กระทรวงพลังงานเตรียมหารือรายละเอียด เดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก 8 เม.ย.นี้ สอดรับมติ กพช.และสถานการณ์โควิด-19 มั่นใจขั้นตอนเป็นไปตามกำหนด เปิดให้ยื่นกลางเม.ย. หรือ 17 เม.ย.นี้ ส่วนเรื่องรับฟังความเห็นชุมนชน ให้ทำในภายหลังได้ ขณะที่เอกชนส่วนใหญ่ขานรับให้เดินหน้า หวั่นเลื่อนอีกครั้งส่อลากยาว
นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 8 เม.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เพื่อพิจารณรายละเอียดเกณฑ์การเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอโรงไฟฟ้าฯ ประเภทเร่งด่วน หรือ Quick Win จำนวนไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ ที่สอดรับกับการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อกำหนดให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศการรับซื้อไฟฟ้าให้ได้ตามแผน ภายในกลางเดือนเม.ย. หรือ17เม.ย.นี้
"ขณะนี้ยังไม่มีการเลื่อนเวลาออกไป แต่คงต้องมาพิจารณาปรับเงื่อนไขในสาระหลักให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น กรณีกระบวนการยื่นเอกสารที่กกพ.จะดำเนินการนั้น ใช้คนเพียง 1-2 คนไป เกิดปัญหาติดเชื้อโควิด-19ได้ แต่อาจจะผ่อนผันให้การยื่นข้อเสนอ ไม่ต้องรับฟังความเห็นจากชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยง โดยให้ทำหลังมีการอนุมัติได้ นอกจากนี้ ยังต้องปรับเกณฑ์ให้สอดรับกับมติ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ล่าสุดที่กำหนดให้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ (COD)ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ที่จะต้องลงนามภายในปี 63 จากเดิมที่ต้องจ่ายไฟเข้าระบบภายในปี 63 เป็นต้น" นายยงยุทธ กล่าว
ทั้งนี้ หลังจากได้ข้อสรุปจะนำเสนอไปยัง กกพ. เพื่อให้มีการแนบท้ายประกาศต่อไป ซึ่งขั้นตอนขณะนี้ทาง กกพ.ได้มีการจัดทำระเบียบหลักเกณฑ์จัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)ในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเปิดรับฟังความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์ กกพ. www.erc.or.th ระหว่างวันที่ 13-27 มี.ค. 63 ซึ่งขณะนี้จะต้องรอการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะสามารถประกาศเกณฑ์สัญญาการรับซื้อไฟฟ้าได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้เอกชนยื่นได้ไม่เกินกลางเม.ย.นี้
นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า เดิมโรงไฟฟ้าชุมชน กำหนดจะให้เอกชนยื่นในเดือนธ.ค.62 ต่อมาได้เลื่อนมาเป็นกลางเม.ย. หรือตามที่ รมว.พลังงาน ระบุว่าวันที่ 17 เม.ย.นี้ จึงเห็นด้วยว่าไม่ควรจะเลื่อนออกไปอีก เพราะอาจจะยาวโดยไม่มีกำหนด และเมื่อรัฐได้ปลดล็อกเรื่อง COD และกรณีการไม่ต้องรับฟังความเห็นจากชุมชนก่อน ก็น่าจะทำให้อุปสรรคที่จะต้องเลื่อนออกไปลดลง ซึ่งโครงการนี้จะมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนในช่วงนี้ ได้เป็นอย่างดี
นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท.กล่าวว่า คาดว่าเฟสแรกที่เกิดคือ โรงไฟฟ้าควิกวิน ของการไฟฟ้า 4 แห่ง และ เฟสที่ 2 จะป็นควิกวินของเอกชนที่เป็นโรงไฟฟ้า VSPP ที่มีการค้างท่อในอดีตที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องของเชื้อเพลิง เพราะได้มีการหมักเก็บไว้นานแล้ว ทั้งจากมูลสัตว์ โรงแป้ง โรงมัน ฯลฯ เพียงแต่เพิ่มการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเท่านั้น โดยประเมินว่า จะมีโครงการที่พร้อมและมีแนวโน้มที่จะได้รับคัดเลือกประมาณกว่า 30 โครงการ ปริมาณไม่ถึง 100 เมกะวัตต์
"สำคัญคือต้องทำให้รายได้ตกถึงเกษตรกรโดยตรง เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ไม้โตเร็ว พืชพลังงาน ฯลฯแต่รัฐไม่ควรสนับสนุนสินค้าเกษตร ที่มาจากโรงงานและเกษตรกรเองควรรวมตัวให้เป็นวิสาหกิจชุมชนไม่น้อยกว่า 200 ครัวเรือน ตามเงื่อนไข ส่วนกรณีที่จะตั้งกองทุนโรงไฟฟ้าชุมชนมาเป็นกลไกส่งเสริมแทนกองทุนหมู่บ้านก็ถือว่ารับได้" นายนที กล่าว
นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 8 เม.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เพื่อพิจารณรายละเอียดเกณฑ์การเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอโรงไฟฟ้าฯ ประเภทเร่งด่วน หรือ Quick Win จำนวนไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ ที่สอดรับกับการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อกำหนดให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศการรับซื้อไฟฟ้าให้ได้ตามแผน ภายในกลางเดือนเม.ย. หรือ17เม.ย.นี้
"ขณะนี้ยังไม่มีการเลื่อนเวลาออกไป แต่คงต้องมาพิจารณาปรับเงื่อนไขในสาระหลักให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น กรณีกระบวนการยื่นเอกสารที่กกพ.จะดำเนินการนั้น ใช้คนเพียง 1-2 คนไป เกิดปัญหาติดเชื้อโควิด-19ได้ แต่อาจจะผ่อนผันให้การยื่นข้อเสนอ ไม่ต้องรับฟังความเห็นจากชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยง โดยให้ทำหลังมีการอนุมัติได้ นอกจากนี้ ยังต้องปรับเกณฑ์ให้สอดรับกับมติ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ล่าสุดที่กำหนดให้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ (COD)ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ที่จะต้องลงนามภายในปี 63 จากเดิมที่ต้องจ่ายไฟเข้าระบบภายในปี 63 เป็นต้น" นายยงยุทธ กล่าว
ทั้งนี้ หลังจากได้ข้อสรุปจะนำเสนอไปยัง กกพ. เพื่อให้มีการแนบท้ายประกาศต่อไป ซึ่งขั้นตอนขณะนี้ทาง กกพ.ได้มีการจัดทำระเบียบหลักเกณฑ์จัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)ในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเปิดรับฟังความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์ กกพ. www.erc.or.th ระหว่างวันที่ 13-27 มี.ค. 63 ซึ่งขณะนี้จะต้องรอการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะสามารถประกาศเกณฑ์สัญญาการรับซื้อไฟฟ้าได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้เอกชนยื่นได้ไม่เกินกลางเม.ย.นี้
นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า เดิมโรงไฟฟ้าชุมชน กำหนดจะให้เอกชนยื่นในเดือนธ.ค.62 ต่อมาได้เลื่อนมาเป็นกลางเม.ย. หรือตามที่ รมว.พลังงาน ระบุว่าวันที่ 17 เม.ย.นี้ จึงเห็นด้วยว่าไม่ควรจะเลื่อนออกไปอีก เพราะอาจจะยาวโดยไม่มีกำหนด และเมื่อรัฐได้ปลดล็อกเรื่อง COD และกรณีการไม่ต้องรับฟังความเห็นจากชุมชนก่อน ก็น่าจะทำให้อุปสรรคที่จะต้องเลื่อนออกไปลดลง ซึ่งโครงการนี้จะมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนในช่วงนี้ ได้เป็นอย่างดี
นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท.กล่าวว่า คาดว่าเฟสแรกที่เกิดคือ โรงไฟฟ้าควิกวิน ของการไฟฟ้า 4 แห่ง และ เฟสที่ 2 จะป็นควิกวินของเอกชนที่เป็นโรงไฟฟ้า VSPP ที่มีการค้างท่อในอดีตที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องของเชื้อเพลิง เพราะได้มีการหมักเก็บไว้นานแล้ว ทั้งจากมูลสัตว์ โรงแป้ง โรงมัน ฯลฯ เพียงแต่เพิ่มการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเท่านั้น โดยประเมินว่า จะมีโครงการที่พร้อมและมีแนวโน้มที่จะได้รับคัดเลือกประมาณกว่า 30 โครงการ ปริมาณไม่ถึง 100 เมกะวัตต์
"สำคัญคือต้องทำให้รายได้ตกถึงเกษตรกรโดยตรง เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ไม้โตเร็ว พืชพลังงาน ฯลฯแต่รัฐไม่ควรสนับสนุนสินค้าเกษตร ที่มาจากโรงงานและเกษตรกรเองควรรวมตัวให้เป็นวิสาหกิจชุมชนไม่น้อยกว่า 200 ครัวเรือน ตามเงื่อนไข ส่วนกรณีที่จะตั้งกองทุนโรงไฟฟ้าชุมชนมาเป็นกลไกส่งเสริมแทนกองทุนหมู่บ้านก็ถือว่ารับได้" นายนที กล่าว