วานนี้ (26มี.ค.) นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะอนุกรรมธิการชุดที่สอง คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลประชุมอนุกมธ.ฯ ว่า ที่ประชุมได้เชิญ นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการกักตุนหน้ากากอนามัย โดยอนุกมธ.ฯได้ตั้งประเด็นเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยที่หายไปจากท้องตลาด และถูกส่งไปขายต่างประเทศ พบว่า มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ คำสั่งของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคากลางสินค้าและผลิตภัณฑ์ วันที่ 4 ก.พ. 63 ที่ขอให้การส่งออกหน้ากากอนามัย มาอยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์ จากเดิมที่เป็นหน้าที่ขององค์การเภสัชกรรม
ขณะเดียวกันอนุกมธ.ฯ ยังมีข้อสงสัยว่า โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย 11 แห่ง ที่ระบุว่ามีกำลังการผลิต 1.2ล้านชิ้นต่อวัน นั้น น่าจะมีการผลิตหน้ากากอนามัยได้มากกว่านั้น โดยเห็นจากตัวเลขการใช้ไฟฟ้าของโรงงานแต่ละแห่ง มียอดใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นมาก ดังนั้นกำลังการผลิตต้องสูงขึ้น ซี่งส่วนต่างของหน้ากากอนามัยที่เกิน 1.2 ล้านชิ้น ไปอยู่ไหน เข้าไปสู่ในตลาดมืดหรือไม่ นอกจากนี้ ขอฝากไปถึงนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ให้ช่วยชี้แจงการกระจายหน้ากากอนามัย ที่ระบุว่ามีการส่งให้โรงพยาบาล 7 แสนชิ้นต่อวัน และส่งให้ร้านค้า 5 แสนชิ้นต่อวัน มีรายละเอียดส่งไปที่ไหนบ้าง ทำไมราคายังแพงอยู่
นายธีรัจชัยกล่าวว่า จากข้อมูลยังพบว่า ในวันที่ 9 มี.ค.63 คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคากลางสินค้าและผลิตภัณฑ์ กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติให้ 7 บริษัท ส่งออกหน้ากากอนามัยถึง 12 ล้านชิ้น จากยอดทั้งหมดที่ขอมา 53 ล้านชิ้น จาก 242 บริษัท ซึ่งเป็นเฉพาะวันที่ 9 มี.ค.63 วันเดียว จึงอยากทราบว่า วันอื่นๆ มีการอนุมัติการส่งออกหน้ากากอนามัยเท่าไรบ้าง
นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะที่ปรึกษา กมธ.ฯ กล่าวว่า นายอัจฉริยะ ได้แจ้งต่อ อนุกมธ.ฯว่า มีข้อมูลจากปปง. ถึงเส้นทางการเงินเรื่องหน้ากากอนามัยในกลุ่มข้าราชการบางคน ซึ่งนายกฯ ได้รับทราบข้อมูลเรื่องนี้ จนมีการใช้คำสั่งกับข้าราชการบางคนไปแล้ว เรามีข้อมูลส่วนนี้ที่ตรวจสอบได้ และจะตรวจสอบเชิงลึกต่อไป
