ผู้จัดการรายวัน360-รัฐบาลรื้อแผนกระจายหน้ากากอนามัยใหม่ทั้งหมด เผยปริมาณผลิตวันละ 2.3 ล้านชิ้น เน้นจัดสรรบุคลากรการแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อน 1.36 ล้านชิ้น ที่เหลือ 1 ล้านชิ้นให้มหาดไทยกระจายกลุ่มเสี่ยง "พาณิชย์"เสนอ ครม. อนุมัติงบประมาณ ซื้อหน้ากากอนามัยแจกจ่าย คาดกลางเม.ย.ผลิตเพิ่มได้เป็นวันละ 2.86 ล้านชิ้น
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เรื่องการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ว่า จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการกล่าวถึงจำนวนตัวเลขหน้ากากอนามัยที่อยู่ในสต็อก 200 ล้านชิ้นนั้น ตัวเลขทั้งหมดนั้น ผิดพลาด วันนี้จึงได้ประเมินใหม่ และทำแผนการกระจายหน้ากากอนามัยใหม่ โดยโรงงานที่ผลิตหน้ากากขณะนี้มีทั้งหมด 11 โรงงาน ซึ่งในหนึ่งวันสามารถผลิตหน้ากากออกมาได้ประมาณ 2.3ล้านชิ้น โดยมีการจัดทำแผนในการจ่ายหน้ากากวันต่อวัน และสามารถตรวจสอบได้ทุกวันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การจัดสรรหน้ากากอนามัยใหม่ มีผู้รับไปบริหารจัดการ 2 หน่วยงาน คือ 1.กระทรวงสาธารณสุข จำนวน1.3ล้านชิ้น เพื่อส่งไปให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ คือ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่แพทย์ และ 2.กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ล้านชิ้น เพื่อจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด76 จังหวัดทั่วประเทศ และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยจะแจกจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อสม. ที่ไปเฝ้าระวังผู้ป่วยในต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่บริการประชาชน เช่น ศูนย์ดำรงธรรม หรือเจ้าหน้าที่อำเภอศาลากลาง รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งบริการประชาชนและมีความเสี่ยง เช่น พนักงานเก็บขนขยะ รวมทั้งตำรวจ ทหารที่ตั้งด่านตรวจอยู่ระหว่างทาง และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย และเด็ก เป็นต้น จากนั้นจะมีการปรับแผนการส่งหน้ากากไปสู่ประชาชนและร้านค้าต่างๆ ด้วย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 มี.ค.2563 กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติงบประมาณที่จะนำมาซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลทุกแห่ง ของทุกสังกัดทั่วประเทศ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มเสี่ยง ส่วนช่องทางการจำหน่ายผ่านร้านธงฟ้าได้ยกเลิกแล้ว และร้านสะดวกซื้อ ห้างต่างๆ จะยังมีขายอยู่อีกหรือไม่ อยู่ที่การพิจารณาของผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การกระจายหน้ากากอนามัย ปัจจุบันผลิตได้ประมาณ 2.36 ล้านชิ้นต่อวัน จะกระจายให้กับกระทรวงสาธารณสุข 1.36 ล้านชิ้น เพื่อให้นำไปกระจายต่อให้กับสถานพยาบาลต่างๆ และบุคลากรทางการแพทย์ และที่เหลือ 1 ล้านชิ้น จะกระจายให้กับกระทรวงมหาดไทย โดยไปรษณีย์ไทยจะขนส่งและนำไปส่งยังจังหวัดต่างๆ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้กระจายลงไปยังกลุ่มเสี่ยง โดยการจัดสรร แบ่งเป็นดังนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) 1 แสนชิ้นต่อวัน ภาคเหนือ 1.64 แสนชิ้นต่อวัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.32 แสนชิ้นต่อวัน ภาคกลาง 2.37 แสนชิ้นต่อวัน และภาคใต้ 1.67 แสนชิ้นต่อวัน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการผลิตหน้ากากอนามัย จะสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.86 ล้านชิ้นต่อวันในช่วงกลางเดือนเม.