฯ ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว เพราะคนเดียวสั่งไม่ได้ ต้องดูตัวเลขทั้งหมด เป็นการตัดสินใจแบบหมู่คณะ เพื่อให้รอบด้าน และเป็นทิศทางที่ปฏิบัติได้ ถ้าเจอกรณีนี้ ให้รีบรายงาน อย่ากลัวและอย่าปิดข้อมูล เอาความจริงมาบอก เพื่อจะทำให้ควบคุมโรคได้
ราชทัณฑ์โอนเงินให้ 'เรือนจำ' ซื้อเวชภัณฑ์ป้องกันโควิด
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตามมาตรการด้านงบประมาณเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 และเพิ่มพื้นที่ลดความแออัดของผู้ต้องขังตามนโยบายของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยได้โอนเงิน 193.52 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายใน 3 กรณี คือ
1.หมวดที่ 1 สำหรับจัดซื้อวัสดุเวชภัณฑ์ทางการแพทย์/งานบ้านงานครัว ป้องกันการแพร่เชื้อโรค วงเงิน 56.6 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 29 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2563)
2.หมวดที่ 2 สำหรับจัดซื้อวัสดุทำห้องกักโรค/เพิ่มพื้นที่นอน วงเงิน 56.3 ล้านบาท โดยเป้าหมายให้ได้ทั้งหมด 1,259 ห้อง รองรับผู้ต้องขังจำนวน 24,558 คน ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 730 ห้อง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2563)
3.หมวดที่ 3 สำหรับจัดซื้อวัสดุทำที่นอน 2 ชั้น วงเงิน 80.6 ล้านบาท โดยเป้าหมายให้ได้ทั้งหมด 1,087 ห้อง รองรับผู้ต้องขังจำนวน 24,217 คน ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 923 ห้อง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2563)
จากเดิมเรือนจำทั่วประเทศมีพื้นที่เรือนนอนรองรับผู้ต้องขังได้ 220,000 คน แต่หากดำเนินการสร้างห้องกักโรคและที่นอนสองชั้นแล้วเสร็จตามเป้าหมาย จะมีพื้นที่นอนเพิ่มขึ้น 58,529 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้ต้องขัง 48,775 คน รวมมีพื้นที่รองรับผู้ต้องขังได้จำนวน 268,775 คน (ณ ปัจจุบันมีจำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศ 380,000 คน) วงเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 57.9 ล้านบาท ยังคงเหลือเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 135.6 ล้านบาท
สำหรับสถานการณ์วันนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม ยอดเดิมผู้ต้องขังติดเชื้อ 2 ราย (หายแล้ว) และมีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อ 3 ราย (อยู่ระหว่างการรักษาตัว) ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ จะได้ติดตามสถานการณ์การเจ็บป่วยของผู้ต้องขังในทุกเรือนจำอย่างใกล้ชิดทุกวัน เพื่อจำกัดจำนวนผู้ต้องขังที่อยู่ ในภาวะเสี่ยงและติดโรคระบาดนี้ให้น้อยที่สุด ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและกรมควบคุมโรค รวมทั้งสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลแม่ข่ายต่างๆ อย่างใกล้ชิด
วานนี้ (22 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ว่า คณะกรรมการฯ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์สนับสนุนให้ทำแผนการทดลองและเซ็นเอ็มโอยูกับประเทศที่กำลังผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตามข้อเสนอพิมพ์เขียวของผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อพัฒนาวัคซีนนี้ขึ้นด้วยกัน ซึ่งสถาบันวัคซีนฯ ได้มีการไปติดต่อกับสถาบันวิทยาศาสตร์ต่างๆ ทั้งต่างประเทศและในไทย