ด้านนายอัจฉริยะ ให้สัมภาษณ์ก่อนร่วมประชุมคณะอนุกมธ.ฯ ว่าตนจะให้ข้อมูลต่อ กมธ.ว่าบริษัทผู้ผลิตหน้ากากอนามัย มีมากกว่า 200 บริษัท หากทุกบริษัทร่วมกันผลิต ก็น่าจะมีหน้ากากอนามัยมากกว่า 200-300 ล้านชิ้นต่อเดือน ซึ่งใน 200 บริษัท มีทั้งการนำเข้า-ส่งออก และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย จึงไม่ทราบว่าของขาดตลาดได้อย่างไร นอกจากจะระงับการส่งออกแล้วยังไม่ให้มีการผลิตของให้กับประชาชนคนไทยได้ใช้ จึงไม่ทราบว่าเหตุใดจึงต้องล็อกแค่ 11 บริษัท และ 2 ใน 11 บริษัท ก็ได้มีการนำหน้ากากอนามัยไปขายในตลาดมืดเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ มีบริษัทหนึ่งขายหน้ากากอนามัยให้ นายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือ บอย เมื่อวันที่ 29 ม.ค.จำนวน 1 ล้านชิ้น ในราคาชิ้นละ 3.40 บาท บางคนได้ค่านายหน้า 40 สตางค์ ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้มีการประกาศห้ามการส่งออกในวันที่ 4 ก.พ. ซึ่งบริษัทต้องจัดส่งยอดที่มีอยู่ในสต๊อกในวันที่ 6 ก.พ. โดยบริษัทได้แจ้งว่ามีกำลังการผลิตวันละ 200,000 ชิ้น แต่แท้ที่จริง บริษัทมีกำลังการผลิตวันละ 500,000 ชิ้น ซึ่งได้นำส่วนต่างจำนวนวันละ 300,000 ชิ้น ไปขายในตลาดออนไลน์ และนำส่งไปต่างประเทศ จึงอยากทราบว่ากรมการค้าภายในควบคุมสินค้าอย่างไร ทำให้ไม่มีของขายในตลาดประเทศไทย หากนำทั้ง 200 บริษัท มาร่วมกันผลิตสินค้าจะขาดตลาดได้อย่างไร
ทั้งนี้ จากข้อมูลหลักฐานที่ตัวเองมีอยู่ เชื่อว่าสามารถเอาผิดอธิบดีกรมการค้าภายในได้ รวมถึงเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน ขึ้นอยู่กับว่าทาง กมธ. จะเอาจริงหรือไม่ ส่วนตัวกลัวว่าจะเป็นมวยล้มต้มคนดู จึงไม่อยากให้ข้อมูลมาก ทั้งที่ตัวเองก็มีข้อมูลเชิงลึกอยู่จำนวนมาก โดยเรื่องนี้เป็นหน้าที่ฝ่ายค้านที่ต้องตรวจสอบหาความจริงให้ได้ว่าหน้ากากอนามัยหายไปไหน ใครเป็นคนอนุญาตให้ส่งออก ขณะเดียวกัน หากกรมการค้าภายในยอมให้ข้อมูลทั้ง 242 บริษัท ยอมให้ข้อมูลต่อ กมธ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็จะง่ายต่อการตรวจสอบ แต่ที่ผ่านมากรมการค้าภายในไม่เคยให้ข้อมูลเลย
ขณะเดียวกันอนุกมธ.ฯ ยังมีข้อสงสัยว่า โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย 11 แห่ง ที่ระบุว่ามีกำลังการผลิต 1.2ล้านชิ้นต่อวัน นั้น น่าจะมีการผลิตหน้ากากอนามัยได้มากกว่านั้น โดยเห็นจากตัวเลขการใช้ไฟฟ้าของโรงงานแต่ละแห่ง มียอดใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นมาก ดังนั้นกำลังการผลิตต้องสูงขึ้น ซี่งส่วนต่างของหน้ากากอนามัยที่เกิน 1.2 ล้านชิ้น ไปอยู่ไหน เข้าไปสู่ในตลาดมืดหรือไม่ นอกจากนี้ ขอฝากไปถึงนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ให้ช่วยชี้แจงการกระจายหน้ากากอนามัย ที่ระบุว่ามีการส่งให้โรงพยาบาล 7 แสนชิ้นต่อวัน และส่งให้ร้านค้า 5 แสนชิ้นต่อวัน มีรายละเอียดส่งไปที่ไหนบ้าง ทำไมราคายังแพงอยู่
นายธีรัจชัยกล่าวว่า จากข้อมูลยังพบว่า ในวันที่ 9 มี.ค.63 คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคากลางสินค้าและผลิตภัณฑ์ กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติให้ 7 บริษัท ส่งออกหน้ากากอนามัยถึง 12 ล้านชิ้น จากยอดทั้งหมดที่ขอมา 53 ล้านชิ้น จาก 242 บริษัท ซึ่งเป็นเฉพาะวันที่ 9 มี.ค.63 วันเดียว จึงอยากทราบว่า วันอื่นๆ มีการอนุมัติการส่งออกหน้ากากอนามัยเท่าไรบ้าง
นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะที่ปรึกษา กมธ.ฯ กล่าวว่า นายอัจฉริยะ ได้แจ้งต่อ อนุกมธ.ฯว่า มีข้อมูลจากปปง. ถึงเส้นทางการเงินเรื่องหน้ากากอนามัยในกลุ่มข้าราชการบางคน ซึ่งนายกฯ ได้รับทราบข้อมูลเรื่องนี้ จนมีการใช้คำสั่งกับข้าราชการบางคนไปแล้ว เรามีข้อมูลส่วนนี้ที่ตรวจสอบได้ และจะตรวจสอบเชิงลึกต่อไป
ด้านนายอัจฉริยะ ให้สัมภาษณ์ก่อนร่วมประชุมคณะอนุกมธ.ฯ ว่าตนจะให้ข้อมูลต่อ กมธ.ว่าบริษัทผู้ผลิตหน้ากากอนามัย มีมากกว่า 200 บริษัท หากทุกบริษัทร่วมกันผลิต ก็น่าจะมีหน้ากากอนามัยมากกว่า 200-300 ล้านชิ้นต่อเดือน ซึ่งใน 200 บริษัท มีทั้งการนำเข้า-ส่งออก และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย จึงไม่ทราบว่าของขาดตลาดได้อย่างไร นอกจากจะระงับการส่งออกแล้วยังไม่ให้มีการผลิตของให้กับประชาชนคนไทยได้ใช้ จึงไม่ทราบว่าเหตุใดจึงต้องล็อกแค่ 11 บริษัท และ 2 ใน 11 บริษัท ก็ได้มีการนำหน้ากากอนามัยไปขายในตลาดมืดเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ มีบริษัทหนึ่งขายหน้ากากอนามัยให้ นายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือ บอย เมื่อวันที่ 29 ม.ค.จำนวน 1 ล้านชิ้น ในราคาชิ้นละ 3.40 บาท บางคนได้ค่านายหน้า 40 สตางค์ ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้มีการประกาศห้ามการส่งออกในวันที่ 4 ก.พ. ซึ่งบริษัทต้องจัดส่งยอดที่มีอยู่ในสต๊อกในวันที่ 6 ก.พ. โดยบริษัทได้แจ้งว่ามีกำลังการผลิตวันละ 200,000 ชิ้น แต่แท้ที่จริง บริษัทมีกำลังการผลิตวันละ 500,000 ชิ้น ซึ่งได้นำส่วนต่างจำนวนวันละ 300,000 ชิ้น ไปขายในตลาดออนไลน์ และนำส่งไปต่างประเทศ จึงอยากทราบว่ากรมการค้าภายในควบคุมสินค้าอย่างไร ทำให้ไม่มีของขายในตลาดประเทศไทย หากนำทั้ง 200 บริษัท มาร่วมกันผลิตสินค้าจะขาดตลาดได้อย่างไร
ทั้งนี้ จากข้อมูลหลักฐานที่ตัวเองมีอยู่ เชื่อว่าสามารถเอาผิดอธิบดีกรมการค้าภายในได้ รวมถึงเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน ขึ้นอยู่กับว่าทาง กมธ. จะเอาจริงหรือไม่ ส่วนตัวกลัวว่าจะเป็นมวยล้มต้มคนดู จึงไม่อยากให้ข้อมูลมาก ทั้งที่ตัวเองก็มีข้อมูลเชิงลึกอยู่จำนวนมาก โดยเรื่องนี้เป็นหน้าที่ฝ่ายค้านที่ต้องตรวจสอบหาความจริงให้ได้ว่าหน้ากากอนามัยหายไปไหน ใครเป็นคนอนุญาตให้ส่งออก ขณะเดียวกัน หากกรมการค้าภายในยอมให้ข้อมูลทั้ง 242 บริษัท ยอมให้ข้อมูลต่อ กมธ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็จะง่ายต่อการตรวจสอบ แต่ที่ผ่านมากรมการค้าภายในไม่เคยให้ข้อมูลเลย