ย.2563 ซึ่งตอนนั้น จะมีการปรับสัดส่วนการกระจายหน้ากากอนามัยตามความเหมาะสมอีกครั้ง แต่จะให้ความสำคัญกับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ คือ สถานพยาบาลต่างๆ และบุคลากรทางการแพทย์ก่อนเป็นลำดับแรกเช่นเดิม เพราะถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เรื่องการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ว่า จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการกล่าวถึงจำนวนตัวเลขหน้ากากอนามัยที่อยู่ในสต็อก 200 ล้านชิ้นนั้น ตัวเลขทั้งหมดนั้น ผิดพลาด วันนี้จึงได้ประเมินใหม่ และทำแผนการกระจายหน้ากากอนามัยใหม่ โดยโรงงานที่ผลิตหน้ากากขณะนี้มีทั้งหมด 11 โรงงาน ซึ่งในหนึ่งวันสามารถผลิตหน้ากากออกมาได้ประมาณ 2.3ล้านชิ้น โดยมีการจัดทำแผนในการจ่ายหน้ากากวันต่อวัน และสามารถตรวจสอบได้ทุกวันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การจัดสรรหน้ากากอนามัยใหม่ มีผู้รับไปบริหารจัดการ 2 หน่วยงาน คือ 1.กระทรวงสาธารณสุข จำนวน1.3ล้านชิ้น เพื่อส่งไปให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ คือ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่แพทย์ และ 2.กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ล้านชิ้น เพื่อจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด76 จังหวัดทั่วประเทศ และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยจะแจกจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อสม. ที่ไปเฝ้าระวังผู้ป่วยในต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่บริการประชาชน เช่น ศูนย์ดำรงธรรม หรือเจ้าหน้าที่อำเภอศาลากลาง รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งบริการประชาชนและมีความเสี่ยง เช่น พนักงานเก็บขนขยะ รวมทั้งตำรวจ ทหารที่ตั้งด่านตรวจอยู่ระหว่างทาง และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย และเด็ก เป็นต้น จากนั้นจะมีการปรับแผนการส่งหน้ากากไปสู่ประชาชนและร้านค้าต่างๆ ด้วย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 มี.ค.2563 กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติงบประมาณที่จะนำมาซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลทุกแห่ง ของทุกสังกัดทั่วประเทศ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มเสี่ยง ส่วนช่องทางการจำหน่ายผ่านร้านธงฟ้าได้ยกเลิกแล้ว และร้านสะดวกซื้อ ห้างต่างๆ จะยังมีขายอยู่อีกหรือไม่ อยู่ที่การพิจารณาของผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การกระจายหน้ากากอนามัย ปัจจุบันผลิตได้ประมาณ 2.36 ล้านชิ้นต่อวัน จะกระจายให้กับกระทรวงสาธารณสุข 1.36 ล้านชิ้น เพื่อให้นำไปกระจายต่อให้กับสถานพยาบาลต่างๆ และบุคลากรทางการแพทย์ และที่เหลือ 1 ล้านชิ้น จะกระจายให้กับกระทรวงมหาดไทย โดยไปรษณีย์ไทยจะขนส่งและนำไปส่งยังจังหวัดต่างๆ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้กระจายลงไปยังกลุ่มเสี่ยง โดยการจัดสรร แบ่งเป็นดังนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) 1 แสนชิ้นต่อวัน ภาคเหนือ 1.64 แสนชิ้นต่อวัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.32 แสนชิ้นต่อวัน ภาคกลาง 2.37 แสนชิ้นต่อวัน และภาคใต้ 1.67 แสนชิ้นต่อวัน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการผลิตหน้ากากอนามัย จะสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.86 ล้านชิ้นต่อวันในช่วงกลางเดือนเม.ย.2563 ซึ่งตอนนั้น จะมีการปรับสัดส่วนการกระจายหน้ากากอนามัยตามความเหมาะสมอีกครั้ง แต่จะให้ความสำคัญกับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ คือ สถานพยาบาลต่างๆ และบุคลากรทางการแพทย์ก่อนเป็นลำดับแรกเช่นเดิม เพราะถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด