ผู้จัดการรายวัน360-"สนธิรัตน์"จัดประชุมออนไลน์ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงาน หารือเตรียมเปิดช่องทางจำหน่ายแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ฆ่าเชื้อโควิด-19ราคาถูกผ่านปั๊มน้ำมันให้ประชาชน นำร่อง ปตท. เริ่ม 4 เม.ย.นี้ พร้อมเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอโรงไฟฟ้าชุมชน 17 เม.ย. หวังกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก พร้อมสั่งทุกหน่วยงานเร่งเฟ้นหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านพลังงานเพิ่มเติม
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงานผ่านระบบออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาลว่า ที่ประชุมได้หารือที่จะนำเอทานอลส่วนเกินจากการใช้ในภาคพลังงาน 1 ล้านลิตรต่อวัน มาผลิตเจลแอลกอฮอล์ และแอลฮอล์ฆ่าเชื้อทางการแพทย์ ความเข้มข้น 70% โดยกระทรวงพลังงานจะเข้ามาร่วมผลักดันให้มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นผ่านสถานีบริการน้ำมัน เช่น ปตท. บางจาก เชลล์ และผู้ค้ามาตรา 7 อื่นๆ ซึ่งเบื้องต้นได้รับแจ้งจาก ปตท. จะจำหน่ายได้ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.2563 เป็นต้นไป
"ก่อนหน้านี้ กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับกรมสรรพสามิตในการปลดล็อกที่จะให้นำเอทานอลจากผู้ผลิตเอทานอล 26 รายซึ่งเป็นการจำหน่ายในส่วนของเชื้อเพลิงมาเป็นแอลกอฮอล์เพื่อการแพทย์ได้ แต่เนื่องจากกลไกการกระจายสินค้ายังมีจำกัด กระทรวงพลังงานจึงเข้ามาร่วมผลักดันให้เกิดช่องทางจำหน่ายผ่านสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเร่งรัดให้เกิดการจัดจำหน่ายได้เร็วที่สุดและมีราคาไม่แพง คาดว่าจะทำให้ปริมาณจำหน่ายแอลกอฮอล์มีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน จะช่วยป้องกันปัญหาการระบาดโควิด-19ได้มาก"นายสนธิรัตน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน ด้วยสถานการณ์ความจำเป็นในการใช้เทานอลสำหรับแก้ไขปัญหาโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องเลื่อนแผนดังกล่าวออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนมาตรการส่งเสริมน้ำมันดีเซล B10 ปัจจุบันมียอดการใช้ประมาณกว่า 12 ล้านลิตรต่อวัน และคาดว่าเดือนเม.ย.2563 น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 20 ล้านลิตรต่อวันได้
ส่วนการขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก คาดว่า จะสามารถประกาศเชิญชวนและรับข้อเสนอได้ตามกำหนดการเดิม ภายในวันที่ 17 เม.ย.2563 และจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค.2563 ซึ่งนโยบายนี้ จะสามารถนำรายได้จากการที่ภาคเกษตรกรสามารถจำหน่ายเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเศษวัสดุทางการเกษตร หญ้าเนเปียร์ กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมเร่งมาตรการช่วยภัยเหลือผลกระทบแล้ง โดยเร่งรัดโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับภัยแล้งในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมใช้ 2,265 ระบบ
"ยังได้ฝากให้ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ช่วยคิดแผนหรือมาตรการด้านพลังงานที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นและแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระทรวงพลังงานจะใช้ทุกองคาพยพที่มีอยู่เพื่อเข้าไปช่วยแก้ปัญหาปากท้องให้พี่น้องประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการ SMEs เพื่อก้าวผ่านอุปสรรคไปพร้อมๆ กันโดยขอให้สรุปในสัปดาห์นี้”นายสนธิรัตน์กล่าว
นายสนธิรัตน์กล่าวว่า สำหรับการคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ที่ 5 วันที่ผ่านมา มีประชาชนเข้าระบบยื่นขอคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ณ เวลา 17.00 น. ของวันที่ 29 มี.ค.2563 รวมทั้งหมดประมาณ 4.10 ล้านราย (กฟน. ประมาณ 1,417,000 ราย กฟภ.ประมาณ 2,686,000 ราย) คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 7.06 พันล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าวงเงินกว่า 7 พันล้านบาท จะทำให้ประชาชนมีเงินสำรองนำมาใช้จ่ายเป็นค่าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้ โดยผู้ที่ลงทะเบียนวันแรกจะมีการทยอยจ่ายเงินให้วันที่ 31 มี.ค.2563 นี้
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงานผ่านระบบออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาลว่า ที่ประชุมได้หารือที่จะนำเอทานอลส่วนเกินจากการใช้ในภาคพลังงาน 1 ล้านลิตรต่อวัน มาผลิตเจลแอลกอฮอล์ และแอลฮอล์ฆ่าเชื้อทางการแพทย์ ความเข้มข้น 70% โดยกระทรวงพลังงานจะเข้ามาร่วมผลักดันให้มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นผ่านสถานีบริการน้ำมัน เช่น ปตท. บางจาก เชลล์ และผู้ค้ามาตรา 7 อื่นๆ ซึ่งเบื้องต้นได้รับแจ้งจาก ปตท. จะจำหน่ายได้ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.2563 เป็นต้นไป
"ก่อนหน้านี้ กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับกรมสรรพสามิตในการปลดล็อกที่จะให้นำเอทานอลจากผู้ผลิตเอทานอล 26 รายซึ่งเป็นการจำหน่ายในส่วนของเชื้อเพลิงมาเป็นแอลกอฮอล์เพื่อการแพทย์ได้ แต่เนื่องจากกลไกการกระจายสินค้ายังมีจำกัด กระทรวงพลังงานจึงเข้ามาร่วมผลักดันให้เกิดช่องทางจำหน่ายผ่านสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเร่งรัดให้เกิดการจัดจำหน่ายได้เร็วที่สุดและมีราคาไม่แพง คาดว่าจะทำให้ปริมาณจำหน่ายแอลกอฮอล์มีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน จะช่วยป้องกันปัญหาการระบาดโควิด-19ได้มาก"นายสนธิรัตน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน ด้วยสถานการณ์ความจำเป็นในการใช้เทานอลสำหรับแก้ไขปัญหาโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องเลื่อนแผนดังกล่าวออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนมาตรการส่งเสริมน้ำมันดีเซล B10 ปัจจุบันมียอดการใช้ประมาณกว่า 12 ล้านลิตรต่อวัน และคาดว่าเดือนเม.ย.2563 น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 20 ล้านลิตรต่อวันได้
ส่วนการขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก คาดว่า จะสามารถประกาศเชิญชวนและรับข้อเสนอได้ตามกำหนดการเดิม ภายในวันที่ 17 เม.ย.2563 และจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค.2563 ซึ่งนโยบายนี้ จะสามารถนำรายได้จากการที่ภาคเกษตรกรสามารถจำหน่ายเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเศษวัสดุทางการเกษตร หญ้าเนเปียร์ กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมเร่งมาตรการช่วยภัยเหลือผลกระทบแล้ง โดยเร่งรัดโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับภัยแล้งในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมใช้ 2,265 ระบบ
"ยังได้ฝากให้ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ช่วยคิดแผนหรือมาตรการด้านพลังงานที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นและแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระทรวงพลังงานจะใช้ทุกองคาพยพที่มีอยู่เพื่อเข้าไปช่วยแก้ปัญหาปากท้องให้พี่น้องประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการ SMEs เพื่อก้าวผ่านอุปสรรคไปพร้อมๆ กันโดยขอให้สรุปในสัปดาห์นี้”นายสนธิรัตน์กล่าว
นายสนธิรัตน์กล่าวว่า สำหรับการคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ที่ 5 วันที่ผ่านมา มีประชาชนเข้าระบบยื่นขอคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ณ เวลา 17.00 น. ของวันที่ 29 มี.ค.2563 รวมทั้งหมดประมาณ 4.10 ล้านราย (กฟน. ประมาณ 1,417,000 ราย กฟภ.ประมาณ 2,686,000 ราย) คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 7.06 พันล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าวงเงินกว่า 7 พันล้านบาท จะทำให้ประชาชนมีเงินสำรองนำมาใช้จ่ายเป็นค่าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้ โดยผู้ที่ลงทะเบียนวันแรกจะมีการทยอยจ่ายเงินให้วันที่ 31 มี.ค.2563 นี้