ทั้งนี้ ตนได้กำชับไปหลายรอบ คือ เรื่องของสัญญาต่างๆ ต้องพิจารณาให้ละเอียดและรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศไทยถูกเอาเปรียบ ทำให้ไทยเข้าถึงวัคซีนได้ช้ากว่าคนอื่น โดยคู่สัญญาก็ต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เขาเข้าถึงก่อน เรารอทีหลัง เป็นน้ำใต้ซอกหรือไก่รองบ่อน
สำหรับงบประมาณการดำเนินการนั้น นายอนุทิน กล่าวว่า สธ. มีงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากครม. จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งรวมถึงงบที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาวิจัยและจัดหาวัคซีนด้วย เพื่อรับกับสถานการณ์โควิดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งคณะกรรมการวัคซีนฯ ก็มีความพึงพอใจที่รัฐบาลสนับสนุน เพราะถ้าไม่ได้มีสถานการณ์ระบาดมักไม่ได้รับการเหลียวแล
นายอนุทิน กล่าวเพิ่มเติมว่า โควิดจะเลิกรังควานผู้คนได้ก็ต่อเมื่อมีวัคซีน ซึ่งวันนี้เราควบคุมโรคได้ มีการติดตามเฝ้ารวัง กักตัว ใช้ทุกมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาให้หายได้ มียามาบรรเทาอาการ แต่หมายความว่าต้องป่วยก่อน เราเหลืออย่างเดียว คือ วัคซีน ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยต่างๆ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค เป็นต้น จะต้องมาสุมหัวกัน ใช้ทุกเครือข่ายและองค์ความรู้ที่มีพัฒนาขึ้นมาให้ได้ ต้องขอเป็นพระเอกให้ได้เรื่องของการพัฒนาวัคซีน
"มีการระบุว่ากว่าจะมีวัคซีนคือ 18 เดือน ซึ่ง ผอ.สถาบันวัคซีนเสนอกรอบการพัฒนา 6 เดือน แต่คณะกรรมการและผมขอให้เร็วกว่านั้น ผมก็พูดไปว่า ต้องไม่เกิน 3 เดือน แต่ไม่ใช่ 3 เดือนต้องมีวัคซีน แต่ 3 เดือน คือ มีทิศทางที่ชัดเจน ว่าทำอะไรจะได้ผลอะไร" นายอนุทิน กล่าว
ส่วนประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตหากทั่วโลกมีวัคซีนแล้ว แต่ไทยยังผลิตไม่ได้ จะเป็ฯการสูญเปล่าหรือไม่นั้น นายอนุทิน กล่าวว่า ความสำคัญของรัฐบาลไทย และสธ.คือความปลอดภัยของประชาชน เราไม่เอาเรื่องของศักดิ์ศรีมาต่อรองกับชีวิตประชาชน สมมติพรุ่งนี้มีวัคซีน เราต้องเข้าถึงก่อนคนอื่นให้ได้ นั่นคือเป้าหมาย ซึ่งงบประมาณเรามีแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องบอกว่าเท่าไร คือจนกว่าประชาชนจะปลอดภัย เรามีตัวเลขแล้วว่า ต้องให้วัคซีนกี่คนถึงหยุดการแพร่ระบาดได้
เจรจาออมสิน-กรุงไทยลดดบ.ให้กลุ่มแพทย์
หลังจากนั้น นายอนุทิน ได้หารือกับผู้แทนธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย (KTB) เพื่อขอความร่วมมือในการลดดอกเบี้ยเพื่อสร้างขวัญกำลังใจกับบุคลากรสาธารณสุข จากการต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยได้ยื่นข้อเสนอให้ทั้ง 2 ธนาคาร ลดดอกเบี้ยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ลงอีก 2% และให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเจรจาในรายละเอียดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป ทั้งนี้ จะนำข้อมูลไปชี้แจงกับ รมว.คลัง ด้วยตนเองอีกทางหนึ่งด้วย
"กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขที่เสียสละทำงานดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเต็มที่ โดยหาแนวทางช่วยลดรายจ่ายของทั้งข้าราชการ ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งธนาคารทั้ง 2 แห่งได้รับข้อเสนอนำไปพิจารณา และจะมีการหารือให้ได้ข้อสรุปร่วมกันอีกครั้ง" นายอนุทิน กล่าว
กำชับแผนใช้เงิน 4.5 หมื่นล.ต้องโปร่งใส
ขณะเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข โพสต์ข้อความลงในกลุ่มไลน์ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ที่มี ผู้บริหารระดับสูงของ สธ. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้ตรวจราชการสธ. และสาธารณสุขนิเทศก์ ทั้ง 12 เขต (ทั่วประเทศ) เกี่ยวกับการนำเสนอโครงการตามงบประมาณ ตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1ล้านล้านบาท ตามที่สธ. ได้รับจัดสรรมา เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 วงเงิน 45,000 ล้านบาท โดยให้เน้นถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงต้องพิจารณาจัดซื้อขายในประเทศไทยก่อนเพื่อให้เกิดความหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศ
คาด 3-4 เดือนทดสอบวัคซีนร่วมวิจัยไทย-จีน
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึง กรณีไทยจะเข้าร่วมวิจัยทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนโควิดในคนกับจีน ซึ่งจีนกำลังเข้าสู่การทดสอบระยะที่ 2 ว่า การพัฒนาวัคซีนของจีนมีความก้าวหน้าถึงขั้นมาทดสอบในคนแล้ว ซึ่งมีวัคซีนจากหลายบริษัท โดยการทดสอบในระยะ ที่ 1 คาดว่าทดลองในคนประมาณ 100 คน ระยะที่ 2 ประมาณ 1,000 คน และระยะที่ 3 ประมาณ 10,000 คน ซึ่งสถาบันวัคซีนแห่งชาติของไทย ได้มีการเข้าร่วมทดสอบวัคซีนในคนกับจีน โดยไทยพร้อมเข้าร่วมการทดสอบทุกระยะ อย่างไรก็ตาม การที่ไทยไปร่วมกับจีน ดังนั้น เมื่อจีนสามารถผลิตวัคซีนได้ ไทยก็จะเป็นประเทศแรกๆ ที่จะสามารถเข้าถึงวัคซีน ส่วนจะเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ปริมาณการผลิตของจีน
"คาดว่าน่าจะสามารถนำวัคซีนมาทดลองในไทยได้ภายใน 3-4 เดือน ซึ่งการฉีดวัคซีนจะใช้ 2 มิติ คือ 1.ลดการเสียชีวิต โดยจะฉีดในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก เป็นต้น และ 2.ลดการเจ็บป่วย จะฉีดในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มเมือง ที่พบว่ามีการติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งหากฉีดในกลุ่มนี้จะช่วยลดโอกาสการแพร่โรค อย่างไรก็ตาม การจะฉีดในกลุ่มไหนต้องมีการประเมินอีกครั้ง ส่วนความต้องการวัคซีน ตามหลักแล้วจะต้องฉีดให้ได้มากกว่า 60% แต่หากมีวัคซีนเหลือจำนวนมากก็จะฉีดให้ได้ 90% ขึ้นไป" นพ.สุวรรณชัย กล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาวัคซีนของไทยเริ่มดำเนินการบ้างแล้ว มีการเตรียมพร้อม ทั้งคน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เมื่อจีนสามารถผลิตวัคซีนได้ ไทยก็จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือหากมีการให้วัคซีนมาบรรจุเอง เราก็จะได้เตรียมความพร้อม เช่น โรงงานที่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่เป็นการร่วมทุนขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) และเอกชน หรือหากจีนจะถ่ายทอดกระบวนการเบื้องต้นไทยจึงต้องเตรียมพร้อมไว้ด้วย
ยอดผู้ป่วยติดเชื้อใหม่ลดเหลือ 15 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) แถลงว่า สถานการณ์ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 15 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 2,826 ราย หายป่วยและกลับบ้านเพิ่มเติม 244 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เสียชีวิตสะสม 49 ราย โดยผู้เสียชีวิตรายที่ 49 เป็นหญิงไทย อายุ 58 ปี เป็นแม่บ้าน มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีภาวะอ้วน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นลูกสาว
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ที่ลดลงนี้ ถือว่าน่าพอใจอย่างยิ่ง เป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง และความสำเร็จเล็กๆ เป็นความภาคภูมิใจของทั้งประเทศ แต่ภารกิจยังไม่เสร็จสิ้น ยังทอดยาวกันไปอีก หลายคนบอกว่าอีกหลายเดือน และบางทฤษฎีบอกว่าเป็นปี การลากยาวมีความสำคัญอย่างยิ่ง ตัวเลขวันนี้ เป็นการทำงานของคนไทยทั้งประเทศที่ทำให้ลดลง ผลของการทำงานวันนี้ จะแสดงผลในอีก 14 วันข้างหน้า ต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ เบาใจได้ แต่วางใจไม่ได้ การ์ดอย่าตก
ในรอบ 14 วันที่ผ่านมา มีจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ 36 จังหวัด ซึ่งยอดเท่ากับวันที่ 21 เม.ย. โดยจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มเติมเข้ามาคือ นครราชสีมา แต่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาหลายวัน กลับพบผู้ป่วย จากนี้ต้องไปดูสาเหตุและสอบสวนโรคกันต่อไป ส่วนจังหวัดที่ยังมีรายงานผู้ป่วยในรอบ 7 วันที่ผ่านมา มี 14 จังหวัด ได้แก่ กทม. นนทบุรี ภูเก็ต ชลบุรี ยะลา ปัตตานี สงขลา ปทุมธานี นครปฐม กระบี่ นราธิวาส ขอนแก่น ชุมพร พระนครศรีอยุธยา
จากการเข้าไปค้นประวัติผู้ป่วยยืนยัน 542 ราย จากทั้งหมด พบว่าส่วนใหญ่เข้ามาตรวจหลังมีอาการ 4 วัน ถือว่าเร็ว แต่ก่อนเข้ามาตรวจเชื้อ 3 วันที่ผ่านมา ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ แต่รายที่เข้ามาตรวจช้าสุด คือ หลังมีอาการ 28 วัน ถือเป็นเวลาที่นานมาก เสี่ยงกระจายเชื้อไปในวงกว้าง ตอนนี้จึงนิยามหลักเกณฑ์การสอบสวนโรคใหม่ ทำให้ประชาขนทั่วไปเข้ามาตรวจง่ายขึ้น คือ มีประวัติมีไข้ อุณหภูมิ 37.5 ขึ้นไป มีอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ซึ่งถ้ามีไข้ และประกอบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น สามารถไปตรวจได้ฟรี
สำหรับผลการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงในช่วงเคอร์ฟิว คืนวันที่ 21 เม.ย. ต่อเนื่องเช้าวันที่ 22 เม.ย. มีผู้ฝ่าฝืนออกนอกเคหสถาน 554 ราย ลดลงจากคืนก่อน 139 ราย ชุมนุม มั่วสุม 55 ราย ลดลงจากคืนก่อน 10 ราย ส่วนจังหวัดที่มีการกระทำผิดมากที่สุด ได้แก่ ภูเก็ต รองมาลงมา กทม. ปทุมธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ลพบุรี ราชบุรี ขอนแก่น ส่วนคนไทยที่เดินทางกลับประเทศในวันเดียวกันนี้ จากประเทศรัสเซีย 25 ราย เกาหลีใต้ 60 ราย และเวียดนาม 115 ราย
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวว่าบางจังหวัดเตรียมจะคลายล็อก ผ่อนผันให้มีการขายของในตลาดได้ ถ้าตัวเลขผู้ติดเชื้อเหลือเลขตัวเดียว จะทำให้ยืดหยุ่นมากกว่านี้ได้หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผอ.ศบค. จะใช้สถิติ ชุดข้อมูล และความร่วมมือเป็นสำคัญ การจะเปิด ผ่อนปรน ขึ้นอยู่กับตัวเลขเหล่านี้ ยืนยันว่า การจะยกเลิกตอนนี้ยังไม่มี แต่เป็นลักษณะผ่อนปรน เพราะสถานการณ์รอบบ้านเรามีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ของเราแม้จะควบคุมได้ แต่ถ้ากระพริบตา ประมาทนิดเดียว ตัวเลขพุ่งขึ้นทันที ที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้เก็บสถิติเอาไว้ทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง ขึ้นอยู่กับสถิติและความจำเป็น สถานที่ใดที่จำเป็นต้องเปิดต้องมีมาตรการดูแลให้มั่นใจว่า จะไม่มีการแพร่เชื้อระหว่างกัน ซึ่งมีการหยิบยกมาพูดกัน อาจะมีการทดลองเป็นกลุ่มจังหวัด บางพื้นที่ หรือจะขยายทั้งประเทศต้องรอฟังก่อน ส่วนรายละเอียด ต้องฟังมติจากครม. และมติ ศบค. ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
เมื่อถามว่า หลายบริษัทเริ่มกลับมาทำงานแล้ว และพบว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดจากสถานที่ทำงาน จะมีแนวทางอย่างไร นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เราต้องเก็บเป็นสถิติ สถานประกอบการนั้นจะถูกเพ่งเล็ง ถ้ามีความจำเป็นต้องเปิด จะต้องสร้างมาตรการเข้มในการควบคุม นายกฯ ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว เพราะคนเดียวสั่งไม่ได้ ต้องดูตัวเลขทั้งหมด เป็นการตัดสินใจแบบหมู่คณะ เพื่อให้รอบด้าน และเป็นทิศทางที่ปฏิบัติได้ ถ้าเจอกรณีนี้ ให้รีบรายงาน อย่ากลัวและอย่าปิดข้อมูล เอาความจริงมาบอก เพื่อจะทำให้ควบคุมโรคได้
ราชทัณฑ์โอนเงินให้ 'เรือนจำ' ซื้อเวชภัณฑ์ป้องกันโควิด
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตามมาตรการด้านงบประมาณเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 และเพิ่มพื้นที่ลดความแออัดของผู้ต้องขังตามนโยบายของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยได้โอนเงิน 193.52 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายใน 3 กรณี คือ
1.หมวดที่ 1 สำหรับจัดซื้อวัสดุเวชภัณฑ์ทางการแพทย์/งานบ้านงานครัว ป้องกันการแพร่เชื้อโรค วงเงิน 56.6 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 29 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2563)
2.หมวดที่ 2 สำหรับจัดซื้อวัสดุทำห้องกักโรค/เพิ่มพื้นที่นอน วงเงิน 56.3 ล้านบาท โดยเป้าหมายให้ได้ทั้งหมด 1,259 ห้อง รองรับผู้ต้องขังจำนวน 24,558 คน ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 730 ห้อง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2563)
3.หมวดที่ 3 สำหรับจัดซื้อวัสดุทำที่นอน 2 ชั้น วงเงิน 80.6 ล้านบาท โดยเป้าหมายให้ได้ทั้งหมด 1,087 ห้อง รองรับผู้ต้องขังจำนวน 24,217 คน ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 923 ห้อง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2563)
จากเดิมเรือนจำทั่วประเทศมีพื้นที่เรือนนอนรองรับผู้ต้องขังได้ 220,000 คน แต่หากดำเนินการสร้างห้องกักโรคและที่นอนสองชั้นแล้วเสร็จตามเป้าหมาย จะมีพื้นที่นอนเพิ่มขึ้น 58,529 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้ต้องขัง 48,775 คน รวมมีพื้นที่รองรับผู้ต้องขังได้จำนวน 268,775 คน (ณ ปัจจุบันมีจำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศ 380,000 คน) วงเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 57.9 ล้านบาท ยังคงเหลือเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 135.6 ล้านบาท
สำหรับสถานการณ์วันนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม ยอดเดิมผู้ต้องขังติดเชื้อ 2 ราย (หายแล้ว) และมีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อ 3 ราย (อยู่ระหว่างการรักษาตัว) ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ จะได้ติดตามสถานการณ์การเจ็บป่วยของผู้ต้องขังในทุกเรือนจำอย่างใกล้ชิดทุกวัน เพื่อจำกัดจำนวนผู้ต้องขังที่อยู่ ในภาวะเสี่ยงและติดโรคระบาดนี้ให้น้อยที่สุด ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและกรมควบคุมโรค รวมทั้งสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลแม่ข่ายต่างๆ อย่างใกล้ชิด